สกลนคร - เกษตรและสหกรณ์อุดรธานี เตือนเกษตรกรอีสานที่กำลังคิดจะปลูกปาล์มน้ำมันเสี่ยงขาดทุน เหตุปาล์มน้ำมันต้องการน้ำสูง ทั้งต้องลงทุนสูง ขณะที่สภาพพื้นที่ภาคอีสานส่วนใหญ่แห้งแล้งไม่เหมาะปลูกปาล์มน้ำมัน อีกทั้งรัฐบาลยังไม่มีแผนส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมันภาคอีสานในเชิงพาณิชย์ เป็นเพียงการทดลองปลูกหรืองานวิจัยเท่านั้น
นายปวิต ถมยาวิทย์ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดอุดรธานี เปิดเผยว่า ในช่วงกลางปี 2551 ราคาน้ำมันได้ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรในภาคอีสานหันมาปลูกปาล์มน้ำมันมากขึ้น แม้ว่าในบางพื้นที่จะมีสภาพแห้งแล้งหรือไม่มีศักยภาพที่เหมาะสม แต่ในระยะหลัง ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงได้ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคารับซื้อปาล์มน้ำมันเหลือเพียงกิโลกรัมละ 2-3 บาท
ทั้งนี้ หากราคาน้ำมันยังคงต่ำลงเช่นนี้ก็มีแนวโน้มสูงกว่าเกษตรกรในภาคอีสานอาจจะต้องทิ้งไร่ปาล์มน้ำมันอย่างแน่นอน
จากข้อมูลของศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันหนองคายระบุว่า การปลูกปาล์มน้ำมันในภาคอีสาน ขึ้นอยู่กับโอกาสและเงื่อนไข คือ ปาล์มน้ำมันต้องการน้ำและการกระจายตัวของฝนมาก เพราะในการสร้างทะลายปาล์มจะใช้เวลาในการก่อช่อดอกประมาณ 1 ปี หลังจากนั้นจึงจะให้ผลผลิตในปีที่ 3 แต่ถ้าหากขาดน้ำอย่างต่อเนื่อง ช่อดอกตัวเมียจะเกิดสภาวะเครียดและเปลี่ยนไปเป็นดอกตัวผู้หรือดอกกระเทยแทน สุดท้ายก็จะไม่ได้ผลผลิตปาล์ม
ปัจจัยที่ 2 เกษตรต้องมีเงินลงทุนเพียงพอในช่วง 30 เดือนแรกเฉลี่ยไร่ละไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นบาท รวมทั้งค่าติดตั้งระบบน้ำและเงินทุนหมุนเวียนในช่วงตั้งปีที่ 4 เป็นต้นไป
ปัจจัยที่ 3 ต้องมีโรงงานสกัดน้ำมันในพื้นที่ไม่เกินรัศมี 50 กิโลเมตร เพื่อลดต้นทุนค่าขนส่ง และสุดท้ายเกษตรกรต้องมีทักษะในการดูแลรักษา การจัดการ ซึ่งแตกต่างไปจากการทำนาหรือปลูกพืชไร่ทั่วๆไป
ดังนั้น เกษตรกรที่ยังไม่ตัดสินใจปลูกปาล์มในขณะนี้ ควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียดนับตั้งแต่เรื่องดิน แหล่งน้ำ ตลาดรับซื้อ เพราะกว่าจะได้ผลผลิตปาล์มน้ำมัน จะต้องใช้เวลาและต้นทุนในการผลิตที่สูง ทางที่ดีควรปลูกปาล์มน้ำมันตามหัวไร่ปลายนา เพื่อหีบเอาน้ำมันไว้ใช้เองในชุมชนจะคุ้มทุนกว่าซึ่งขณะนี้กรมวิชาการเกษตรกำลังพิจารณาประดิษฐ์เครื่องสกัดน้ำมันขนาดเล็กสำหรับใช้ในชุมชน จึงน่าจะเป็นทางออกที่เหมาะสมของเกษตรกรในเวลานี้
นายปวิต ถมยาวิทย์ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดอุดรธานี เปิดเผยว่า ในช่วงกลางปี 2551 ราคาน้ำมันได้ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรในภาคอีสานหันมาปลูกปาล์มน้ำมันมากขึ้น แม้ว่าในบางพื้นที่จะมีสภาพแห้งแล้งหรือไม่มีศักยภาพที่เหมาะสม แต่ในระยะหลัง ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงได้ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคารับซื้อปาล์มน้ำมันเหลือเพียงกิโลกรัมละ 2-3 บาท
ทั้งนี้ หากราคาน้ำมันยังคงต่ำลงเช่นนี้ก็มีแนวโน้มสูงกว่าเกษตรกรในภาคอีสานอาจจะต้องทิ้งไร่ปาล์มน้ำมันอย่างแน่นอน
จากข้อมูลของศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันหนองคายระบุว่า การปลูกปาล์มน้ำมันในภาคอีสาน ขึ้นอยู่กับโอกาสและเงื่อนไข คือ ปาล์มน้ำมันต้องการน้ำและการกระจายตัวของฝนมาก เพราะในการสร้างทะลายปาล์มจะใช้เวลาในการก่อช่อดอกประมาณ 1 ปี หลังจากนั้นจึงจะให้ผลผลิตในปีที่ 3 แต่ถ้าหากขาดน้ำอย่างต่อเนื่อง ช่อดอกตัวเมียจะเกิดสภาวะเครียดและเปลี่ยนไปเป็นดอกตัวผู้หรือดอกกระเทยแทน สุดท้ายก็จะไม่ได้ผลผลิตปาล์ม
ปัจจัยที่ 2 เกษตรต้องมีเงินลงทุนเพียงพอในช่วง 30 เดือนแรกเฉลี่ยไร่ละไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นบาท รวมทั้งค่าติดตั้งระบบน้ำและเงินทุนหมุนเวียนในช่วงตั้งปีที่ 4 เป็นต้นไป
ปัจจัยที่ 3 ต้องมีโรงงานสกัดน้ำมันในพื้นที่ไม่เกินรัศมี 50 กิโลเมตร เพื่อลดต้นทุนค่าขนส่ง และสุดท้ายเกษตรกรต้องมีทักษะในการดูแลรักษา การจัดการ ซึ่งแตกต่างไปจากการทำนาหรือปลูกพืชไร่ทั่วๆไป
ดังนั้น เกษตรกรที่ยังไม่ตัดสินใจปลูกปาล์มในขณะนี้ ควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียดนับตั้งแต่เรื่องดิน แหล่งน้ำ ตลาดรับซื้อ เพราะกว่าจะได้ผลผลิตปาล์มน้ำมัน จะต้องใช้เวลาและต้นทุนในการผลิตที่สูง ทางที่ดีควรปลูกปาล์มน้ำมันตามหัวไร่ปลายนา เพื่อหีบเอาน้ำมันไว้ใช้เองในชุมชนจะคุ้มทุนกว่าซึ่งขณะนี้กรมวิชาการเกษตรกำลังพิจารณาประดิษฐ์เครื่องสกัดน้ำมันขนาดเล็กสำหรับใช้ในชุมชน จึงน่าจะเป็นทางออกที่เหมาะสมของเกษตรกรในเวลานี้