ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ - เชียงใหม่ออกประกาศจังหวัดสั่งคุมเข้มการเล่นดอกไม้เพลิงและการปล่อยโคมลอยช่วงจัดงานประเพณียี่เป็งปี 2552 ระบุจะมีการใช้มาตรการทางกฎหมายเด็ดขาดกับผู้จำหน่ายและผู้ผลิตดอกไม้ไฟ รวมทั้งห้ามจำหน่ายประทัดยักษ์ หากพบมีการฝ่าฝืนจับดำเนินคดีทันที ส่วนการปล่อยโคมลอยในรัศมีไม่เกิน 40 กิโลเมตรจากสนามบินเชียงใหม่ ขอความร่วมมือให้ประสานและแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ด้าน กฟผ.และกฟภ.เผยปี 2551 โคมลอยทำไฟฟ้าดับ 53 ครั้ง มูลค่าความเสียหายคิดเป็นตัวเงิน 4.5 ล้านบาท รณรงค์ใช้ “โคมลอยธรรมชัย”แทน เพื่อลดความเสี่ยง
วันนี้ (14 ต.ค.) ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ นายสุรชัย จงรักษ์ ปลัดจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานประชุมคณะกรรมการป้องกันปัญหาการเล่นดอกไม้เพลิงและโคมลอยในช่วงเทศกาลลอยกระทง ประจำปี 2552 เพื่อร่วมกันทบทวนจัดทำแผนป้องกัน และกำหนดมาตรการการเล่นดอกไม้เพลิง การจุดพลุ บั้งไฟ และโคมลอยในช่วงเทศกาลลอยกระทง รวมทั้งพิจารณาทบทวนปรับปรุงภารกิจหน้าที่แต่ละหน่วยงาน ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย และจัดระบบการดำเนินงานและการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ไว้รองรับสถานการณ์ โดยมีตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม
ปลัดจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ปลัดจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ในช่วงเทศกาลลอยกระทงหรือเทศกาลประเพณียี่เป็งของจังหวัดเชียงใหม่ทุกปีที่ผ่านมามักจะมีปัญหาการขายและการเล่นดอกไม้เพลิง การจุดพลุ และประทัดไฟขนาดใหญ่ ซึ่งส่งเสียงดังก่อความรำคาญและก่อ ให้เกิดอันตรายต่อร่างกายและทรัพย์สิน ขณะเดียวกันยังมีการปล่อยโคมลอย ซึ่งเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนาน แต่ปัจจุบันพบว่า การปล่อยโคมลอยอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อเครื่องบินและตกใส่อาคารบ้านเรือนทำให้เกิดไฟไหม้
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาในช่วงเทศกาลลอยกระทงปีนี้ ขณะนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ได้ลงนามประกาศจังหวัดเชียงใหม่ เรื่องการป้องกันการเล่นดอกไม้เพลิงและโคมลอยในช่วงเทศกาลลอยกระทงประจำปี 2552 แล้ว เพื่อขอความร่วมมือส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบและประชาชน
ในส่วนของการจำหน่ายและเล่นดอกไม้เพลิงนั้น จะมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ผู้ที่ค้าจะต้องได้รับอนุญาต จากนายอำเภอในฐานะนายทะเบียนท้องที่ และให้เจ้าหน้าที่ออกตรวจร้านค้าและแหล่งผลิต หากพบไม่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีตามกฎหมาย พร้อมทั้งขอความร่วมมือห้ามจำหน่ายดอกไม้เพลิงให้เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี และห้ามจำหน่ายประทัดยักษ์เนื่องจากเป็นอันตรายร้ายแรง
ส่วนการผลิตโคมลอยและการปล่อยโคมลอย นายสุรชัย กล่าวว่า ตามประกาศได้ขอความร่วมมือให้ใช้วัสดุธรรมชาติที่ย่อยสลายง่ายในการผลิต ไม่ใช่วัสดุที่มีความแข็งแรงและอาจเป็นอันตราย เช่น พลาสติก โลหะ เป็นต้น ให้มีการใช้เชื้อเพลิงในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้โคมลอยอยู่ในอากาศได้ไม่เกิน 1 ชั่วโมง และไม่ติดวัสดุตกแต่งที่ก่อให้เกิดประกายไฟ
ขณะที่การปล่อยโคมลอยนั้น ให้ดูทิศทางลม โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของอาคารบ้านเรือน สายไฟฟ้า และรัศมีเส้นทางบินของเครื่องบิน ทั้งนี้ หากจะมีการปล่อยโคมลอยในรัศมีไม่เกิน 40 กิโลเมตร จากท่าอากาศยานเชียงใหม่ ให้มีการประสานเพื่อให้ทราบกำหนดวัน เวลาและสถานการณ์การปล่อยโคมลอย เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายต่อเครื่องบินในขณะทำการบินและแจ้งเตือนให้นักบินใช้ความระมัดระวังในการบิน
ด้าน นายประยูร พงษ์ประภาพันธ์ ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการภาคเหนือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า จากการเก็บข้อมูลของ กฟผ.พบว่า ในแต่ละปีมีโคมลอยตกใส่สถานีไฟฟ้าแรงสูงของ กฟผ.เพิ่มขึ้น โดยในปี 2549 มีจำนวน 91 ลูก ปี 2550 มีจำนวน 137 ลูก และปี 2551 มีจำนวน 147 ลูก ขณะที่ข้อมูลจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) พบว่าในปี 2551 มีไฟฟ้าดับเนื่องจากโคมลอยรวมทั้งสิ้น 53 ครั้ง ระยะเวลาไฟฟ้าดับรวม 34 ชั่วโมง 40 นาที คิดเป็นมูลค่าความเสียหายทั้งสิ้น 4.5 ล้านบาท
สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการปล่อยโคมลอย ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการภาคเหนือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กล่าวว่า กฟผ.และ กฟภ.ได้ร่วมกันรณรงค์ให้มีการใช้โคมลอย “ธรรมชัย” แทนโคมลอยเดิม โดยข้อดีของโคมลอยธรรมชัยนั้นก็คือมีการใช้ลวดยึดไส้โคมยาวไม่เกิน 30 เซนติเมตร ทำให้โอกาสที่จะลอยตกไปพาดสายไฟแล้วทำให้เกิดไฟฟ้าดับน้อยลง
ขณะที่ไส้เชื้อเพลิงของโคมจะไม่หยดและจะเผาไหม้หมด ก่อนตกลงสู่พื้นทำให้ไม่เกิดปัญหาอัคคีภัย รวมทั้งมีขนาด น้ำหนัก และเวลาที่ลอยอยู่ในอากาศได้มาตรฐานตามประกาศของกรมการขนส่งทางอากาศ ซึ่งจากการติดตามผลการปล่อยโคมธรรมชัยเมื่อปี 2551 ที่ผ่านมา พบว่า ไม่ทำให้เกิดเหตุไฟฟ้าดับและไม่ทำให้เกิดอัคคีภัย
วันนี้ (14 ต.ค.) ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ นายสุรชัย จงรักษ์ ปลัดจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานประชุมคณะกรรมการป้องกันปัญหาการเล่นดอกไม้เพลิงและโคมลอยในช่วงเทศกาลลอยกระทง ประจำปี 2552 เพื่อร่วมกันทบทวนจัดทำแผนป้องกัน และกำหนดมาตรการการเล่นดอกไม้เพลิง การจุดพลุ บั้งไฟ และโคมลอยในช่วงเทศกาลลอยกระทง รวมทั้งพิจารณาทบทวนปรับปรุงภารกิจหน้าที่แต่ละหน่วยงาน ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย และจัดระบบการดำเนินงานและการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ไว้รองรับสถานการณ์ โดยมีตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม
ปลัดจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ปลัดจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ในช่วงเทศกาลลอยกระทงหรือเทศกาลประเพณียี่เป็งของจังหวัดเชียงใหม่ทุกปีที่ผ่านมามักจะมีปัญหาการขายและการเล่นดอกไม้เพลิง การจุดพลุ และประทัดไฟขนาดใหญ่ ซึ่งส่งเสียงดังก่อความรำคาญและก่อ ให้เกิดอันตรายต่อร่างกายและทรัพย์สิน ขณะเดียวกันยังมีการปล่อยโคมลอย ซึ่งเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนาน แต่ปัจจุบันพบว่า การปล่อยโคมลอยอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อเครื่องบินและตกใส่อาคารบ้านเรือนทำให้เกิดไฟไหม้
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาในช่วงเทศกาลลอยกระทงปีนี้ ขณะนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ได้ลงนามประกาศจังหวัดเชียงใหม่ เรื่องการป้องกันการเล่นดอกไม้เพลิงและโคมลอยในช่วงเทศกาลลอยกระทงประจำปี 2552 แล้ว เพื่อขอความร่วมมือส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบและประชาชน
ในส่วนของการจำหน่ายและเล่นดอกไม้เพลิงนั้น จะมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ผู้ที่ค้าจะต้องได้รับอนุญาต จากนายอำเภอในฐานะนายทะเบียนท้องที่ และให้เจ้าหน้าที่ออกตรวจร้านค้าและแหล่งผลิต หากพบไม่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีตามกฎหมาย พร้อมทั้งขอความร่วมมือห้ามจำหน่ายดอกไม้เพลิงให้เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี และห้ามจำหน่ายประทัดยักษ์เนื่องจากเป็นอันตรายร้ายแรง
ส่วนการผลิตโคมลอยและการปล่อยโคมลอย นายสุรชัย กล่าวว่า ตามประกาศได้ขอความร่วมมือให้ใช้วัสดุธรรมชาติที่ย่อยสลายง่ายในการผลิต ไม่ใช่วัสดุที่มีความแข็งแรงและอาจเป็นอันตราย เช่น พลาสติก โลหะ เป็นต้น ให้มีการใช้เชื้อเพลิงในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้โคมลอยอยู่ในอากาศได้ไม่เกิน 1 ชั่วโมง และไม่ติดวัสดุตกแต่งที่ก่อให้เกิดประกายไฟ
ขณะที่การปล่อยโคมลอยนั้น ให้ดูทิศทางลม โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของอาคารบ้านเรือน สายไฟฟ้า และรัศมีเส้นทางบินของเครื่องบิน ทั้งนี้ หากจะมีการปล่อยโคมลอยในรัศมีไม่เกิน 40 กิโลเมตร จากท่าอากาศยานเชียงใหม่ ให้มีการประสานเพื่อให้ทราบกำหนดวัน เวลาและสถานการณ์การปล่อยโคมลอย เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายต่อเครื่องบินในขณะทำการบินและแจ้งเตือนให้นักบินใช้ความระมัดระวังในการบิน
ด้าน นายประยูร พงษ์ประภาพันธ์ ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการภาคเหนือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า จากการเก็บข้อมูลของ กฟผ.พบว่า ในแต่ละปีมีโคมลอยตกใส่สถานีไฟฟ้าแรงสูงของ กฟผ.เพิ่มขึ้น โดยในปี 2549 มีจำนวน 91 ลูก ปี 2550 มีจำนวน 137 ลูก และปี 2551 มีจำนวน 147 ลูก ขณะที่ข้อมูลจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) พบว่าในปี 2551 มีไฟฟ้าดับเนื่องจากโคมลอยรวมทั้งสิ้น 53 ครั้ง ระยะเวลาไฟฟ้าดับรวม 34 ชั่วโมง 40 นาที คิดเป็นมูลค่าความเสียหายทั้งสิ้น 4.5 ล้านบาท
สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการปล่อยโคมลอย ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการภาคเหนือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กล่าวว่า กฟผ.และ กฟภ.ได้ร่วมกันรณรงค์ให้มีการใช้โคมลอย “ธรรมชัย” แทนโคมลอยเดิม โดยข้อดีของโคมลอยธรรมชัยนั้นก็คือมีการใช้ลวดยึดไส้โคมยาวไม่เกิน 30 เซนติเมตร ทำให้โอกาสที่จะลอยตกไปพาดสายไฟแล้วทำให้เกิดไฟฟ้าดับน้อยลง
ขณะที่ไส้เชื้อเพลิงของโคมจะไม่หยดและจะเผาไหม้หมด ก่อนตกลงสู่พื้นทำให้ไม่เกิดปัญหาอัคคีภัย รวมทั้งมีขนาด น้ำหนัก และเวลาที่ลอยอยู่ในอากาศได้มาตรฐานตามประกาศของกรมการขนส่งทางอากาศ ซึ่งจากการติดตามผลการปล่อยโคมธรรมชัยเมื่อปี 2551 ที่ผ่านมา พบว่า ไม่ทำให้เกิดเหตุไฟฟ้าดับและไม่ทำให้เกิดอัคคีภัย