อุดรธานี - ทูตเคนยาพร้อมคณะเยือนเมืองอุดรธานีดูงานด้านเศรษฐกิจ พร้อมเชิญชวนภาคเอกชนเข้าไปลงทุนในเคนยา เผยเคนยาน่าลงทุน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อวันที่ 24 ก.ย.ที่ผ่านมา ดร.ริชาร์ด อีไก (Dr. Richard EKAI) เอกอัครราชทูตเคนยา ประจำประเทศไทย พร้อมด้วย นายพันวัฒน์ โกษะโยดม เจ้าหน้าฝ่ายการค้าและการลงทุนประจำสถานทูตเคนยา ประจำประเทศไทย เดินทางเข้าเยี่ยมนายอำนาจ ผการัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ที่ห้องทำงานบนชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดอุดรธานี โดยมีนายประยูร โฮมภิรมย์ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี นายธีระ ตั้งหลักมั่นคง ประธานหอการค้าจังหวัดอุดรธานี และหัวหน้าส่วนราชการร่วมให้การต้อนรับ
ดร.ริชาร์ด กล่าวว่า ต้องการเดินทางมาดูลู่ทางการลงทุน และชักชวนให้นักลงทุนไทย เดินทางเข้าไปลงทุนในประเทศเคนยา เพราะประเทศเคนยาเป็นประเทศที่น่าลงทุน และมีความต้องการ การลงทุนจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ลักษณะภูมิประเทศของเคนยา มีส่วนหนึ่งที่มีภูมิอากาศที่มีลักษณะคล้ายกับประเทศไทย ไม่ได้มีความแห้งแล้งเหมือนกับประเทศในตะวันออกกลาง มีแม่น้ำหลายสายที่ไหลลงทะเล และมีฝนตกเฉลี่ยปีละประมาณ 2,000 มม. มีประชากรประมาณ 40 ล้านคน มีการปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น ข้าวโพด ชา กาแฟ ดอกไม้ โดยมีตลาดส่งออกที่สำคัญคือประเทศยุโรป
อย่างไรก็ตาม ประเทศเคนยายังขาดแคลนด้านพลังงาน และพลังงานทดแทน ปัจจุบันนี้ได้มีการนำเข้าข้าวและสินค้าหลายอย่างจากประเทศไทย เช่น เครื่องจักร สินค้าการเกษตร
นอกจากนี้ ประเทศเคนยามีพื้นที่ที่มีความเหมาะสมที่จะปลูกพืชการเกษตรอีกเป็นจำนวนมาก และมีสภาพดินดี ดังนั้นหากเป็นไปได้ต้องการให้คนไทยเข้าไปลงทุนทางด้านการเกษตร เพราะประเทศเคนยาเป็นประเทศใหญ่กว่าประเทศไทย แต่ประชากรเพียงประมาณ 40 ล้านคนเท่านั้น ส่วนด้านกฎหมายการลงทุน ประเทศเคนยาก็มีกฎหมายการลงทุนต่างประเทศ ที่มีข้อยกเว้นและมีการเอื้ออำนวยความสะดวกต่อนักลงทุนจากต่างประเทศด้วย
มีการประกันการลงทุนจากต่างชาติ ยกเว้นการเก็บภาษีเครื่องจักรที่นำเข้าเพื่อการลงทุน การเดินทางจากประเทศไทยก็มีสายการบินที่บินตรงจากกรุงเทพฯ-กรุงไนบี โดยใช้เวลาเดินทางประมาณ 9 ชั่วโมง สำหรับเวลาที่ประเทศเคนยาจะช้ากว่าประเทศไทยประมาณ 4 ชั่วโมง
นายอำนาจเปิดเผยหลังจากที่เสร็จสิ้นการต้อนรับเอกอัครราชทูตปะเทศเคนยาว่า การเดินทางมาในพื้นที่ จ.อุดรธานี ของท่านในครั้งนี้ก็เพื่อที่จะมาดูพื้นที่ในเรื่องของข้าวที่ประเทศของเขายังต้องการนำเข้าอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งประเทศเคนยาได้มีการสั่งนำเข้าข้าวจากประเทศประเทศไทย รวมไปถึงพืชพลังงานทดทน เช่น อ้อย เพราะประเทศของเขาที่มีขนาดใหญ่กว่าประเทศไทย ยังมีปัญหาขาดแคลนเรื่องพลังงาน
ส่วนด้านการลงทุนนั้นได้เดินทางไปดูโรงงานน้ำตาลทรายขาวเริ่มอุดมที่ อ.หนองหาน ซึ่งที่โรงงานแห่งนี้ ก็จะได้ข้อมูลไปในคราวเดียวกันเลย คือ เรื่องของน้ำตาลที่ผลิตจากอ้อย นอกจากนี้ก็จะเป็นการดูพลังงานทดแทนจากอ้อยด้วย พร้อมกันนี้ ดร.ริชาร์ด ได้กล่าวเชิญชวนให้ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี นักธุรกิจกิจของจังหวัดเดินทางไปเยี่ยมเยือนประเทศเคนยาในโอกาสต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อวันที่ 24 ก.ย.ที่ผ่านมา ดร.ริชาร์ด อีไก (Dr. Richard EKAI) เอกอัครราชทูตเคนยา ประจำประเทศไทย พร้อมด้วย นายพันวัฒน์ โกษะโยดม เจ้าหน้าฝ่ายการค้าและการลงทุนประจำสถานทูตเคนยา ประจำประเทศไทย เดินทางเข้าเยี่ยมนายอำนาจ ผการัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ที่ห้องทำงานบนชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดอุดรธานี โดยมีนายประยูร โฮมภิรมย์ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี นายธีระ ตั้งหลักมั่นคง ประธานหอการค้าจังหวัดอุดรธานี และหัวหน้าส่วนราชการร่วมให้การต้อนรับ
ดร.ริชาร์ด กล่าวว่า ต้องการเดินทางมาดูลู่ทางการลงทุน และชักชวนให้นักลงทุนไทย เดินทางเข้าไปลงทุนในประเทศเคนยา เพราะประเทศเคนยาเป็นประเทศที่น่าลงทุน และมีความต้องการ การลงทุนจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ลักษณะภูมิประเทศของเคนยา มีส่วนหนึ่งที่มีภูมิอากาศที่มีลักษณะคล้ายกับประเทศไทย ไม่ได้มีความแห้งแล้งเหมือนกับประเทศในตะวันออกกลาง มีแม่น้ำหลายสายที่ไหลลงทะเล และมีฝนตกเฉลี่ยปีละประมาณ 2,000 มม. มีประชากรประมาณ 40 ล้านคน มีการปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น ข้าวโพด ชา กาแฟ ดอกไม้ โดยมีตลาดส่งออกที่สำคัญคือประเทศยุโรป
อย่างไรก็ตาม ประเทศเคนยายังขาดแคลนด้านพลังงาน และพลังงานทดแทน ปัจจุบันนี้ได้มีการนำเข้าข้าวและสินค้าหลายอย่างจากประเทศไทย เช่น เครื่องจักร สินค้าการเกษตร
นอกจากนี้ ประเทศเคนยามีพื้นที่ที่มีความเหมาะสมที่จะปลูกพืชการเกษตรอีกเป็นจำนวนมาก และมีสภาพดินดี ดังนั้นหากเป็นไปได้ต้องการให้คนไทยเข้าไปลงทุนทางด้านการเกษตร เพราะประเทศเคนยาเป็นประเทศใหญ่กว่าประเทศไทย แต่ประชากรเพียงประมาณ 40 ล้านคนเท่านั้น ส่วนด้านกฎหมายการลงทุน ประเทศเคนยาก็มีกฎหมายการลงทุนต่างประเทศ ที่มีข้อยกเว้นและมีการเอื้ออำนวยความสะดวกต่อนักลงทุนจากต่างประเทศด้วย
มีการประกันการลงทุนจากต่างชาติ ยกเว้นการเก็บภาษีเครื่องจักรที่นำเข้าเพื่อการลงทุน การเดินทางจากประเทศไทยก็มีสายการบินที่บินตรงจากกรุงเทพฯ-กรุงไนบี โดยใช้เวลาเดินทางประมาณ 9 ชั่วโมง สำหรับเวลาที่ประเทศเคนยาจะช้ากว่าประเทศไทยประมาณ 4 ชั่วโมง
นายอำนาจเปิดเผยหลังจากที่เสร็จสิ้นการต้อนรับเอกอัครราชทูตปะเทศเคนยาว่า การเดินทางมาในพื้นที่ จ.อุดรธานี ของท่านในครั้งนี้ก็เพื่อที่จะมาดูพื้นที่ในเรื่องของข้าวที่ประเทศของเขายังต้องการนำเข้าอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งประเทศเคนยาได้มีการสั่งนำเข้าข้าวจากประเทศประเทศไทย รวมไปถึงพืชพลังงานทดทน เช่น อ้อย เพราะประเทศของเขาที่มีขนาดใหญ่กว่าประเทศไทย ยังมีปัญหาขาดแคลนเรื่องพลังงาน
ส่วนด้านการลงทุนนั้นได้เดินทางไปดูโรงงานน้ำตาลทรายขาวเริ่มอุดมที่ อ.หนองหาน ซึ่งที่โรงงานแห่งนี้ ก็จะได้ข้อมูลไปในคราวเดียวกันเลย คือ เรื่องของน้ำตาลที่ผลิตจากอ้อย นอกจากนี้ก็จะเป็นการดูพลังงานทดแทนจากอ้อยด้วย พร้อมกันนี้ ดร.ริชาร์ด ได้กล่าวเชิญชวนให้ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี นักธุรกิจกิจของจังหวัดเดินทางไปเยี่ยมเยือนประเทศเคนยาในโอกาสต่อไป