xs
xsm
sm
md
lg

เตรียมเปิดเวทีรุกร่วมมือ “BIMSTEC & GMS” เปิดโอกาสใหม่เหนือชุมทาง ศก.เชื่อมอินเดีย-จีน”

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

เชียงราย - จังหวัดเชียงรายร่วมกับกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ และ คสศ. หอการค้า 10 จังหวัดภาคเหนือ เตรียมจัดสัมมนา “BIMSTEC-GMS: ชุมทางเศรษฐกิจอินเดีย-จีน โอกาสใหม่ทางการค้า การลงทุนของภาคเหนือ” เปิดโอกาสใหม่สนับสนุนให้เชียงรายเป็นหน้าด่าน-ชุมทางเชื่อมโยงสู่ตลาดอินเดีย

นายพัฒนา สิทธิสมบัติ ประธานคณะกรรมการเพื่อโครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ หอการค้า 10 จังหวัดภาคเหนือ (คสศ.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการ คสศ.ได้ร่วมกับจังหวัดเชียงราย และกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กำหนดจัดการสัมมนาเวทีสาธารณะ เรื่อง “BIMSTEC-GMS : ชุมทางเศรษฐกิจอินเดีย-จีน โอกาสใหม่ทางการค้า การลงทุนของภาคเหนือ” ในวันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม 2552 ณ โรงแรมดุสิตรีสอร์ท จ.เชียงราย

เพื่อรับฟังความคิดเห็น การจัดทำความร่วมมือทางเศรษฐกิจภายใต้กรอบความตกลง BIMSTEC (ไทย พม่า บังกลาเทศ อินเดีย ศรีลังกา) ซึ่งสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 190 ที่คาดว่าจะมีการลงนามในปลายปี 2552 รวมทั้งชี้แจง ความคืบหน้าด้านการพัฒนาการค้า การลงทุน เชื่อมโยงกับจีน โดยเฉพาะจีนตอนใต้ ซึ่งเป็นสมาชิก GMS (ไทย ลาว พม่า กัมพูชา เวียดนาม และมณฑลหยุนหนัน) ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพ และมีเขตติดต่อกัน

และหวังว่าเวทีนี้จะกระตุ้นความตื่นตัวและการรับรู้ของผู้ประกอบการในท้องถิ่นของจังหวัดเชียงราย และภาคเหนืออย่างต่อเนื่อง ในการเตรียมพร้อมรับกับการเปิดตลาดในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านในกรอบ BIMSTEC และ GMS เพราะหากมองศักยภาพและโอกาสของจังหวัดเชียงราย สิ่งที่ต้องทำในอนาคต คือ การเหลียวมองไปทางตะวันตก และทางตอนเหนือว่าเราสามารถเชื่อมตลาดที่ใหญ่ระดับโลกอย่างอินเดีย โดยอาศัยความร่วมมือกับพม่า และบังคลาเทศได้ รวมถึงจีน ซึ่งมีการมองว่าภายในปี 2020 ทั้งสองประเทศ “Chin- Dia” จะมีจำนวนประชากรที่มีโทรศัพท์มือถือ 1 ใน 3 ของโลก

“ดัชนีทางการค้าชายแดนของจังหวัดเชียงราย ที่ขยายตัวล่าสุดเป็นบวกถึง 30% จากการค้ากับพม่า จีน และ สปป.ลาวที่เพิ่มขึ้น เดือนพฤษภาคม 2552 มูลคาการคารวม 1,298.38 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 294 ล้านบาท หรือร้อยละ 29.27 ชี้ให้เห็นถึงโอกาสในอนาคต ขณะเดียวกัน เราก็ต้องมองลึกไปว่าตัวเลขที่เพิ่มขึ้นมา ยังมีปัญหาอุปสรรคอะไรหรือไม่ และถ้ามองไปไกลกว่ากรอบสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ แต่มองรัศมีกว้างไปถึง BIMSTEC หรือ GMS จะมีโอกาสที่เปิดศักยภาพของเชียงรายก้าวไกลไปในเชิงการตลาดได้หรือไม่ทั้งด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว”

ขณะที่การค้าระหว่างไทย-BIMSTEC ในปัจจุบันมีมูลค่า 11,792.01 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 3.31% ของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศของไทย คาดว่าเมื่อมีการลดภาษีระหว่างกันจะทำให้การค้าขยายตัวถึง 30% โดยในอนาคตไทยหวังเป็นอย่างยิ่งว่านอกจากการขยายการค้าระหว่างกันโดยใช้ช่องทางของการเปิดเสรีแล้ว จะสามารถขยายความร่วมมือระหว่างกันในด้านอื่นๆ ให้เพิ่มมากขึ้นต่อไป เพื่อใช้ BIMSTEC เป็นตัวเชื่อมโยงภูมิภาคเอเชียใต้และอาเซียนเข้าด้วยกัน และคิดว่าจังหวัดเชียงรายสามารถเป็นจุดที่จะขยายการค้าระหว่างกันได้เช่นกัน

นอกจากนี้ เชียงรายยังมีความพร้อมในตัวเองหลายด้านทั้งโครงสร้างพื้นฐานที่มีทั้งการเดินเรือในแม่น้ำโขง, สนามบินนานาชาติ, เส้นทางคมนาคมทางบกที่พร้อม ยังขาดเพียงทางรถไฟที่จะต้องรอการพิจารณาอีกนาน อย่างไรก็ตาม นโยบายจังหวัดมีความชัดเจนที่จะสนับสนุนการคาชายแดนและเรงรัดการพัฒนาจังหวัดเชียงราย โดยเฉพาะการสร้างศูนย์กระจายสินค้าและท่าเรือเชียงแสนแห่งที่สอง เพื่อรองรับการคมนาคมขนส่ง สินค้าและนักท่องเที่ยวที่ผานจังหวัด ซึ่งหากมีการเปิดประตูเศรษฐกิจสู่ทางตะวันตก และเชื่อมตลาด GMS จะทำให้เชียงรายเป็นจุดชุมทางเศรษฐกิจที่สำคัญของภาคเหนือได้ในอนาคตแน่นอน
กำลังโหลดความคิดเห็น