กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำรวจพบยังมีคนไทยบางกลุ่มนิยมบริโภคหน่อไม้ดิบ จึงอาจได้รับอันตรายจากพิษไซยาไนด์ที่มีอยู่ในหน่อไม้ตามธรรมชาติ ถ้าได้รับในปริมาณมากเกินไปจะทำให้ขาดออกซิเจน หมดสติ และเสียชีวิตได้
นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้เฝ้าระวังการบริโภคอาหารของประชาชนทั่วประเทศ พบว่า หน่อไม้เป็นอาหารที่คนไทยนิยมบริโภคมาก ล่าสุด มีการโฆษณาชวนเชื่อ อ้างว่า หน่อไม้บงหวานสามารถทานดิบได้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จึงเตือนประชาชนที่นิยมบริโภคหน่อไม้ดิบ หรือหน่อไม้ที่ยังปรุงไม่สุก อาจได้รับพิษจากสารไซยาไนด์ ซึ่งมีอยู่ในหน่อไม้ตามธรรมชาติ และทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย หากเข้าสู่ร่างกายในปริมาณน้อย สามารถขับออกทางปัสสาวะได้ แต่ถ้าได้รับในปริมาณมาก สารไซยาไนด์จะจับตัวกับสารในเม็ดเลือดแดง (hemoglobin) แทนที่ออกซิเจน ทำให้เกิดอาการขาดออกซิเจน หมดสติและอาจทำให้เสียชีวิตได้
อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ทางองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ และองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดให้ค่า ADI (Acceptable Daily Intake) หรือปริมาณสารที่ร่างกายรับได้ สำหรับสารไซยาไนด์เฉลี่ยที่ร่างกายรับได้ไม่เกิน 0.05 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน ซึ่งจากการสำรวจครั้งนี้ พบว่า ปริมาณไซยาไนด์เฉลี่ยที่คนไทยได้รับใกล้เคียงค่า ADI แต่ในกลุ่มที่ผู้บริโภคบริโภคหน่อไม้ในปริมาณมากเกินไปจะทำให้มีปริมาณสูงกว่าค่าADI กำหนดถึง 1.8 เท่า
นายมงคล เจนจิตติกุล ผู้อำนวยการสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กล่าวว่า การบริโภคหน่อไม้ที่ต้มสุก จะทำให้ผู้บริโภคปลอดภัยจากการได้รับสารไซยาไนด์ แต่หากอุณหภูมิและระยะเวลาในการต้มไม่เหมาะสมก็ไม่สามารถลดปริมาณสารชนิดนี้ได้ อย่างไรก็ตาม เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคก่อนที่จะนำหน่อไม้ไปบริโภคควรปรุงให้สุก ด้วยการต้มหน่อไม้ในน้ำเดือดนานอย่างน้อย 10 นาที ซึ่งสามารถลดปริมาณสารไซยาไนด์ลงได้ถึงร้อยละ 90.5
นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้เฝ้าระวังการบริโภคอาหารของประชาชนทั่วประเทศ พบว่า หน่อไม้เป็นอาหารที่คนไทยนิยมบริโภคมาก ล่าสุด มีการโฆษณาชวนเชื่อ อ้างว่า หน่อไม้บงหวานสามารถทานดิบได้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จึงเตือนประชาชนที่นิยมบริโภคหน่อไม้ดิบ หรือหน่อไม้ที่ยังปรุงไม่สุก อาจได้รับพิษจากสารไซยาไนด์ ซึ่งมีอยู่ในหน่อไม้ตามธรรมชาติ และทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย หากเข้าสู่ร่างกายในปริมาณน้อย สามารถขับออกทางปัสสาวะได้ แต่ถ้าได้รับในปริมาณมาก สารไซยาไนด์จะจับตัวกับสารในเม็ดเลือดแดง (hemoglobin) แทนที่ออกซิเจน ทำให้เกิดอาการขาดออกซิเจน หมดสติและอาจทำให้เสียชีวิตได้
อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ทางองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ และองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดให้ค่า ADI (Acceptable Daily Intake) หรือปริมาณสารที่ร่างกายรับได้ สำหรับสารไซยาไนด์เฉลี่ยที่ร่างกายรับได้ไม่เกิน 0.05 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน ซึ่งจากการสำรวจครั้งนี้ พบว่า ปริมาณไซยาไนด์เฉลี่ยที่คนไทยได้รับใกล้เคียงค่า ADI แต่ในกลุ่มที่ผู้บริโภคบริโภคหน่อไม้ในปริมาณมากเกินไปจะทำให้มีปริมาณสูงกว่าค่าADI กำหนดถึง 1.8 เท่า
นายมงคล เจนจิตติกุล ผู้อำนวยการสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กล่าวว่า การบริโภคหน่อไม้ที่ต้มสุก จะทำให้ผู้บริโภคปลอดภัยจากการได้รับสารไซยาไนด์ แต่หากอุณหภูมิและระยะเวลาในการต้มไม่เหมาะสมก็ไม่สามารถลดปริมาณสารชนิดนี้ได้ อย่างไรก็ตาม เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคก่อนที่จะนำหน่อไม้ไปบริโภคควรปรุงให้สุก ด้วยการต้มหน่อไม้ในน้ำเดือดนานอย่างน้อย 10 นาที ซึ่งสามารถลดปริมาณสารไซยาไนด์ลงได้ถึงร้อยละ 90.5