มหาสารคาม- ประมงจังหวัด ชี้ สาเหตุปลากระชังตายช่วงหน้าหนาว พร้อมแนะวิธีการเลี้ยงปลาให้รอด ไม่ควรให้อาหารปลามากเกินความจำเป็น เนื่องจากจะทำให้เพิ่มต้นทุนและเกิดน้ำเน่าเสีย
นายกะวิ สารณาคมน์กุล ประมงจังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า ตลอดลำน้ำชีที่ไหลผ่านพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม ในเขตพื้นที่อำเภอโกสุมพิสัย กันทรวิชัย มืองมหาสารคาม และอำเภอเชียงยืนบางส่วน ซึ่งนอกจากจะเป็นแหล่งทำมาหากินของชาวบ้านในเขตลุ่มน้ำชีแล้ว ยังมีเกษตรกรกว่า 300 ราย อาศัยเลี้ยงปลากระชังในลำน้ำดังกล่าว กว่า 3,000 กระชัง คิดเป็นมูลค่าหลายสิบล้านบาท
แต่ในช่วงที่สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงจากฤดูฝนเข้าสู่ฤดูหนาว สภาพอากาศที่เย็นจะทำให้น้ำขาดออกซิเจน เป็นสาเหตุที่ทำให้ปลาตาย ดังนั้น เพื่อลดความเสียหายที่เกิดขึ้นปลามีขนาดโตพอที่จะจับขายได้ให้เร่งจับขายไปก่อน
แต่หากเกษตรกรจะปล่อยปลาลงเลี้ยงรุ่นต่อไปต้องลดจำนวนปลาที่ปล่อยลงเลี้ยงใหม่ โดยกระชังขนาด 3X3 เมตร ควรปล่อยไม่เกิน 500-600 ตัว
ซึ่งหากปล่อยปลาหนาแน่นจะทำให้ปลาติดเชื้อและอาจตายได้ง่าย อีกทั้งเชื้อยังจะแพร่ระบาดไปยังกระชังอื่นๆ ก็ยิ่งจะทำให้เกิดความเสียหายและทำเกษตรกรขาดทุน
นอกจากนี้ สภาพอากาศที่เย็นจะทำให้ปลากินอาหารได้น้อย เกษตรกรจึงควรให้อาหารที่พอเหมาะกับความต้องการ หากให้อาหารในปริมาณที่มากเกินความต้องการก็จะทำให้น้ำเกิดเน่าเสียเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และปลาที่มีอยู่ตามธรรมชาติในลำน้ำชี
นายกะวิ สารณาคมน์กุล ประมงจังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า ตลอดลำน้ำชีที่ไหลผ่านพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม ในเขตพื้นที่อำเภอโกสุมพิสัย กันทรวิชัย มืองมหาสารคาม และอำเภอเชียงยืนบางส่วน ซึ่งนอกจากจะเป็นแหล่งทำมาหากินของชาวบ้านในเขตลุ่มน้ำชีแล้ว ยังมีเกษตรกรกว่า 300 ราย อาศัยเลี้ยงปลากระชังในลำน้ำดังกล่าว กว่า 3,000 กระชัง คิดเป็นมูลค่าหลายสิบล้านบาท
แต่ในช่วงที่สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงจากฤดูฝนเข้าสู่ฤดูหนาว สภาพอากาศที่เย็นจะทำให้น้ำขาดออกซิเจน เป็นสาเหตุที่ทำให้ปลาตาย ดังนั้น เพื่อลดความเสียหายที่เกิดขึ้นปลามีขนาดโตพอที่จะจับขายได้ให้เร่งจับขายไปก่อน
แต่หากเกษตรกรจะปล่อยปลาลงเลี้ยงรุ่นต่อไปต้องลดจำนวนปลาที่ปล่อยลงเลี้ยงใหม่ โดยกระชังขนาด 3X3 เมตร ควรปล่อยไม่เกิน 500-600 ตัว
ซึ่งหากปล่อยปลาหนาแน่นจะทำให้ปลาติดเชื้อและอาจตายได้ง่าย อีกทั้งเชื้อยังจะแพร่ระบาดไปยังกระชังอื่นๆ ก็ยิ่งจะทำให้เกิดความเสียหายและทำเกษตรกรขาดทุน
นอกจากนี้ สภาพอากาศที่เย็นจะทำให้ปลากินอาหารได้น้อย เกษตรกรจึงควรให้อาหารที่พอเหมาะกับความต้องการ หากให้อาหารในปริมาณที่มากเกินความต้องการก็จะทำให้น้ำเกิดเน่าเสียเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และปลาที่มีอยู่ตามธรรมชาติในลำน้ำชี