ปัตตานี - มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จัดโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักศึกษาแนะแนวสัญจรสร้างสายใย เพื่อปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม พัฒนากระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน ร่วมคิด ศึกษาการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ตลอดจนสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อชุมชน ส่งผลต่อความเชื่อมั่น และทัศนคติเชิงบวกต่อมหาวิทยาลัย
ผศ.สมปอง ทองผ่อง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กล่าวว่า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีเหตุการณ์ความไม่สงบ ซึ่งไม่ได้ส่งผลกระทบเพียงแค่เศรษฐกิจและสังคมอย่างเดียว ผลกระทบยังเกี่ยวข้องสถาบันการศึกษาในพื้นที่ ความหวาดกลัว หวาดระแวงและไม่มั่นใจในความปลอดภัย ส่งผลกระทบต่อการเลือกเข้าศึกษาของนักเรียนทั่วประเทศ เป็นการยากที่จะสร้างความมั่นใจให้กลับคืนมา ทั้งนี้ตัวแปรสำคัญต่อการตัดสินใจในการเลือกเข้าศึกษาต่อนั้นคือผู้ปกครอง
ดังนั้น การสร้างความเชื่อมั่น ความไว้วางใจต่อมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โดยให้นักศึกษาเป็นสื่อที่จะสร้างความไว้วางใจต่อมหาวิทยาลัย และเป็นแรงเสริมให้ผู้ปกครองมีความไว้วางใจส่งบุตรหลานมาศึกษา แต่ทั้งนี้นักศึกษาต้องมีความพร้อมทั้งด้านคุณภาพความรู้ทางวิชาการ และความมีจิตสำนึกที่จะรับใช้สังคมก่อนที่จะสำเร็จการศึกษาซึ่งเป็นภาระหน้าที่ที่จะบ่มเพาะนักศึกษาให้เป็นคนดีในยุคคุณธรรมนำความรู้
งานประชาสัมพันธ์ จึงได้ร่วมกับคณะศึกษาศาสตร์ จัดทำโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักศึกษาแนะแนวสัญจรสร้างสายใย ทั้งนี้เพื่อปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม พัฒนากระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน ร่วมคิด ศึกษาการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ตลอดจนสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อชุมชน นำมาซึ่งความเชื่อมั่น และทัศนคติเชิงบวกให้กับสังคมต่างวัฒนธรรมที่มีต่อมหาวิทยาลัย กำหนดจัดโครงการ จำนวน 3 รุ่นๆ ละ 170 คน
ได้แก่ รุ่นที่ 1 วันที่ 31 กรกฎาคม -2 สิงหาคม 2552 ณ บ้านสะพานเคียน ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล รุ่นที่ 2 วันที่ 7-9 สิงหาคม 2552 ณ ชุมชนท่าทองใหม่ ตำบลท่าทองใหม่ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และรุ่นที่ 3 วันที่ 4-16 สิงหาคม 2552 ณ ตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีกิจกรรมในลักษณะครอบรัวอุปถัมภ์ ปฏิบัติศาสนกิจแต่ละศาสนา บรรยายและอภิปรายร่วมกัน และการแนะแนวหลักสูตร
ผศ.สมปอง ทองผ่อง กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกเหนือจากการที่นักศึกษาวิทยาเขตปัตตานี จะได้รับการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม สามารถใช้ชีวิตร่วมกับผู้ผู้อื่นได้ พร้อมทั้งพัฒนากระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน ร่วมคิด ศึกษาการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าแล้ว สิ่งหนึ่งที่ได้รับจากโครงการดังกล่าวคือ สัมพันธภาพที่ดีระหว่างวิทยาเขตปัตตานีกับผู้ปกครอง และชุมชน อันส่งผลถึงความเชื่อมั่น ทัศนคติเชิงบวก ลดความหวาดกลัวต่อสถานการณ์ชายแดนใต้โดยอาศัยสายใยระหว่างใจคน
ผศ.สมปอง ทองผ่อง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กล่าวว่า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีเหตุการณ์ความไม่สงบ ซึ่งไม่ได้ส่งผลกระทบเพียงแค่เศรษฐกิจและสังคมอย่างเดียว ผลกระทบยังเกี่ยวข้องสถาบันการศึกษาในพื้นที่ ความหวาดกลัว หวาดระแวงและไม่มั่นใจในความปลอดภัย ส่งผลกระทบต่อการเลือกเข้าศึกษาของนักเรียนทั่วประเทศ เป็นการยากที่จะสร้างความมั่นใจให้กลับคืนมา ทั้งนี้ตัวแปรสำคัญต่อการตัดสินใจในการเลือกเข้าศึกษาต่อนั้นคือผู้ปกครอง
ดังนั้น การสร้างความเชื่อมั่น ความไว้วางใจต่อมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โดยให้นักศึกษาเป็นสื่อที่จะสร้างความไว้วางใจต่อมหาวิทยาลัย และเป็นแรงเสริมให้ผู้ปกครองมีความไว้วางใจส่งบุตรหลานมาศึกษา แต่ทั้งนี้นักศึกษาต้องมีความพร้อมทั้งด้านคุณภาพความรู้ทางวิชาการ และความมีจิตสำนึกที่จะรับใช้สังคมก่อนที่จะสำเร็จการศึกษาซึ่งเป็นภาระหน้าที่ที่จะบ่มเพาะนักศึกษาให้เป็นคนดีในยุคคุณธรรมนำความรู้
งานประชาสัมพันธ์ จึงได้ร่วมกับคณะศึกษาศาสตร์ จัดทำโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักศึกษาแนะแนวสัญจรสร้างสายใย ทั้งนี้เพื่อปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม พัฒนากระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน ร่วมคิด ศึกษาการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ตลอดจนสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อชุมชน นำมาซึ่งความเชื่อมั่น และทัศนคติเชิงบวกให้กับสังคมต่างวัฒนธรรมที่มีต่อมหาวิทยาลัย กำหนดจัดโครงการ จำนวน 3 รุ่นๆ ละ 170 คน
ได้แก่ รุ่นที่ 1 วันที่ 31 กรกฎาคม -2 สิงหาคม 2552 ณ บ้านสะพานเคียน ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล รุ่นที่ 2 วันที่ 7-9 สิงหาคม 2552 ณ ชุมชนท่าทองใหม่ ตำบลท่าทองใหม่ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และรุ่นที่ 3 วันที่ 4-16 สิงหาคม 2552 ณ ตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีกิจกรรมในลักษณะครอบรัวอุปถัมภ์ ปฏิบัติศาสนกิจแต่ละศาสนา บรรยายและอภิปรายร่วมกัน และการแนะแนวหลักสูตร
ผศ.สมปอง ทองผ่อง กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกเหนือจากการที่นักศึกษาวิทยาเขตปัตตานี จะได้รับการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม สามารถใช้ชีวิตร่วมกับผู้ผู้อื่นได้ พร้อมทั้งพัฒนากระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน ร่วมคิด ศึกษาการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าแล้ว สิ่งหนึ่งที่ได้รับจากโครงการดังกล่าวคือ สัมพันธภาพที่ดีระหว่างวิทยาเขตปัตตานีกับผู้ปกครอง และชุมชน อันส่งผลถึงความเชื่อมั่น ทัศนคติเชิงบวก ลดความหวาดกลัวต่อสถานการณ์ชายแดนใต้โดยอาศัยสายใยระหว่างใจคน