ศูนย์ข่าวภาคเหนือ - สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน นัดชาวเมืองลับแล เดินขึ้นศาลยื่นฟ้อง ส.ป.ก. ฐานทำลายพื้นที่ชุ่มน้ำทุ่งบึงกะโล่พรุ่งนี้ (2 ก.พ.) แฉ 24 หน่วยงานรัฐรุกพื้นที่ชุ่มน้ำกว่า 4,000 ไร่ แถมฝืนมติ ครม.3 พ.ย.52 ซ้ำ
นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน เปิดเผยว่า ในวันพรุ่งนี้ (2 ก.พ.54) ซึ่งเป็นวัน “พื้นที่ชุ่มน้ำโลก” ซึ่งไทยก็เป็นสมาชิกขององค์การแรมซาร์ไซต์ อันดับที่ 110 แต่ปรากฏว่า ในพื้นที่ชุ่มน้ำทุ่งบึงกะโล่ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ เนื้อที่กว่า 7,500 ไร่ กลับถูกหน่วยราชการต่างๆ มากกว่า 24 หน่วยงาน ขอใช้พื้นที่จาก ส.ป.ก.เพื่อก่อสร้างเป็นอาคารสถานที่ของแต่ละหน่วยงาน เช่น มหาวิทยาลัยสาขาของราชภัฏอุตรดิตถ์ขอใช้ 2,000 ไร่ ,วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สาขาอุตรดิตถ์ ขอใช้ 250 ไร่ ซึ่งปัจจุบันกำลังเร่งปรับพื้นที่กันอยู่ และหน่วยงานราชการอื่นๆ อีกรวมเนื้อที่ที่ขอใช้หรือบุกรุกกว่า 4,262 ไร่ โดยไม่สนใจเลยว่าเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ เพื่อประโยชน์ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นพื้นที่รองรับน้ำเพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วมของจังหวัด
อีกทั้งยังมีมติ ครม.วันที่ 3 พ.ย.2552 สั่งหน่วยงานราชการทุกหน่วยงานห้ามบุกรุกหรือใช้ประโยชน์จากพื้นที่ชุ่มน้ำทั่วประเทศโดยเด็ดขาด รวมไปถึงชาวบ้านในพื้นที่จะพยายามร้องคัดค้านอย่างหนักมาแล้วก็ตาม
นายศรีสุวรรณบอกอีกว่า ทางสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน เห็นว่าหากปล่อยให้หน่วยงานรัฐดังกล่าวใช้อำนาจโดยพลการ ไม่สนใจว่าพื้นที่ชุ่มน้ำมีค่าควรแก่การอนุรักษ์รักษาไว้หรือไม่ หรือไม่สนใจมติ ครม.ดังกล่าวเลย จึงต้องหาทางยุติปัญหาและอนุรักษ์พื้นที่ดังกล่าวไว้เพื่อประโยชน์ต่ออนุชนคนรุ่นหลัง ไม่ปล่อยให้ข้าราชการเหล่านี้ใช้อำนาจโดยพลการต่อไปได้อีก
ดังนั้น สมาคมฯ จึงร่วมมือกับชาวบ้าน เตรียมยื่นฟ้องร้องเพื่อยุติการอนุญาตใช้พื้นที่ทุ่งบึงกะโล่ต่อศาลปกครองกลาง ถนนแจ้งวัฒนะ ในวันพรุ่งนี้ (2 ก.พ.) ซึ่งถือเป็นวันพื้นที่ชุ่มน้ำโลกด้วย
ทั้งนี้ “พื้นที่ชุ่มน้ำทุ่งบึงกะโล่” ที่ จ.อุตรดิตถ์ ในอดีตก่อนการสร้างเขื่อนสิริกิติ์ ถูกใช้เป็นพื้นที่รองรับน้ำล้นตลิ่งจากแม่น้ำน่านมาเก็บกักไว้ในช่วงหน้าฝน ปัจจุบันเป็นแหล่งที่พักอาศัยของนกน้ำประจำถิ่นและนกน้ำอพยพตามฤดูกาลจำนวนมาก และเป็นแหล่งดูนกหายากที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคเหนือ
นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน เปิดเผยว่า ในวันพรุ่งนี้ (2 ก.พ.54) ซึ่งเป็นวัน “พื้นที่ชุ่มน้ำโลก” ซึ่งไทยก็เป็นสมาชิกขององค์การแรมซาร์ไซต์ อันดับที่ 110 แต่ปรากฏว่า ในพื้นที่ชุ่มน้ำทุ่งบึงกะโล่ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ เนื้อที่กว่า 7,500 ไร่ กลับถูกหน่วยราชการต่างๆ มากกว่า 24 หน่วยงาน ขอใช้พื้นที่จาก ส.ป.ก.เพื่อก่อสร้างเป็นอาคารสถานที่ของแต่ละหน่วยงาน เช่น มหาวิทยาลัยสาขาของราชภัฏอุตรดิตถ์ขอใช้ 2,000 ไร่ ,วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สาขาอุตรดิตถ์ ขอใช้ 250 ไร่ ซึ่งปัจจุบันกำลังเร่งปรับพื้นที่กันอยู่ และหน่วยงานราชการอื่นๆ อีกรวมเนื้อที่ที่ขอใช้หรือบุกรุกกว่า 4,262 ไร่ โดยไม่สนใจเลยว่าเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ เพื่อประโยชน์ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นพื้นที่รองรับน้ำเพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วมของจังหวัด
อีกทั้งยังมีมติ ครม.วันที่ 3 พ.ย.2552 สั่งหน่วยงานราชการทุกหน่วยงานห้ามบุกรุกหรือใช้ประโยชน์จากพื้นที่ชุ่มน้ำทั่วประเทศโดยเด็ดขาด รวมไปถึงชาวบ้านในพื้นที่จะพยายามร้องคัดค้านอย่างหนักมาแล้วก็ตาม
นายศรีสุวรรณบอกอีกว่า ทางสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน เห็นว่าหากปล่อยให้หน่วยงานรัฐดังกล่าวใช้อำนาจโดยพลการ ไม่สนใจว่าพื้นที่ชุ่มน้ำมีค่าควรแก่การอนุรักษ์รักษาไว้หรือไม่ หรือไม่สนใจมติ ครม.ดังกล่าวเลย จึงต้องหาทางยุติปัญหาและอนุรักษ์พื้นที่ดังกล่าวไว้เพื่อประโยชน์ต่ออนุชนคนรุ่นหลัง ไม่ปล่อยให้ข้าราชการเหล่านี้ใช้อำนาจโดยพลการต่อไปได้อีก
ดังนั้น สมาคมฯ จึงร่วมมือกับชาวบ้าน เตรียมยื่นฟ้องร้องเพื่อยุติการอนุญาตใช้พื้นที่ทุ่งบึงกะโล่ต่อศาลปกครองกลาง ถนนแจ้งวัฒนะ ในวันพรุ่งนี้ (2 ก.พ.) ซึ่งถือเป็นวันพื้นที่ชุ่มน้ำโลกด้วย
ทั้งนี้ “พื้นที่ชุ่มน้ำทุ่งบึงกะโล่” ที่ จ.อุตรดิตถ์ ในอดีตก่อนการสร้างเขื่อนสิริกิติ์ ถูกใช้เป็นพื้นที่รองรับน้ำล้นตลิ่งจากแม่น้ำน่านมาเก็บกักไว้ในช่วงหน้าฝน ปัจจุบันเป็นแหล่งที่พักอาศัยของนกน้ำประจำถิ่นและนกน้ำอพยพตามฤดูกาลจำนวนมาก และเป็นแหล่งดูนกหายากที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคเหนือ