ASTVผู้จัดการรายวัน - แบงก์กรุงเทพคาดเอ็นพีแอลในช่วงไตรมาส 2 ไปจนถึงสิ้นปีเริ่มทรงตัว จากทิศทางเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว หลังรัฐบาลอัดฉีดเงินกระตุัน ขณะที่ทั้งปีน่าจะเพิ่มขึ้นจากปีก่อนเล็กน้อย ส่วนกรณีการออกพันธบัตรของรัฐบาลไม่กระทบเหตุแบงก์ยังมีสภาพคล่องเหลือเพียงพอ
นายสุวรรณ แทนสถิตย์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)(BBL) เปิดเผยถึงแนวโน้มหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ว่า น่าจะอยู่ในระดับที่ทรงตัวใกล้เคียงกับไตรมาสแรกของที่ผ่านมา ซึ่งมีเอ็นพีแอลอยู่ที่ 4.5% โดยปัจจัยหลักมาจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมที่เริ่มปรับตัวขึ้น รวมทั้งยังได้รับผลดีจากนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ออกมา ธนาคารจึงเชื่อว่าตัวเลขเอ็นพีแอลทั้งปีนี้จะอยู่ในระดับเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยหรือใกล้เคียงกับเอ็นพีแอลในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้
สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังนั้นมีสัญญาณบ่งชี้ว่าเริ่มปรับตัวดีขึ้นบ้าง ซึ่งหากดีขึ้น ก็จะส่งผลให้สินเชื่อของธนาคารและสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ปรับตัวเพิ่มขึ้นตามไปด้วย อย่างไรก็ตามสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ผลักดันให้เพียงบางกลุ่มอุตสหกรรมที่ฟื้นตัวเท่านั้น เนื่องจากยังมีบางกลุ่ม อาทิกลุ่มนำเข้าและส่งออกยังพบสัญญาณการติดลบอยู่ที่ประมาณ 30% รวมถึงกลุ่มผู้ประกอบการบางส่วนที่มีความแข็งแกร่งก็ยังไม่มีสัญญาณการเบิกใช้เงินทุนหมุนเวียน เนื่องจากยังรอดูความชัดเจนของเศรษฐกิจ
นายสุวรรณกล่าวว่า เชื่อว่าธนาคารทุกแห่งจะยังเดินหน้าปล่อยสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง แต่เกณฑ์การอนุมัติจะมีความเข้มงวดขึ้นบ้าง เนื่องจากธนาคารเองก็ต้องมีความระมัดระวังในด้านความเสี่ยงเช่นกัน โดยเฉพาะในเรื่องความกังวลในการเพิ่มขึ้นของเอ็นพีแอล ซึ่งหากเพิ่มขึ้นก็ส่งผลกระทบให้การตั้งสำรองในระบบเพิ่มขึ้น และส่งผลถึงการกดกำไรสุทธิของแต่ละธนาคารด้วย
“ไม่ว่าเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร ทุกธนาคารต้องการปล่อยสินเชื่อ เพราะแต่ละธนาคารมีสภาพคล่องสูง แต่จะยังมีความเข้มงวดก่อนปล่อยสินเชื่ออยู่ แต่เชื่อว่าครึ่งปีหลังการเพิ่มขึ้นของหนี้เสียน่าจะลดลง เพราะเศรษฐกิจที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นส่งผลให้ความสามารถในการชำระหนี้ดีขึ้นด้วย แต่เท่าที่ดูปัจจุบันยังพบลูกค้าผิดนัดชำระนหนี้เกิน 1 เดือนอยู่ แต่สัญญาณการปรับโครงสร้างหหนี้เริ่มปรับตัวลดลง”
สำหรับกรณีที่รัฐบาลออกพันธบัตรรัฐบาลจำนวน 50,000 ล้านบาทนั้น เป็นส่วนที่จะดูดซับสภาพคล่องจากระบบธนาคารพาณิชย์ออกไปบ้าง แต่เป็นจำนวนไม่มาก เนื่องจากระบบธนาคารพาณิชย์มีสภาพคล่องสูง แต่ก็ต้องดูว่ารัฐบาลจะออกพันธบัตรออกมาอีกหรือไม่ เนื่องจากการออกพันธบัตรที่ให้อัตราดอกเบี้ยที่จูงใจจะส่งผลให้สภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์ปรับตัวลดลงต่อเนื่องได้ ดังนั้น จึงดูความสมดุลในเรื่องนี้ด้วย
ด้านนางสาวกรองทอง การุณย์นราทร ผู้จัดการฝ่ายทรัพย์สิน ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในช่วง 5 เดือนแรกของปี ธนาคารมียอดสินทรัพย์รอการขาย(เอ็นพีเอ)เข้ามาเพิ่มในระดับ 900-1,000 ล้านบาท และมียอดขายออกไปแล้วประมาณ 2,000 ล้านบาท โดยคิดเป็นยอดขายทั้งหมดมูลค่า 4,000 ล้านบาท จากปัจจุบันธนาคารมีเอ็นพีเอรวมอยู่ที่ 36,000 ล้านบาท
ส่วนในปีนี้ธนาคารตั้งเป้าหมายขายเอ็นพีเอไว้ที่ 8,000 ล้านบาท ใกล้เคียงกับปีก่อนหน้าที่มียอดขายมากกว่า 8,000 ล้านบาท โดยสามารถปิดโอนได้ 7,000 ล้านบาท ซึ่งการที่ปีนี้มียอดเอ็นพีเอลดลงนั้น เนื่องจากกลุ่มคู่ค้าสามารถเจรจาข้อตกลงต่างๆ ได้ รวมทั้งยังมองว่าราคาสินทรัพย์จะปรับตัวลดลงถึงปี 2553 ตามทิศทางดอกเบี้ยที่อยู่ในช่วงขาลง
“ในช่วงเดือนมกราคาที่ผ่านมา ยอดเงินฝากของธนาคารปรับตัวลดลงนั้น เนื่องจากลูกค้านำเงินทุนเพื่อเข้ามาซื้อเอ็นพีเอ เพื่อไปขายต่อมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มลูกค้าราชการบำนาญ และเชื่อว่ายอดเอ็นพีเอจะลดลงถึงปีหน้า เพราะเป็นช่วงดอกเบี้ยขาลง แต่มองว่าดอกเบี้ยเอ็มแอลอาร์จะไม่เกิน 6%”
นายสุวรรณ แทนสถิตย์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)(BBL) เปิดเผยถึงแนวโน้มหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ว่า น่าจะอยู่ในระดับที่ทรงตัวใกล้เคียงกับไตรมาสแรกของที่ผ่านมา ซึ่งมีเอ็นพีแอลอยู่ที่ 4.5% โดยปัจจัยหลักมาจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมที่เริ่มปรับตัวขึ้น รวมทั้งยังได้รับผลดีจากนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ออกมา ธนาคารจึงเชื่อว่าตัวเลขเอ็นพีแอลทั้งปีนี้จะอยู่ในระดับเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยหรือใกล้เคียงกับเอ็นพีแอลในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้
สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังนั้นมีสัญญาณบ่งชี้ว่าเริ่มปรับตัวดีขึ้นบ้าง ซึ่งหากดีขึ้น ก็จะส่งผลให้สินเชื่อของธนาคารและสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ปรับตัวเพิ่มขึ้นตามไปด้วย อย่างไรก็ตามสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ผลักดันให้เพียงบางกลุ่มอุตสหกรรมที่ฟื้นตัวเท่านั้น เนื่องจากยังมีบางกลุ่ม อาทิกลุ่มนำเข้าและส่งออกยังพบสัญญาณการติดลบอยู่ที่ประมาณ 30% รวมถึงกลุ่มผู้ประกอบการบางส่วนที่มีความแข็งแกร่งก็ยังไม่มีสัญญาณการเบิกใช้เงินทุนหมุนเวียน เนื่องจากยังรอดูความชัดเจนของเศรษฐกิจ
นายสุวรรณกล่าวว่า เชื่อว่าธนาคารทุกแห่งจะยังเดินหน้าปล่อยสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง แต่เกณฑ์การอนุมัติจะมีความเข้มงวดขึ้นบ้าง เนื่องจากธนาคารเองก็ต้องมีความระมัดระวังในด้านความเสี่ยงเช่นกัน โดยเฉพาะในเรื่องความกังวลในการเพิ่มขึ้นของเอ็นพีแอล ซึ่งหากเพิ่มขึ้นก็ส่งผลกระทบให้การตั้งสำรองในระบบเพิ่มขึ้น และส่งผลถึงการกดกำไรสุทธิของแต่ละธนาคารด้วย
“ไม่ว่าเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร ทุกธนาคารต้องการปล่อยสินเชื่อ เพราะแต่ละธนาคารมีสภาพคล่องสูง แต่จะยังมีความเข้มงวดก่อนปล่อยสินเชื่ออยู่ แต่เชื่อว่าครึ่งปีหลังการเพิ่มขึ้นของหนี้เสียน่าจะลดลง เพราะเศรษฐกิจที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นส่งผลให้ความสามารถในการชำระหนี้ดีขึ้นด้วย แต่เท่าที่ดูปัจจุบันยังพบลูกค้าผิดนัดชำระนหนี้เกิน 1 เดือนอยู่ แต่สัญญาณการปรับโครงสร้างหหนี้เริ่มปรับตัวลดลง”
สำหรับกรณีที่รัฐบาลออกพันธบัตรรัฐบาลจำนวน 50,000 ล้านบาทนั้น เป็นส่วนที่จะดูดซับสภาพคล่องจากระบบธนาคารพาณิชย์ออกไปบ้าง แต่เป็นจำนวนไม่มาก เนื่องจากระบบธนาคารพาณิชย์มีสภาพคล่องสูง แต่ก็ต้องดูว่ารัฐบาลจะออกพันธบัตรออกมาอีกหรือไม่ เนื่องจากการออกพันธบัตรที่ให้อัตราดอกเบี้ยที่จูงใจจะส่งผลให้สภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์ปรับตัวลดลงต่อเนื่องได้ ดังนั้น จึงดูความสมดุลในเรื่องนี้ด้วย
ด้านนางสาวกรองทอง การุณย์นราทร ผู้จัดการฝ่ายทรัพย์สิน ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในช่วง 5 เดือนแรกของปี ธนาคารมียอดสินทรัพย์รอการขาย(เอ็นพีเอ)เข้ามาเพิ่มในระดับ 900-1,000 ล้านบาท และมียอดขายออกไปแล้วประมาณ 2,000 ล้านบาท โดยคิดเป็นยอดขายทั้งหมดมูลค่า 4,000 ล้านบาท จากปัจจุบันธนาคารมีเอ็นพีเอรวมอยู่ที่ 36,000 ล้านบาท
ส่วนในปีนี้ธนาคารตั้งเป้าหมายขายเอ็นพีเอไว้ที่ 8,000 ล้านบาท ใกล้เคียงกับปีก่อนหน้าที่มียอดขายมากกว่า 8,000 ล้านบาท โดยสามารถปิดโอนได้ 7,000 ล้านบาท ซึ่งการที่ปีนี้มียอดเอ็นพีเอลดลงนั้น เนื่องจากกลุ่มคู่ค้าสามารถเจรจาข้อตกลงต่างๆ ได้ รวมทั้งยังมองว่าราคาสินทรัพย์จะปรับตัวลดลงถึงปี 2553 ตามทิศทางดอกเบี้ยที่อยู่ในช่วงขาลง
“ในช่วงเดือนมกราคาที่ผ่านมา ยอดเงินฝากของธนาคารปรับตัวลดลงนั้น เนื่องจากลูกค้านำเงินทุนเพื่อเข้ามาซื้อเอ็นพีเอ เพื่อไปขายต่อมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มลูกค้าราชการบำนาญ และเชื่อว่ายอดเอ็นพีเอจะลดลงถึงปีหน้า เพราะเป็นช่วงดอกเบี้ยขาลง แต่มองว่าดอกเบี้ยเอ็มแอลอาร์จะไม่เกิน 6%”