ระยอง-ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง ของบไทยเข้มแข็ง แก้ไขปัญหาในภาพรวมทั้งจังหวัดกว่า 1,000 ล้านบาท
นายสยุมพร ลิ่มไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง เผยว่าเมื่อเร็วๆ นี้ ได้เข้าร่วมประชุมชี้แจงคณะกรรมการอิสเทิร์นซีบอร์ด โดยมีนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม จังหวัดระยองได้นำเสนอโครงการหลายโครงการเพื่อของบสนับสนุนจากภาครัฐ ไทยเข้มแข็ง เพื่อดูแลสุขภาพประชาชน การแก้ไขปัญหามลภาวะจากขยะมูลฝอย ในภาพรวมทั้งจังหวัดจำนวน 1,100 ล้านบาท พื้นที่ฝังกลบขยะมูลฝอยเทศบาลเมืองมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง มีพื้นที่ประมาณ 33 ไร่เศษ สภาพบ่อฝังกลบลึก 6 เมตร ปัจจุบันพื้นที่ฝังกลบมีขยะล้นบ่อท่วมสูงขึ้นมาเป็นภูเขาสูงกว่า 10 เมตร จำนวนปริมาณขยะ 300,000 ตัน
นายสยุมพร กล่าวว่าปริมาณขยะในแต่ละวันมีจำนวน 90 ตัน ที่จะต้องทับถมขึ้นไปอีก เกินขีดความสามารถที่จะรองรับปริมาณขยะเพิ่มขึ้นไปอีกได้ นายกอร์ปศักดิ์ รองนายกรัฐมนตรี ให้ความเห็นว่าปัญหาขยะนี้รัฐบาลจะสนับสนุนงบประมาณให้จำนวนหนึ่งไปดำเนินการแก้ไขปัญหา
ขณะนี้จังหวัดร่วมกับเทศบาลเมืองมาบตาพุด ได้นำเสนอมาตรการในการแก้ไข โดยใช้วิธีขนย้ายขยะเก่ากว่า 300,000 ตันไปทำลาย ปรับพื้นที่บ่อฝังกลบใหม่เพื่อรองรับขยะ 90 ตัน/ วัน จะทำให้เทศบาลเมืองมาบตาพุดมีขีดความสามารถที่จะบริหารจัดการได้ อาจจะมีการสร้างโรงคัดแยกขยะขนาดเล็กในพื้นที่ ฝังกลบ ทำให้ปริมาณขยะลดลง โครงการนี้ของบจำนวน 300 ล้านบาท
ปัญหาเรื่องโรงพยาบาลมาบตาพุดไม่เพียงพอในการดูแลรักษาประชาชนในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ปัจจุบันมีจำนวน 30 เตียง และอยู่ระหว่างการก่อสร้างเพิ่มขึ้นเป็น 120 เตียง และจะขอเพิ่มขนาดโรงพยาบาลมาบตาพุดให้เป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่มีจำนวน 200 เตียง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ที่อยู่ในกลุ่มโรงงานนิคมอุตสาหกรรม เรื่องนี้ของบจำนวน 200 ล้านบาท
นายสยุมพร กล่าวว่า นอกจากนี้ยังมีปัญหาการขาดแคลนน้ำประปาในพื้นที่มาบตาพุดซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานประปาบ้านฉาง ปัจจุบันมีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นรวมทั้งประชากรแฝง ทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำประปาในพื้นที่มาบตาพุด พื้นที่ในเขตที่มีการวางท่อประปาเข้าถึงร้านค้า และที่พักอาศัยประมาณ 60 % อีก 40 % ยังไม่มีการวางท่อเข้าถึง ทำให้ประชาชนอีก 40 % ไม่มีน้ำประปาใช้ ต้องอาศัยเทศบาลเมืองมาบตาพุดขนน้ำไปแจกจ่ายชาวบ้าน สำหรับน้ำใช้ในอดีตใช้น้ำบ่อตื้น แต่ปัจจุบันนี้ไม่มีใครกล้าใช้น้ำบ่อตื้นเกรงจะมีสารปนเปื้อน ปัญหานี้ได้ของบประมาณเพื่อขยายเขตวางท่อประปาที่เหลือ 40 % ให้ชาวบ้านได้มีน้ำประปาใช้ คาดว่าจะใช้งบประมาณจำนวน 190 ล้านบาท
ปัญหาเรื่องการจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นในจังหวัดระยอง เรื่องนี้พูดกันมานาน แต่ยังไม่มีการผลักดันอย่างจริงจัง เรื่องนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการ ควรจัดตั้งมหาวิทยาลัยใน จังหวัดระยอง และวางแนวทางให้ควบรวมการศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีอยู่ในพื้นที่เข้าด้วยกัน คือไม่ต้องไปเริ่มต้นใหม่ กำหนดหลักสูตรใหม่ในบางสาขา เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ เช่น หลักสูตรอาชีวะเวชศาสตร์ หลักสูตรการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ฯลฯ คณะรัฐมนตรีมีมติมอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการ ไปศึกษาแนวทาง ส่วนทางจังหวัดได้จัดตั้งคณะทำงาน เพื่อจะได้ดำเนินการคู่ขนานกับกระทรวงศึกษาธิการ โดยเฉพาะเรื่องสถานที่ก่อสร้าง
นายสยุมพร กล่าวต่อว่าปัญหาเรื่องประชากรแฝงเป็นปัญหาที่สำคัญของจังหวัดระยอง คณะรัฐมนตรีมีมติให้มีการสำรวจประชากรแฝงอย่างจริงจังพร้อมกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน จังหวัดระยองได้ให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จัดการสำรวจในพื้นที่แล้ว และเนื่องโอกาสสำนักงานสถิติแห่งชาติครบรอบ 10 ปี จะเริ่มสำรวจสำมะโนประชากรรวมทั้งประชากรแฝง จะเริ่มสำรวจในวันที่ 1 กรกฎาคม 2553 ร่วมกับทางจังหวัดจะได้ทราบจำนวนประชากรที่เป็นจริง คนที่อยู่ในทะเบียนบ้านและอยู่นอกทะเบียนบ้าน คือคนที่มีอยู่จริงทั้งหมด และจะใช้เป็นตัวเลขในการวางแผนพัฒนาและในการจัดสรรงบประมาณในด้านต่างๆ ลงมายังพื้นที่ ปัญหาต่างๆก็จะได้รับการแก้ไข
กรณีพื้นที่มาบตาพุดมีการเสนอให้เป็นพื้นที่พิเศษ ในรูปแบบการปกครองท้องถิ่นแบบพิเศษ มีการเห็นชอบในหลักการแล้ว คือพื้นที่มาบตาพุดมีปัญหามลภาวะและสิ่งแวดล้อม เพราะมีนิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และอุตสาหกรรมต่อเนื่องในพื้นที่ จำนวน 5 นิคม และอยู่ระหว่างหาแนวคิดรูปแบบการปกครองพิเศษ ทำพื้นที่อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ เป็นอุตสาหกรรมที่ไม่มีพิษอันตรายกับประชาชน ลดอัตราการระบายมลพิษหากเป็นไปได้ นำกลับมารีไซเคิ้ลใหม่หรือแปรรูปในรูปของพลังงาน จะทำให้องค์กรปกครองท้องถิ่นมีขีดความสามารถในการแก้ไขปัญหา
นายสยุมพร กล่าวอีกว่าปัจจุบันผังเมืองมาบตาพุดฉบับปัจจุบันจะหมดอายุในวันที่ 1 พฤษภาคม 2553 มีมติว่าผังเมืองฉบับใหม่ ให้พิจารณาเรื่องแนวกันชน หรือบัฟเฟอร์โซน และกรณีพื้นที่ที่อยู่ในผังเมืองเดิมเขตสีม่วง มีปัญหาทับซ้อนเขตชุมชนบ้านพักอาศัยต้องมีการทบทวนหรือไม่ เรื่องการจดทะเบียนธุรกิจโรงงานในจังหวัดระยองทั้งเก่าและใหม่ ได้กลับคืนมาสู่จังหวัดระยองในรูปของภาษี รวมทั้งกรณีทะเบียนรถยนต์ขอให้ย้ายมาจดทะเบียนที่จังหวัดระยอง 2 เรื่องนี้ ได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการโรงงานเบื้องต้นแล้ว 10 แห่ง และจะเดินหน้าขอความร่วมมือทั้ง 8 นิคมอุตสาหกรรมที่อยู่ในจังหวัดระยอง สุดท้ายการจัดทำร่างแผนลดและขจัดมลพิษ ถึงขั้นตอนสุดท้าย คาดว่าจะเสนอแผนลดและขจัดมลพิษ ไปยังคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้ในวันที่ 12 ตุลาคม นี้
นายสยุมพร ลิ่มไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง เผยว่าเมื่อเร็วๆ นี้ ได้เข้าร่วมประชุมชี้แจงคณะกรรมการอิสเทิร์นซีบอร์ด โดยมีนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม จังหวัดระยองได้นำเสนอโครงการหลายโครงการเพื่อของบสนับสนุนจากภาครัฐ ไทยเข้มแข็ง เพื่อดูแลสุขภาพประชาชน การแก้ไขปัญหามลภาวะจากขยะมูลฝอย ในภาพรวมทั้งจังหวัดจำนวน 1,100 ล้านบาท พื้นที่ฝังกลบขยะมูลฝอยเทศบาลเมืองมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง มีพื้นที่ประมาณ 33 ไร่เศษ สภาพบ่อฝังกลบลึก 6 เมตร ปัจจุบันพื้นที่ฝังกลบมีขยะล้นบ่อท่วมสูงขึ้นมาเป็นภูเขาสูงกว่า 10 เมตร จำนวนปริมาณขยะ 300,000 ตัน
นายสยุมพร กล่าวว่าปริมาณขยะในแต่ละวันมีจำนวน 90 ตัน ที่จะต้องทับถมขึ้นไปอีก เกินขีดความสามารถที่จะรองรับปริมาณขยะเพิ่มขึ้นไปอีกได้ นายกอร์ปศักดิ์ รองนายกรัฐมนตรี ให้ความเห็นว่าปัญหาขยะนี้รัฐบาลจะสนับสนุนงบประมาณให้จำนวนหนึ่งไปดำเนินการแก้ไขปัญหา
ขณะนี้จังหวัดร่วมกับเทศบาลเมืองมาบตาพุด ได้นำเสนอมาตรการในการแก้ไข โดยใช้วิธีขนย้ายขยะเก่ากว่า 300,000 ตันไปทำลาย ปรับพื้นที่บ่อฝังกลบใหม่เพื่อรองรับขยะ 90 ตัน/ วัน จะทำให้เทศบาลเมืองมาบตาพุดมีขีดความสามารถที่จะบริหารจัดการได้ อาจจะมีการสร้างโรงคัดแยกขยะขนาดเล็กในพื้นที่ ฝังกลบ ทำให้ปริมาณขยะลดลง โครงการนี้ของบจำนวน 300 ล้านบาท
ปัญหาเรื่องโรงพยาบาลมาบตาพุดไม่เพียงพอในการดูแลรักษาประชาชนในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ปัจจุบันมีจำนวน 30 เตียง และอยู่ระหว่างการก่อสร้างเพิ่มขึ้นเป็น 120 เตียง และจะขอเพิ่มขนาดโรงพยาบาลมาบตาพุดให้เป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่มีจำนวน 200 เตียง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ที่อยู่ในกลุ่มโรงงานนิคมอุตสาหกรรม เรื่องนี้ของบจำนวน 200 ล้านบาท
นายสยุมพร กล่าวว่า นอกจากนี้ยังมีปัญหาการขาดแคลนน้ำประปาในพื้นที่มาบตาพุดซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานประปาบ้านฉาง ปัจจุบันมีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นรวมทั้งประชากรแฝง ทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำประปาในพื้นที่มาบตาพุด พื้นที่ในเขตที่มีการวางท่อประปาเข้าถึงร้านค้า และที่พักอาศัยประมาณ 60 % อีก 40 % ยังไม่มีการวางท่อเข้าถึง ทำให้ประชาชนอีก 40 % ไม่มีน้ำประปาใช้ ต้องอาศัยเทศบาลเมืองมาบตาพุดขนน้ำไปแจกจ่ายชาวบ้าน สำหรับน้ำใช้ในอดีตใช้น้ำบ่อตื้น แต่ปัจจุบันนี้ไม่มีใครกล้าใช้น้ำบ่อตื้นเกรงจะมีสารปนเปื้อน ปัญหานี้ได้ของบประมาณเพื่อขยายเขตวางท่อประปาที่เหลือ 40 % ให้ชาวบ้านได้มีน้ำประปาใช้ คาดว่าจะใช้งบประมาณจำนวน 190 ล้านบาท
ปัญหาเรื่องการจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นในจังหวัดระยอง เรื่องนี้พูดกันมานาน แต่ยังไม่มีการผลักดันอย่างจริงจัง เรื่องนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการ ควรจัดตั้งมหาวิทยาลัยใน จังหวัดระยอง และวางแนวทางให้ควบรวมการศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีอยู่ในพื้นที่เข้าด้วยกัน คือไม่ต้องไปเริ่มต้นใหม่ กำหนดหลักสูตรใหม่ในบางสาขา เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ เช่น หลักสูตรอาชีวะเวชศาสตร์ หลักสูตรการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ฯลฯ คณะรัฐมนตรีมีมติมอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการ ไปศึกษาแนวทาง ส่วนทางจังหวัดได้จัดตั้งคณะทำงาน เพื่อจะได้ดำเนินการคู่ขนานกับกระทรวงศึกษาธิการ โดยเฉพาะเรื่องสถานที่ก่อสร้าง
นายสยุมพร กล่าวต่อว่าปัญหาเรื่องประชากรแฝงเป็นปัญหาที่สำคัญของจังหวัดระยอง คณะรัฐมนตรีมีมติให้มีการสำรวจประชากรแฝงอย่างจริงจังพร้อมกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน จังหวัดระยองได้ให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จัดการสำรวจในพื้นที่แล้ว และเนื่องโอกาสสำนักงานสถิติแห่งชาติครบรอบ 10 ปี จะเริ่มสำรวจสำมะโนประชากรรวมทั้งประชากรแฝง จะเริ่มสำรวจในวันที่ 1 กรกฎาคม 2553 ร่วมกับทางจังหวัดจะได้ทราบจำนวนประชากรที่เป็นจริง คนที่อยู่ในทะเบียนบ้านและอยู่นอกทะเบียนบ้าน คือคนที่มีอยู่จริงทั้งหมด และจะใช้เป็นตัวเลขในการวางแผนพัฒนาและในการจัดสรรงบประมาณในด้านต่างๆ ลงมายังพื้นที่ ปัญหาต่างๆก็จะได้รับการแก้ไข
กรณีพื้นที่มาบตาพุดมีการเสนอให้เป็นพื้นที่พิเศษ ในรูปแบบการปกครองท้องถิ่นแบบพิเศษ มีการเห็นชอบในหลักการแล้ว คือพื้นที่มาบตาพุดมีปัญหามลภาวะและสิ่งแวดล้อม เพราะมีนิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และอุตสาหกรรมต่อเนื่องในพื้นที่ จำนวน 5 นิคม และอยู่ระหว่างหาแนวคิดรูปแบบการปกครองพิเศษ ทำพื้นที่อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ เป็นอุตสาหกรรมที่ไม่มีพิษอันตรายกับประชาชน ลดอัตราการระบายมลพิษหากเป็นไปได้ นำกลับมารีไซเคิ้ลใหม่หรือแปรรูปในรูปของพลังงาน จะทำให้องค์กรปกครองท้องถิ่นมีขีดความสามารถในการแก้ไขปัญหา
นายสยุมพร กล่าวอีกว่าปัจจุบันผังเมืองมาบตาพุดฉบับปัจจุบันจะหมดอายุในวันที่ 1 พฤษภาคม 2553 มีมติว่าผังเมืองฉบับใหม่ ให้พิจารณาเรื่องแนวกันชน หรือบัฟเฟอร์โซน และกรณีพื้นที่ที่อยู่ในผังเมืองเดิมเขตสีม่วง มีปัญหาทับซ้อนเขตชุมชนบ้านพักอาศัยต้องมีการทบทวนหรือไม่ เรื่องการจดทะเบียนธุรกิจโรงงานในจังหวัดระยองทั้งเก่าและใหม่ ได้กลับคืนมาสู่จังหวัดระยองในรูปของภาษี รวมทั้งกรณีทะเบียนรถยนต์ขอให้ย้ายมาจดทะเบียนที่จังหวัดระยอง 2 เรื่องนี้ ได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการโรงงานเบื้องต้นแล้ว 10 แห่ง และจะเดินหน้าขอความร่วมมือทั้ง 8 นิคมอุตสาหกรรมที่อยู่ในจังหวัดระยอง สุดท้ายการจัดทำร่างแผนลดและขจัดมลพิษ ถึงขั้นตอนสุดท้าย คาดว่าจะเสนอแผนลดและขจัดมลพิษ ไปยังคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้ในวันที่ 12 ตุลาคม นี้