พัทลุง - คู่ซาไกพัทลุงชื่นมื่น ก่อนงานแต่ง ผู้เฒ่าซ้อมร้องเพลงมันนิ ซึ่งเป็นภาษาประจำกลุ่มในงานวันแต่ง พร้อมอวดชาวเมือง ขณะเจ้าบ่าวเผยอบอุ่นจากคนเมือง
วันนี้ (23 ก.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดพัทลุงว่า ก่อนถึงวันวิวาห์ซาไกหรือเงาะป่าชนเผ่าพื้นเมืองพัทลุง ที่อาศัยอยู่บนเทือกเขาบรรทัดรอยต่อจังหวัดพัทลุง ตรัง สตูล กว่า 10 กลุ่ม เกือบ 200 ชีวิต ต่างชื่นมื่นและยินดีกับคู่บ่าวสาวใหม่ที่กำลังจะมีการจัดงานวิวาห์ ต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรก ในวันที่ 24 กันยายน ที่จะถึง ตามประเพณีวัฒนธรรมของพวกเขา
โดยจากการเดินทางไปพบล่าสุดที่สถานที่จัดงาน เหนืออ่างเก็บน้ำคลองป่าบอน ม.7 ต.ทุ่งนารี อ.ป่าบอน กลุ่มซาไก หนุ่มสาวต่างแสดงความดีใจ ผู้เฒ่าประจำเผ่าได้เตรียมร้องเพลงอวยพรเจ้าสาวเป็นภาษามันนิ ซึ่งเป็นภาษาประจำกลุ่มในงานวันแต่ง พร้อมอวดชาวเมือง ที่จะเดินทางมาร่วมเป็นสักขีพยาน
ด้าน เฒ่ายาว อายุ 34 ปี เจ้าบ่าว เผยพบรักเจ้าสาวตอนเดินทางหาของป่า ในพื้นที่ อ.ตะโหมด แล้วก็ชวนมาอยู่ด้วย โดยเจ้าสาวชื่อบินหลา อายุ 13 ปี ขณะเดียวกัน ชาวบ้านและผู้นำท้องถิ่นต่างเตรียมสถานที่ในหมู่บ้านชาวซาไกเพื่อไว้ประกอบพิธีในวันงาน ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง นายวิญญู ทองสกุล เดินทางมาเป็นประธาน
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สำหรับการหาคู่ของชาวซาไกนั้น เนื่องจากผู้หญิงมีน้อย จึงต้องแต่งงานตั้งอายุยังเด็ก และอัตราการเกิดมาของเด็กที่รอดชีวิตมีน้อย เนื่องจากขาดอาหาร เพราะการบุกรุกทำลายป่า ล่าสัตว์ของคนเมือง
วันนี้ (23 ก.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดพัทลุงว่า ก่อนถึงวันวิวาห์ซาไกหรือเงาะป่าชนเผ่าพื้นเมืองพัทลุง ที่อาศัยอยู่บนเทือกเขาบรรทัดรอยต่อจังหวัดพัทลุง ตรัง สตูล กว่า 10 กลุ่ม เกือบ 200 ชีวิต ต่างชื่นมื่นและยินดีกับคู่บ่าวสาวใหม่ที่กำลังจะมีการจัดงานวิวาห์ ต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรก ในวันที่ 24 กันยายน ที่จะถึง ตามประเพณีวัฒนธรรมของพวกเขา
โดยจากการเดินทางไปพบล่าสุดที่สถานที่จัดงาน เหนืออ่างเก็บน้ำคลองป่าบอน ม.7 ต.ทุ่งนารี อ.ป่าบอน กลุ่มซาไก หนุ่มสาวต่างแสดงความดีใจ ผู้เฒ่าประจำเผ่าได้เตรียมร้องเพลงอวยพรเจ้าสาวเป็นภาษามันนิ ซึ่งเป็นภาษาประจำกลุ่มในงานวันแต่ง พร้อมอวดชาวเมือง ที่จะเดินทางมาร่วมเป็นสักขีพยาน
ด้าน เฒ่ายาว อายุ 34 ปี เจ้าบ่าว เผยพบรักเจ้าสาวตอนเดินทางหาของป่า ในพื้นที่ อ.ตะโหมด แล้วก็ชวนมาอยู่ด้วย โดยเจ้าสาวชื่อบินหลา อายุ 13 ปี ขณะเดียวกัน ชาวบ้านและผู้นำท้องถิ่นต่างเตรียมสถานที่ในหมู่บ้านชาวซาไกเพื่อไว้ประกอบพิธีในวันงาน ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง นายวิญญู ทองสกุล เดินทางมาเป็นประธาน
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สำหรับการหาคู่ของชาวซาไกนั้น เนื่องจากผู้หญิงมีน้อย จึงต้องแต่งงานตั้งอายุยังเด็ก และอัตราการเกิดมาของเด็กที่รอดชีวิตมีน้อย เนื่องจากขาดอาหาร เพราะการบุกรุกทำลายป่า ล่าสัตว์ของคนเมือง