หนองคาย - สสจ.หนองคาย เตือนระวังหน้าร้อน อีสุกอีใสระบาดหนักในเด็ก แนะผู้ปกครองเฝ้าระวังบุตรหลาน
นายแพทย์อิทธิพล สูงแข็ง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดหนองคาย กล่าวว่า ในช่วงเดือนมีนาคม- พฤษภาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นช่วงหน้าร้อน ประเทศไทยจะพบผู้ป่วยโรคอีสุกอีใส มากกว่าช่วงอื่น โดยพบมากที่สุดในเด็กอายุ 5-9 ปี รองลงมาคืออายุต่ำกว่า 4 ปี ซึ่งโรคอีสุกอีใสเป็นโรคติดต่อเฉียบพลันจากเชื้อไวรัส ติดต่อด้วยการไอ จาม หายใจรดกัน หรือโดยการสัมผัสกับตุ่มหนองของผู้ป่วย ตลอดจนการใช้สิ่งของร่วมกันกับผู้ป่วย จึงมักเป็นเหตุให้เกิดการระบาดได้ง่าย โดยเฉพาะสถานที่ที่มีคนรวมกันหนาแน่น เช่น สถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียนอนุบาล สถานศึกษา
สำหรับอาการป่วยโรคอีสุกอีใส ระยะแรกหลังติดเชื้อจะมีไข้ต่ำ ๆ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร จากนั้นจะมีผื่นแดงตามผิวหนังบริเวณศีรษะ ใบหน้า ลำตัว ต่อมาผื่นจะกลายเป็นตุ่มนูน มีน้ำใส ๆ อยู่ข้างใน และมีอาการคัน รอบฐานตุ่มมีสีแดง และตกสะเก็ดภายใน 2-3 วัน ตุ่มเกิดขึ้นได้ทั่วร่างกาย ขนาดของตุ่มจะไม่เท่ากัน โรคอีสุกอีใส มีระยะฟักตัวกว่าจะปรากฏอาการ 10-21 วัน อย่างไรก็ดี โรคอีสุกอีใสเป็นโรคที่ไม่รุนแรง เป็นแล้วหายเองได้ โดยทั่วไปอาการโรคอีสุกอีใสในเด็กเล็กจะไม่รุนแรง อาการอาจจะรุนแรงในเด็กโตหรือผู้ใหญ่
นายแพทย์อิทธิพล กล่าวต่อว่า ขอให้ประชาชน พ่อแม่ ผู้ปกครองได้ระมัดระวังไม่ให้บุตรหลานอยู่ใกล้ชิด หรือคลุกคลีกับผู้ป่วยที่กำลังเป็นโรคอีสุกอีใสและงดใช้ของร่วมกันกับผู้ป่วย ซึ่งในช่วงปิดภาคเรียนขณะนี้อาจจะมีเด็กบางคนยังอยู่ในศูนย์เลี้ยงเด็ก หรือเรียนพิเศษ หากมีเด็กป่วยเป็นโรคอีสุกอีใสต้องให้หยุดเรียนจนกว่าสะเก็ดแผลจะแห้ง ส่วนผู้ใหญ่ต้องหยุดพักงานเช่นกัน.
นายแพทย์อิทธิพล สูงแข็ง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดหนองคาย กล่าวว่า ในช่วงเดือนมีนาคม- พฤษภาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นช่วงหน้าร้อน ประเทศไทยจะพบผู้ป่วยโรคอีสุกอีใส มากกว่าช่วงอื่น โดยพบมากที่สุดในเด็กอายุ 5-9 ปี รองลงมาคืออายุต่ำกว่า 4 ปี ซึ่งโรคอีสุกอีใสเป็นโรคติดต่อเฉียบพลันจากเชื้อไวรัส ติดต่อด้วยการไอ จาม หายใจรดกัน หรือโดยการสัมผัสกับตุ่มหนองของผู้ป่วย ตลอดจนการใช้สิ่งของร่วมกันกับผู้ป่วย จึงมักเป็นเหตุให้เกิดการระบาดได้ง่าย โดยเฉพาะสถานที่ที่มีคนรวมกันหนาแน่น เช่น สถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียนอนุบาล สถานศึกษา
สำหรับอาการป่วยโรคอีสุกอีใส ระยะแรกหลังติดเชื้อจะมีไข้ต่ำ ๆ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร จากนั้นจะมีผื่นแดงตามผิวหนังบริเวณศีรษะ ใบหน้า ลำตัว ต่อมาผื่นจะกลายเป็นตุ่มนูน มีน้ำใส ๆ อยู่ข้างใน และมีอาการคัน รอบฐานตุ่มมีสีแดง และตกสะเก็ดภายใน 2-3 วัน ตุ่มเกิดขึ้นได้ทั่วร่างกาย ขนาดของตุ่มจะไม่เท่ากัน โรคอีสุกอีใส มีระยะฟักตัวกว่าจะปรากฏอาการ 10-21 วัน อย่างไรก็ดี โรคอีสุกอีใสเป็นโรคที่ไม่รุนแรง เป็นแล้วหายเองได้ โดยทั่วไปอาการโรคอีสุกอีใสในเด็กเล็กจะไม่รุนแรง อาการอาจจะรุนแรงในเด็กโตหรือผู้ใหญ่
นายแพทย์อิทธิพล กล่าวต่อว่า ขอให้ประชาชน พ่อแม่ ผู้ปกครองได้ระมัดระวังไม่ให้บุตรหลานอยู่ใกล้ชิด หรือคลุกคลีกับผู้ป่วยที่กำลังเป็นโรคอีสุกอีใสและงดใช้ของร่วมกันกับผู้ป่วย ซึ่งในช่วงปิดภาคเรียนขณะนี้อาจจะมีเด็กบางคนยังอยู่ในศูนย์เลี้ยงเด็ก หรือเรียนพิเศษ หากมีเด็กป่วยเป็นโรคอีสุกอีใสต้องให้หยุดเรียนจนกว่าสะเก็ดแผลจะแห้ง ส่วนผู้ใหญ่ต้องหยุดพักงานเช่นกัน.