ศูนย์ข่าวขอนแก่น-โรงพยาบาลขอนแก่นขอเชิญทอดผ้าป่าสามัคคี เพื่อสมทบทุนมูลนิธิตึกสงฆ์สมเด็จพระพุธาจารย์ (อาจ อาสภมหาเร)
โรงพยาบาลขอนแก่นขอเชิญผู้สนใจร่วมทอดผ้าป่าสามัคี ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 7 ธันวาคม 2552 ณ ้องประชุมจำลอง มุ่งการดี ชั้น 4 อาคารสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โรงพยาบาลขอนแก่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสมทบทุน มูลนิธิตึกสงฆ์สมเด็จพระุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหเถร) ซึ่งจะนำดอกผลที่ได้จากการทอดผ้าป่าสามัคคีนี้ไปสนับสนุนกิจกรรมการรักษาพยาบาลพระภิกษุสงฆ์อาพาธ ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลขอนแก่น ดังพระพุทธดำรัสที่ว่า “ผู้ใดประสงค์จะบำรุงพระตถาคต พึงบำรุงพระภิษุอาพาธนั้นเถิด”
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) อธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎ์ สภานายกสภามหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก เคยดำรงตำหน่งผู้ปฏิบัติหน้าี่ที่สมเด็จพระสังฆราช (ช่วงก่อนสถาปนา) มีนามเดิมว่า อาจ ดงมาลา เกิดที่บ้านโต้น อำเภอเมือง จังหวัขอนแก่น เมื่อ พ.ศ.2446 เป็นบุตรนายพิมพ์ และ นางแจ้ ดวงมาลา เป็นบุตรคนที่ 2 ในจำนวนบุตร 4 คน และบุตรี 2 คน อายุ 14 ปีได้บรรพชาเป็นสมเณร ณ วัดศรีจันทร์ โดยมีเจ้าอธิการหน่อ เจ้าอาวาสวัดศรีจันทร์ เป็นพระุอุปัชฌาย์ พอบวชเสร็จได้ร่ำเรียนอักษรลาว และอักษรไทยควบคู่กันไป โดยพระอาจารย์หนูเป็นครูสอน
ปีรุ่งขึ้น ทางราชการได้ประกาศให้พระภิกษุสามเณรและคฤหัถห์ที่มีความรู้ภาษาไทย ให้เข้าศึกษาอบรมวิชาครูที่โรงเรียนประจำจังหวัด 1 ปี ท่านติดอันดับที่ 4 ในจำนวนผู้สอบ 70 กว่าคน และเป็นครูสอน 3 ปี แล้วลาออกเพื่อาศึกษาพระปริยัติธรมในกรุงเทพฯ
ช่วงแรกได้มาพำนักที่วัดพระยายังแล้วย้ายไปยู่วัดชนะสงคราม สมัครเรียนบาีลีนักธรรม ในมหาธาตุวิทยาลัย วัดมหาธาตุ แล้วย้ายมาอยู่วัดมหาธาตุในความปกครองของสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่พระธรรมไตรโลกาจารย์ ลุถึงปีพ.ศ. 2466 อุปสมบทเป็นพระ ณ พัทธสีมาวัดหาธาตุ โดมีสมเด็จพระวันรัต (เฮง) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า" อาสโภ" อันมีความมายว่า ผู้กล้า,ผู้องอาจ
เพียง 12 พรรษาก็ได้รับโปรดเกล้าฯสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่"พระศรีสุธรรมมุนี" ก่อนขึ้นเป็นชั้นราชในราชทินนาเดิม ชั้นเทพที่"พระเทพเวที" ชั้นธรรมที่"พระธรรมไตรลกาจารย์" และชั้นรองสมเด็จที่ “พระพิมลธรรม” เมื่อปี 2492
ด้วยวัย 46 ปี 26 พรรษา เป็นพระราชาคณะชั้นสุพรรณบัญหรือรองสมเด็จที่อาุยุน้อยที่สุด และมีอำนาจการบริหารกิจการทางคณะสงฆ์สูง เป็นสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง เทียบกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พ่วงตำแหน่งแม่ท่องธรรมสนามหลวง และองค์ทุติยสภามหาวิทยาลัยต่อจากพระอุปัชฌาย์
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) เป็นพระเถระผู้ใฝ่ในความเจริญงอกงามของพระพุทธศาสนาทั้งฝ่ายปริยัตและปฏิบัติ ผลงานของพระเดชพระคุณได้ขจรกระจายไปทั่วโลก และได้สร้างความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ เช่น ประเทศพม่า อินเดีย ศรีัลังกา อังกฤษ และอเมริกา เป็นต้น อันเป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาได้เผยแผ่ไปทั่วทุกมุมโลก เป็นอัครมหาบัณฑิตโดยรัฐบาลพม่าได้ถวายเกียรติคุณครั้งนี้ในโอกาสที่เป็นหัวหน้าคณะเดินทางไปร่วมงานฉัฎฐสังคายนาประเทศพม่า
นับเป็นพระสงฆ์ไทยรูปแรกที่ได้รับฐานันดรศักดิ์นี้ และองค์ท่านยังเป็นผู้ริเริ่มการตรวจชำระและจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับ “มหาจุฬาเตปิฎก” เพื่อสนองพระราชปรารภในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่โปรดเกล้าฯ ให้พระภิกษุสามเณรได้เรียนพระไตรปิฎก
สมเด็จพระพุฒาจารย์ถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2532 เวลา 11.15 นาฬิกา ณ โงพยาบาลสยาม กรุงเทพหานคร รวมอายุได้ 86 ปีี กับ 1 เดือน
โรงพยาบาลขอนแก่นขอเชิญผู้สนใจร่วมทอดผ้าป่าสามัคี ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 7 ธันวาคม 2552 ณ ้องประชุมจำลอง มุ่งการดี ชั้น 4 อาคารสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โรงพยาบาลขอนแก่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสมทบทุน มูลนิธิตึกสงฆ์สมเด็จพระุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหเถร) ซึ่งจะนำดอกผลที่ได้จากการทอดผ้าป่าสามัคคีนี้ไปสนับสนุนกิจกรรมการรักษาพยาบาลพระภิกษุสงฆ์อาพาธ ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลขอนแก่น ดังพระพุทธดำรัสที่ว่า “ผู้ใดประสงค์จะบำรุงพระตถาคต พึงบำรุงพระภิษุอาพาธนั้นเถิด”
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) อธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎ์ สภานายกสภามหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก เคยดำรงตำหน่งผู้ปฏิบัติหน้าี่ที่สมเด็จพระสังฆราช (ช่วงก่อนสถาปนา) มีนามเดิมว่า อาจ ดงมาลา เกิดที่บ้านโต้น อำเภอเมือง จังหวัขอนแก่น เมื่อ พ.ศ.2446 เป็นบุตรนายพิมพ์ และ นางแจ้ ดวงมาลา เป็นบุตรคนที่ 2 ในจำนวนบุตร 4 คน และบุตรี 2 คน อายุ 14 ปีได้บรรพชาเป็นสมเณร ณ วัดศรีจันทร์ โดยมีเจ้าอธิการหน่อ เจ้าอาวาสวัดศรีจันทร์ เป็นพระุอุปัชฌาย์ พอบวชเสร็จได้ร่ำเรียนอักษรลาว และอักษรไทยควบคู่กันไป โดยพระอาจารย์หนูเป็นครูสอน
ปีรุ่งขึ้น ทางราชการได้ประกาศให้พระภิกษุสามเณรและคฤหัถห์ที่มีความรู้ภาษาไทย ให้เข้าศึกษาอบรมวิชาครูที่โรงเรียนประจำจังหวัด 1 ปี ท่านติดอันดับที่ 4 ในจำนวนผู้สอบ 70 กว่าคน และเป็นครูสอน 3 ปี แล้วลาออกเพื่อาศึกษาพระปริยัติธรมในกรุงเทพฯ
ช่วงแรกได้มาพำนักที่วัดพระยายังแล้วย้ายไปยู่วัดชนะสงคราม สมัครเรียนบาีลีนักธรรม ในมหาธาตุวิทยาลัย วัดมหาธาตุ แล้วย้ายมาอยู่วัดมหาธาตุในความปกครองของสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่พระธรรมไตรโลกาจารย์ ลุถึงปีพ.ศ. 2466 อุปสมบทเป็นพระ ณ พัทธสีมาวัดหาธาตุ โดมีสมเด็จพระวันรัต (เฮง) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า" อาสโภ" อันมีความมายว่า ผู้กล้า,ผู้องอาจ
เพียง 12 พรรษาก็ได้รับโปรดเกล้าฯสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่"พระศรีสุธรรมมุนี" ก่อนขึ้นเป็นชั้นราชในราชทินนาเดิม ชั้นเทพที่"พระเทพเวที" ชั้นธรรมที่"พระธรรมไตรลกาจารย์" และชั้นรองสมเด็จที่ “พระพิมลธรรม” เมื่อปี 2492
ด้วยวัย 46 ปี 26 พรรษา เป็นพระราชาคณะชั้นสุพรรณบัญหรือรองสมเด็จที่อาุยุน้อยที่สุด และมีอำนาจการบริหารกิจการทางคณะสงฆ์สูง เป็นสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง เทียบกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พ่วงตำแหน่งแม่ท่องธรรมสนามหลวง และองค์ทุติยสภามหาวิทยาลัยต่อจากพระอุปัชฌาย์
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) เป็นพระเถระผู้ใฝ่ในความเจริญงอกงามของพระพุทธศาสนาทั้งฝ่ายปริยัตและปฏิบัติ ผลงานของพระเดชพระคุณได้ขจรกระจายไปทั่วโลก และได้สร้างความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ เช่น ประเทศพม่า อินเดีย ศรีัลังกา อังกฤษ และอเมริกา เป็นต้น อันเป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาได้เผยแผ่ไปทั่วทุกมุมโลก เป็นอัครมหาบัณฑิตโดยรัฐบาลพม่าได้ถวายเกียรติคุณครั้งนี้ในโอกาสที่เป็นหัวหน้าคณะเดินทางไปร่วมงานฉัฎฐสังคายนาประเทศพม่า
นับเป็นพระสงฆ์ไทยรูปแรกที่ได้รับฐานันดรศักดิ์นี้ และองค์ท่านยังเป็นผู้ริเริ่มการตรวจชำระและจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับ “มหาจุฬาเตปิฎก” เพื่อสนองพระราชปรารภในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่โปรดเกล้าฯ ให้พระภิกษุสามเณรได้เรียนพระไตรปิฎก
สมเด็จพระพุฒาจารย์ถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2532 เวลา 11.15 นาฬิกา ณ โงพยาบาลสยาม กรุงเทพหานคร รวมอายุได้ 86 ปีี กับ 1 เดือน