ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ – เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองจี้รัฐบาลไทย-สหประชาชาติ เร่งคุ้มครองสิทธิ์ชนเผ่าทั้งในประเทศและทั่วโลก จี้ไทยเลิกนโยบายท่องเที่ยวละเมิดสิทธิ์-ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ชนเผ่า พร้อมเปิดช่องคนชนเผ่าร่วมจัดการทรัพยากรธรรมชาติทุกระดับ พร้อมเรียกร้องสัญชาติให้เด็กที่เกิดบนแผ่นดินไทยทุกคน
หลังจากเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย อันประกอบด้วยผู้แทน 18 ชนเผ่าในประเทศไทย ร่วมกับผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับชนเผ่าพื้นเมือง ได้จัดให้มีงาน “มหกรรมชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทยเพื่อฟื้นฟูวิถีการจัดการทรัพยากรโดยชุมชน” ประจำปี 52 ขึ้นระหว่าง 7-9 ส.ค.52 ที่ผ่านมาแล้ว ยังได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลไทย –สหประชาชาติ เพื่อเรียกร้องสิทธิของชนเผ่า
โดยนายจอนิ โอ่โดเชา ประธานกรรมการจัดงานมหกรรมชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ประจำปี 2552 ได้ทำหนังสือที่ คชท.008.40/2552 เรื่องข้อเสนอชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย เนื่องในวันสากลชนพื้นเมืองโลก เสนอต่อนายกรัฐมนตรี ,ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ,รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย,รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม,รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ,รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม, รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี,รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ
เรียกร้องให้รัฐบาลไทยสร้างกลไกคุ้มครองสิทธิชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศ ตามปฏิญญา กติการะหว่างประเทศ และอนุสัญญาที่ประเทศไทยได้ลงนามให้สัตยาบันไว้กับองค์การสหประชาชาติ เช่น ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อเชื้อชาติในทุกรูปแบบ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก และอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ
นอกจากนี้ ยังเรียกร้องให้รัฐบาลไทยประกาศให้วันที่ 9 ส.ค.ของทุกปี เป็น “วันชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย” ซึ่งตรงกับ “วันสากลชนเผ่าพื้นเมืองโลก” และต้องสนับสนุนกิจกรรมและงบประมาณ เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมรณรงค์สิทธิชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทยมีความต่อเนื่อง
พร้อมกันนั้นยังเรียกร้องให้รัฐบาลไทยคุ้มครองสิทธิชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศ ให้เด็กทุกคนที่เกิดในไทย ต้องได้สัญชาติไทย, ส่งเสริมบทบาทและพัฒนาผู้หญิงชนเผ่าให้มีส่วนร่วมทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมอย่างเท่าเทียม, ต้องคืนสิทธิการจัดการทรัพยากรให้แก่ชนเผ่า, ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งระดับท้องถิ่น-ระดับชาติ
ให้รัฐทบทวนนโยบายการท่องเที่ยวที่ละเมิดสิทธิ์ – ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของชนเผ่า ,รัฐต้องมีมาตรการให้ชนเผ่าพื้นเมืองทุกภาคส่วน สามารถเข้าถึงการบริการของรัฐ ทั้งการศึกษา สาธารณสุข และการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานอย่างมีคุณภาพ เป็นต้น
ขณะเดียวกันยังได้ทำหนังสือถึงเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ เรียกร้องให้ผลักดันทุกประเทศทั่วโลกสร้างมาตรการคุ้มครองสิทธิ์ชนเผ่าพื้นเมืองในไทย และให้สหประชาชาติ สร้างกลไกการตรวจสอบการละเมิดสิทธิชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศต่างๆ ทั้งการนโยบายการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การจัดการที่ดินที่อยู่อาศัย ที่ทำกิน การอพยพโยกย้ายออกจากถิ่นฐานเดิม การจำกัดสิทธิการพัฒนาและการเข้าถึงบริการของรัฐ การกดขี่แรงงาน และกรณีอื่นอย่างเป็นรูปธรรม
รวมทั้งเร่งผลักดันประเทศต่างๆ ทั่วโลกลงนามใน “อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง” โดยเร็ว
หลังจากเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย อันประกอบด้วยผู้แทน 18 ชนเผ่าในประเทศไทย ร่วมกับผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับชนเผ่าพื้นเมือง ได้จัดให้มีงาน “มหกรรมชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทยเพื่อฟื้นฟูวิถีการจัดการทรัพยากรโดยชุมชน” ประจำปี 52 ขึ้นระหว่าง 7-9 ส.ค.52 ที่ผ่านมาแล้ว ยังได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลไทย –สหประชาชาติ เพื่อเรียกร้องสิทธิของชนเผ่า
โดยนายจอนิ โอ่โดเชา ประธานกรรมการจัดงานมหกรรมชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ประจำปี 2552 ได้ทำหนังสือที่ คชท.008.40/2552 เรื่องข้อเสนอชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย เนื่องในวันสากลชนพื้นเมืองโลก เสนอต่อนายกรัฐมนตรี ,ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ,รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย,รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม,รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ,รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม, รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี,รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ
เรียกร้องให้รัฐบาลไทยสร้างกลไกคุ้มครองสิทธิชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศ ตามปฏิญญา กติการะหว่างประเทศ และอนุสัญญาที่ประเทศไทยได้ลงนามให้สัตยาบันไว้กับองค์การสหประชาชาติ เช่น ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อเชื้อชาติในทุกรูปแบบ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก และอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ
นอกจากนี้ ยังเรียกร้องให้รัฐบาลไทยประกาศให้วันที่ 9 ส.ค.ของทุกปี เป็น “วันชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย” ซึ่งตรงกับ “วันสากลชนเผ่าพื้นเมืองโลก” และต้องสนับสนุนกิจกรรมและงบประมาณ เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมรณรงค์สิทธิชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทยมีความต่อเนื่อง
พร้อมกันนั้นยังเรียกร้องให้รัฐบาลไทยคุ้มครองสิทธิชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศ ให้เด็กทุกคนที่เกิดในไทย ต้องได้สัญชาติไทย, ส่งเสริมบทบาทและพัฒนาผู้หญิงชนเผ่าให้มีส่วนร่วมทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมอย่างเท่าเทียม, ต้องคืนสิทธิการจัดการทรัพยากรให้แก่ชนเผ่า, ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งระดับท้องถิ่น-ระดับชาติ
ให้รัฐทบทวนนโยบายการท่องเที่ยวที่ละเมิดสิทธิ์ – ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของชนเผ่า ,รัฐต้องมีมาตรการให้ชนเผ่าพื้นเมืองทุกภาคส่วน สามารถเข้าถึงการบริการของรัฐ ทั้งการศึกษา สาธารณสุข และการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานอย่างมีคุณภาพ เป็นต้น
ขณะเดียวกันยังได้ทำหนังสือถึงเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ เรียกร้องให้ผลักดันทุกประเทศทั่วโลกสร้างมาตรการคุ้มครองสิทธิ์ชนเผ่าพื้นเมืองในไทย และให้สหประชาชาติ สร้างกลไกการตรวจสอบการละเมิดสิทธิชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศต่างๆ ทั้งการนโยบายการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การจัดการที่ดินที่อยู่อาศัย ที่ทำกิน การอพยพโยกย้ายออกจากถิ่นฐานเดิม การจำกัดสิทธิการพัฒนาและการเข้าถึงบริการของรัฐ การกดขี่แรงงาน และกรณีอื่นอย่างเป็นรูปธรรม
รวมทั้งเร่งผลักดันประเทศต่างๆ ทั่วโลกลงนามใน “อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง” โดยเร็ว