มหาสารคาม - เทศบาลเมืองมหาสารคาม หนุน 30 ชุมชนตั้งธนาคารขยะรีไซเคิล สร้างรายได้ลดปัญหาสิ่งแวดล้อม และแก้ปัญหาขยะล้นเมือง รักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชน สร้างมหาสารคามให้เป็นเมืองปลอดขยะ
นายเรืองสิทธิ์ นันทะเสน รองนายกเทศมนตรีเมืองมหาสารคาม ร่วมกับชาวชุมชนส่องใต้ เปิดธนาคารวัสดุรีไซเคิล ชุมชนส่องใต้ นำร่องในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม หรือเป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่าธนาคารขยะ โดยเน้นชาวชุมชนรู้จักการคัดแยกขยะที่สามารถนำไปใช้ใหม่ได้ โดยแยกชนิดขยะแต่ละประเภท ออกจากกันหากเป็นเศษพืชผัก จะนำไปผลิตเป็นน้ำหมักชีวภาพแจกจ่ายให้กับสมาชิก นำไปใส่บำรุงพืชผัก
ส่วนวัสดุที่เป็นขวดแก้ว ให้แยกตามสีของขวด ขวดพลาสติกแยกเป็นขวดใสและขวดขุ่น กระดาษแยกมัดเป็นพวกๆ รวมถึงเหล็กและโลหะชนิดอื่นๆ การซื้อขายขยะในชุมชน รายได้จากการขายขยะจะถูกบันทึกลงบนสมุดคู่ฝากของสมาชิก และสามารถฝากหรือถอน ได้เหมือนกับการฝาก-ถอนเงินในธนาคาร เพื่อปลูกจิตสำนึกในการจัดการขยะและการรักษาสิ่งแวดล้อมภายในชุมชน
อีกทั้งเป็นการช่วยลดปริมาณขยะและเสริมสร้างความรู้ ในการจัดการขยะอย่างถูกต้องและยั่งยืน ช่วยสร้างรายได้เสริมให้ครอบครัว เพื่อนำผลพลอยได้จากการทำธนาคารขยะมาตั้งเป็นกองทุนสนับสนุนกิจกรรมต่างๆของชุมชน
ปัจจุบันปริมาณขยะในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคามเพิ่มขึ้นทุกวันมีปริมาณวันละ 45 ตัน และเขตมหาวิทยาลัยมหาสารคามและพื้นที่ใกล้เคียงมีขยะกว่า 27 ตันต่อวัน รวมแล้วกว่า 77 ตันต่อวัน ซึ่งจะสูงขึ้นเรื่อยๆ เทศบาลพยายามรณรงค์ให้ประชาชนช่วยกันคัดแยกขยะ ทิ้งขยะให้เป็นที่ จึงลงพื้นที่ให้ความรู้แก่ชุมชนต่างๆทั้ง 30 ชุมชน โดยนำร่องที่ชุมชนส่องใต้แห่งนี้ให้มีการจัดการขยะมูลฝอยแบบการมีส่วนร่วม
โดยให้มีการตั้งธนาคารขยะรีไซเคิลขึ้นในชุมชน และมีการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมแบบครบวงจร มีกิจกรรมให้ความรู้การคัดแยกขยะ การนำขยะไปทำเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพใช้ประโยชน์ในครัวเรือน คาดว่าจะสามารถลดปริมาณขยะในเขตเทศบาลได้ในระดับหนึ่ง
นายเรืองสิทธิ์ นันทะเสน รองนายกเทศมนตรีเมืองมหาสารคาม ร่วมกับชาวชุมชนส่องใต้ เปิดธนาคารวัสดุรีไซเคิล ชุมชนส่องใต้ นำร่องในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม หรือเป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่าธนาคารขยะ โดยเน้นชาวชุมชนรู้จักการคัดแยกขยะที่สามารถนำไปใช้ใหม่ได้ โดยแยกชนิดขยะแต่ละประเภท ออกจากกันหากเป็นเศษพืชผัก จะนำไปผลิตเป็นน้ำหมักชีวภาพแจกจ่ายให้กับสมาชิก นำไปใส่บำรุงพืชผัก
ส่วนวัสดุที่เป็นขวดแก้ว ให้แยกตามสีของขวด ขวดพลาสติกแยกเป็นขวดใสและขวดขุ่น กระดาษแยกมัดเป็นพวกๆ รวมถึงเหล็กและโลหะชนิดอื่นๆ การซื้อขายขยะในชุมชน รายได้จากการขายขยะจะถูกบันทึกลงบนสมุดคู่ฝากของสมาชิก และสามารถฝากหรือถอน ได้เหมือนกับการฝาก-ถอนเงินในธนาคาร เพื่อปลูกจิตสำนึกในการจัดการขยะและการรักษาสิ่งแวดล้อมภายในชุมชน
อีกทั้งเป็นการช่วยลดปริมาณขยะและเสริมสร้างความรู้ ในการจัดการขยะอย่างถูกต้องและยั่งยืน ช่วยสร้างรายได้เสริมให้ครอบครัว เพื่อนำผลพลอยได้จากการทำธนาคารขยะมาตั้งเป็นกองทุนสนับสนุนกิจกรรมต่างๆของชุมชน
ปัจจุบันปริมาณขยะในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคามเพิ่มขึ้นทุกวันมีปริมาณวันละ 45 ตัน และเขตมหาวิทยาลัยมหาสารคามและพื้นที่ใกล้เคียงมีขยะกว่า 27 ตันต่อวัน รวมแล้วกว่า 77 ตันต่อวัน ซึ่งจะสูงขึ้นเรื่อยๆ เทศบาลพยายามรณรงค์ให้ประชาชนช่วยกันคัดแยกขยะ ทิ้งขยะให้เป็นที่ จึงลงพื้นที่ให้ความรู้แก่ชุมชนต่างๆทั้ง 30 ชุมชน โดยนำร่องที่ชุมชนส่องใต้แห่งนี้ให้มีการจัดการขยะมูลฝอยแบบการมีส่วนร่วม
โดยให้มีการตั้งธนาคารขยะรีไซเคิลขึ้นในชุมชน และมีการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมแบบครบวงจร มีกิจกรรมให้ความรู้การคัดแยกขยะ การนำขยะไปทำเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพใช้ประโยชน์ในครัวเรือน คาดว่าจะสามารถลดปริมาณขยะในเขตเทศบาลได้ในระดับหนึ่ง