ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - บริษัท DRC ผู้รับสัมปทานติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด 5 จชต.ใต้ยื่นหนังสือขอยกเลิกสัญญากับรัฐแล้ว รอวินิจฉัย “รองปลัดฯ” ชี้ขาด เผยมีปัญหาตั้งแต่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ยันซับพลายเออร์ในพื้นที่ ทำให้งานไม่คืบหน้าจนต้องจ่ายเบี้ยปรับวันละ 1.9 แสน กระทั่งยอดพุ่ง 40 ล้านบาท ท้ายสุดถอดใจเมื่อเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา ประธานหอการค้า 5 จชต.-ผู้ประกอบธุรกิจใน 3 จชต.จี้รัฐฟันบริษัท DRC ขึ้นบัญชีดำ แล้วเร่งหาบริษัทผู้เชี่ยวชาญติดตั้งให้เสร็จเสียที บ่นอุบอนุสาวรีย์ CCTV เกลื่อนเมืองรถสิบล้อเสยหล่นจากเสาไฟฟ้า พลเมืองดีนำไปให้ตำรวจถึงรู้กล้องเสียนานแล้ว พร้อมแนะรัฐอุดหนุนเงินร้านค้าที่ติดตั้งกล้องเอง
กรณีบริษัท ดิจิตัล รีเสิร์ช แอนด์ คอนซัลติ้ง จำกัด หรือ ดีอาร์ซี (DRC) ผู้ดำเนินโครงการติดตั้งกล้องวงจรปิด 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มูลค่า 969 ล้านบาท ยังไม่สามารถส่งมอบงานได้ในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2551 และล่วงเลยมากกว่า 9 เดือนดังที่เคยเสนอข่าวไปแล้วนั้น
นายปวิณ ชำนิประศาสตร์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผย “เอเอสทีวีผู้จัดการรายวัน” ว่า ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา บริษัท DRC ได้ขอยกเลิกสัญญาดำเนินการติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อกระทรวงมหาดไทย ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการยกเลิกสัญญานั้นไม่สามารถทำได้ อย่างไรก็ตาม ความคืบหน้าในเรื่องนี้จึงขึ้นอยู่กับการพิจารณาของรองปลัดกระทรวงมหาดไทยและกองคลัง
สำหรับสาเหตุการขอยกเลิกสัญญานั้น เกิดจากปัญหาการดำเนินงานที่มีความล่าช้าเป็นหลัก ซึ่งก่อนหน้านี้มีการแก้ไขสัญญาทั้งสองฝ่ายซึ่งไม่มีผู้ใดเสียประโยชน์ โดยบริษัทขอแก้ไขเพื่อใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์อื่น ทดแทน CPU ของบริษัท เดล คอมพิวเตอร์ ที่ได้ยกเลิกการผลิตในเวลาต่อมา ส่วนรัฐขอแก้ไขสถานที่ก่อสร้างห้องควบคุม
อย่างไรก็ตาม จากการที่เจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าอยู่เป็นระยะทำให้ทราบว่า บริษัทมีปัญหากับซัพพลายเออร์ในพื้นที่อีกด้วย ทำให้การทำงานทุกด้านล่าช้าเป็นอย่างมาก จนไม่มีด้านใดสามารถส่งมอบได้เลย ซึ่งที่มีการตรวจสอบล่าสุดก่อนที่จะมีการแจ้งขอยกเลิกสัญญาพบว่า งานติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิดพร้อมสายหัวกล้องดำเนินการแล้วประมาณ 30% กล่าวคือติดตั้งแล้วกว่า 1,000 จุด จากทั้งหมด 3,520 จุด งานก่อสร้างห้องควบคุมดำเนินการแล้วประมาณ 80% และงานเดินเคเบิ้ลเน็ตเวิร์คอีกประมาณ 80% ซึ่งตลอดเวลาที่เลยระยะการส่งมอบงาน ได้มีการส่งหนังสือแจ้งค่าปรับวันละ 190,000 บาท จนถึงเดือนกรกฎาคมเป็นเงินราว 40 ล้านบาท ซึ่งน่าจะเป็นอีกผลหนึ่งของการขอยกเลิกสัญญาในเวลาต่อมา
“หลังจากที่บริษัทส่งมอบงานไม่ทันตามกำหนดก็ยังไม่เคยต่อสัญญาแต่อย่างใด แต่เราได้แจ้งให้จ่ายค่าปรับเป็นรายวัน และบริษัทก็มีการดำเนินงานในพื้นที่ต่อเนื่องมาโดยตลอด จนกระทั่งมาขอยกเลิกสัญญาเมื่อเดือนกรกฎาคม ซึ่งเราก็ไม่เคยรู้มาก่อนล่วงหน้า สำหรับเรื่องงบประมาณนั้นยังอยู่ที่เรา 100% เพราะบริษัทยังไม่ส่งงานที่ผ่านการตรวจรับเลย และเงินค้ำประกันสัญญา 5% ก็ยังอยู่ครบ ทั้งนี้ บริษัท DRC เพิ่งจะได้รับสัมปทานโครงการรัฐของที่นี่เป็นครั้งแรก และเสนอราคาต่ำ แต่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยของ โรเบิร์ต บอซ ซึ่งได้รับการยอมรับในคุณภาพ ณ เวลานั้น และมีการแข่งขันกันถึง 6 ยี่ห้อ ” นายปวิณกล่าว
นายดิสพูน จ่างเจริญ รองประธานชมรมผู้ประกอบการร้านอาหาร จ.ปัตตานี กล่าวถึง ผลกระทบของโครงการการกล้องโทรทัศน์วงจรปิดใน 5 จชต. ที่ยังไม่แล้วเสร็จว่า ทำให้ประชาชนในจังหวัดปัตตานีได้รับความเดือดร้อน และไม่มั่นใจในรู้สึกปลอดภัย เพราะหากเกิดเหตุขึ้นแล้ว ก็ไม่สามารถเก็บหลักฐานหรือติดตามเบาะแสคนร้ายได้ ซึ่งปกติที่มีกล้องโทรทัศน์วงจรปิดแล้วประชาชนยังร่วมกันดูแลรักษาเพื่อสาธารณะประโยชน์อยู่แล้ว ทั้งที่ไม่รู้ว่ากล้องหลายตัวติดตั้งแล้วไม่สามารถใช้การได้
“ที่หน้าบ้านของผมมีกล้องโทรทัศน์วงจรปิดติดอยู่บนเสาไฟฟ้าตัวหนึ่ง วันหนึ่งมีรถสิบล้อมาชนเข้าที่เสาไฟฟ้า ทำให้กล้องตกลงมาที่พื้น ผมตกใจมากรีบพากล้องไปให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดูอาการ แต่กลับไม่ได้รับความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ และยังถามผมอีกว่าจะสนใจทำไม ก็กล้องตัวนี้มันใช้การไม่ได้ ผมรู้สึกเจ็บใจมาก เพราะเชื่อว่ากล้องตัวนี้ใช้งานได้มาโดยตลอด หากเกิดอะไรขึ้นมาจะบันทึกภาพต่างๆ ได้” นายดิสพูน กล่าวด้วยเจ็บใจ
และในเรื่องนี้ตนพร้อมด้วยแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งอยู่ใน จ.ปัตตานี ได้เข้าไปร้องเรียนต่อนายธีระเทพ ศรียะพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี เพื่อให้เร่งติดตามให้โครงการดังกล่าวเสร็จลุล่วง เพื่อให้ใช้งานได้ตามปกติ เพราเป็นโครงการที่ใช้งบประมาณสูงเกือบ 1,000 ล้าน ซึ่งเป็นภาษีของประชาชน อีกทั้งยังมีผู้เชี่ยวชาญเป็นคนดำเนินการ เหตุใดจนถึงป่านนี้แล้วยังทำไม่เสร็จ โดยทางผู้ว่าราชการจังหวัดรับปากว่าติดตาม และทราบว่ากำลังเป็นตรวจสอบกันอยู่
นายดิสพูน ยังกล่าวต่อไปว่า กรณีที่บริษัทเอกชนผิดสัญญากับรัฐนั้น อยากให้มีการติดตามฟ้องดำเนินคดีเพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ของส่วนรวม รวมถึงขึ้นบัญชีดำบริษัทนี้ด้วย พร้อมกับเร่งหากล้องโทรทัศน์วงจรปิดตัวใหม่มาติดตั้ง ตลอดจนซ่อมแซมกล้องโทรทัศน์วงจรปิดที่ใช้งานไม่ได้ให้เร็วที่สุด
และโดยส่วนตัวแล้วรู้สึกว่ารัฐบาลไม่ได้ให้ความสนใจเท่าที่ควร ซึ่งอาจเป็นเพราะไม่ใช่ช่วงหาเสียงเลือกตั้งเลยไม่มีคนในรัฐบาลสนใจ และเห็นว่ารัฐบาลควรหาบริษัทใหม่มาทำการติดตั้งให้เสร็จโดยด่วน เพราะจะทำให้ประชาชนเกิดความอุ่นใจและรู้สึกว่าตนเองปลอดภัย ซึ่งขณะนี้ประชาชนได้พึ่งพากล้องโทรทัศน์วงจรปิดของเทศบาลที่ติดอยู่ตามสี่แยกสำคัญๆ ในบางจุดเท่านั้น แต่กล้องโทรทัศน์วงจรปิดที่มีคุณภาพสูง และราคาแพงถึงตัวละกว่า 275,284 บาทของกระทรวงมหาดไทยมีแค่ตัวกล้องแต่ไม่มีสายต่อจึงใช้การไม่ได้ทั้งหมด
“ตอนนี้ประชาชนที่ประกอบธุรกิจค้าขายเล็กๆ น้อยๆ ก็ต้องลงทุนติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิดกันเอง เพื่อความปลอดภัยแม้ว่าจะต้องใช้เงินเยอะก็ตาม หากเป็นไปได้อยากให้ทางราชการสนับสนุนค่าใช้จ่ายกับร้านค้าคนละครึ่ง ซึ่งเจ้าของร้านค้าเองก็จะรู้สึกร่วมเป็นเจ้าของและดูแลเป็นพิเศษ” นายดิสพูนกล่าว
ด้านนายพจน์ ไพบูลย์เกษมสุทธิ ประธานหอการค้า 5 จังหวัดชายภาคใต้ กล่าวกรณีที่บริษัทผู้รับสัมปทานติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด 5 จชต.มีความประสงค์จะยกเลิกสัมปทานนั้น หากสามารถทำได้จริง รัฐต้องเร่งหาบริษัทใหม่เข้ามารับช่วงดำเนินการต่อ ซึ่งทุกโครงการที่เปิดประกวดราคาต้องมีความโปร่งใสในการประมูลตั้งแต่แรก และควรหาผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านนั้นจริงๆ ซึ่งมีบริษัทมากมายที่พร้อมจะทำการติดตั้ง
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่มีกล้องโทรทัศน์วงจรปิดแล้ว กระบวนการควบคุมดูแลก็เป็นสำคัญ รัฐต้องจัดระบบการดูแลควบคุมกล้องให้มีจุดศูนย์กลางเพียงแห่งเดียวที่บูรณาการงานได้ เพราะปัจจุบันมีหลายหน่วยงานเป็นเจ้าของ เพื่อประสิทธิภาพในการป้องกันเหตุ อย่างกรณีกล้องวงจรปิดในเทศบาลเมืองยะลา ก็ควรที่จะมีหน่วยงานหนึ่งเท่านั้นที่มาดูแลทั้งระบบ ไม่ควรที่จะแบ่งออกหลายหน่วยงาน
“ท้ายที่สุดต้องขอฝากถึงรัฐบาลให้ช่วยรีบเร่งการจัดสรรงบประมาณในการติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิดพื้นที่ 5 จชต. เพราะไม่อยากให้เกิดการสูญเสียพี่น้องผู้บริสุทธิ์ใน 3 จังหวัดมากกว่านี้” นายพจน์กล่าวทิ้งท้าย
กรณีบริษัท ดิจิตัล รีเสิร์ช แอนด์ คอนซัลติ้ง จำกัด หรือ ดีอาร์ซี (DRC) ผู้ดำเนินโครงการติดตั้งกล้องวงจรปิด 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มูลค่า 969 ล้านบาท ยังไม่สามารถส่งมอบงานได้ในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2551 และล่วงเลยมากกว่า 9 เดือนดังที่เคยเสนอข่าวไปแล้วนั้น
นายปวิณ ชำนิประศาสตร์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผย “เอเอสทีวีผู้จัดการรายวัน” ว่า ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา บริษัท DRC ได้ขอยกเลิกสัญญาดำเนินการติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อกระทรวงมหาดไทย ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการยกเลิกสัญญานั้นไม่สามารถทำได้ อย่างไรก็ตาม ความคืบหน้าในเรื่องนี้จึงขึ้นอยู่กับการพิจารณาของรองปลัดกระทรวงมหาดไทยและกองคลัง
สำหรับสาเหตุการขอยกเลิกสัญญานั้น เกิดจากปัญหาการดำเนินงานที่มีความล่าช้าเป็นหลัก ซึ่งก่อนหน้านี้มีการแก้ไขสัญญาทั้งสองฝ่ายซึ่งไม่มีผู้ใดเสียประโยชน์ โดยบริษัทขอแก้ไขเพื่อใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์อื่น ทดแทน CPU ของบริษัท เดล คอมพิวเตอร์ ที่ได้ยกเลิกการผลิตในเวลาต่อมา ส่วนรัฐขอแก้ไขสถานที่ก่อสร้างห้องควบคุม
อย่างไรก็ตาม จากการที่เจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าอยู่เป็นระยะทำให้ทราบว่า บริษัทมีปัญหากับซัพพลายเออร์ในพื้นที่อีกด้วย ทำให้การทำงานทุกด้านล่าช้าเป็นอย่างมาก จนไม่มีด้านใดสามารถส่งมอบได้เลย ซึ่งที่มีการตรวจสอบล่าสุดก่อนที่จะมีการแจ้งขอยกเลิกสัญญาพบว่า งานติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิดพร้อมสายหัวกล้องดำเนินการแล้วประมาณ 30% กล่าวคือติดตั้งแล้วกว่า 1,000 จุด จากทั้งหมด 3,520 จุด งานก่อสร้างห้องควบคุมดำเนินการแล้วประมาณ 80% และงานเดินเคเบิ้ลเน็ตเวิร์คอีกประมาณ 80% ซึ่งตลอดเวลาที่เลยระยะการส่งมอบงาน ได้มีการส่งหนังสือแจ้งค่าปรับวันละ 190,000 บาท จนถึงเดือนกรกฎาคมเป็นเงินราว 40 ล้านบาท ซึ่งน่าจะเป็นอีกผลหนึ่งของการขอยกเลิกสัญญาในเวลาต่อมา
“หลังจากที่บริษัทส่งมอบงานไม่ทันตามกำหนดก็ยังไม่เคยต่อสัญญาแต่อย่างใด แต่เราได้แจ้งให้จ่ายค่าปรับเป็นรายวัน และบริษัทก็มีการดำเนินงานในพื้นที่ต่อเนื่องมาโดยตลอด จนกระทั่งมาขอยกเลิกสัญญาเมื่อเดือนกรกฎาคม ซึ่งเราก็ไม่เคยรู้มาก่อนล่วงหน้า สำหรับเรื่องงบประมาณนั้นยังอยู่ที่เรา 100% เพราะบริษัทยังไม่ส่งงานที่ผ่านการตรวจรับเลย และเงินค้ำประกันสัญญา 5% ก็ยังอยู่ครบ ทั้งนี้ บริษัท DRC เพิ่งจะได้รับสัมปทานโครงการรัฐของที่นี่เป็นครั้งแรก และเสนอราคาต่ำ แต่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยของ โรเบิร์ต บอซ ซึ่งได้รับการยอมรับในคุณภาพ ณ เวลานั้น และมีการแข่งขันกันถึง 6 ยี่ห้อ ” นายปวิณกล่าว
นายดิสพูน จ่างเจริญ รองประธานชมรมผู้ประกอบการร้านอาหาร จ.ปัตตานี กล่าวถึง ผลกระทบของโครงการการกล้องโทรทัศน์วงจรปิดใน 5 จชต. ที่ยังไม่แล้วเสร็จว่า ทำให้ประชาชนในจังหวัดปัตตานีได้รับความเดือดร้อน และไม่มั่นใจในรู้สึกปลอดภัย เพราะหากเกิดเหตุขึ้นแล้ว ก็ไม่สามารถเก็บหลักฐานหรือติดตามเบาะแสคนร้ายได้ ซึ่งปกติที่มีกล้องโทรทัศน์วงจรปิดแล้วประชาชนยังร่วมกันดูแลรักษาเพื่อสาธารณะประโยชน์อยู่แล้ว ทั้งที่ไม่รู้ว่ากล้องหลายตัวติดตั้งแล้วไม่สามารถใช้การได้
“ที่หน้าบ้านของผมมีกล้องโทรทัศน์วงจรปิดติดอยู่บนเสาไฟฟ้าตัวหนึ่ง วันหนึ่งมีรถสิบล้อมาชนเข้าที่เสาไฟฟ้า ทำให้กล้องตกลงมาที่พื้น ผมตกใจมากรีบพากล้องไปให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดูอาการ แต่กลับไม่ได้รับความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ และยังถามผมอีกว่าจะสนใจทำไม ก็กล้องตัวนี้มันใช้การไม่ได้ ผมรู้สึกเจ็บใจมาก เพราะเชื่อว่ากล้องตัวนี้ใช้งานได้มาโดยตลอด หากเกิดอะไรขึ้นมาจะบันทึกภาพต่างๆ ได้” นายดิสพูน กล่าวด้วยเจ็บใจ
และในเรื่องนี้ตนพร้อมด้วยแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งอยู่ใน จ.ปัตตานี ได้เข้าไปร้องเรียนต่อนายธีระเทพ ศรียะพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี เพื่อให้เร่งติดตามให้โครงการดังกล่าวเสร็จลุล่วง เพื่อให้ใช้งานได้ตามปกติ เพราเป็นโครงการที่ใช้งบประมาณสูงเกือบ 1,000 ล้าน ซึ่งเป็นภาษีของประชาชน อีกทั้งยังมีผู้เชี่ยวชาญเป็นคนดำเนินการ เหตุใดจนถึงป่านนี้แล้วยังทำไม่เสร็จ โดยทางผู้ว่าราชการจังหวัดรับปากว่าติดตาม และทราบว่ากำลังเป็นตรวจสอบกันอยู่
นายดิสพูน ยังกล่าวต่อไปว่า กรณีที่บริษัทเอกชนผิดสัญญากับรัฐนั้น อยากให้มีการติดตามฟ้องดำเนินคดีเพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ของส่วนรวม รวมถึงขึ้นบัญชีดำบริษัทนี้ด้วย พร้อมกับเร่งหากล้องโทรทัศน์วงจรปิดตัวใหม่มาติดตั้ง ตลอดจนซ่อมแซมกล้องโทรทัศน์วงจรปิดที่ใช้งานไม่ได้ให้เร็วที่สุด
และโดยส่วนตัวแล้วรู้สึกว่ารัฐบาลไม่ได้ให้ความสนใจเท่าที่ควร ซึ่งอาจเป็นเพราะไม่ใช่ช่วงหาเสียงเลือกตั้งเลยไม่มีคนในรัฐบาลสนใจ และเห็นว่ารัฐบาลควรหาบริษัทใหม่มาทำการติดตั้งให้เสร็จโดยด่วน เพราะจะทำให้ประชาชนเกิดความอุ่นใจและรู้สึกว่าตนเองปลอดภัย ซึ่งขณะนี้ประชาชนได้พึ่งพากล้องโทรทัศน์วงจรปิดของเทศบาลที่ติดอยู่ตามสี่แยกสำคัญๆ ในบางจุดเท่านั้น แต่กล้องโทรทัศน์วงจรปิดที่มีคุณภาพสูง และราคาแพงถึงตัวละกว่า 275,284 บาทของกระทรวงมหาดไทยมีแค่ตัวกล้องแต่ไม่มีสายต่อจึงใช้การไม่ได้ทั้งหมด
“ตอนนี้ประชาชนที่ประกอบธุรกิจค้าขายเล็กๆ น้อยๆ ก็ต้องลงทุนติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิดกันเอง เพื่อความปลอดภัยแม้ว่าจะต้องใช้เงินเยอะก็ตาม หากเป็นไปได้อยากให้ทางราชการสนับสนุนค่าใช้จ่ายกับร้านค้าคนละครึ่ง ซึ่งเจ้าของร้านค้าเองก็จะรู้สึกร่วมเป็นเจ้าของและดูแลเป็นพิเศษ” นายดิสพูนกล่าว
ด้านนายพจน์ ไพบูลย์เกษมสุทธิ ประธานหอการค้า 5 จังหวัดชายภาคใต้ กล่าวกรณีที่บริษัทผู้รับสัมปทานติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด 5 จชต.มีความประสงค์จะยกเลิกสัมปทานนั้น หากสามารถทำได้จริง รัฐต้องเร่งหาบริษัทใหม่เข้ามารับช่วงดำเนินการต่อ ซึ่งทุกโครงการที่เปิดประกวดราคาต้องมีความโปร่งใสในการประมูลตั้งแต่แรก และควรหาผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านนั้นจริงๆ ซึ่งมีบริษัทมากมายที่พร้อมจะทำการติดตั้ง
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่มีกล้องโทรทัศน์วงจรปิดแล้ว กระบวนการควบคุมดูแลก็เป็นสำคัญ รัฐต้องจัดระบบการดูแลควบคุมกล้องให้มีจุดศูนย์กลางเพียงแห่งเดียวที่บูรณาการงานได้ เพราะปัจจุบันมีหลายหน่วยงานเป็นเจ้าของ เพื่อประสิทธิภาพในการป้องกันเหตุ อย่างกรณีกล้องวงจรปิดในเทศบาลเมืองยะลา ก็ควรที่จะมีหน่วยงานหนึ่งเท่านั้นที่มาดูแลทั้งระบบ ไม่ควรที่จะแบ่งออกหลายหน่วยงาน
“ท้ายที่สุดต้องขอฝากถึงรัฐบาลให้ช่วยรีบเร่งการจัดสรรงบประมาณในการติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิดพื้นที่ 5 จชต. เพราะไม่อยากให้เกิดการสูญเสียพี่น้องผู้บริสุทธิ์ใน 3 จังหวัดมากกว่านี้” นายพจน์กล่าวทิ้งท้าย