ศูนย์ข่าวขอนแก่น- สำนักวัฒนธรรม มข. ร่วมกับสโมสรนักเขียนภาคอีสาน หวังอนุรักษ์และปลุกจิตสำนึกให้เด็กและเยาวชนไทย ได้เห็นคุณค่าและร่วมกันอนุรักษ์ควายไทยให้คงอยู่กับท้องไร่ท้องนา จัดประกวด “กลอนสุภาพ” ในหัวข้อ “วิถีคนกับควาย : วิถีชาติไทยดั้งเดิม” ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นขึ้น มีนักเรียนสนใจส่งบทกลอนประกวดจำนวนมาก
รายงานข่าวแจ้งว่า ช่วงหัวค่ำวันที่ 17 พ.ย.ที่ผ่านมา สำนักวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับสโมสรนักเขียนภาคอีสาน จัดพิธีมอบรางวัลให้กับนักเรียนที่ได้รับรางวัลจากการประกวดกลอนสุภาพ หัวข้อ “วิถีคนกับควาย วิถีชาติไทยดั้งเดิม” ณ อาคารหอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น
นางสุมาลี สุวรรณกร ประธานสโมสรนักเขียนภาคอีสาน กล่าวว่า เนื่องจากสังคมปัจจุบัน วิถีชีวิตแบบชาวนาดั้งเดิม ที่อาศัยควายทุยเพื่อนคู่ทุกข์คู่ยากของชาวนาไทย ในการทำไร่ ไถนา ได้หดหายไปจากวิถีชีวิต และ ควายทุยกินหญ้า ได้ถูกแทนที่ด้วยควายเหล็กกินน้ำมัน นับวันควายทุยที่เคยครอบครองท้องทุ่ง เริ่มลดจำนวนน้อยลงทุกที จนแทบจะไม่มีให้เห็นในแต่ละหมู่บ้าน
ดังนั้น สโมสรนักเขียนภาคอีสาน จึงเล็งเห็นอีกแนวทางการอนุรักษ์ และ ปลุกจิตสำนึกให้เด็กและเยาวชนไทย ได้เห็นคุณค่าและร่วมกันอนุรักษ์ควายไทยให้คงอยู่กับท้องไร่ท้องนา จึงได้จัดประกวด “กลอนสุภาพ” ในหัวข้อ “วิถีคนกับควาย : วิถีชาติไทยดั้งเดิม” ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นขึ้น
ทั้งนี้ เพื่อหวังให้นักเรียน ซึ่งเป็นเยาวชนของชาติ มองภาพของควายไทยที่กำลังจะหดหาย ให้สามารถกลับเข้ามาอยู่ในจิตสำนึก และร่วมมือกันหันกลับมาใช้แรงงานควายในการทำการเกษตรเพิ่มขึ้น และ ถ่ายทอดผ่านความรู้สึก ออกมาเป็นผลงานด้วยกลอนสุภาพได้ รวมถึง เป็นการกระตุ้นให้นักเรียน สนใจการอ่าน การเขียน และฝึกฝนการเขียนกลอนสุภาพ เพื่อร่วมอนุรักษ์ภาษาไทยของชาติเราอีกด้วย
ผลการจัดโครงการ ปรากฏว่ามี ครูและ นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ทั่วภาคอีสาน ให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการ โดยมีเด็กนักเรียนส่งบทกลอนเข้าประกวดจำนวนมาก ซึ่งคณะกรรมการตัดสินประกอบด้วย นายสมคิด สิงสง เจ้าของตำนานเพลง คนกับควาย และประธานมูลนิธิคนกับควาย และประยูร ลาแสง หรือ พระไม้ โดยมีผศ.วิชัย ณีรัตนพันธุ์ รองอธิการบดีฝ่าย ศิลปวัฒนธรรมฯ เป็นประธานพิธีการมอบรางวัล
สำหรับผลการประกวดกลอนสุภาพ "วิถีคนกับควายวิถีชาติไทยดั้งเดิม" รางวัลที่ 1 เด็กหญิงณัฐกาญน์ จอนสูงเนิน ม. 2 โรงเรียนบ้านหนองมะค่า (ทองศรีสงเคราะห์) อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา รางวัลที่ 2 เด็กหญิงนิรัณญา คำแสน ม.2 โรงเรียนวัดบ้านโคกเหล็ก อ. ห้วยราช จ.บุรีรัมย์ รางวัลที่ 3 เด็กชายวิมุตตินันท์ เชื้อสาวะถี ม. 2 โรงเรียนโพนทองประชาสรรค์ อ.โซ่พิสัย จ.หนองคาย
บทกลอนสุภาพผลงานชนะเลิศ “วิถีคนกับควาย : วิถีชาติไทยดั้งเดิม” โดย เด็กหญิงณัฐกาญน์ จอนสูงเนิน ม. 2 โรงเรียนบ้านหนองมะค่า (ทองศรีสงเคราะห์) อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
อันวิถีชีวิตเก่าไทยเรานี้ สามัคคีถ้อยทีถ้อยอาศัย
รู้เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แดนใกล้ไกล สร้างสายใยสมานจิตรมิตรไมตรี
เกษตรกรรมไทยทำเป็นอาชีพ ดุจประทีปส่องสว่างสร้างสุขศรี
อยู่อย่างไทยใช้พอเพียงเลี้ยงชีวี กินอยู่ดีมีเงินทองครองกายา
สมัยก่อนการทำนาเป็นงานหลัก แจ้งประจักษ์วัฒนธรรมอันล้ำค่า
บรรพบุรุษไทยเราสืบสานมา ภูมิปัญญาชาวสยามนามเกริกไกร
ควายเป็นเครื่องมือคู่ทุกข์ยาก ร่วมลำบากตรากตรำทำนาไร่
ชาวนาช่วยลงแขกแลกน้ำใจ เพื่อชาวโลกดินแดนไกลได้ข้าวกิน
อันควายไทยที่เห็นกันทุกวันนี้ มันนั้นมีประโยชน์ให้ไม่เคยสิ้น
ทั้งทำไร่ไถนาเป็นอาจิณ ช่วยชีวินชาวนาผาสุกใจ
บ้างเทียมเกวียนลากของครองงานหนัก ขึ้นขี่พักจากเดินทางก็ยังได้
บ้างจัดปั้นสรรค์ลายเส้นเป็นควายไทย สู่งานศิลป์เพริศพิไลให้เพลินตา
แต่วิถีชีวิตใหม่สมัยนี้ ใช้แต่เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า
ชนทอดทิ้งท้องทุ่งทองท่องเมืองฟ้า ทิ้งบ้านนาแลฝูงควายไว้ลำพัง
วิถีไทยสิ้นวิไลก็คราวนี้ ทุกชีวีลาลับไปไม่กลับหลัง
นาถูกขายควายถูกทิ้งสิ้นกำลัง อนิจจังเหมือนหมดสิ้นความเป็นไทย
อันผู้ใดว่าเจ้าควายนั้นไร้ค่า ไร้ปัญญาอย่างวาจาที่ปราศรัย
คิดดูเถิดหากสิ้นควายคงสิ้นไทย มิเหลือในวัฒนธรรมอันดีงาม
เร่งรู้รักษ์ควายไทยนี้ไว้เถิด ช่วยชูเชิดประวัติศาสตร์ชาติสยาม
คงวิถีคนกับควายไว้ติดตาม ให้เห็นงามตามวิถีไทยดั้งเดิม
รายงานข่าวแจ้งว่า ช่วงหัวค่ำวันที่ 17 พ.ย.ที่ผ่านมา สำนักวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับสโมสรนักเขียนภาคอีสาน จัดพิธีมอบรางวัลให้กับนักเรียนที่ได้รับรางวัลจากการประกวดกลอนสุภาพ หัวข้อ “วิถีคนกับควาย วิถีชาติไทยดั้งเดิม” ณ อาคารหอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น
นางสุมาลี สุวรรณกร ประธานสโมสรนักเขียนภาคอีสาน กล่าวว่า เนื่องจากสังคมปัจจุบัน วิถีชีวิตแบบชาวนาดั้งเดิม ที่อาศัยควายทุยเพื่อนคู่ทุกข์คู่ยากของชาวนาไทย ในการทำไร่ ไถนา ได้หดหายไปจากวิถีชีวิต และ ควายทุยกินหญ้า ได้ถูกแทนที่ด้วยควายเหล็กกินน้ำมัน นับวันควายทุยที่เคยครอบครองท้องทุ่ง เริ่มลดจำนวนน้อยลงทุกที จนแทบจะไม่มีให้เห็นในแต่ละหมู่บ้าน
ดังนั้น สโมสรนักเขียนภาคอีสาน จึงเล็งเห็นอีกแนวทางการอนุรักษ์ และ ปลุกจิตสำนึกให้เด็กและเยาวชนไทย ได้เห็นคุณค่าและร่วมกันอนุรักษ์ควายไทยให้คงอยู่กับท้องไร่ท้องนา จึงได้จัดประกวด “กลอนสุภาพ” ในหัวข้อ “วิถีคนกับควาย : วิถีชาติไทยดั้งเดิม” ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นขึ้น
ทั้งนี้ เพื่อหวังให้นักเรียน ซึ่งเป็นเยาวชนของชาติ มองภาพของควายไทยที่กำลังจะหดหาย ให้สามารถกลับเข้ามาอยู่ในจิตสำนึก และร่วมมือกันหันกลับมาใช้แรงงานควายในการทำการเกษตรเพิ่มขึ้น และ ถ่ายทอดผ่านความรู้สึก ออกมาเป็นผลงานด้วยกลอนสุภาพได้ รวมถึง เป็นการกระตุ้นให้นักเรียน สนใจการอ่าน การเขียน และฝึกฝนการเขียนกลอนสุภาพ เพื่อร่วมอนุรักษ์ภาษาไทยของชาติเราอีกด้วย
ผลการจัดโครงการ ปรากฏว่ามี ครูและ นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ทั่วภาคอีสาน ให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการ โดยมีเด็กนักเรียนส่งบทกลอนเข้าประกวดจำนวนมาก ซึ่งคณะกรรมการตัดสินประกอบด้วย นายสมคิด สิงสง เจ้าของตำนานเพลง คนกับควาย และประธานมูลนิธิคนกับควาย และประยูร ลาแสง หรือ พระไม้ โดยมีผศ.วิชัย ณีรัตนพันธุ์ รองอธิการบดีฝ่าย ศิลปวัฒนธรรมฯ เป็นประธานพิธีการมอบรางวัล
สำหรับผลการประกวดกลอนสุภาพ "วิถีคนกับควายวิถีชาติไทยดั้งเดิม" รางวัลที่ 1 เด็กหญิงณัฐกาญน์ จอนสูงเนิน ม. 2 โรงเรียนบ้านหนองมะค่า (ทองศรีสงเคราะห์) อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา รางวัลที่ 2 เด็กหญิงนิรัณญา คำแสน ม.2 โรงเรียนวัดบ้านโคกเหล็ก อ. ห้วยราช จ.บุรีรัมย์ รางวัลที่ 3 เด็กชายวิมุตตินันท์ เชื้อสาวะถี ม. 2 โรงเรียนโพนทองประชาสรรค์ อ.โซ่พิสัย จ.หนองคาย
บทกลอนสุภาพผลงานชนะเลิศ “วิถีคนกับควาย : วิถีชาติไทยดั้งเดิม” โดย เด็กหญิงณัฐกาญน์ จอนสูงเนิน ม. 2 โรงเรียนบ้านหนองมะค่า (ทองศรีสงเคราะห์) อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
อันวิถีชีวิตเก่าไทยเรานี้ สามัคคีถ้อยทีถ้อยอาศัย
รู้เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แดนใกล้ไกล สร้างสายใยสมานจิตรมิตรไมตรี
เกษตรกรรมไทยทำเป็นอาชีพ ดุจประทีปส่องสว่างสร้างสุขศรี
อยู่อย่างไทยใช้พอเพียงเลี้ยงชีวี กินอยู่ดีมีเงินทองครองกายา
สมัยก่อนการทำนาเป็นงานหลัก แจ้งประจักษ์วัฒนธรรมอันล้ำค่า
บรรพบุรุษไทยเราสืบสานมา ภูมิปัญญาชาวสยามนามเกริกไกร
ควายเป็นเครื่องมือคู่ทุกข์ยาก ร่วมลำบากตรากตรำทำนาไร่
ชาวนาช่วยลงแขกแลกน้ำใจ เพื่อชาวโลกดินแดนไกลได้ข้าวกิน
อันควายไทยที่เห็นกันทุกวันนี้ มันนั้นมีประโยชน์ให้ไม่เคยสิ้น
ทั้งทำไร่ไถนาเป็นอาจิณ ช่วยชีวินชาวนาผาสุกใจ
บ้างเทียมเกวียนลากของครองงานหนัก ขึ้นขี่พักจากเดินทางก็ยังได้
บ้างจัดปั้นสรรค์ลายเส้นเป็นควายไทย สู่งานศิลป์เพริศพิไลให้เพลินตา
แต่วิถีชีวิตใหม่สมัยนี้ ใช้แต่เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า
ชนทอดทิ้งท้องทุ่งทองท่องเมืองฟ้า ทิ้งบ้านนาแลฝูงควายไว้ลำพัง
วิถีไทยสิ้นวิไลก็คราวนี้ ทุกชีวีลาลับไปไม่กลับหลัง
นาถูกขายควายถูกทิ้งสิ้นกำลัง อนิจจังเหมือนหมดสิ้นความเป็นไทย
อันผู้ใดว่าเจ้าควายนั้นไร้ค่า ไร้ปัญญาอย่างวาจาที่ปราศรัย
คิดดูเถิดหากสิ้นควายคงสิ้นไทย มิเหลือในวัฒนธรรมอันดีงาม
เร่งรู้รักษ์ควายไทยนี้ไว้เถิด ช่วยชูเชิดประวัติศาสตร์ชาติสยาม
คงวิถีคนกับควายไว้ติดตาม ให้เห็นงามตามวิถีไทยดั้งเดิม