มุกดาหาร - ชาวมุกดาหาร-กับชาวลาวในแขวงสะหวันนะเขตยังใช้ประเพณีสงกรานต์เป็นสื่อสัมพันธ์สร้างความรักความผูกพันระหว่างกัน โดยทั้งสองฝั่งต่างข้ามโขงมาร่วมงานระหว่างกันเช่นกันทุกปี
ไทย-ลาวยังคงสืบสานงานประเพณีสงกรานต์ไว้อย่างเหนียวแน่นโดยเฉพาะประเพณีสงกรานต์สองฝั่งโขงที่จัดขึ้นทั้งในพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร และแขวงสะหวันนะเขต ซึ่งปี 2552 นี้จัดขึ้นในห้วงเวลาเดียวกัน
โดยวันนี้ (15 เม.ย.) นางสาวสมหมาย ปรีชาศิลป์ รอง ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร เป็นผู้แทนผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร นำข้าราชการพ่อค้า ประชาชน ชาวจังหวัดมุกดาหารไปร่วมงานประเพณีสงกรานต์ที่แขวงสะหวันนะเขต ประเทศลาวจัดขึ้น เหมือนเช่นทุกปี โดยบรรยากาศการร่วมงานเป็นไปอย่างมิตรไมตรีอย่างชื่นมื่น โดยทางแขวงสะหวันนะเขต ได้นำคณะผู้แทนจากจังหวัดมุกดาหาร ไปกราบนมัสการพระธาตุอิงฮัง
ซึ่งมีประวัติเล่าว่า เป็นพระธาตุหรือเจดีย์ที่สร้างขึ้นมาพร้อมๆ กับองค์พระธาตุพนม และเมื่อถึงเทศกาลสงกรานต์สถานที่แห่งนี้จึงกลายเป็นแหล่งรวมของพุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทย ชาวลาว ในการร่วมสรงน้ำพระพุทธรูปจำนวนกว่า 1,000 องค์ที่เป็นปรางเดียวกัน ขนาดเดียวกัน
นอกจากนั้น รอบพระวิหารรอบองค์พระธาตุอิงฮังยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางเดียวกันอีกนับ 1,000 องค์เช่นกัน ส่วนการจัดงานสงกรานต์ของแขวงสะหวันนะเขตปีนี้ นอกจากผู้ร่วมงานฝ่ายไทยแล้ว ยังมี ท่านวิไลวรรณ พรมเข เจ้าแขวงสะหวันนะเขต เป็นประธานโดยทางเจ้าภาพจัดพานบายศรีขนาดใหญ่จากทั้ง 6 ชุมชน ไว้รับขวัญแขกผู้ไปเยือน โดยมีนางสังขาร หรือนางสงกรานต์ของแขวงร่วมผูกข้อมือให้กับผู้ใหญ่ของแขวงและผู้ไปเยือนอย่างพร้อมหน้า
ส่วนบรรยากาศเล่นสาดน้ำสงกรานต์ของชาวแขวงสะหวันนะเขตก็เป็นไปอย่างสนุกสนาน มีการสวมใส่เสื้อลายดอกเหมือนๆ กับชาวไทย ส่วนมากจะข้ามมาซื้อจากฝั่งไทยก่อนหน้าจะเริ่มเทศกาลสงกรานต์ พลอยทำให้ตลาดเสื้อลายดอกของไทยคึกคักขึ้นอีก ในขณะที่การขับรถตระเวนเล่นน้ำสงกรานต์ พบว่ามีการนั่งรถกระบะเล่นสาดน้ำกันน้อย
แต่ที่แตกต่างไปจากประเทศไทยเล่นคือ ผู้ที่เล่นน้ำบนรถไม่มีการนำถังน้ำ หรือโอ่งน้ำใส่บนรถเลย เพียงแต่นั่งรถไปแล้ว มีจุดที่เล่นสาดน้ำข้างทางรถจะวิ่งเข้าไปจอดให้พวกที่เล่นน้ำอยู่จุดนั้นสาดน้ำใส่ แล้วค่อยเคลื่อนไปยังจุดต่อไป
ประเพณีสงกรานต์ฝังแขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว ชาวบ้านและหนุ่มสาวการเล่นน้ำบรรยากาศการเล่นน้ำสาดน้ำกันคึกคักมากนัก และส่วนหนึ่งมีชาวบ้านและหนุ่มสาวจะพากันเข้าวัดทำบุญและสรงน้ำพระหลังจากนั้นก็พากันมารวมตัวตามห้อประชุมเพื่อรวมกันทำกิจกกรรมตามขนบธรรมเนียมประเพณีสืบสานต่อบรรพบุรุษซึ่งนับเป็นบรรยากาศที่สวยงามหน้ารักเป็นอย่างยิ่ง
ไทย-ลาวยังคงสืบสานงานประเพณีสงกรานต์ไว้อย่างเหนียวแน่นโดยเฉพาะประเพณีสงกรานต์สองฝั่งโขงที่จัดขึ้นทั้งในพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร และแขวงสะหวันนะเขต ซึ่งปี 2552 นี้จัดขึ้นในห้วงเวลาเดียวกัน
โดยวันนี้ (15 เม.ย.) นางสาวสมหมาย ปรีชาศิลป์ รอง ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร เป็นผู้แทนผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร นำข้าราชการพ่อค้า ประชาชน ชาวจังหวัดมุกดาหารไปร่วมงานประเพณีสงกรานต์ที่แขวงสะหวันนะเขต ประเทศลาวจัดขึ้น เหมือนเช่นทุกปี โดยบรรยากาศการร่วมงานเป็นไปอย่างมิตรไมตรีอย่างชื่นมื่น โดยทางแขวงสะหวันนะเขต ได้นำคณะผู้แทนจากจังหวัดมุกดาหาร ไปกราบนมัสการพระธาตุอิงฮัง
ซึ่งมีประวัติเล่าว่า เป็นพระธาตุหรือเจดีย์ที่สร้างขึ้นมาพร้อมๆ กับองค์พระธาตุพนม และเมื่อถึงเทศกาลสงกรานต์สถานที่แห่งนี้จึงกลายเป็นแหล่งรวมของพุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทย ชาวลาว ในการร่วมสรงน้ำพระพุทธรูปจำนวนกว่า 1,000 องค์ที่เป็นปรางเดียวกัน ขนาดเดียวกัน
นอกจากนั้น รอบพระวิหารรอบองค์พระธาตุอิงฮังยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางเดียวกันอีกนับ 1,000 องค์เช่นกัน ส่วนการจัดงานสงกรานต์ของแขวงสะหวันนะเขตปีนี้ นอกจากผู้ร่วมงานฝ่ายไทยแล้ว ยังมี ท่านวิไลวรรณ พรมเข เจ้าแขวงสะหวันนะเขต เป็นประธานโดยทางเจ้าภาพจัดพานบายศรีขนาดใหญ่จากทั้ง 6 ชุมชน ไว้รับขวัญแขกผู้ไปเยือน โดยมีนางสังขาร หรือนางสงกรานต์ของแขวงร่วมผูกข้อมือให้กับผู้ใหญ่ของแขวงและผู้ไปเยือนอย่างพร้อมหน้า
ส่วนบรรยากาศเล่นสาดน้ำสงกรานต์ของชาวแขวงสะหวันนะเขตก็เป็นไปอย่างสนุกสนาน มีการสวมใส่เสื้อลายดอกเหมือนๆ กับชาวไทย ส่วนมากจะข้ามมาซื้อจากฝั่งไทยก่อนหน้าจะเริ่มเทศกาลสงกรานต์ พลอยทำให้ตลาดเสื้อลายดอกของไทยคึกคักขึ้นอีก ในขณะที่การขับรถตระเวนเล่นน้ำสงกรานต์ พบว่ามีการนั่งรถกระบะเล่นสาดน้ำกันน้อย
แต่ที่แตกต่างไปจากประเทศไทยเล่นคือ ผู้ที่เล่นน้ำบนรถไม่มีการนำถังน้ำ หรือโอ่งน้ำใส่บนรถเลย เพียงแต่นั่งรถไปแล้ว มีจุดที่เล่นสาดน้ำข้างทางรถจะวิ่งเข้าไปจอดให้พวกที่เล่นน้ำอยู่จุดนั้นสาดน้ำใส่ แล้วค่อยเคลื่อนไปยังจุดต่อไป
ประเพณีสงกรานต์ฝังแขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว ชาวบ้านและหนุ่มสาวการเล่นน้ำบรรยากาศการเล่นน้ำสาดน้ำกันคึกคักมากนัก และส่วนหนึ่งมีชาวบ้านและหนุ่มสาวจะพากันเข้าวัดทำบุญและสรงน้ำพระหลังจากนั้นก็พากันมารวมตัวตามห้อประชุมเพื่อรวมกันทำกิจกกรรมตามขนบธรรมเนียมประเพณีสืบสานต่อบรรพบุรุษซึ่งนับเป็นบรรยากาศที่สวยงามหน้ารักเป็นอย่างยิ่ง