ตาก - “ชัยวุฒิ” เล็งดันโปรเจกต์ยักษ์ สร้างสนามบินแม่สอด 2 รับระเบียงเศรษฐกิจสายตะวันออก-ตะวันตก พร้อมเร่งรัดทำถนนตาก-แม่สอด เป็น 4 เลนตลอดสาย รองรับยุทธศาสตร์การค้า-การท่องเที่ยว หลังไทยอนุมัติเงินช่วยเหลือทำถนนในพม่าเพิ่มจากเชิงเขาตะนาวศรี-กอกาเรก
นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (เสมา 2) ในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตาก กล่าวว่า โดยภูมิศาสตร์ อ.แม่สอด นับเป็นศูนย์กลางของการค้าชายแดน การลงทุน และการท่องเที่ยวสำคัญ รวมทั้งเป็นประตูสู่อันดามันบนเส้นทางอิสเวตส์อีโคโนมิก คอริดอร์ (ถนนสายเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก) แต่จะต้องได้รับการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานขึ้นมาสนับสนุน ทั้งระบบเส้นทางการคมนาคมและสนามบินแม่สอด ซึ่งถือว่าเป็นสนามบินสำคัญในพื้นที่
แต่เดิมเขาเคยมีแผนที่จะเพิ่มมาตรฐานและศักยภาพโดยการขยายรันเวย์จากเดิม 1,600 เมตร เป็น 2,200 เมตร เพิ่มศักยภาพและมาตรฐานของระบบการบินต่างๆ แต่สนามบินแม่สอดแห่งแรกมีปัญหาในด้านรันเวย์ ไม่สามารถรองรับเครื่องขนาดใหญ่ได้ การขึ้น-ลงจะต้องบินขึ้นเหนือน่านฟ้าของพม่าทำให้เป็นเงื่อนไขที่ไม่สามารถขยายพื้นที่ให้เครื่องบินขนาดใหญ่มาลงได้ เพราะสภาพสนามบินแม่สอด เป็นแนวยาวตะวันออก-ตะวันตก ติดชายแดนพม่า
ดังนั้น เขามองว่าหากมีประชาชนมาใช้บริการ ที่สนามบินแม่สอดแห่งแรกเพิ่มมากขึ้นประกอบกับจำเป็นต้องเพิ่มเที่ยวบินและขยายเวลาการบินเพิ่มเนื่องจากพ่อค้า นักธุรกิจ และประชาชนทั่วไป มีความต้องการที่จะใช้บริการเครื่องบินเพื่อการติดต่อทางธุรกิจรูปแบบต่างๆ และส่งเสริมการท่องเที่ยวมากขึ้น จนสนามบินแห่งแรกไม่สามารถรองรับได้แล้วจะเสนอต่อรัฐบาล เพื่อให้ดำเนินโครงการก่อสร้างสนามบินแม่สอด แห่งที่ 2 ที่สามารถรองรับการขึ้น-ลง จอดของเครื่องบินขนาดใหญ่ได้ โดยกำลังมองหาพื้นที่ก่อสร้างไว้อยู่ เพราะหากมีการก่อสร้างสานามบินแม่สอด แห่งที่ 2 จริงก็ต้องมีความพร้อมและมีศักยภาพเพียงพอที่จะยกระดับเป็นสนามบินนานาชาติในอนาคต เนื่องจากแม่สอดเป็นเมืองหลักสำคัญทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว
นายชัยวุฒิกล่าวต่อว่า ในด้านการพัฒนาเส้นทางทางบก ระหว่างปี 2552-2555 เขาได้เสนอต่อกระทรวงคมนาคมและรัฐบาลให้เร่งดำเนินการก่อสร้างถนน 4 เลน สายตาก-แม่สอด ระยะทางประมาณ 86 กม. ซึ่งขณะนี้ได้เริ่มดำเนินการแล้วบางช่วงเช่นจากเขตเมืองตาก-จนถึงเขตอุทยานแห่งชาติลานสาง เนื่องจากเส้นทางดังกล่าวเป็นสายหลักที่สำคัญในการส่งสินค้าชายแดน การสนับสนุนสินค้า การเกษตร การท่องเที่ยว และเป็นส่วนหนึ่งในเส้นทางสายเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก โดยมี อ.แม่สอด จ.ตาก เป็นหน้าด่านชายแดนประตูส่งออกสินค้าที่สร้างมูลค่าทางการค้าชายแดนนับหมื่นล้านบาทต่อปี
ตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นไป กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม จะเริ่มดำเนินการก่อสร้างถนน 4 เลนอีกหลายเส้นทาง เช่นจากแม่สอดเลียบชายแดนริมแม่น้ำเมยไปจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในปี 2552 จะเริ่มตั้งแต่ช่วง ต.แม่ปะ อ.แม่สอด ไปยัง ตำบลแม่จะเรา อ.แม่ระมาด และต่อเนื่องไปเรื่อยๆ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและการสัญจรระหว่างจังหวัด ถนน 4 เลน จาก อ.แม่สอด-อ.พบพระ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตพืชผลทางการเกษตร เพื่อส่งเสริมด้านการเกษตรและเศรษฐกิจทางการเกษตร โดยการพัฒนาเส้นทางคมนาคมของรัฐบาลชุดนี้ ทุกกระทรวงจะประสานความร่วมมือกันโดยมีกระทรวงคมนาคมเป็นผู้ดำเนินงาน
นอกจากนี้ รัฐบาลไทยได้อนุมัติเงินช่วยเหลือพม่าในการก่อสร้างเส้นทางแม่สอด-เมียวดี-เชิงเขาตะนาวศรีไปถึง จ.กอกาเรก แล้ว ด้วยงบประมาณเพิ่มอีกเกือบ 200 ล้านบาท ระยะทางประมาณ 30 กม.จากเดิมที่เคยสนับสนุนไปแล้วกว่า 120 ล้านบาท ระยะทางจากแม่สอด-เมียวดี-เชิงเขาตระนาวศรี เพื่อให้เป็นเส้นทางการคมนาคมขนส่งสินค้าชายแดนและการท่องเที่ยวรวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างประชาชน
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับแผนงานตามโครงการการก่อสร้างสนามบินแม่สอด แห่งที่ 2 นั้น หลายฝ่ายเคยไปศึกษาดูพื้นที่แล้ว และต่างมีความเห็นที่ค่อนข้างสอดคล้องกันว่าบริเวณพื้นที่จากตำบลแม่กาษา อ.แม่สอด จนถึงบริเวณรอยต่อ บ้านห้วยบง ต.แม่จะเรา อ.แม่ระมาด จ.ตาก เป็นจุดหนึ่งที่เหมาะสมมากในการดำเนินโครงการ ทั้งทางด้านยุทธศาตร์-พื้นที่และจุดขึ้นลงรวมทั้งระบบการคมนาคมรองรับด้านอื่นๆ
นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (เสมา 2) ในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตาก กล่าวว่า โดยภูมิศาสตร์ อ.แม่สอด นับเป็นศูนย์กลางของการค้าชายแดน การลงทุน และการท่องเที่ยวสำคัญ รวมทั้งเป็นประตูสู่อันดามันบนเส้นทางอิสเวตส์อีโคโนมิก คอริดอร์ (ถนนสายเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก) แต่จะต้องได้รับการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานขึ้นมาสนับสนุน ทั้งระบบเส้นทางการคมนาคมและสนามบินแม่สอด ซึ่งถือว่าเป็นสนามบินสำคัญในพื้นที่
แต่เดิมเขาเคยมีแผนที่จะเพิ่มมาตรฐานและศักยภาพโดยการขยายรันเวย์จากเดิม 1,600 เมตร เป็น 2,200 เมตร เพิ่มศักยภาพและมาตรฐานของระบบการบินต่างๆ แต่สนามบินแม่สอดแห่งแรกมีปัญหาในด้านรันเวย์ ไม่สามารถรองรับเครื่องขนาดใหญ่ได้ การขึ้น-ลงจะต้องบินขึ้นเหนือน่านฟ้าของพม่าทำให้เป็นเงื่อนไขที่ไม่สามารถขยายพื้นที่ให้เครื่องบินขนาดใหญ่มาลงได้ เพราะสภาพสนามบินแม่สอด เป็นแนวยาวตะวันออก-ตะวันตก ติดชายแดนพม่า
ดังนั้น เขามองว่าหากมีประชาชนมาใช้บริการ ที่สนามบินแม่สอดแห่งแรกเพิ่มมากขึ้นประกอบกับจำเป็นต้องเพิ่มเที่ยวบินและขยายเวลาการบินเพิ่มเนื่องจากพ่อค้า นักธุรกิจ และประชาชนทั่วไป มีความต้องการที่จะใช้บริการเครื่องบินเพื่อการติดต่อทางธุรกิจรูปแบบต่างๆ และส่งเสริมการท่องเที่ยวมากขึ้น จนสนามบินแห่งแรกไม่สามารถรองรับได้แล้วจะเสนอต่อรัฐบาล เพื่อให้ดำเนินโครงการก่อสร้างสนามบินแม่สอด แห่งที่ 2 ที่สามารถรองรับการขึ้น-ลง จอดของเครื่องบินขนาดใหญ่ได้ โดยกำลังมองหาพื้นที่ก่อสร้างไว้อยู่ เพราะหากมีการก่อสร้างสานามบินแม่สอด แห่งที่ 2 จริงก็ต้องมีความพร้อมและมีศักยภาพเพียงพอที่จะยกระดับเป็นสนามบินนานาชาติในอนาคต เนื่องจากแม่สอดเป็นเมืองหลักสำคัญทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว
นายชัยวุฒิกล่าวต่อว่า ในด้านการพัฒนาเส้นทางทางบก ระหว่างปี 2552-2555 เขาได้เสนอต่อกระทรวงคมนาคมและรัฐบาลให้เร่งดำเนินการก่อสร้างถนน 4 เลน สายตาก-แม่สอด ระยะทางประมาณ 86 กม. ซึ่งขณะนี้ได้เริ่มดำเนินการแล้วบางช่วงเช่นจากเขตเมืองตาก-จนถึงเขตอุทยานแห่งชาติลานสาง เนื่องจากเส้นทางดังกล่าวเป็นสายหลักที่สำคัญในการส่งสินค้าชายแดน การสนับสนุนสินค้า การเกษตร การท่องเที่ยว และเป็นส่วนหนึ่งในเส้นทางสายเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก โดยมี อ.แม่สอด จ.ตาก เป็นหน้าด่านชายแดนประตูส่งออกสินค้าที่สร้างมูลค่าทางการค้าชายแดนนับหมื่นล้านบาทต่อปี
ตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นไป กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม จะเริ่มดำเนินการก่อสร้างถนน 4 เลนอีกหลายเส้นทาง เช่นจากแม่สอดเลียบชายแดนริมแม่น้ำเมยไปจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในปี 2552 จะเริ่มตั้งแต่ช่วง ต.แม่ปะ อ.แม่สอด ไปยัง ตำบลแม่จะเรา อ.แม่ระมาด และต่อเนื่องไปเรื่อยๆ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและการสัญจรระหว่างจังหวัด ถนน 4 เลน จาก อ.แม่สอด-อ.พบพระ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตพืชผลทางการเกษตร เพื่อส่งเสริมด้านการเกษตรและเศรษฐกิจทางการเกษตร โดยการพัฒนาเส้นทางคมนาคมของรัฐบาลชุดนี้ ทุกกระทรวงจะประสานความร่วมมือกันโดยมีกระทรวงคมนาคมเป็นผู้ดำเนินงาน
นอกจากนี้ รัฐบาลไทยได้อนุมัติเงินช่วยเหลือพม่าในการก่อสร้างเส้นทางแม่สอด-เมียวดี-เชิงเขาตะนาวศรีไปถึง จ.กอกาเรก แล้ว ด้วยงบประมาณเพิ่มอีกเกือบ 200 ล้านบาท ระยะทางประมาณ 30 กม.จากเดิมที่เคยสนับสนุนไปแล้วกว่า 120 ล้านบาท ระยะทางจากแม่สอด-เมียวดี-เชิงเขาตระนาวศรี เพื่อให้เป็นเส้นทางการคมนาคมขนส่งสินค้าชายแดนและการท่องเที่ยวรวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างประชาชน
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับแผนงานตามโครงการการก่อสร้างสนามบินแม่สอด แห่งที่ 2 นั้น หลายฝ่ายเคยไปศึกษาดูพื้นที่แล้ว และต่างมีความเห็นที่ค่อนข้างสอดคล้องกันว่าบริเวณพื้นที่จากตำบลแม่กาษา อ.แม่สอด จนถึงบริเวณรอยต่อ บ้านห้วยบง ต.แม่จะเรา อ.แม่ระมาด จ.ตาก เป็นจุดหนึ่งที่เหมาะสมมากในการดำเนินโครงการ ทั้งทางด้านยุทธศาตร์-พื้นที่และจุดขึ้นลงรวมทั้งระบบการคมนาคมรองรับด้านอื่นๆ