ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ – นักวิชาการ คณะแพทย์ มช.จี้กรมควบคุมมลพิษปรับปรุงค่ามาตรฐานฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM10 เป็นไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรตามกำหนดขององค์การอนามัยโลกและประเทศเพื่อนบ้านที่เจริญแล้ว เพื่อขจัดภาพลวงตาและคุ้มครองสุขภาพประชาชน เผยคนเชียงใหม่เสี่ยงตายผ่อนส่ง สูดสารก่อมะเร็งที่เกิดจากการเผาเข้าไปสะสมในร่างกายทุกวัน
วันนี้ (6 มี.ค.) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดการแถลงข่าวเรื่อง “มลพิษทางอากาศกับผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน” โดย รศ.นพ.ชายชาญ โพธิรัตน์ หัวหน้าหน่วยระบบหายใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ในช่วงเดือน ม.ค.-ก.พ.52 ซึ่งจังหวัดเชียงใหม่เริ่มมีปัญหาหมอกควัน จากสถิติของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ พบว่าผู้ป่วยฉุกเฉินที่ต้องเข้ารับการรักษาตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550 และ 2551 โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งโรคระบบทางเดินหายใจ ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะมีความสัมพันธ์กับคุณภาพอากาศที่แย่ลง
ทั้งนี้ เห็นว่าปัญหาหมอกควันและมลพิษอากาศเป็นปัญหาสำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน โดยฝุ่นควันนั้นเป็นตัวเสริมฤทธิ์สารก่อแพ้ทำให้ผู้ป่วยภูมิแพ้มีอาการกำเริบ ขณะที่ฝุ่นขนาดเล็กสามารถเข้าไปได้ถึงปอดชั้นในทำให้เกิดการอักเสบ นอกจากนี้ยังมีสารพิษหลายชนิดปนเปื้อนอยู่ด้วย รวมทั้งสาร PAH (Polycyclic Aromatic Hydrocarbons) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งที่ทั่วโลกมีการศึกษาแล้วว่า หากสะสมในร่างกายเป็นเวลานานทำให้ป่วยเป็นมะเร็งได้
ที่ผ่านมาเคยมีการสำรวจระดับประเทศพบว่า ผู้ป่วยโรคหืดหอบในจังหวัดเชียงใหม่มีความรุนแรงมากที่สุด โดยในปีที่ผ่านมามีอัตราการกำเริบของอาการป่วย จนต้องนอนโรงพยาบาล 30.1% ขณะที่อัตราของทั่วประเทศอยู่ที่ 15.2% อัตราของประเทศย่านเอเชียแปซิฟิกอยู่ที่ 15%
ขณะเดียวกัน หัวหน้าหน่วยระบบหายใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า จากข้อมูลการศึกษาขององค์การอนามัยโลก การที่ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM10 ที่เพิ่มขึ้นในอากาศทุกๆ 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จะทำให้อัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 0.5% ซึ่งใน พ.ศ.2548 จึงได้กำหนดเกณฑ์ระดับความปลอดภัยคุณภาพอากาศที่ใช้กันทั่วโลกว่าค่าเฉลี่ยฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM10 ใน 24 ชั่วโมง จะต้องไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และค่าดัชนีคุณภาพอากาศหรือ AQI จะต้องไม่เกิน 50 แต่ปรากฏว่าใน พ.ศ.2549 กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ของประเทศไทย กลับประกาศกำหนดใช้ค่ามาตรฐานฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM10 ที่ 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
สวนทางกับเจตนารมณ์ขององค์การอนามัยโลก ที่ต้องการปกป้องชีวิตความเป็นอยู่และสุขภาพของผู้คน ขณะที่ประเทศอื่นๆ ทั่วโลก รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้านของไทย เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย เป็นต้น ต่างมีการใช้ค่ามาตรฐานขององค์การอนามัยโลกกันเกือบหมดแล้ว ยกเว้นประเทศด้อยพัฒนาและประเทศที่ยังไม่มีการกำหนดค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศเพื่อคุ้มครองประชาชนเท่านั้น ทั้งนี้อยากเรียกร้องให้หน่วยงานที่รับผิดชอบพิจารณาและทำการปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อคุ้มครองดูแลประชาชน
“ที่ผ่านมามีข้อมูลเชิงวิชาการและงานวิจัยชี้ชัดตรงกันว่า มลพิษอากาศส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้คน ส่วนการปรับปรุงการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพอากาศให้เป็นไปตามกำหนดขององค์การอนามัยโลกนั้น คงต้องขึ้นอยู่กับระดับนโยบายและหน่วยงานที่รับผิดชอบ ว่าจะตระหนักและให้ความสำคัญในเรื่องนี้มากน้อยเพียงใด” รศ.นพ.ชายชาญ กล่าว
รศ.นพ.ชายชาญ กล่าวด้วยว่า ในเดือนมีนาคมปีนี้มีความเสี่ยงที่จะเกิดระดับมลพิษอากาศคล้ายเดือนมีนาคมปี 2550 ที่เกิดวิกฤติหมอกควันขึ้นกับจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพของคนปกติและผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ทำอัตราการเสียชีวิตประจำวันสูงขึ้น โรคภูมิแพ้ โรคหืดหอบ โรคปอดเรื้อรัง โรคหัวใจขาดเลือด กำเริบมากขึ้น ทั้งนี้แนะนำให้ผู้ป่วยดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ และพบแพทย์ทันทีหากมีอาการผิดปกติ รวมทั้งขอความร่วมมืองดการเผาในที่โล่งทุกชนิด
ด้าน รศ.ดร.นายแพทย์พงศ์เทพ วิวรรธนะเดช หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานข้อมูลปัญหาหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือ สนับสนุนการปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพอากาศ รวมทั้งการปรับค่ามาตรฐานฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM10 เป็นไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เช่นกัน โดยระบุว่าที่ผ่านมามีการศึกษาวิจัยกับกลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีผลสรุปชี้ชัดเจนว่าค่ามาตรฐานฝุ่นละอองขนาดเล็กที่กำหนดใช้ในปัจจุบันสูงเกินไป เพราะแม้ว่าค่าฝุ่นละอองจะอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่ใช้อยู่ในปัจจุบันก็ส่งผลกระทบต่อสุขภาพแล้ว
ทั้งนี้ เสนอว่าประเทศไทยควรจะมีการปรับปรุงกำหนดค่ามาตรฐานฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM10 เป็นไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ได้แล้ว ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดภาพลวงตาว่าคุณภาพอากาศยังคงอยู่ในระดับที่ดีและปลอดภัยตลอดเวลา เพราะหากปรับไปใช้ค่ามาตรฐานตามที่องค์การอนามัยโลกประกาศใช้ จะทำให้พบความจริงว่าค่าฝุ่นละอองและคุณภาพอากาศมันแย่กว่าที่คิด ซึ่งน่าจะช่วยกระตุ้นให้ทุกฝ่ายเกิดความตระหนัก และร่วมกันป้องกันแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังมากกว่ายิ่งขึ้น
นอกจากนี้ รศ.ดร.นายแพทย์พงศ์เทพ กล่าวว่า สาเหตุสำคัญของปัญหาหมอกควันที่เกิดในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และภาคเหนือมาจากการเผาในที่โล่งทุกชนิด ซึ่งจากการศึกษาวิจัยทั่วโลกพบว่าตรงกันว่าการเผาทุกชนิดทำให้เกิดสาร PAH ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งปนเปื้อนในอากาศ นั่นหมายความอากาศที่ผู้คนในพื้นที่สูดหายใจเข้าไปจะนำสารก่อมะเร็งดังกล่าวเข้าไปสะสมอยู่ในร่างกายไปเรื่อยๆ ด้วย
ทั้งนี้ สอดคล้องกับข้อมูลที่ว่าภาคเหนือมีอัตราผู้ป่วยมะเร็งปอดมากที่สุดของประเทศไทย ซึ่งค่าเฉลี่ยทั้งประเทศอยู่ 20 ต่อแสนประชากร ขณะที่ลำปางและเชียงใหม่อยู่ที่ 50 และ 40 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ จึงอยากเรียกร้องให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายตั้งแต่ระดับนโยบายจนถึงประชาชนร่วมมือกันในการป้องกันแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจังด้วย
“มีข้อมูลจากทั่วโลกยืนยันตรงกันว่า การเผาทุกชนิดทำให้เกิดสารก่อมะเร็งขึ้นและลอยปนเปื้อนไปในอากาศ นั่นหมายความว่าในสภาพหมอกควันที่เกิดจากการเผาที่เรากำลังประสบอยู่ในเวลานี้ เรากำลังสูดเอาสารก่อมะเร็งเข้าไปสะสมอยู่ในร่างกายเรื่อยๆ ซึ่งวันหนึ่งในอีกหลายปีข้างหน้าเราอาจจะพบว่าเราเป็นมะเร็งโดยไม่รู้ตัว หากยังไม่มีการแก้ไขปัญหานี้” รศ.ดร.นายแพทย์พงศ์เทพ กล่าว
วันนี้ (6 มี.ค.) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดการแถลงข่าวเรื่อง “มลพิษทางอากาศกับผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน” โดย รศ.นพ.ชายชาญ โพธิรัตน์ หัวหน้าหน่วยระบบหายใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ในช่วงเดือน ม.ค.-ก.พ.52 ซึ่งจังหวัดเชียงใหม่เริ่มมีปัญหาหมอกควัน จากสถิติของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ พบว่าผู้ป่วยฉุกเฉินที่ต้องเข้ารับการรักษาตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550 และ 2551 โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งโรคระบบทางเดินหายใจ ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะมีความสัมพันธ์กับคุณภาพอากาศที่แย่ลง
ทั้งนี้ เห็นว่าปัญหาหมอกควันและมลพิษอากาศเป็นปัญหาสำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน โดยฝุ่นควันนั้นเป็นตัวเสริมฤทธิ์สารก่อแพ้ทำให้ผู้ป่วยภูมิแพ้มีอาการกำเริบ ขณะที่ฝุ่นขนาดเล็กสามารถเข้าไปได้ถึงปอดชั้นในทำให้เกิดการอักเสบ นอกจากนี้ยังมีสารพิษหลายชนิดปนเปื้อนอยู่ด้วย รวมทั้งสาร PAH (Polycyclic Aromatic Hydrocarbons) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งที่ทั่วโลกมีการศึกษาแล้วว่า หากสะสมในร่างกายเป็นเวลานานทำให้ป่วยเป็นมะเร็งได้
ที่ผ่านมาเคยมีการสำรวจระดับประเทศพบว่า ผู้ป่วยโรคหืดหอบในจังหวัดเชียงใหม่มีความรุนแรงมากที่สุด โดยในปีที่ผ่านมามีอัตราการกำเริบของอาการป่วย จนต้องนอนโรงพยาบาล 30.1% ขณะที่อัตราของทั่วประเทศอยู่ที่ 15.2% อัตราของประเทศย่านเอเชียแปซิฟิกอยู่ที่ 15%
ขณะเดียวกัน หัวหน้าหน่วยระบบหายใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า จากข้อมูลการศึกษาขององค์การอนามัยโลก การที่ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM10 ที่เพิ่มขึ้นในอากาศทุกๆ 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จะทำให้อัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 0.5% ซึ่งใน พ.ศ.2548 จึงได้กำหนดเกณฑ์ระดับความปลอดภัยคุณภาพอากาศที่ใช้กันทั่วโลกว่าค่าเฉลี่ยฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM10 ใน 24 ชั่วโมง จะต้องไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และค่าดัชนีคุณภาพอากาศหรือ AQI จะต้องไม่เกิน 50 แต่ปรากฏว่าใน พ.ศ.2549 กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ของประเทศไทย กลับประกาศกำหนดใช้ค่ามาตรฐานฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM10 ที่ 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
สวนทางกับเจตนารมณ์ขององค์การอนามัยโลก ที่ต้องการปกป้องชีวิตความเป็นอยู่และสุขภาพของผู้คน ขณะที่ประเทศอื่นๆ ทั่วโลก รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้านของไทย เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย เป็นต้น ต่างมีการใช้ค่ามาตรฐานขององค์การอนามัยโลกกันเกือบหมดแล้ว ยกเว้นประเทศด้อยพัฒนาและประเทศที่ยังไม่มีการกำหนดค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศเพื่อคุ้มครองประชาชนเท่านั้น ทั้งนี้อยากเรียกร้องให้หน่วยงานที่รับผิดชอบพิจารณาและทำการปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อคุ้มครองดูแลประชาชน
“ที่ผ่านมามีข้อมูลเชิงวิชาการและงานวิจัยชี้ชัดตรงกันว่า มลพิษอากาศส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้คน ส่วนการปรับปรุงการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพอากาศให้เป็นไปตามกำหนดขององค์การอนามัยโลกนั้น คงต้องขึ้นอยู่กับระดับนโยบายและหน่วยงานที่รับผิดชอบ ว่าจะตระหนักและให้ความสำคัญในเรื่องนี้มากน้อยเพียงใด” รศ.นพ.ชายชาญ กล่าว
รศ.นพ.ชายชาญ กล่าวด้วยว่า ในเดือนมีนาคมปีนี้มีความเสี่ยงที่จะเกิดระดับมลพิษอากาศคล้ายเดือนมีนาคมปี 2550 ที่เกิดวิกฤติหมอกควันขึ้นกับจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพของคนปกติและผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ทำอัตราการเสียชีวิตประจำวันสูงขึ้น โรคภูมิแพ้ โรคหืดหอบ โรคปอดเรื้อรัง โรคหัวใจขาดเลือด กำเริบมากขึ้น ทั้งนี้แนะนำให้ผู้ป่วยดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ และพบแพทย์ทันทีหากมีอาการผิดปกติ รวมทั้งขอความร่วมมืองดการเผาในที่โล่งทุกชนิด
ด้าน รศ.ดร.นายแพทย์พงศ์เทพ วิวรรธนะเดช หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานข้อมูลปัญหาหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือ สนับสนุนการปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพอากาศ รวมทั้งการปรับค่ามาตรฐานฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM10 เป็นไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เช่นกัน โดยระบุว่าที่ผ่านมามีการศึกษาวิจัยกับกลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีผลสรุปชี้ชัดเจนว่าค่ามาตรฐานฝุ่นละอองขนาดเล็กที่กำหนดใช้ในปัจจุบันสูงเกินไป เพราะแม้ว่าค่าฝุ่นละอองจะอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่ใช้อยู่ในปัจจุบันก็ส่งผลกระทบต่อสุขภาพแล้ว
ทั้งนี้ เสนอว่าประเทศไทยควรจะมีการปรับปรุงกำหนดค่ามาตรฐานฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM10 เป็นไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ได้แล้ว ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดภาพลวงตาว่าคุณภาพอากาศยังคงอยู่ในระดับที่ดีและปลอดภัยตลอดเวลา เพราะหากปรับไปใช้ค่ามาตรฐานตามที่องค์การอนามัยโลกประกาศใช้ จะทำให้พบความจริงว่าค่าฝุ่นละอองและคุณภาพอากาศมันแย่กว่าที่คิด ซึ่งน่าจะช่วยกระตุ้นให้ทุกฝ่ายเกิดความตระหนัก และร่วมกันป้องกันแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังมากกว่ายิ่งขึ้น
นอกจากนี้ รศ.ดร.นายแพทย์พงศ์เทพ กล่าวว่า สาเหตุสำคัญของปัญหาหมอกควันที่เกิดในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และภาคเหนือมาจากการเผาในที่โล่งทุกชนิด ซึ่งจากการศึกษาวิจัยทั่วโลกพบว่าตรงกันว่าการเผาทุกชนิดทำให้เกิดสาร PAH ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งปนเปื้อนในอากาศ นั่นหมายความอากาศที่ผู้คนในพื้นที่สูดหายใจเข้าไปจะนำสารก่อมะเร็งดังกล่าวเข้าไปสะสมอยู่ในร่างกายไปเรื่อยๆ ด้วย
ทั้งนี้ สอดคล้องกับข้อมูลที่ว่าภาคเหนือมีอัตราผู้ป่วยมะเร็งปอดมากที่สุดของประเทศไทย ซึ่งค่าเฉลี่ยทั้งประเทศอยู่ 20 ต่อแสนประชากร ขณะที่ลำปางและเชียงใหม่อยู่ที่ 50 และ 40 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ จึงอยากเรียกร้องให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายตั้งแต่ระดับนโยบายจนถึงประชาชนร่วมมือกันในการป้องกันแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจังด้วย
“มีข้อมูลจากทั่วโลกยืนยันตรงกันว่า การเผาทุกชนิดทำให้เกิดสารก่อมะเร็งขึ้นและลอยปนเปื้อนไปในอากาศ นั่นหมายความว่าในสภาพหมอกควันที่เกิดจากการเผาที่เรากำลังประสบอยู่ในเวลานี้ เรากำลังสูดเอาสารก่อมะเร็งเข้าไปสะสมอยู่ในร่างกายเรื่อยๆ ซึ่งวันหนึ่งในอีกหลายปีข้างหน้าเราอาจจะพบว่าเราเป็นมะเร็งโดยไม่รู้ตัว หากยังไม่มีการแก้ไขปัญหานี้” รศ.ดร.นายแพทย์พงศ์เทพ กล่าว