ศูนย์ข่าวศรีราชา - ผบก.ระยอง สั่งเตรียมกำลังตำรวจตรึงพื้นที่มาบตาพุดวันนี้ หลังกลุ่มเครือข่าวประชาชนภาคตะวันออกประกาศรวมพลคัดค้านการออกใบอนุญาตก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรม โดยขอให้รอแผนลดและขจัดมลพิษเสร็จก่อน “สุทธิ” ฮึ่มใส่การชุมนุมอาจยืดเยื้อ หากรัฐบาลยังดื้อ
วันนี้ (8 ก.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.ระยองว่า ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดระยอง ได้สั่งกำชับให้เจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่เตรียมกำลังพลให้พร้อมและเตรียมเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดสลายฝูงชนเพื่อรับมืองกลุ่มผู้คัดค้านการออกใบอนุญาตก่อสร้างโรงงานโดยขอให้รอแผนลดและขจัดมลพิษเสร็จก่อน ที่ได้มีการนัดรวมตัวกันในวันพรุ่งนี้ (9 ก.ย.) ที่บริเวณหน้านิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง หลังจากนั้น กลุ่มผู้ชุมนุมคัดค้านจะมีการดาวกระจายไปที่บริเวณด้านหน้าบริษัท ไออาร์พีซี ซึ่งมีการสร้างส่วนขยายโรงไฟฟ้า และที่บริเวณศูนย์ราชการจังหวัดระยอง โดยคาดว่าจะมีประชาชนทุกจังหวัดในพื้นที่ภาคตะวันออก และจังหวัดในพื้นที่ใกล้เคียงเดินทางมาร่วมชุมนุมด้วยเป็นจำนวนมาก
นายสุทธิ อัชฌาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก ซึ่งเป็นแกนนำ กล่าวย้ำถึงเรื่องนี้ว่า ที่ผ่านมาจากการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) โดยมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานฯ ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้มีการออกใบอนุญาตแก่โรงงานที่ผ่านการรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้ว (EIA.) ทั้งหมด 55 โครงการ เม็ดเงินการลงทุนประมาณ 300,000 ล้านบาท โดยไม่ยึดกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 ซึ่งเรื่องนี้เห็นว่า รัฐบาลส่งเรื่องให้กฤษฎีกาตีความกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 67 ผลกฤษฎีกาตีความไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ เพราะยังไม่มีกฎหมายบังคับใช้
กรณีดังกล่าวในเรื่องกฎหมายนั้น ตามหลักกฎหมายต้องมีการถกเถียงต่อไป เพราะการตีความของกฤษฎีกา ไม่ใช่หน้าที่ ซึ่งหน้าที่ดังกล่าวต้องเป็นหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ โดยเป็นการอาจเอื้อมไปตีความแทนศาลรัฐธรรมนูญและกฤษฎีกาซึ่งเป็นนักกฎหมายของรัฐ ไปตีความแทนศาลรัฐธรรมนูญ ในทางที่ไม่ตรงกับเจตจำนงของมาตรา 67 อาจจะมีผลในทางปฏิบัติได้
นายสุทธิ กล่าวต่อว่า เหตุผลในการชุมนุมเคลื่อนไหวในครั้งนี้คือต้องการให้รัฐบาลยึดหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญ ในการปฏิบัติหน้าที่ ประชาชนไม่ได้ขัดขวางการลงทุน แต่การลงทุนจะเกิดขึ้นได้ต้องผ่านขบวนการตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 67 อย่างชัดเจน
“การชุมนุมครั้งนี้อาจยืดเยื้อแน่นอน หากรัฐบาลยังดื้อที่จะดำเนินการต่อไป ซึ่งอาจจะมีการปิดล้อมท่าเทียบเรือมาบตาพุด ปิดล้อมนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และปิดล้อมโรงงานแห่งใหม่ให้เป็นสัญลักษณ์ว่า นี่คือวัตถุประสงค์ที่ต้องการให้ปฏิบัติตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 และเป็นการส่งสัญญาณให้นักลงทุนเห็นว่า ปัญหามลพิษยังไม่ได้แก้ไข แต่มาเร่งเพิ่มปัญหาสิ่งแวดล้อม อาจจะเป็นปัญหาในระยะยาว”
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับบรรยากาศโดยทั่วไปที่ จ.ระยอง ยังปกติโดยในช่วงที่ผ่านได้มีใบปลิวจากกลุ่มประชนภาคตะวันออก ขอให้ประชาชนที่ได้รับความเดือนร้อนในเรื่องของสิ่งแวดล้อมขอให้ออกมาร่วมกันคัดค้านการก่อสร้างโรงาน ที่เพิ่มขึ้นไม่มีจับ ส่วนกลุ่มที่ก่อนหน้านี้ไม่เห็นด้วนนั้นในขณะนี้ไม่ความเคลื่อนไหวแต่อย่างใด
วันนี้ (8 ก.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.ระยองว่า ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดระยอง ได้สั่งกำชับให้เจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่เตรียมกำลังพลให้พร้อมและเตรียมเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดสลายฝูงชนเพื่อรับมืองกลุ่มผู้คัดค้านการออกใบอนุญาตก่อสร้างโรงงานโดยขอให้รอแผนลดและขจัดมลพิษเสร็จก่อน ที่ได้มีการนัดรวมตัวกันในวันพรุ่งนี้ (9 ก.ย.) ที่บริเวณหน้านิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง หลังจากนั้น กลุ่มผู้ชุมนุมคัดค้านจะมีการดาวกระจายไปที่บริเวณด้านหน้าบริษัท ไออาร์พีซี ซึ่งมีการสร้างส่วนขยายโรงไฟฟ้า และที่บริเวณศูนย์ราชการจังหวัดระยอง โดยคาดว่าจะมีประชาชนทุกจังหวัดในพื้นที่ภาคตะวันออก และจังหวัดในพื้นที่ใกล้เคียงเดินทางมาร่วมชุมนุมด้วยเป็นจำนวนมาก
นายสุทธิ อัชฌาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก ซึ่งเป็นแกนนำ กล่าวย้ำถึงเรื่องนี้ว่า ที่ผ่านมาจากการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) โดยมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานฯ ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้มีการออกใบอนุญาตแก่โรงงานที่ผ่านการรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้ว (EIA.) ทั้งหมด 55 โครงการ เม็ดเงินการลงทุนประมาณ 300,000 ล้านบาท โดยไม่ยึดกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 ซึ่งเรื่องนี้เห็นว่า รัฐบาลส่งเรื่องให้กฤษฎีกาตีความกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 67 ผลกฤษฎีกาตีความไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ เพราะยังไม่มีกฎหมายบังคับใช้
กรณีดังกล่าวในเรื่องกฎหมายนั้น ตามหลักกฎหมายต้องมีการถกเถียงต่อไป เพราะการตีความของกฤษฎีกา ไม่ใช่หน้าที่ ซึ่งหน้าที่ดังกล่าวต้องเป็นหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ โดยเป็นการอาจเอื้อมไปตีความแทนศาลรัฐธรรมนูญและกฤษฎีกาซึ่งเป็นนักกฎหมายของรัฐ ไปตีความแทนศาลรัฐธรรมนูญ ในทางที่ไม่ตรงกับเจตจำนงของมาตรา 67 อาจจะมีผลในทางปฏิบัติได้
นายสุทธิ กล่าวต่อว่า เหตุผลในการชุมนุมเคลื่อนไหวในครั้งนี้คือต้องการให้รัฐบาลยึดหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญ ในการปฏิบัติหน้าที่ ประชาชนไม่ได้ขัดขวางการลงทุน แต่การลงทุนจะเกิดขึ้นได้ต้องผ่านขบวนการตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 67 อย่างชัดเจน
“การชุมนุมครั้งนี้อาจยืดเยื้อแน่นอน หากรัฐบาลยังดื้อที่จะดำเนินการต่อไป ซึ่งอาจจะมีการปิดล้อมท่าเทียบเรือมาบตาพุด ปิดล้อมนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และปิดล้อมโรงงานแห่งใหม่ให้เป็นสัญลักษณ์ว่า นี่คือวัตถุประสงค์ที่ต้องการให้ปฏิบัติตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 และเป็นการส่งสัญญาณให้นักลงทุนเห็นว่า ปัญหามลพิษยังไม่ได้แก้ไข แต่มาเร่งเพิ่มปัญหาสิ่งแวดล้อม อาจจะเป็นปัญหาในระยะยาว”
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับบรรยากาศโดยทั่วไปที่ จ.ระยอง ยังปกติโดยในช่วงที่ผ่านได้มีใบปลิวจากกลุ่มประชนภาคตะวันออก ขอให้ประชาชนที่ได้รับความเดือนร้อนในเรื่องของสิ่งแวดล้อมขอให้ออกมาร่วมกันคัดค้านการก่อสร้างโรงาน ที่เพิ่มขึ้นไม่มีจับ ส่วนกลุ่มที่ก่อนหน้านี้ไม่เห็นด้วนนั้นในขณะนี้ไม่ความเคลื่อนไหวแต่อย่างใด