xs
xsm
sm
md
lg

กฟผ.มุ่งสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานทางเลือกใหม่

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ศูนย์ข่าวศรีราชา - การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเปิดสัมมนาสื่อมวลชนภาคตะวันออก พร้อมเปิดเผยยุทธศาสตร์การพัฒนาไฟฟ้าของประเทศ มุ่งเน้นให้เกิดเสถียรภาพความมั่นคงของระบบไฟฟ้าและราคาค่าไฟฟ้า รวมทั้งวางแผนกำหนดสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงในอนาคต ให้มีความเหมาะสมและหลากหลายเพื่อรักษาสมดุลด้านพลังงานเชื้อเพลิงของประเทศ

วันนี้ (9 ธ.ค.52) นายพีรพล ทองอยู่ ผู้อำนวยการปฏิบัติการฝ่ายปฏิบัติการภาคกลาง-บริหาร การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เป็นประธานในพิธีเปิดสัมมนาสื่อมวลชนภาคตะวันออก พร้อมเปิดเผยถึงยุทธศาสตร์การพัฒนาการผลิตไฟฟ้า ทางเลือกใหม่ของประเทศโดยมุ่งเน้นการส่งเสริมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเป็นหลัก เนื่องจากทรัพยากรธรรมชาติในการผลิตกระแสไฟฟ้า ปัจจุบันปริมาณลดน้อยลงมาก

ปัจจุบันสถิติการใช้ไฟฟ้าของประเทศไทย ได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติเป็นหลัก ได้แก่ น้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ ซึ่งขณะนี้การไฟฟ้ากำลังส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานหมุนเวียนและพลังงานทดแทน รูปแบบต่างๆ ควบคู่กันไป จึงจำเป็นต้องจัดหาแหล่งพลังงาน เพื่อผลิตไฟฟ้าให้ทันต่อความต้องไว้ล่วงหน้า ซึ่งเรื่องนี้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้ตระหนักถึงปัญหานี้มาโดยตลอด

นายพีรพล กล่าวต่อไปว่า สำหรับพลังงานนิวเคลียร์ นับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งตามแผนยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงพลังงานของประเทศ ทั้งนี้เทคโนโลยีและมาตรฐานความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้รับการพัฒนาต่อเนื่องมาเป็นระยะกว่า 50 ปี โดยปัจจุบันมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์กระจายอยู่ในต่างประเทศตทั่วโลกรวม 437 โรงไฟฟ้า รวมทั้งอยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้างเพิ่มอีกทั้งนี้ในทวีปอเมริกา ยุโรป และเอเซีย ล่าสุดประเทศเวียดนามก็ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลแล้วให้มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศได้

สำหรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ในความเป็นจริงส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระดับต่ำมาก เนื่องจากปลอดก๊าซเลือนกระจก เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ หรือก๊าซที่เป็นภัยต่อสุขภาพ เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไนโตรเจนไดออกไซด์ ซึ่งความร้อนที่เหลือจากการผลิตไฟฟ้าในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีมากกว่าโรงไฟฟ้าพลังความร้อนทั่วไปในกำลังผลิตเท่ากัน ที่สำคัญการออกแบบยังคงยึดตามกฎเกณฑ์มาตรฐานทั่วโลกด้านสิ่งแวดล้อม ในการออกแบบและก่อสร้างด้วย

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ใช้เงินลงทุนก่อสร้างตลอดจนค่าเดินเครื่องและบำรุงรักษาสูงกว่าโรงไฟฟ้าพลังความร้อนชนิดอื่น เนื่องจากมีมาตรการความปลอดภัยหลายชั้น แต่จะได้เปรียบด้านต้นทุนการผลิตต่อหน่วยถูกกว่าเนื่องจากราคาค่าเชื้อเพลิงต่ำ และไม่ผันผวนเช่นเดียวกับ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ

สำหรับมาตรฐานความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็นไปตามมาตรฐานของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) โดยคำนึงถึงความปลอดภัยต่อ สาธารณชนและสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ เช่น ใช้เชื้อยูเรเนียมที่มีความเข้มข้นต่ำ และปฏิกรณ์ได้รับการออกแบบให้ทำงานเฉพาะในสภาวะปฏิกิริยาแตกตัวคงที่เท่านั้น ไม่สามารถเกิดการระเบิดในลักษณะเดียวกับระเบิดปรมาณู มีส่วนปิดกั้นรังสีหลายชั้นและมีระบบป้องกันฉุกเฉิน

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ นับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เป็นที่ยอมรับของประเทศทั่วโลก ซึ่งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นี้จะเป็นแนวทางการพัฒนาเพื่อผลิตไฟฟ้า อันเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตและการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศสืบต่อไป

นายพีรพล กล่าวว่า สำหรับโรงฟ้านิวเคลียร์ ตามแผนงานในประเทศนั้นจะต้องมีโครงการนี้เกิดขึ้นในช่วงปี 2564 ซึ่งเหลือระยะเวลาอีกประมาณ 10 กว่านี้ ดังนั้น น่วยานที่รับผิดชอบจะต้องเร่งสร้างความเข้าใจต่อประชาชน ถึงผลดีและผลเสียที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
กำลังโหลดความคิดเห็น