ลำปาง - เลขาธิการเครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะ รับรางวัล “นักสู้ภาคประชาชน” ร่วมกับ 3 นักต่อสู้เพื่อ ปชช.เนื่องในวันต่อต้านคอร์รัปชั่นสากล ประจำปี 52
นางสาวศิรัส วัชระสุขจิตร กรรมการ ป.ป.ช.ภาคประชาชน ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการประสานความร่วมมือและสื่อสารสาธารณะ ป.ป.ช.ภาคประชาชน เปิดเผยว่า เนื่องในวันต่อต้านคอรัปชันสากล ประจำปีพุทธศักราช 2552 ที่หอประชุมโพธิ์สามต้น สโมสรกองทัพเรือ กรุงเทพฯ เมื่อเร็วๆนี้ ได้มีพิธีมอบรางวัลเชิดชูเกียรติประกาศเกียรติคุณ “นักสู้ภาคประชาชน”
ทั้งนี้ มีผู้เข้ารับการประกาศเกียรติคุณดังกล่าว จำนวน 4 คน ประกอบด้วย
อันดับที่ 1 นายดาบตำรวจชิต ทองชิต อดีตตำรวจตงฉินผู้ไม่สยบยอมต่อการคอร์รัปชันของผู้บังคับบัญชา และเป็นผู้หาญกล้าในการต่อต้านเปิดโปงขบวนการส่วยทางหลวง (ส่วยสติ๊กเกอร์) จนถูกผู้เสียประโยชน์พยายามฆ่า ถูกตั้งคณะกรรมการสอบถึง 4 ครั้ง และถูกกลั่นแกล้งสารพัด จนต้องตัดสินใจลาออกจากราชการในปี 2544 เพื่อมาอาสาช่วยงานเครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชันอย่างแข็งขัน และผ่านการสรรหาเป็น กรรมการ ป.ป.ช.ภาคประชาชน ชุดก่อตั้งในปี 2550 ก่อนจะถูกลอบยิงเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2552 และเสียชีวิตในอีก 4 วันถัดมา โดยก่อนหน้านั้นมีรายงานว่า เขากำลังจะเปิดโปงพฤติการณ์ของผู้มีอิทธิพลที่อยู่เบื้องหลังขบวนการส่วยทางหลวง และมีความเชื่อมโยงกับขบวนการค้ายาเสพติด
อันดับที่ 2 นายอิฐทิ ขวัญอุดมพร อดีตกรรมการสหภาพแรงงานฯ กฟผ.ผู้เกษียณอายุงานก่อนกำหนดในปี 2545 เพื่อมาทำงานช่วยเหลือเกษตรกรชาวอีสานที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม พร้อมตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของ อบต.และเทศบาลต่างๆ อย่างแข็งขัน
ผลงานสำคัญหลังสุดคือการเป็นแกนนำชาวบ้านต่อสู้เรียกร้องค่าชดเชยจากการก่อสร้างเขื่อนลำปะทาว จ.ชัยภูมิ ที่ยืดเยื้อมาตั้งแต่ปี 2550 ถึงปัจจุบัน เขาได้ผ่านการสรรหาเป็นกรรมการ ป.ป.ช.ภาคประชาชน จ.นครราชสีมา เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2552 และอุทิศตนทำงานอย่างเสียสละและเข้มแข็งหลายกรณีทั้งในพื้นที่และส่วนกลาง ก่อนจะเสียชีวิตโดยไม่มีใครคาดด้วยโรคประจำตัวเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2552
อันดับที่ 3 นางมะลิวรรณ นาควิโรจน์ สามัญชนคนแม่เมาะผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤติการณ์มลพิษจากโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะของ กฟผ.ในปี 2535 ที่ส่งผลให้ชาวบ้านนับพันล้มป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจ ผลผลิตทางการเกษตรและปศุสัตว์เสียหาย จนชาวแม่เมาะต้องลุกขึ้นสู้อย่างยืดเยื้อถึงปัจจุบัน เพราะไม่ได้รับการเยียวยาเท่าที่ควร ทั้งๆที่ต้องเสียสละเพื่อให้คนเกือบครึ่งประเทศได้มีไฟฟ้าใช้ ต้องทนเห็นเพื่อนบ้านค่อยๆ ล้มตายไปทีละคนๆ จากพิษของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซค์แหล่งใหญ่ที่สุดในภูมิภาคนี้
ปี 2545 เธอได้รับเลือกเป็น เลขาธิการเครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะ เรื่อยมา ซึ่งไม่เพียงต้องต่อสู้เรียกร้องความเป็นธรรมแก่ชาวบ้านเท่านั้น ยังต้องปกป้องทรัพยากรธรรมชาติให้รอดพ้นการย่ำยีจากเหมืองถ่านหินลิกไนต์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซ้ำต้องเผชิญกับการข่มขู่คุกคามจากอิทธิพลเถื่อนที่คอยฉวยโอกาสปล้นชิงผลประโยชน์บนความทุกข์ของชาวแม่เมาะ ถึงขั้นถูกขู่กลางเวทีสาธารณะว่า “ระวังหัวจะเป็นรู”
ปี 2550 และ 2552 ได้รับการสรรหาเป็น กรรมการ ป.ป.ช.ภาคประชาชน ชุดก่อตั้งและชุดปัจจุบันตามลำดับ ผลงานสำคัญหลังสุดคือการสู้คดีร่วมกับสภาทนายความ จนศาลปกครอง จ.เชียงใหม่ พิพากษาให้ กฟผ.จ่ายค่าชดเชยชาวบ้าน 131รายในเดือนมีนาคม 2552วงเงินทั้งสิ้นเพียง 22ล้านบาท แต่ กฟผ.ได้ยื่นอุทธรณ์โดยไม่ฟังเสียงวิงวอนจากชาวบ้านที่ทุกข์เข็ญมานาน ด้วยเหตุผลว่า “ต้องปกป้องศักดิ์ศรีของ กฟผ.” เธอจึงฝากคำถามกลับไปว่า “แล้วศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของชาวแม่เมาะอยู่ที่ไหน”
อันดับที่ 4 นายอิทธิกร อมรชินธนา เกษตรกรยุคใหม่ชาวบุรีรัมย์ ผู้รังเกียจความอยุติธรรมและการคอร์รัปชัน ปัจจุบันศึกษาในคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ด้วยความมุ่งมั่นจะใช้ความรู้ด้านกฎหมายมาพัฒนาศักยภาพการทำงานของภาคประชาชน เขาผ่านการสรรหาเป็นกรรมการ ป.ป.ช.ภาคประชาชนชุดปัจจุบัน และมีจิตอาสาทำงานอย่างไม่ย่อท้อต่อความเสี่ยงภัย
มีผลงานสำคัญในการปกป้องทรัพยากรของชาติและประโยชน์ของคนหมู่มาก เช่น ร่วมกับฝ่ายปกครองใน อ.นิคม จ.บุรีรัมย์ ตรวจสอบการออกเอกสารสิทธิ“โฉนดน้ำ”ทับที่สาธารณะประโยชน์โดยมิชอบ บริเวณริมฝั่งลำน้ำมูล จ.บุรีรัมย์ ที่เชื่อมโยงกับขบวนการลักลอบดูดทรายตลอดลำน้ำมูล, ร่วมกับชาวบ้านใน จ.สุรินทร์ ต่อสู้ทวงคืนผืนป่าสงวนแห่งชาติ “ดงหินล้ม”22,930 ไร่จาก
“สวนป่า ออป.ห้วยแก้ว” ขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ที่หมกเม็ดในการทำลายป่าสมบูรณ์และหาประโยชน์โดยมิชอบ ถึงขั้นทำลาย “สวนป่าเฉลิมพระเกียรติ”ย่อยยับชั่วข้ามวัน, กรณีผลักดันให้มีการดำเนินคดีกับผู้บุกรุกป่าดงแม่เผด จ.ร้อยเอ็ด 1,945 ไร่, กรณีตรวจสอบการทุจริตของคณะกรรมการ อบต.จ.ศรีสะเกษ ในการสอบบรรจุพนักงานส่วนตำบลหลายจังหวัด โดยได้เบาะแสชัดจากผู้เสียหายกว่า 3,000 คน และกรณีตรวจสอบการทุจริตโครงการ SML บ้านโคกก่อง อ.รัตนบุรี จ.สุรินทร์ จนอยู่ระหว่างการลงโทษผู้กระทำผิด
สำหรับ นางมะลิวรรณ เป็นแกนนำชาวบ้านใน อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง การเคลื่อนไหวเรียกร้องให้หน่วยงาน กฟผ.และองค์กรภาครัฐ ร่วมกันแก้ไขปัญหาผลกระทบเนื่องจากมลพิษของโครงการโรงไฟฟ้าและเหมืองลิกไนต์แม่เมาะ กฟผ. อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง ได้ก่อใหเกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและครอบครัวแตกแยก เพื่อให้ กฟผ.และรัฐบาลเข้าไปเยียวยา แก้ไขปัญหา นานกว่า 10 ปี กระทั่งหลังสุด ศาลปกครองเชียงใหม่ มีคำสั่งให้ กฟผ.ปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของชาวบ้าน คดีอยู่ในระหว่างอุทธรณ์ของ กฟผ.
นางสาวศิรัส วัชระสุขจิตร กรรมการ ป.ป.ช.ภาคประชาชน ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการประสานความร่วมมือและสื่อสารสาธารณะ ป.ป.ช.ภาคประชาชน เปิดเผยว่า เนื่องในวันต่อต้านคอรัปชันสากล ประจำปีพุทธศักราช 2552 ที่หอประชุมโพธิ์สามต้น สโมสรกองทัพเรือ กรุงเทพฯ เมื่อเร็วๆนี้ ได้มีพิธีมอบรางวัลเชิดชูเกียรติประกาศเกียรติคุณ “นักสู้ภาคประชาชน”
ทั้งนี้ มีผู้เข้ารับการประกาศเกียรติคุณดังกล่าว จำนวน 4 คน ประกอบด้วย
อันดับที่ 1 นายดาบตำรวจชิต ทองชิต อดีตตำรวจตงฉินผู้ไม่สยบยอมต่อการคอร์รัปชันของผู้บังคับบัญชา และเป็นผู้หาญกล้าในการต่อต้านเปิดโปงขบวนการส่วยทางหลวง (ส่วยสติ๊กเกอร์) จนถูกผู้เสียประโยชน์พยายามฆ่า ถูกตั้งคณะกรรมการสอบถึง 4 ครั้ง และถูกกลั่นแกล้งสารพัด จนต้องตัดสินใจลาออกจากราชการในปี 2544 เพื่อมาอาสาช่วยงานเครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชันอย่างแข็งขัน และผ่านการสรรหาเป็น กรรมการ ป.ป.ช.ภาคประชาชน ชุดก่อตั้งในปี 2550 ก่อนจะถูกลอบยิงเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2552 และเสียชีวิตในอีก 4 วันถัดมา โดยก่อนหน้านั้นมีรายงานว่า เขากำลังจะเปิดโปงพฤติการณ์ของผู้มีอิทธิพลที่อยู่เบื้องหลังขบวนการส่วยทางหลวง และมีความเชื่อมโยงกับขบวนการค้ายาเสพติด
อันดับที่ 2 นายอิฐทิ ขวัญอุดมพร อดีตกรรมการสหภาพแรงงานฯ กฟผ.ผู้เกษียณอายุงานก่อนกำหนดในปี 2545 เพื่อมาทำงานช่วยเหลือเกษตรกรชาวอีสานที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม พร้อมตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของ อบต.และเทศบาลต่างๆ อย่างแข็งขัน
ผลงานสำคัญหลังสุดคือการเป็นแกนนำชาวบ้านต่อสู้เรียกร้องค่าชดเชยจากการก่อสร้างเขื่อนลำปะทาว จ.ชัยภูมิ ที่ยืดเยื้อมาตั้งแต่ปี 2550 ถึงปัจจุบัน เขาได้ผ่านการสรรหาเป็นกรรมการ ป.ป.ช.ภาคประชาชน จ.นครราชสีมา เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2552 และอุทิศตนทำงานอย่างเสียสละและเข้มแข็งหลายกรณีทั้งในพื้นที่และส่วนกลาง ก่อนจะเสียชีวิตโดยไม่มีใครคาดด้วยโรคประจำตัวเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2552
อันดับที่ 3 นางมะลิวรรณ นาควิโรจน์ สามัญชนคนแม่เมาะผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤติการณ์มลพิษจากโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะของ กฟผ.ในปี 2535 ที่ส่งผลให้ชาวบ้านนับพันล้มป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจ ผลผลิตทางการเกษตรและปศุสัตว์เสียหาย จนชาวแม่เมาะต้องลุกขึ้นสู้อย่างยืดเยื้อถึงปัจจุบัน เพราะไม่ได้รับการเยียวยาเท่าที่ควร ทั้งๆที่ต้องเสียสละเพื่อให้คนเกือบครึ่งประเทศได้มีไฟฟ้าใช้ ต้องทนเห็นเพื่อนบ้านค่อยๆ ล้มตายไปทีละคนๆ จากพิษของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซค์แหล่งใหญ่ที่สุดในภูมิภาคนี้
ปี 2545 เธอได้รับเลือกเป็น เลขาธิการเครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะ เรื่อยมา ซึ่งไม่เพียงต้องต่อสู้เรียกร้องความเป็นธรรมแก่ชาวบ้านเท่านั้น ยังต้องปกป้องทรัพยากรธรรมชาติให้รอดพ้นการย่ำยีจากเหมืองถ่านหินลิกไนต์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซ้ำต้องเผชิญกับการข่มขู่คุกคามจากอิทธิพลเถื่อนที่คอยฉวยโอกาสปล้นชิงผลประโยชน์บนความทุกข์ของชาวแม่เมาะ ถึงขั้นถูกขู่กลางเวทีสาธารณะว่า “ระวังหัวจะเป็นรู”
ปี 2550 และ 2552 ได้รับการสรรหาเป็น กรรมการ ป.ป.ช.ภาคประชาชน ชุดก่อตั้งและชุดปัจจุบันตามลำดับ ผลงานสำคัญหลังสุดคือการสู้คดีร่วมกับสภาทนายความ จนศาลปกครอง จ.เชียงใหม่ พิพากษาให้ กฟผ.จ่ายค่าชดเชยชาวบ้าน 131รายในเดือนมีนาคม 2552วงเงินทั้งสิ้นเพียง 22ล้านบาท แต่ กฟผ.ได้ยื่นอุทธรณ์โดยไม่ฟังเสียงวิงวอนจากชาวบ้านที่ทุกข์เข็ญมานาน ด้วยเหตุผลว่า “ต้องปกป้องศักดิ์ศรีของ กฟผ.” เธอจึงฝากคำถามกลับไปว่า “แล้วศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของชาวแม่เมาะอยู่ที่ไหน”
อันดับที่ 4 นายอิทธิกร อมรชินธนา เกษตรกรยุคใหม่ชาวบุรีรัมย์ ผู้รังเกียจความอยุติธรรมและการคอร์รัปชัน ปัจจุบันศึกษาในคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ด้วยความมุ่งมั่นจะใช้ความรู้ด้านกฎหมายมาพัฒนาศักยภาพการทำงานของภาคประชาชน เขาผ่านการสรรหาเป็นกรรมการ ป.ป.ช.ภาคประชาชนชุดปัจจุบัน และมีจิตอาสาทำงานอย่างไม่ย่อท้อต่อความเสี่ยงภัย
มีผลงานสำคัญในการปกป้องทรัพยากรของชาติและประโยชน์ของคนหมู่มาก เช่น ร่วมกับฝ่ายปกครองใน อ.นิคม จ.บุรีรัมย์ ตรวจสอบการออกเอกสารสิทธิ“โฉนดน้ำ”ทับที่สาธารณะประโยชน์โดยมิชอบ บริเวณริมฝั่งลำน้ำมูล จ.บุรีรัมย์ ที่เชื่อมโยงกับขบวนการลักลอบดูดทรายตลอดลำน้ำมูล, ร่วมกับชาวบ้านใน จ.สุรินทร์ ต่อสู้ทวงคืนผืนป่าสงวนแห่งชาติ “ดงหินล้ม”22,930 ไร่จาก
“สวนป่า ออป.ห้วยแก้ว” ขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ที่หมกเม็ดในการทำลายป่าสมบูรณ์และหาประโยชน์โดยมิชอบ ถึงขั้นทำลาย “สวนป่าเฉลิมพระเกียรติ”ย่อยยับชั่วข้ามวัน, กรณีผลักดันให้มีการดำเนินคดีกับผู้บุกรุกป่าดงแม่เผด จ.ร้อยเอ็ด 1,945 ไร่, กรณีตรวจสอบการทุจริตของคณะกรรมการ อบต.จ.ศรีสะเกษ ในการสอบบรรจุพนักงานส่วนตำบลหลายจังหวัด โดยได้เบาะแสชัดจากผู้เสียหายกว่า 3,000 คน และกรณีตรวจสอบการทุจริตโครงการ SML บ้านโคกก่อง อ.รัตนบุรี จ.สุรินทร์ จนอยู่ระหว่างการลงโทษผู้กระทำผิด
สำหรับ นางมะลิวรรณ เป็นแกนนำชาวบ้านใน อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง การเคลื่อนไหวเรียกร้องให้หน่วยงาน กฟผ.และองค์กรภาครัฐ ร่วมกันแก้ไขปัญหาผลกระทบเนื่องจากมลพิษของโครงการโรงไฟฟ้าและเหมืองลิกไนต์แม่เมาะ กฟผ. อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง ได้ก่อใหเกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและครอบครัวแตกแยก เพื่อให้ กฟผ.และรัฐบาลเข้าไปเยียวยา แก้ไขปัญหา นานกว่า 10 ปี กระทั่งหลังสุด ศาลปกครองเชียงใหม่ มีคำสั่งให้ กฟผ.ปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของชาวบ้าน คดีอยู่ในระหว่างอุทธรณ์ของ กฟผ.