กาญจน์บุรี -ซีพีเอฟ นำคณะสื่อมวลชนเข้าเยี่ยมชมมาตรฐานฟาร์มสุกรซีพีเอฟ ผู้ผลิตสุกรปลอดสาร ที่มีคุณภาพ ปลอดภัย สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ในทุกกระบวนการผลิต ภายใต้ระบบการจัดการฟาร์มด้วยเทคโนโลยีทันสมัยที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการป้องกันโรคอย่างเข้มงวด ณ ฟาร์มสุกรพันธุ์กาญจนบุรี อ.ห้วยกระเจา จ.กาญจนบุรี
เมื่อเร็วๆนี้ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ผู้นำด้านเกษตรอุตสาหกรรมและอาหาร นำคณะสื่อมวลชนเข้าเยี่ยมชมมาตรฐานฟาร์มสุกรซีพีเอฟ ผู้ผลิตสุกรปลอดสาร ที่มีคุณภาพ ปลอดภัย สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ในทุกกระบวนการผลิต ภายใต้ระบบการจัดการฟาร์มด้วยเทคโนโลยีทันสมัยที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการป้องกันโรคอย่างเข้มงวด ณ ฟาร์มสุกรพันธุ์กาญจนบุรี อ.ห้วยกระเจา จ.กาญจนบุรี โดยมี นายสมพร เจิมพงศ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธุรกิจสุกร ซีพีเอฟ พร้อมคณะให้การต้อนรับ
นายสมพร เจิมพงศ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธุรกิจสุกร ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า จากจุดเริ่มต้นในฐานะบริษัทของคนไทยที่มุ่งมั่นค้นคว้าวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมการเกษตร วันนี้ ซีพีเอฟเป็นที่รู้จักและยอมรับจากผู้บริโภคในฐานะผู้นำด้านอุตสาหกรรมอาหาร ด้วยเทคโนโลยีการผลิตอันทันสมัย ได้มาตรฐาน ปลอดสาร ปลอดภัย ถูกสุขอนามัย และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกร ที่บริษัทมีเทคโนโลยีการผลิตสุกรปลอดสารที่ก้าวหน้าและมีมาตรฐาน สามารถควบคุมการผลิตตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง เพื่อการบริโภคอย่างปลอดภัย
การดำเนินกิจการอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นนโยบายหลักของซีพีเอฟ ที่ทุกหน่วยงานต้องถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ธุรกิจสุกรก็ได้รับเอานโยบายมาดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยตระหนักเสมอว่า ธุรกิจของบริษัทต้องไม่ส่งผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม จึงมีแนวคิดที่จะทำให้ฟาร์มกาญจนบุรีแห่งนี้เป็น กรีนฟาร์ม ที่เน้นการควบคุมด้านสิ่งแวดล้อม ประหยัดพลังงานและใส่ใจชุมชนรอบข้าง เราเลือกใช้ไบโอแก๊สระบบบ่อหมักแบบพลาสติกคลุมบ่อ หรือ Cover Lagoon ซึ่งเป็นระบบปิดที่ปูพื้นบ่อหมักด้วยวัสดุป้องกันน้ำรั่วซึมลงสู่ผิวดิน และคลุมปากบ่อด้วยแผ่นพลาสติกพีอี PE (Polyethylene) จึงตัดโอกาสที่จะเกิดกลิ่นออกจากระบบและแมลงวันที่จะไปรบกวนชุมชน
ส่วนน้ำที่ออกจากระบบไบโอแก๊สก็มีระบบบำบัดที่มีประสิทธิภาพสูง และซีพีเอฟมีนโยบายที่จะไม่ปล่อยน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วออกสู่ภายนอกฟาร์ม ถึงแม้ว่าน้ำจะผ่านมาตรฐานของกรมควบคุมมลพิษแล้วก็ตาม แต่เนื่องจากน้ำสามารถนำไปใช้กับพืชผลทางการเกษตรได้อย่างเหมาะสม จึงมีพี่น้องเกษตรกรในชุมชนใกล้เคียงหลายรายมาติดต่อขอนำไปใช้ในไร่อ้อย ซึ่งช่วยเพิ่มคุณภาพผลผลิตได้เป็นอย่างดี
อย่างไรก็ตาม แม้ระบบบำบัดของเราจะมีประสิทธิภาพเพียงใด แต่ก็ยังคงมีความกังวลว่าอาจจะมีกลิ่นหลงเหลืออยู่ จึงพัฒนา ระบบฟอกอากาศ มาช่วยลดกลิ่นที่จะออกจากโรงเรือนเพิ่มเติม เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่มีกลิ่นรบกวนชุมชน ซีพีเอฟถือเป็นบริษัทแรกของไทย ที่พัฒนาและนำระบบนี้มาใช้แก้ปัญหาเรื่องกลิ่นได้อย่างเป็นรูปธรรม ถึงแม้จะใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง เราก็ยินดี เพื่อให้ฟาร์มของเราไม่ก่อผลกระทบกับชุมชน และสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข นายสมพร กล่าวและว่า
ระบบฟอกอากาศ จะถูกติดตั้งไว้ด้านหลังพัดลมระบายอากาศบริเวณท้ายโรงเรือน โดยกระบวนการลดกลิ่นจะเริ่มจาก การใช้น้ำเพื่อปรับสภาพให้ปริมาณฝุ่นละอองในอากาศลดลงเหลือน้อยที่สุด จากนั้นใช้กรดอ่อนเพื่อดักจับกลิ่นที่เหลืออยู่ และในชั้นสุดท้ายจะติดตั้งระบบชีวภาพ โดยใช้วัสดุธรรมชาติ เช่น กาบมะพร้าว หรือเศษเยื่อไม้ ที่สามารถดักจับกลิ่นได้ดี พบว่า ระบบฟอกอากาศสามารถลดกลิ่นเหม็นและกลิ่นของแก๊สแอมโมเนีย ที่ออกจากโรงเรือนเลี้ยงสุกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังปลูกไม้ดอกที่มีกลิ่นหอม อาทิ ต้นแก้ว ต้นปีบ ต้นจำปี บริเวณหน้าโรงเรือน ส่งผลให้ภายในฟาร์มและชุมชนรอบข้างมีสภาพแวดล้อมที่ดี ไม่มีมลภาวะรบกวน
ซีพีเอฟ มุ่งศึกษาเพื่อให้ได้เทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้พัฒนาประสิทธิภาพการผลิตสุกร ตั้งแต่การพัฒนาเทคโนโลยีโรงเรือนระบบปิดปรับอากาศด้วยการระเหยของน้ำ หรือ Evaporative Cooling System (EVAP) ที่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือนให้เหมาะสมกับความต้องการของสุกร ทั้งยังสามารถป้องกันโรคได้ และการนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ควบคุมการจัดการภายในโรงเรือนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงเทคโนโลยีการผลิตแก๊สชีวภาพ หรือไบโอแก๊ส (Biogas) ที่ซีพีเอฟถือเป็นผู้นำในการใช้ระบบดังกล่าวเป็นรายแรกๆ ของประเทศ ทำให้สามารถบริหารจัดการของเสียจากการเลี้ยงสุกรได้อย่างเป็นระบบ ช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากปัญหามลภาวะทางอากาศ ลดกลิ่นเหม็น และแมลงวัน
ทั้งยังช่วยลดต้นทุนการผลิต จากแก๊สชีวภาพที่เปลี่ยนเป็นกระแสไฟฟ้า เพื่อใช้ในฟาร์มได้แทบทั้งระบบ ส่วนกากตะกอนหลังการบำบัด ยังมีคุณค่าทางอาหารที่เหมาะสำหรับพืชเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ ยังพัฒนาให้มีระบบชักกากเพิ่มเติม เพื่อชักเอากากตะกอนในบ่อหมักออก ช่วยแก้ปัญหากากตะกอนเต็มเร็วเกินไป และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายจากการที่จะต้องเปิดพลาสติกคลุมปากบ่อ หากใช้ระบบ Cover Lagoon เพียงอย่างเดียว
ทั้งนี้ ซีพีเอฟมิได้ใช้เทคโนโลยีเฉพาะในฟาร์มของบริษัทเท่านั้น ยังส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรในโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสุกรกับบริษัท สร้างโรงเรือนระบบปิดและระบบบ่อหมักแก๊สชีวภาพ ในรูปแบบที่เหมาะสมกับเกษตรกรแต่ละราย เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากระบบดังกล่าว
เมื่อเร็วๆนี้ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ผู้นำด้านเกษตรอุตสาหกรรมและอาหาร นำคณะสื่อมวลชนเข้าเยี่ยมชมมาตรฐานฟาร์มสุกรซีพีเอฟ ผู้ผลิตสุกรปลอดสาร ที่มีคุณภาพ ปลอดภัย สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ในทุกกระบวนการผลิต ภายใต้ระบบการจัดการฟาร์มด้วยเทคโนโลยีทันสมัยที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการป้องกันโรคอย่างเข้มงวด ณ ฟาร์มสุกรพันธุ์กาญจนบุรี อ.ห้วยกระเจา จ.กาญจนบุรี โดยมี นายสมพร เจิมพงศ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธุรกิจสุกร ซีพีเอฟ พร้อมคณะให้การต้อนรับ
นายสมพร เจิมพงศ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธุรกิจสุกร ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า จากจุดเริ่มต้นในฐานะบริษัทของคนไทยที่มุ่งมั่นค้นคว้าวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมการเกษตร วันนี้ ซีพีเอฟเป็นที่รู้จักและยอมรับจากผู้บริโภคในฐานะผู้นำด้านอุตสาหกรรมอาหาร ด้วยเทคโนโลยีการผลิตอันทันสมัย ได้มาตรฐาน ปลอดสาร ปลอดภัย ถูกสุขอนามัย และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกร ที่บริษัทมีเทคโนโลยีการผลิตสุกรปลอดสารที่ก้าวหน้าและมีมาตรฐาน สามารถควบคุมการผลิตตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง เพื่อการบริโภคอย่างปลอดภัย
การดำเนินกิจการอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นนโยบายหลักของซีพีเอฟ ที่ทุกหน่วยงานต้องถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ธุรกิจสุกรก็ได้รับเอานโยบายมาดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยตระหนักเสมอว่า ธุรกิจของบริษัทต้องไม่ส่งผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม จึงมีแนวคิดที่จะทำให้ฟาร์มกาญจนบุรีแห่งนี้เป็น กรีนฟาร์ม ที่เน้นการควบคุมด้านสิ่งแวดล้อม ประหยัดพลังงานและใส่ใจชุมชนรอบข้าง เราเลือกใช้ไบโอแก๊สระบบบ่อหมักแบบพลาสติกคลุมบ่อ หรือ Cover Lagoon ซึ่งเป็นระบบปิดที่ปูพื้นบ่อหมักด้วยวัสดุป้องกันน้ำรั่วซึมลงสู่ผิวดิน และคลุมปากบ่อด้วยแผ่นพลาสติกพีอี PE (Polyethylene) จึงตัดโอกาสที่จะเกิดกลิ่นออกจากระบบและแมลงวันที่จะไปรบกวนชุมชน
ส่วนน้ำที่ออกจากระบบไบโอแก๊สก็มีระบบบำบัดที่มีประสิทธิภาพสูง และซีพีเอฟมีนโยบายที่จะไม่ปล่อยน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วออกสู่ภายนอกฟาร์ม ถึงแม้ว่าน้ำจะผ่านมาตรฐานของกรมควบคุมมลพิษแล้วก็ตาม แต่เนื่องจากน้ำสามารถนำไปใช้กับพืชผลทางการเกษตรได้อย่างเหมาะสม จึงมีพี่น้องเกษตรกรในชุมชนใกล้เคียงหลายรายมาติดต่อขอนำไปใช้ในไร่อ้อย ซึ่งช่วยเพิ่มคุณภาพผลผลิตได้เป็นอย่างดี
อย่างไรก็ตาม แม้ระบบบำบัดของเราจะมีประสิทธิภาพเพียงใด แต่ก็ยังคงมีความกังวลว่าอาจจะมีกลิ่นหลงเหลืออยู่ จึงพัฒนา ระบบฟอกอากาศ มาช่วยลดกลิ่นที่จะออกจากโรงเรือนเพิ่มเติม เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่มีกลิ่นรบกวนชุมชน ซีพีเอฟถือเป็นบริษัทแรกของไทย ที่พัฒนาและนำระบบนี้มาใช้แก้ปัญหาเรื่องกลิ่นได้อย่างเป็นรูปธรรม ถึงแม้จะใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง เราก็ยินดี เพื่อให้ฟาร์มของเราไม่ก่อผลกระทบกับชุมชน และสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข นายสมพร กล่าวและว่า
ระบบฟอกอากาศ จะถูกติดตั้งไว้ด้านหลังพัดลมระบายอากาศบริเวณท้ายโรงเรือน โดยกระบวนการลดกลิ่นจะเริ่มจาก การใช้น้ำเพื่อปรับสภาพให้ปริมาณฝุ่นละอองในอากาศลดลงเหลือน้อยที่สุด จากนั้นใช้กรดอ่อนเพื่อดักจับกลิ่นที่เหลืออยู่ และในชั้นสุดท้ายจะติดตั้งระบบชีวภาพ โดยใช้วัสดุธรรมชาติ เช่น กาบมะพร้าว หรือเศษเยื่อไม้ ที่สามารถดักจับกลิ่นได้ดี พบว่า ระบบฟอกอากาศสามารถลดกลิ่นเหม็นและกลิ่นของแก๊สแอมโมเนีย ที่ออกจากโรงเรือนเลี้ยงสุกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังปลูกไม้ดอกที่มีกลิ่นหอม อาทิ ต้นแก้ว ต้นปีบ ต้นจำปี บริเวณหน้าโรงเรือน ส่งผลให้ภายในฟาร์มและชุมชนรอบข้างมีสภาพแวดล้อมที่ดี ไม่มีมลภาวะรบกวน
ซีพีเอฟ มุ่งศึกษาเพื่อให้ได้เทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้พัฒนาประสิทธิภาพการผลิตสุกร ตั้งแต่การพัฒนาเทคโนโลยีโรงเรือนระบบปิดปรับอากาศด้วยการระเหยของน้ำ หรือ Evaporative Cooling System (EVAP) ที่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือนให้เหมาะสมกับความต้องการของสุกร ทั้งยังสามารถป้องกันโรคได้ และการนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ควบคุมการจัดการภายในโรงเรือนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงเทคโนโลยีการผลิตแก๊สชีวภาพ หรือไบโอแก๊ส (Biogas) ที่ซีพีเอฟถือเป็นผู้นำในการใช้ระบบดังกล่าวเป็นรายแรกๆ ของประเทศ ทำให้สามารถบริหารจัดการของเสียจากการเลี้ยงสุกรได้อย่างเป็นระบบ ช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากปัญหามลภาวะทางอากาศ ลดกลิ่นเหม็น และแมลงวัน
ทั้งยังช่วยลดต้นทุนการผลิต จากแก๊สชีวภาพที่เปลี่ยนเป็นกระแสไฟฟ้า เพื่อใช้ในฟาร์มได้แทบทั้งระบบ ส่วนกากตะกอนหลังการบำบัด ยังมีคุณค่าทางอาหารที่เหมาะสำหรับพืชเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ ยังพัฒนาให้มีระบบชักกากเพิ่มเติม เพื่อชักเอากากตะกอนในบ่อหมักออก ช่วยแก้ปัญหากากตะกอนเต็มเร็วเกินไป และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายจากการที่จะต้องเปิดพลาสติกคลุมปากบ่อ หากใช้ระบบ Cover Lagoon เพียงอย่างเดียว
ทั้งนี้ ซีพีเอฟมิได้ใช้เทคโนโลยีเฉพาะในฟาร์มของบริษัทเท่านั้น ยังส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรในโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสุกรกับบริษัท สร้างโรงเรือนระบบปิดและระบบบ่อหมักแก๊สชีวภาพ ในรูปแบบที่เหมาะสมกับเกษตรกรแต่ละราย เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากระบบดังกล่าว