ตาก - แกนนำกลุ่มชาวไทยพลัดถิ่นจังหวัดตากยื่นหนังสือผ่านทางจังหวัดจี้ มท.1 เร่งพิจารณาให้สัญชาติคนไทยพลัดถิ่นกว่า 800 คน หลังกระบวนการพิสูจน์เสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ยังเกิดความล่าช้า ส่งผลต่อสิทธิขั้นพื้นฐาน
รายงานจากจังหวัดตากแจ้งว่า แกนนำกลุ่มชาวไทยพลัดถิ่นในพื้นที่ อ.แม่สอด จ.ตาก ได้ทำหนังสือพร้อมลงรายชื่อ คนไทยที่ยังไม่ได้รับสถานภาพและสัญชาติไทย เพื่อทวงถามส่งถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เพื่อขอให้เร่งพิจารณาให้สัญชาติกับคนไทยพลัดถิ่น จำนวนกว่า 800 คน
โดยระบุว่าคนไทยพลัดถิ่น มีพ่อ-แม่ พี่น้องเป็นคนไทย แต่ได้พลัดถิ่นฐานเดิมไปตั้งหลักปักฐานในประเทศเพื่อนบ้านเพื่อประกอบอาชีพ ที่สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากกระแสแม่น้ำเมยที่เปลี่ยนทิศและร่องน้ำไปอยู่อีกฝั่งหนึ่งเมื่อหลายสิบปีก่อน จนทำให้มีพื้นที่บางส่วนไปอยู่ฝั่งประเทศเพื่อนบ้าน
โดยก่อนหน้านี้เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา คณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติผู้ไร้สัญชาติและผู้พลัดถิ่น สภาทนายความ นำโดยนายสุรพงษ์ จันทร์กองทึก รองประธานคณะกรรมการชุดดังกล่าว พร้อมคณะกว่า 10 คน ได้เดินทางมาพบกับแกนนำและคนไทยพลัดถิ่น ที่วัดพระธาตุ ต.แม่ปะ อ.แม่สอด จ.ตาก
ทั้งนี้ เพื่อให้คนไทยพลัดถิ่นมีโอกาสได้ซักถามและสอบถามปัญหาต่างๆ ที่ได้รับ และได้จัดให้พบกับฝ่ายกฎหมายหลังจากรับทราบปัญหา ซึ่งส่วนมากมีปัญหาเรื่องสิทธิต่างๆ และการแจ้งบุตรเข้าทะเบียนราษฎร์ หรือ การออกหนังสือรับรองบุตรว่า ได้คลอดในประเทศไทยจริง รวมทั้งปัญหาการได้รับสัญชาติไทยที่ล่าช้า และได้มีการทำหนังสือทวงถามความคืบหน้ากับ รมว.มหาดไทย
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า ขณะนี้คนไทยพลัดถิ่นกำลังมีปัญหาเรื่องสถานบุคคล เนื่องจากมีหลายคนได้ผ่านกระบวนการพิสูจน์เป็นคนไทยแล้ว แต่ยังมีข้อสงสัยว่า ทำไมถึงล่าช้า ซึ่งอาจจะเกี่ยวกับการติดขัดการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ ซึ่งจะต้องดำเนินการต่อไป หรือ บางส่วนยังไม่คืบหน้าในเรื่องการให้สัญชาติไทย เพราะเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลหรือไม่
นอกจากนี้ยังพบว่า มีปัญหาเรื่องสิทธิของคนไทยพลัดถิ่น เช่น สิทธิในการรักษาพยาบาล และสิทธิในการรับการสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย ซึ่งอาจจะเป็นเพราะมีปัญหางบประมาณหรือไม่
ด้าน นางจันทร์ตา ปุ๊ดทา แกนนำคนไทยพลัดถิ่นในอำเภอแม่สอด กล่าวว่า อยากให้รัฐบาลเร่งช่วยเหลือคนไทยพลัดถิ่นที่ยังไม่ได้รับสัญชาติไทย กว่า 800 คนในพื้นที่อำเภอแม่สอด ซึ่งพวกเขามีเชื้อสายไทยทุกคน นอกจากนี้ยังมีปัญหาการนำบุตรเข้าทะเบียนในทะเบียนราษฎร์ ทั้งที่มีเอกสารสิทธิ์เช่น บิดาหนังสือสำคัญถิ่นที่อยู่ในพื้นที่ แต่ได้รับการปฏิเสธ โดยเจ้าหน้าที่อ้างว่า ไม่สามารถนำเข้าสู่ทะเบียนบ้าน อย่างไรก็ดี บางส่วนได้รับสัญชาติไทยตามมาตรา 23 บางส่วนได้รับสัญชาติไทยจากการตรวจ DNA
รายงานจากจังหวัดตากแจ้งว่า แกนนำกลุ่มชาวไทยพลัดถิ่นในพื้นที่ อ.แม่สอด จ.ตาก ได้ทำหนังสือพร้อมลงรายชื่อ คนไทยที่ยังไม่ได้รับสถานภาพและสัญชาติไทย เพื่อทวงถามส่งถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เพื่อขอให้เร่งพิจารณาให้สัญชาติกับคนไทยพลัดถิ่น จำนวนกว่า 800 คน
โดยระบุว่าคนไทยพลัดถิ่น มีพ่อ-แม่ พี่น้องเป็นคนไทย แต่ได้พลัดถิ่นฐานเดิมไปตั้งหลักปักฐานในประเทศเพื่อนบ้านเพื่อประกอบอาชีพ ที่สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากกระแสแม่น้ำเมยที่เปลี่ยนทิศและร่องน้ำไปอยู่อีกฝั่งหนึ่งเมื่อหลายสิบปีก่อน จนทำให้มีพื้นที่บางส่วนไปอยู่ฝั่งประเทศเพื่อนบ้าน
โดยก่อนหน้านี้เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา คณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติผู้ไร้สัญชาติและผู้พลัดถิ่น สภาทนายความ นำโดยนายสุรพงษ์ จันทร์กองทึก รองประธานคณะกรรมการชุดดังกล่าว พร้อมคณะกว่า 10 คน ได้เดินทางมาพบกับแกนนำและคนไทยพลัดถิ่น ที่วัดพระธาตุ ต.แม่ปะ อ.แม่สอด จ.ตาก
ทั้งนี้ เพื่อให้คนไทยพลัดถิ่นมีโอกาสได้ซักถามและสอบถามปัญหาต่างๆ ที่ได้รับ และได้จัดให้พบกับฝ่ายกฎหมายหลังจากรับทราบปัญหา ซึ่งส่วนมากมีปัญหาเรื่องสิทธิต่างๆ และการแจ้งบุตรเข้าทะเบียนราษฎร์ หรือ การออกหนังสือรับรองบุตรว่า ได้คลอดในประเทศไทยจริง รวมทั้งปัญหาการได้รับสัญชาติไทยที่ล่าช้า และได้มีการทำหนังสือทวงถามความคืบหน้ากับ รมว.มหาดไทย
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า ขณะนี้คนไทยพลัดถิ่นกำลังมีปัญหาเรื่องสถานบุคคล เนื่องจากมีหลายคนได้ผ่านกระบวนการพิสูจน์เป็นคนไทยแล้ว แต่ยังมีข้อสงสัยว่า ทำไมถึงล่าช้า ซึ่งอาจจะเกี่ยวกับการติดขัดการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ ซึ่งจะต้องดำเนินการต่อไป หรือ บางส่วนยังไม่คืบหน้าในเรื่องการให้สัญชาติไทย เพราะเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลหรือไม่
นอกจากนี้ยังพบว่า มีปัญหาเรื่องสิทธิของคนไทยพลัดถิ่น เช่น สิทธิในการรักษาพยาบาล และสิทธิในการรับการสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย ซึ่งอาจจะเป็นเพราะมีปัญหางบประมาณหรือไม่
ด้าน นางจันทร์ตา ปุ๊ดทา แกนนำคนไทยพลัดถิ่นในอำเภอแม่สอด กล่าวว่า อยากให้รัฐบาลเร่งช่วยเหลือคนไทยพลัดถิ่นที่ยังไม่ได้รับสัญชาติไทย กว่า 800 คนในพื้นที่อำเภอแม่สอด ซึ่งพวกเขามีเชื้อสายไทยทุกคน นอกจากนี้ยังมีปัญหาการนำบุตรเข้าทะเบียนในทะเบียนราษฎร์ ทั้งที่มีเอกสารสิทธิ์เช่น บิดาหนังสือสำคัญถิ่นที่อยู่ในพื้นที่ แต่ได้รับการปฏิเสธ โดยเจ้าหน้าที่อ้างว่า ไม่สามารถนำเข้าสู่ทะเบียนบ้าน อย่างไรก็ดี บางส่วนได้รับสัญชาติไทยตามมาตรา 23 บางส่วนได้รับสัญชาติไทยจากการตรวจ DNA