เชียงใหม่ – เครือข่ายเอ็นจีโอ จี้มหาดไทย แจงคำสั่งห้าม 17 ชาวบ้านแม่อายเคลื่อนย้ายทะเบียนราษฎร พร้อมเตรียมออกคำสั่งเพิ่มอีก 774 คน ทั้งที่เป็นกลุ่มคนที่ได้รับการคุ้มครองตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด
รายงานข่าวแจ้งว่า สถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ, เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย (คชท.), มูลนิธิกระจกเงา สำนักงานเชียงราย, มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา ได้ทำหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย, อธิบดีกรมการปกครอง พร้อมสำเนาถึงผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่, นายอำเภอแม่อาย และ นายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ลงวันที่ 14 ต.ค.52 เรียกร้องให้ชี้แจงเกี่ยวกับการดำนานการตามมาตรา 11 พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 และขอให้มีหนังสือสั่งการเพื่อทำความเข้าใจต่อการดำเนินการดังกล่าว
โดยระบุว่า เนื่องจากสำนักทะเบียนอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ มีคำสั่งระงับการเคลื่อนไหวรายการทะเบียนราษฎรชาวบ้านอำเภอแม่อายแล้ว จำนวน 17 คน และอยู่ระหว่างเตรียมออกคำสั่ง จำนวน 774 คน สถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ ร่วมกับเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ศูนย์ปฏิบัติการร่วมเพื่อแก้ไขปัญหาประชาชนบนพื้นที่สูง มูลนิธิกระจกเงา และมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา ซึ่งเป็นองค์กรด้านกฎหมายและองค์กรพัฒนาเอกชนด้านปัญหาสถานะบุคคลและสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ แรงงานข้ามชาติและผู้มีปัญหาสถานะบุคคล เห็นว่าปฏิบัติหน้าที่ของสำนักทะเบียนอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่และกรมการปกครอง หรือคำสั่งทางปกครองดังกล่าว โดยมีความเห็นว่า
ก่อนที่จะมีการออกหนังสือคำสั่งดังกล่าว ควรไต่สวนเพื่อแสวงหาข้อเท็จจริง โดยออกคำสั่งเรียกให้ชาวบ้านมาได้รับทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐาน อันเป็นหลักทั่วไปแห่งวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองตามมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 ที่ได้รับการรับรองคุ้มครองโดยมาตรา 58 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มิใช่ดำเนินการเพียงการตรวจสอบฝ่ายเดียวโดยลำพัง และออกคำสั่งดังกล่าว
นอกจากนี้ การใช้อำนาจตามมาตรา 11 ยังเป็นการตัดราษฎร ซึ่งเป็นผู้ได้รับคำสั่ง หรือคู่กรณีออกไปจากการดำเนินกระบวนการพิจารณาทางปกครอง คู่กรณีไม่มีโอกาสได้ร่วมรู้เห็นในชั้นการดำเนินการพิจารณาจนล่วงเลยถึงชั้นออกคำสั่งไปแล้ว การจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงใดๆ ก็จะกลายเป็นเรื่องในชั้นทบทวนคำสั่งไปแล้ว
และเนื่องจากชาวบ้านผู้ได้รับคำสั่งระงับการเคลื่อนไหวทางทะเบียน โดยสำนักทะเบียนแม่อายกลุ่มนี้ คือ กลุ่มบุคคลใน 1,243 คน ที่เคยได้รับการคุ้มครองตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อ.๑๑๗/๒๕๔๘) โดยกลุ่มบุคคลดังกล่าวนี้เป็นบุคคลดั้งเดิม อาศัยอยู่มานานจนมีสิทธิที่จะได้รับการพัฒนาสถานะบุคคลเป็นผู้มีสัญชาติไทยตามกฎหมายสัญชาติและระเบียบที่เกี่ยวข้อง กลุ่มบุคคลดังกล่าวยังคงยืนยันถึงสิทธิในสถานะบุคคลผู้มีสัญชาติไทยของตนมาโดยตลอด พร้อมที่จะเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบสถานะบุคคล การพิสูจน์ถึงการมีสัญชาติไทย โดยยังคงปรากฏตัว ไม่เคยอพยพโยกย้ายออกไปจากอำเภอแม่อาย ฯลฯ
การออกคำสั่งทางปกครองของสำนักทะเบียนแม่อาย ถือเป็นการผลักภาระการพิสูจน์ให้กับชาวบ้าน อาจกล่าวได้ว่า เป็นการกระทำทางปกครองที่ขัดต่อหลักความจำเป็น อีกทั้งคำสั่งดังกล่าว ยังมีผลกระทบต่อฐานะทางทะเบียนราษฎรและสิทธิเสรีภาพในการโยกย้ายถิ่นฐานเพื่อไปประกอบอาชีพหรือดำเนินการต่างๆ อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยคุ้มครองและรับรองไว้ ทั้งยังก่อให้เกิดและ/หรืออาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนเสียหายแก่ผู้ได้รับคำสั่งฯ ดังที่เคยเกิดขึ้นกับชาวบ้านอำเภอแม่แตงซึ่งถูกคำสั่งระงับการเคลื่อนไหวทางทะเบียนมาแล้ว
ดังนั้น ทางองค์กรและเครือข่าย จึงขอให้กรมการปกครองชี้แจงถึงแนวทางปฏิบัติ ตลอดจนการเยียวยาหากเกิดความเสียหายขึ้นอย่างชัดเจน
รายงานข่าวแจ้งว่า สถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ, เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย (คชท.), มูลนิธิกระจกเงา สำนักงานเชียงราย, มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา ได้ทำหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย, อธิบดีกรมการปกครอง พร้อมสำเนาถึงผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่, นายอำเภอแม่อาย และ นายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ลงวันที่ 14 ต.ค.52 เรียกร้องให้ชี้แจงเกี่ยวกับการดำนานการตามมาตรา 11 พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 และขอให้มีหนังสือสั่งการเพื่อทำความเข้าใจต่อการดำเนินการดังกล่าว
โดยระบุว่า เนื่องจากสำนักทะเบียนอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ มีคำสั่งระงับการเคลื่อนไหวรายการทะเบียนราษฎรชาวบ้านอำเภอแม่อายแล้ว จำนวน 17 คน และอยู่ระหว่างเตรียมออกคำสั่ง จำนวน 774 คน สถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ ร่วมกับเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ศูนย์ปฏิบัติการร่วมเพื่อแก้ไขปัญหาประชาชนบนพื้นที่สูง มูลนิธิกระจกเงา และมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา ซึ่งเป็นองค์กรด้านกฎหมายและองค์กรพัฒนาเอกชนด้านปัญหาสถานะบุคคลและสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ แรงงานข้ามชาติและผู้มีปัญหาสถานะบุคคล เห็นว่าปฏิบัติหน้าที่ของสำนักทะเบียนอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่และกรมการปกครอง หรือคำสั่งทางปกครองดังกล่าว โดยมีความเห็นว่า
ก่อนที่จะมีการออกหนังสือคำสั่งดังกล่าว ควรไต่สวนเพื่อแสวงหาข้อเท็จจริง โดยออกคำสั่งเรียกให้ชาวบ้านมาได้รับทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐาน อันเป็นหลักทั่วไปแห่งวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองตามมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 ที่ได้รับการรับรองคุ้มครองโดยมาตรา 58 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มิใช่ดำเนินการเพียงการตรวจสอบฝ่ายเดียวโดยลำพัง และออกคำสั่งดังกล่าว
นอกจากนี้ การใช้อำนาจตามมาตรา 11 ยังเป็นการตัดราษฎร ซึ่งเป็นผู้ได้รับคำสั่ง หรือคู่กรณีออกไปจากการดำเนินกระบวนการพิจารณาทางปกครอง คู่กรณีไม่มีโอกาสได้ร่วมรู้เห็นในชั้นการดำเนินการพิจารณาจนล่วงเลยถึงชั้นออกคำสั่งไปแล้ว การจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงใดๆ ก็จะกลายเป็นเรื่องในชั้นทบทวนคำสั่งไปแล้ว
และเนื่องจากชาวบ้านผู้ได้รับคำสั่งระงับการเคลื่อนไหวทางทะเบียน โดยสำนักทะเบียนแม่อายกลุ่มนี้ คือ กลุ่มบุคคลใน 1,243 คน ที่เคยได้รับการคุ้มครองตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อ.๑๑๗/๒๕๔๘) โดยกลุ่มบุคคลดังกล่าวนี้เป็นบุคคลดั้งเดิม อาศัยอยู่มานานจนมีสิทธิที่จะได้รับการพัฒนาสถานะบุคคลเป็นผู้มีสัญชาติไทยตามกฎหมายสัญชาติและระเบียบที่เกี่ยวข้อง กลุ่มบุคคลดังกล่าวยังคงยืนยันถึงสิทธิในสถานะบุคคลผู้มีสัญชาติไทยของตนมาโดยตลอด พร้อมที่จะเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบสถานะบุคคล การพิสูจน์ถึงการมีสัญชาติไทย โดยยังคงปรากฏตัว ไม่เคยอพยพโยกย้ายออกไปจากอำเภอแม่อาย ฯลฯ
การออกคำสั่งทางปกครองของสำนักทะเบียนแม่อาย ถือเป็นการผลักภาระการพิสูจน์ให้กับชาวบ้าน อาจกล่าวได้ว่า เป็นการกระทำทางปกครองที่ขัดต่อหลักความจำเป็น อีกทั้งคำสั่งดังกล่าว ยังมีผลกระทบต่อฐานะทางทะเบียนราษฎรและสิทธิเสรีภาพในการโยกย้ายถิ่นฐานเพื่อไปประกอบอาชีพหรือดำเนินการต่างๆ อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยคุ้มครองและรับรองไว้ ทั้งยังก่อให้เกิดและ/หรืออาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนเสียหายแก่ผู้ได้รับคำสั่งฯ ดังที่เคยเกิดขึ้นกับชาวบ้านอำเภอแม่แตงซึ่งถูกคำสั่งระงับการเคลื่อนไหวทางทะเบียนมาแล้ว
ดังนั้น ทางองค์กรและเครือข่าย จึงขอให้กรมการปกครองชี้แจงถึงแนวทางปฏิบัติ ตลอดจนการเยียวยาหากเกิดความเสียหายขึ้นอย่างชัดเจน