ตาก- KNU และองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานเกี่ยวกับประชาธิปไตยในพม่า รุมค้านไทยส่งกะเหรี่ยงอพยพกลับพม่า หวั่นได้รับอันตรายจากสถานการณ์สู้รบระหว่างพม่าที่สนธิกำลังกับกะเหรี่ยงพุทธ โจมตีกะเหรี่ยงคริสต์ ที่ยังไม่สงบ 100%
รายงานข่าวสถานการณ์ชายแดนไทย-พม่า ตรงข้าม อ.ท่าสองยาง จ.ตาก แจ้งว่า ทหารกะเหรี่ยงพุทธ DKBA .ตรงข้ามบ้านแม่สลิดหลวง หมู่ที่ 2 ตำบลแม่สอง อำเภอท่าสองยาง ยังคงใช้ความพยายามที่จะขอให้ฝ่ายไทยส่งผู้อพยพชาวกะเหรี่ยงสัญชาติพม่า ซึ่งมีทั้งเด็กนักเรียนและประชาชนทั่วไปกลับไปอาศัยอยู่ในเขตอิทธิพลของกะเหรี่ยงพุทธในฝั่งพม่า หรือพื้นที่เดิมของกองกำลังสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง KNUหลังจากที่ฝ่ายรัฐบาลทหารพม่า SPDC และ DKBA ได้ยึดที่มั่นไปแล้วบางส่วน
แต่ทางการไทยยังไม่ตอบตกลง เพราะต้องสอบถามความสมัครใจของผู้ลี้ภัย รวมทั้งหารือแกนนำกลุ่มผู้ลี้ภัย และผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่ายก่อน ซึ่งล่าสุดมีการประชุมกันระหว่างฝ่ายสำนักงานข้าหลวงใหญ่สหประชาชาติ UNHCR แกนนำกลุ่มกะเหรี่ยงที่อพยพ, ฝ่ายตัวแทนกะเหรี่ยงพุทธ. รวมทั้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปในการส่งกลับ เนื่องจากที่ประชุมมีการทักท้วง เนื่องจากการให้ประชาชนกลับไปนั้น ถือว่าอันตรายมาก เพราะในฝั่งพม่ามีทั้งกับระเบิด และยังคงมีการสู้รบกันอยู่
แหล่งข่าวจากผู้นำคณะกรรมการผู้อพยพชาวกะเหรี่ยงสัญชาติพม่า หรือ KRC กล่าวว่า ผู้อพยพชาวกะเหรี่ยง ที่หนีภัยสงคราม ในช่วงการสู้รบด้านตรงข้าม อ.ท่าสองยาง จ.ตาก มีกว่า 3,000 คน ในหลายจุด แต่ที่รวบรวมได้ตามบัญชี มีราว 2,900 คน ส่วนการช่วยเหลือนั้น มีองค์กรพัฒนาเอกชน และทางการไทยเข้าไปให้ความช่วยเหลือ แต่ยอมรับว่ามีผู้ลี้ภัยบางส่วนยังคงลำบากกับฝนที่ตกลงมา ส่วนการเดินทางกลับไปในฝั่งพม่าของผู้ลี้ภัยในขณะนี้ทางKRC เห็นว่ายังไม่เหมาะสม และไม่ปลอดภัยสำหรับผู้อพยพ เพราะสถานการณ์ในพื้นที่ยังมีการสู้รบอยู่ และต้องคัดกรองให้ดีว่า เป็นผู้อพยพที่เป็นมวลชนของฝ่าย KNU หรือ ฝ่าย DKBA
ขณะที่กลุ่มสมาชิกรัฐสภาอาเซียนเพื่อประชาธิปไตยในพม่า และเครือข่ายปฏิบัติการเพื่อแรงงานข้ามชาติ ร่วมกับมูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดน มูลนิธิส่งเสริมสันติวิถี ศูนย์ข่าวข้ามพรมแดน ได้ออกแถลงการณ์เกี่ยวกับกรณีสถานการณ์การสู้รบตามเขตชายแดนไทย-พม่า ที่ยังมีความไม่ปลอดภัยอยู่ในปัจจุบัน
โดยกลุ่มสมาชิกรัฐสภาอาเซียนเพื่อประชาธิปไตยในพม่า ออกแถลงการณ์เรื่อง สถานการณ์การสู้รบตามเขตชายแดนไทย-พม่ายังไม่ปลอดภัย แนะอาเซียนเร่งหามาตรการสร้างสันติภาพและประชาธิปไตยในพม่า, ส่วนเครือข่ายปฏิบัติการเพื่อแรงงานข้ามชาติ ออกแถลงการณ์ ขอแสดงความห่วงใยต่อกรณีการจัดการผู้ลี้ภัย และการกดดันหรือบังคับผลักดันผู้ลี้ภัยชาวกะเหรี่ยงกลับมาตุภูมิโดยไม่สมัครใจ เป็นต้น
สำหรับสถานการณ์การสู้รบ ฝ่ายรัฐบาลทหารพม่า SPDC และฝ่าย DKBA.ยังคงเงียบสงบ หลังต้องเผชิญกับการวางกับดักระเบิดของฝ่าย KNU ในพื้นที่ส่วนหน้าของกองพันที่ 24 ตรงข้ามบ้านโกลาเฮง ตำบลแม่สอง อำเภอท่าสองยาง ทำให้มีกะเหรี่ยง DKBA-พม่า เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก
นอกจากนี้ยังเรียกร้องให้รัฐบาลไทยหยุดยั้งการส่งกลับผู้ลี้ภัยที่เข้ามาใหม่ทั้งหมด จนกว่าจะมีผลการตรวจสอบอย่างโปร่งใสด้วยการมีส่วนร่วมของสำนักข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติและผู้ลี้ภัย ว่าผู้ที่กลับไปจะไม่ถูกประหัตประหารหรือเสี่ยงภัยความตาย, ดูแลและทำให้มั่นใจว่าให้ผู้ลี้ภัยได้เข้าถึงความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมอย่างสมควร, เคารพ คุ้มครอง และตอบสนองต่อสิทธิทางการศึกษาของเด็กผู้ลี้ภัยใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการอนุญาตให้ผู้ลี้ภัยจัดการการศึกษาเอง หรือให้หน่วยงานเอกชนเข้ามาดูแล
และหาทางออกให้แก่ผู้ลี้ภัยใหม่ให้ชัดเจน รวมถึงการทบทวนนโยบายไม่รับผู้ลี้ภัยใหม่เข้าพื้นที่พักพิงด้วยการมีส่วนร่วมของทั้งภาครัฐ เอกชน และองค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องว่าเหมาะสมต่อสถานการณ์ดีแล้วหรือไม่ อย่างไร
สำหรับสถานการณ์การสู้รบ ฝ่ายรัฐบาลทหารพม่า SPDC และฝ่าย DKBA.ยังคงเงียบสงบ หลังต้องเผชิญกับการวางกับดักระเบิดของฝ่าย KNU ในพื้นที่ส่วนหน้าของกองพันที่ 24 ตรงข้ามบ้านโกลาเฮง ตำบลแม่สอง อำเภอท่าสองยาง ทำให้มีกะเหรี่ยง DKBA-พม่า เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก
รายงานข่าวสถานการณ์ชายแดนไทย-พม่า ตรงข้าม อ.ท่าสองยาง จ.ตาก แจ้งว่า ทหารกะเหรี่ยงพุทธ DKBA .ตรงข้ามบ้านแม่สลิดหลวง หมู่ที่ 2 ตำบลแม่สอง อำเภอท่าสองยาง ยังคงใช้ความพยายามที่จะขอให้ฝ่ายไทยส่งผู้อพยพชาวกะเหรี่ยงสัญชาติพม่า ซึ่งมีทั้งเด็กนักเรียนและประชาชนทั่วไปกลับไปอาศัยอยู่ในเขตอิทธิพลของกะเหรี่ยงพุทธในฝั่งพม่า หรือพื้นที่เดิมของกองกำลังสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง KNUหลังจากที่ฝ่ายรัฐบาลทหารพม่า SPDC และ DKBA ได้ยึดที่มั่นไปแล้วบางส่วน
แต่ทางการไทยยังไม่ตอบตกลง เพราะต้องสอบถามความสมัครใจของผู้ลี้ภัย รวมทั้งหารือแกนนำกลุ่มผู้ลี้ภัย และผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่ายก่อน ซึ่งล่าสุดมีการประชุมกันระหว่างฝ่ายสำนักงานข้าหลวงใหญ่สหประชาชาติ UNHCR แกนนำกลุ่มกะเหรี่ยงที่อพยพ, ฝ่ายตัวแทนกะเหรี่ยงพุทธ. รวมทั้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปในการส่งกลับ เนื่องจากที่ประชุมมีการทักท้วง เนื่องจากการให้ประชาชนกลับไปนั้น ถือว่าอันตรายมาก เพราะในฝั่งพม่ามีทั้งกับระเบิด และยังคงมีการสู้รบกันอยู่
แหล่งข่าวจากผู้นำคณะกรรมการผู้อพยพชาวกะเหรี่ยงสัญชาติพม่า หรือ KRC กล่าวว่า ผู้อพยพชาวกะเหรี่ยง ที่หนีภัยสงคราม ในช่วงการสู้รบด้านตรงข้าม อ.ท่าสองยาง จ.ตาก มีกว่า 3,000 คน ในหลายจุด แต่ที่รวบรวมได้ตามบัญชี มีราว 2,900 คน ส่วนการช่วยเหลือนั้น มีองค์กรพัฒนาเอกชน และทางการไทยเข้าไปให้ความช่วยเหลือ แต่ยอมรับว่ามีผู้ลี้ภัยบางส่วนยังคงลำบากกับฝนที่ตกลงมา ส่วนการเดินทางกลับไปในฝั่งพม่าของผู้ลี้ภัยในขณะนี้ทางKRC เห็นว่ายังไม่เหมาะสม และไม่ปลอดภัยสำหรับผู้อพยพ เพราะสถานการณ์ในพื้นที่ยังมีการสู้รบอยู่ และต้องคัดกรองให้ดีว่า เป็นผู้อพยพที่เป็นมวลชนของฝ่าย KNU หรือ ฝ่าย DKBA
ขณะที่กลุ่มสมาชิกรัฐสภาอาเซียนเพื่อประชาธิปไตยในพม่า และเครือข่ายปฏิบัติการเพื่อแรงงานข้ามชาติ ร่วมกับมูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดน มูลนิธิส่งเสริมสันติวิถี ศูนย์ข่าวข้ามพรมแดน ได้ออกแถลงการณ์เกี่ยวกับกรณีสถานการณ์การสู้รบตามเขตชายแดนไทย-พม่า ที่ยังมีความไม่ปลอดภัยอยู่ในปัจจุบัน
โดยกลุ่มสมาชิกรัฐสภาอาเซียนเพื่อประชาธิปไตยในพม่า ออกแถลงการณ์เรื่อง สถานการณ์การสู้รบตามเขตชายแดนไทย-พม่ายังไม่ปลอดภัย แนะอาเซียนเร่งหามาตรการสร้างสันติภาพและประชาธิปไตยในพม่า, ส่วนเครือข่ายปฏิบัติการเพื่อแรงงานข้ามชาติ ออกแถลงการณ์ ขอแสดงความห่วงใยต่อกรณีการจัดการผู้ลี้ภัย และการกดดันหรือบังคับผลักดันผู้ลี้ภัยชาวกะเหรี่ยงกลับมาตุภูมิโดยไม่สมัครใจ เป็นต้น
สำหรับสถานการณ์การสู้รบ ฝ่ายรัฐบาลทหารพม่า SPDC และฝ่าย DKBA.ยังคงเงียบสงบ หลังต้องเผชิญกับการวางกับดักระเบิดของฝ่าย KNU ในพื้นที่ส่วนหน้าของกองพันที่ 24 ตรงข้ามบ้านโกลาเฮง ตำบลแม่สอง อำเภอท่าสองยาง ทำให้มีกะเหรี่ยง DKBA-พม่า เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก
นอกจากนี้ยังเรียกร้องให้รัฐบาลไทยหยุดยั้งการส่งกลับผู้ลี้ภัยที่เข้ามาใหม่ทั้งหมด จนกว่าจะมีผลการตรวจสอบอย่างโปร่งใสด้วยการมีส่วนร่วมของสำนักข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติและผู้ลี้ภัย ว่าผู้ที่กลับไปจะไม่ถูกประหัตประหารหรือเสี่ยงภัยความตาย, ดูแลและทำให้มั่นใจว่าให้ผู้ลี้ภัยได้เข้าถึงความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมอย่างสมควร, เคารพ คุ้มครอง และตอบสนองต่อสิทธิทางการศึกษาของเด็กผู้ลี้ภัยใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการอนุญาตให้ผู้ลี้ภัยจัดการการศึกษาเอง หรือให้หน่วยงานเอกชนเข้ามาดูแล
และหาทางออกให้แก่ผู้ลี้ภัยใหม่ให้ชัดเจน รวมถึงการทบทวนนโยบายไม่รับผู้ลี้ภัยใหม่เข้าพื้นที่พักพิงด้วยการมีส่วนร่วมของทั้งภาครัฐ เอกชน และองค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องว่าเหมาะสมต่อสถานการณ์ดีแล้วหรือไม่ อย่างไร
สำหรับสถานการณ์การสู้รบ ฝ่ายรัฐบาลทหารพม่า SPDC และฝ่าย DKBA.ยังคงเงียบสงบ หลังต้องเผชิญกับการวางกับดักระเบิดของฝ่าย KNU ในพื้นที่ส่วนหน้าของกองพันที่ 24 ตรงข้ามบ้านโกลาเฮง ตำบลแม่สอง อำเภอท่าสองยาง ทำให้มีกะเหรี่ยง DKBA-พม่า เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก