กาญจนบุรี - สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรีเตือนภัยไข้เลือดออก จับมือภาคีเครือข่ายต่างๆ ร่วมรณรงค์เข้มเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกระบาด เน้นมาตรการตัดวงจรการเกิดโรคทุก 7 วัน อย่าลืมกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
นพ.บุญนำ ชัยวิสุทธิ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี เปิดเผยว่า โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขของประเทศ เป็นโรคติดต่อที่นำโดยแมลง มียุงลายเป็นพาหะนำโรค สภาพอากาศที่แปรปรวนมีฝนตกบ่อยๆ เมื่อฝนทิ้งช่วงจะมียุงลายเพิ่มจำนวนมากขึ้น สถานการณ์ไข้เลือดออกของจังหวัดกาญจนบุรีตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2552 ถึง 16 มิถุนายน 2552 ที่ผ่านมา พบว่ามีจำนวนผู้ป่วย 245 ราย (อัตราป่วย 29.45 ต่อประชากรแสนคน) เสียชีวิต 2 ราย (คิดเป็นอัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.82) อำเภอที่พบมากที่สุดคืออำเภอสังขละบุรี เมือง และศรีสวัสดิ์ คิดเป็นอัตราป่วย 81.20, 69.71 และ 51.15 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี ร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ด่านควบคุมโรคติดต่อชายแดน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงเรียน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขทุกหมู่บ้าน กำหนดจัดรณรงค์เข้มเพื่อป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก เน้นมาตรการตัดวงจรการเกิดโรคทุก 7 วัน อย่าลืมกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ทั้งในบ้าน ศาสนสถาน แหล่งท่องเที่ยว โรงเรียน โรงพยาบาล สถานีอนามัย และ อบต. เพื่อกำจัดลูกน้ำไม่ให้กลายเป็นยุงลาย โดยจะต้องทำอย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์เพื่อตัดวงจรการเกิดโรคไข้เลือดออกในบ้านและชุมชนของเรา ซึ่งจะเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคไข้เลือดออก หากพบว่าคนในบ้านไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่มีไข้สูง กินยาพาราเซตามอล ทุก 4-6 ชั่วโมงและเช็ดตัวแล้วหากไข้ยังไม่ลดใน 2-3 วัน ขอให้สงสัยไว้ก่อนว่าอาจป่วยเป็นไข้เลือดออก ควรรีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุดเพื่อรับการดูแลรักษาอย่างถูกวิธี
นพ.บุญนำ กล่าวว่า โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่ป้องกันได้ ดังนั้นพี่น้องประชาชนจึงควรป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยระวังไม่ให้ยุงลายกัด เมื่อเด็กนอนกลางวันควรใช้มุ้งครอบ หรือนอนในห้องมุ้งลวด อย่างไรก็ตาม การป้องกันที่ดีที่สุด คือ การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยเฉพาะภาชนะที่มีน้ำขังเกิน 7 วัน ถ้าทุกบ้านร่วมมือกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายภายในบ้านและรอบๆ บริเวณบ้านทุก 7 วัน ก็จะป้องกันโรคไข้เลือดออกได้
นอกจากนี้ ควรปิดฝาโอ่งน้ำกิน น้ำใช้ ควรขัดอ่างน้ำ หรือเปลี่ยนถ่ายน้ำ หรือใส่สารเคมีกำจัดลูกน้ำยุงลาย จานรองขาตู้กับข้าวให้ใส่เกลือหรือน้ำส้มสายชู ปล่อยปลากินลูกน้ำในอ่างน้ำหรืออ่างเลี้ยงบัว เศษขยะ หรือภาชนะต่างๆที่ไม่ใช้แล้ว ให้ทำลายโดยการคว่ำ ฝัง หรือเผา หากทุกบ้านร่วมมือกันกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในบ้านและรอบๆ บริเวณบ้านทุก 7 วัน ก็จะช่วยตัดวงจรชีวิตยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออกได้
นพ.บุญนำ ชัยวิสุทธิ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี เปิดเผยว่า โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขของประเทศ เป็นโรคติดต่อที่นำโดยแมลง มียุงลายเป็นพาหะนำโรค สภาพอากาศที่แปรปรวนมีฝนตกบ่อยๆ เมื่อฝนทิ้งช่วงจะมียุงลายเพิ่มจำนวนมากขึ้น สถานการณ์ไข้เลือดออกของจังหวัดกาญจนบุรีตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2552 ถึง 16 มิถุนายน 2552 ที่ผ่านมา พบว่ามีจำนวนผู้ป่วย 245 ราย (อัตราป่วย 29.45 ต่อประชากรแสนคน) เสียชีวิต 2 ราย (คิดเป็นอัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.82) อำเภอที่พบมากที่สุดคืออำเภอสังขละบุรี เมือง และศรีสวัสดิ์ คิดเป็นอัตราป่วย 81.20, 69.71 และ 51.15 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี ร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ด่านควบคุมโรคติดต่อชายแดน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงเรียน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขทุกหมู่บ้าน กำหนดจัดรณรงค์เข้มเพื่อป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก เน้นมาตรการตัดวงจรการเกิดโรคทุก 7 วัน อย่าลืมกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ทั้งในบ้าน ศาสนสถาน แหล่งท่องเที่ยว โรงเรียน โรงพยาบาล สถานีอนามัย และ อบต. เพื่อกำจัดลูกน้ำไม่ให้กลายเป็นยุงลาย โดยจะต้องทำอย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์เพื่อตัดวงจรการเกิดโรคไข้เลือดออกในบ้านและชุมชนของเรา ซึ่งจะเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคไข้เลือดออก หากพบว่าคนในบ้านไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่มีไข้สูง กินยาพาราเซตามอล ทุก 4-6 ชั่วโมงและเช็ดตัวแล้วหากไข้ยังไม่ลดใน 2-3 วัน ขอให้สงสัยไว้ก่อนว่าอาจป่วยเป็นไข้เลือดออก ควรรีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุดเพื่อรับการดูแลรักษาอย่างถูกวิธี
นพ.บุญนำ กล่าวว่า โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่ป้องกันได้ ดังนั้นพี่น้องประชาชนจึงควรป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยระวังไม่ให้ยุงลายกัด เมื่อเด็กนอนกลางวันควรใช้มุ้งครอบ หรือนอนในห้องมุ้งลวด อย่างไรก็ตาม การป้องกันที่ดีที่สุด คือ การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยเฉพาะภาชนะที่มีน้ำขังเกิน 7 วัน ถ้าทุกบ้านร่วมมือกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายภายในบ้านและรอบๆ บริเวณบ้านทุก 7 วัน ก็จะป้องกันโรคไข้เลือดออกได้
นอกจากนี้ ควรปิดฝาโอ่งน้ำกิน น้ำใช้ ควรขัดอ่างน้ำ หรือเปลี่ยนถ่ายน้ำ หรือใส่สารเคมีกำจัดลูกน้ำยุงลาย จานรองขาตู้กับข้าวให้ใส่เกลือหรือน้ำส้มสายชู ปล่อยปลากินลูกน้ำในอ่างน้ำหรืออ่างเลี้ยงบัว เศษขยะ หรือภาชนะต่างๆที่ไม่ใช้แล้ว ให้ทำลายโดยการคว่ำ ฝัง หรือเผา หากทุกบ้านร่วมมือกันกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในบ้านและรอบๆ บริเวณบ้านทุก 7 วัน ก็จะช่วยตัดวงจรชีวิตยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออกได้