หนองคาย- สสจ.หนองคาย เตือนระวังกินเห็ดพิษ ถึงขั้นตายได้ แนะกินเห็ดที่รู้จักเท่านั้น
นายแพทย์ อิทธิพล สูงแข็ง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดหนองคาย เปิดเผยว่า ในช่วงนี้เกิดฝนตกจะมีเห็ดชนิดต่างๆ เกิดขึ้นตามธรรมชาติมากมาย ซึ่งมีทั้งเห็ดที่กินได้ และเห็ดมีพิษ ประชาชนผู้นิยมนำเห็ดมาปรุงเป็นอาหารรับประทาน ควรระมัดระวัง เพราะเห็ดพิษบางชนิดมีอันตรายถึงชีวิตได้ โดยผู้ที่รับประทานเห็ดพิษเข้าไปจะเริ่มแสดงอาการประมาณ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมงหลังรับประทาน จะมีอาการปวดท้อง ท้องเดิน คลื่นไส้ อาเจียน เป็นตะคริว กระหายน้ำ
บางรายเป็นรุนแรงจนทำให้ระบบหมุนเวียนของเลือดล้มเหลว บางรายตับอักเสบอย่างรุนแรงและทำให้เกิดอาการ ตับวายถึงแก่ชีวิตได้
เห็ดพิษจะพบว่าเกิดปนอยู่กับเห็ดที่รับประทานได้ บางครั้งชาวบ้านแยกไม่ออก จึงทำให้เมาเห็ด หรือเกิดอาหารเป็นพิษ โดยการเกิดพิษของเห็ดจะมีผลต่อ 3 ระบบของร่างกาย คือ 1.กลุ่มเห็ดที่เป็นพิษต่อระบบทางเดินอาหาร ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียนอย่างรุนแรง ถ้าเป็นเด็กจะทำให้เสียชีวิตได้จากภาวะขาดน้ำรุนแรง 2.กลุ่มเห็ดที่เป็นพิษต่อตับอย่างรุนแรง เช่น เห็ดระโงก มีพิษขัดขวางการสร้างเซลล์โปรตีนตับ ทำให้เซลล์ตับตาย
3.กลุ่มเห็ดที่เป็นพิษต่อระบบประสาท เช่น เห็ดระโงกหิน พิษจะก่อให้เกิดอาการชักกระตุก อาเจียน ท้องเสีย น้ำลายฟูมปาก น้ำตาไหล รูม่านตามีขนาดเล็ก ชีพจรเต้นไม่สม่ำเสมอ และเสียชีวิตได้ในที่สุด
หากต้องการจะนำเห็ดมาปรุงเป็นอาหารรับประทาน ควรเลือกเห็ดที่ตนเอง รู้จักดีและแน่ใจว่าไม่มีพิษ หากไม่แน่ใจควรหลีกเลี่ยง พร้อมกันนี้ไม่ควรดื่มสุราร่วมกับการกินเห็ด เพราะจะเป็นการเสริมพิษ ของเห็ดให้รุนแรงขึ้น เลือกเฉพาะเห็ดที่มีลักษณะสมบูรณ์เท่านั้น ไม่ควรกินเห็ดอ่อนที่ยังเป็นก้อนกลม เพราะลักษณะของเห็ดอ่อน จะแยกได้ยากว่าเป็นเห็ดมีพิษหรือไม่
ส่วนวิธีการตรวจสอบเห็ดพิษโดยการนำเห็ดไปต้มกับข้าวสาร ซ้อนเงิน หัวหอม และสีจะเปลี่ยนไปนั้น อาจใช้ได้แต่ยังไม่แน่นอน และใช้ไม่ได้กับเห็ดตระกูลไข่ แต่หากพบผู้ได้รับพิษจากการกินเห็ด ควรทำให้ผู้ป่วยอาเจียนเอาเห็ดออกมาให้หมด
โดยการล้วงคอ หรือกรอกด้วยไข่ขาว และ รีบนำส่งโรงพยาบาลทันที พร้อมตัวอย่างเห็ดที่กินด้วย
นายแพทย์ อิทธิพล สูงแข็ง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดหนองคาย เปิดเผยว่า ในช่วงนี้เกิดฝนตกจะมีเห็ดชนิดต่างๆ เกิดขึ้นตามธรรมชาติมากมาย ซึ่งมีทั้งเห็ดที่กินได้ และเห็ดมีพิษ ประชาชนผู้นิยมนำเห็ดมาปรุงเป็นอาหารรับประทาน ควรระมัดระวัง เพราะเห็ดพิษบางชนิดมีอันตรายถึงชีวิตได้ โดยผู้ที่รับประทานเห็ดพิษเข้าไปจะเริ่มแสดงอาการประมาณ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมงหลังรับประทาน จะมีอาการปวดท้อง ท้องเดิน คลื่นไส้ อาเจียน เป็นตะคริว กระหายน้ำ
บางรายเป็นรุนแรงจนทำให้ระบบหมุนเวียนของเลือดล้มเหลว บางรายตับอักเสบอย่างรุนแรงและทำให้เกิดอาการ ตับวายถึงแก่ชีวิตได้
เห็ดพิษจะพบว่าเกิดปนอยู่กับเห็ดที่รับประทานได้ บางครั้งชาวบ้านแยกไม่ออก จึงทำให้เมาเห็ด หรือเกิดอาหารเป็นพิษ โดยการเกิดพิษของเห็ดจะมีผลต่อ 3 ระบบของร่างกาย คือ 1.กลุ่มเห็ดที่เป็นพิษต่อระบบทางเดินอาหาร ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียนอย่างรุนแรง ถ้าเป็นเด็กจะทำให้เสียชีวิตได้จากภาวะขาดน้ำรุนแรง 2.กลุ่มเห็ดที่เป็นพิษต่อตับอย่างรุนแรง เช่น เห็ดระโงก มีพิษขัดขวางการสร้างเซลล์โปรตีนตับ ทำให้เซลล์ตับตาย
3.กลุ่มเห็ดที่เป็นพิษต่อระบบประสาท เช่น เห็ดระโงกหิน พิษจะก่อให้เกิดอาการชักกระตุก อาเจียน ท้องเสีย น้ำลายฟูมปาก น้ำตาไหล รูม่านตามีขนาดเล็ก ชีพจรเต้นไม่สม่ำเสมอ และเสียชีวิตได้ในที่สุด
หากต้องการจะนำเห็ดมาปรุงเป็นอาหารรับประทาน ควรเลือกเห็ดที่ตนเอง รู้จักดีและแน่ใจว่าไม่มีพิษ หากไม่แน่ใจควรหลีกเลี่ยง พร้อมกันนี้ไม่ควรดื่มสุราร่วมกับการกินเห็ด เพราะจะเป็นการเสริมพิษ ของเห็ดให้รุนแรงขึ้น เลือกเฉพาะเห็ดที่มีลักษณะสมบูรณ์เท่านั้น ไม่ควรกินเห็ดอ่อนที่ยังเป็นก้อนกลม เพราะลักษณะของเห็ดอ่อน จะแยกได้ยากว่าเป็นเห็ดมีพิษหรือไม่
ส่วนวิธีการตรวจสอบเห็ดพิษโดยการนำเห็ดไปต้มกับข้าวสาร ซ้อนเงิน หัวหอม และสีจะเปลี่ยนไปนั้น อาจใช้ได้แต่ยังไม่แน่นอน และใช้ไม่ได้กับเห็ดตระกูลไข่ แต่หากพบผู้ได้รับพิษจากการกินเห็ด ควรทำให้ผู้ป่วยอาเจียนเอาเห็ดออกมาให้หมด
โดยการล้วงคอ หรือกรอกด้วยไข่ขาว และ รีบนำส่งโรงพยาบาลทันที พร้อมตัวอย่างเห็ดที่กินด้วย