xs
xsm
sm
md
lg

รัฐ-ชาวบ้าน ตรวจโรงงานน้ำตาลหลังโรงงานรับปากจะแก้ไขผลกระทบที่เกิดขึ้น

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ศูนย์ข่าวศรีราชา – อุตสาหกรรมจังหวัดสระแก้ว พร้อมชาวบ้าน เข้าตรวจสอบความเรียบร้อยโรงงานน้ำตาล หลังโรงงานรับปากจะแก้ไขผลกระทบเรื่องกลิ่นเหม็นที่เกิดขึ้น

วันนี้ (2 ก.ค.) นายจิระพันธ์ ปรีชาวิทย์ อุตสาหกรรมจังหวัดสระแก้ว ได้พา เจ้าหน้าที่ อบต.ท่าเกษม,อบต.ห้วยโจด และภาคประชาชน พร้อมคณะสื่อมวลชนเข้าตรวจเยี่ยมและดูความคืบหน้ากรณี การกำจัดของเสียของบริษัท อี เอส พาวเวอร์ ซึ่งป็นบริษัทในเครือโรงงานน้ำตาลตะวันออก จำกัด ที่ผลิตเอทานอล หลังจากที่ชาวบ้านทั้ง 3 ตำบล ได้รับผลกระทบจากกลิ่นเหม็นอย่างรุนแรง มานานกว่า 3 เดือน และโรงงานรับปากจะดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว

ด้าน นายสมพิศ สุวรรณรัตน์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่บริษัท อี เอส พาวเวอร์ ได้ให้การต้อนรับ พร้อมชี้แจงการแก้ไขว่า ขณะนี้ได้ใช้พลาสติกขนาดหนา 1 มิล คลุมบ่อบำบัดทั้ง 2 แห่ง ที่เตรียมไว้สำหรับทำไบโอแก๊ส ซึ่งสามารถคลุมทั้งสองจุดเสร็จเป็นที่เรียบร้อย ส่วนกลิ่นที่ยังหลงเหลือนั้น จะเป็นกลิ่นจากหอกลั่นซึ่งไม่มีผลต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่

หลังจากได้ลงตรวจสอบพื้นที่จริง นายสิทธิชัย ประทีปแก้ว นายก อบต.ท่าเกษม กล่าวว่า ที่ผ่านมาได้กลิ่นเหม็นจากโรงงานมานานประมาณ 3 เดือนแล้ว แต่ยังไม่มีผลกระทบใดๆต่อสุขภาพ เพียงแต่เป็นการก่อความรำคาญเท่านั้น จึงต้องการให้โรงงานแก้ปัญหาให้เรียบร้อยก่อนที่ชาวบ้านจะอดทนไม่ได้ และลุกลามเป็นปัญหาใหญ่ ดังเช่นที่เคยเกิดมาแล้วกับโรงงานฝั่งกลบขยะ ที่อยู่ในพื้นที่โนนหมากหมากเค็ง

อย่างไรก็ตาม เมื่อได้รับฟังถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และแผนการในการแก้ปัญหาของทางโรงงานแล้ว รู้สึกพอใจ และจะให้โอกาสแก่ทางโรงงานในการแก้ปัญหา ตามที่ตกลงกันไว้กับประชาชนในพื้นที่แจ้งเข้ามามาก แต่เนื่องจากโรงงานดังกล่าวอยู่ใกล้กับโรงงานโปรเวส ฯ ซึ่งเดิมเคยมีปัญหาจากการกากอุตสาหกรรมฯและเคยถูกร้องเรียนมาก ทำให้ชาวบ้านหวั่นวิตกในเรื่องสุขภาพ ส่วนปัจจุบันก็มีความเบาบางลงจากเดิมมาก

ด้าน นายจิระพันธ์ กล่าวว่า จากที่ประชาชนวิตกในเรื่องปัญหากลิ่นอุตสาหกรรมได้เข้ามาตรวจสอบตั้งแต่ต้นปีและให้ข้อแนะนำ พร้อมติดตามแนวทางการแก้ไขมาโดยตลอด ซึ่งถือว่าทางโรงงานได้ให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างดี ส่วนกลิ่นที่จะมีปัญหาไม่กังวล เพราะกระบวนการนั้นมาจากกลุ่มของธรรมชาติกลุ่มโปรตีน-แป้ง ที่มาจากอ้อย ซึ่งปัจจุบันประชาชนในพื้นที่เริ่มเข้าใจมากขึ้น

กำลังโหลดความคิดเห็น