อุบลราชธานี - เจ้ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศอุ้มอธิบดีกรมวิชาการเกษตรที่ขึ้นทะเบียนพืชสมุนไพร 13 ชนิดให้เป็นวัตถุอันตราย อ้างเพิ่งมาทำงานและมีเจตนาดี พร้อมเชื่อเมื่อนโยบายช่วยเหลือเกษตรกรกลุ่มต่างๆของรัฐบาลเดินหน้าเต็มที่ จะทำให้การประท้วงของสารพัดม็อบลดลง
นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ ซึ่งเป็นประธานเปิดงานวันเกษตรอีสานใต้ประจำปี 2552 ที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กล่าวถึงมีองค์กรเอกชนเรียกร้องให้ย้ายนายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตรจากกรณีขึ้นทะเบียนพืชสมุนไพร 13 ชนิดเป็นพืชอันตรายประเภทที่ 1 นายธีระยืนยันยังไม่ทราบข้อเรียกร้องนี้ แต่การประกาศขึ้นทะเบียนพืชสมุนไพรเชื่อว่าเป็นเจตนาดี
จึงยังไม่คิดโยกย้าย เพราะเพิ่งมารับตำแหน่งได้เพียง 3 เดือน ส่วนประกาศฉบับที่เกิดปัญหา ก็ให้คณะกรรมการผู้จัดทำทบทวนการทำใหม่ โดยให้นโยบายว่าต่อไปนี้จะทำอะไรต้องรับฟังความเห็นของประชาชนก่อนด้วย
นายธีระยังกล่าวถึงการประท้วงของเกษตรกรกลุ่มต่างๆ ทั้งเกษตรผู้ปลูกข้าวโพด มันสำปะหลัง และโคนม เชื่อว่าปัญหาที่เกิดขึ้นจะลดลง เมื่อนโยบายช่วยเหลือของรัฐบาลที่ออกมาช่วยเหลือเกษตรกรทุกกลุ่มเดินหน้าได้อย่างเต็มที่ ส่วนปัญหาภัยแล้งเบื้องต้นได้รับรายงานมีพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้งทั้งประเทศรวม 19 จังหวัด ซึ่งกระทรวงได้วางมาตรการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนทั้งก่อนหน้าประสบภัย ระหว่างการประสบภัย และหลังประสบภัยแล้งแล้วซึ่งมาตรการต่างๆที่วางไว้จะช่วยบรรเทาปัญหาภัยแล้งในปีนี้ไม่ให้รุนแรงกว่าปีที่ผ่านมา
"ล่าสุดกระทรวงได้ตั้งศูนย์ทำฝนเทียมแล้ว 5 แห่ง และจะตั้งเพิ่มเติมอีก 3 แห่ง เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้งได้อย่างเพียงพอ ขณะนี้รอเพียงสภาพอากาศเหมาะสมหน่วยบินฝนหลวงก็พร้อมขึ้นบินทำฝนเทียมให้กับเกษตรกร เพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้งที่กำลังเกิดขึ้นได้ทันที"
นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ ซึ่งเป็นประธานเปิดงานวันเกษตรอีสานใต้ประจำปี 2552 ที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กล่าวถึงมีองค์กรเอกชนเรียกร้องให้ย้ายนายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตรจากกรณีขึ้นทะเบียนพืชสมุนไพร 13 ชนิดเป็นพืชอันตรายประเภทที่ 1 นายธีระยืนยันยังไม่ทราบข้อเรียกร้องนี้ แต่การประกาศขึ้นทะเบียนพืชสมุนไพรเชื่อว่าเป็นเจตนาดี
จึงยังไม่คิดโยกย้าย เพราะเพิ่งมารับตำแหน่งได้เพียง 3 เดือน ส่วนประกาศฉบับที่เกิดปัญหา ก็ให้คณะกรรมการผู้จัดทำทบทวนการทำใหม่ โดยให้นโยบายว่าต่อไปนี้จะทำอะไรต้องรับฟังความเห็นของประชาชนก่อนด้วย
นายธีระยังกล่าวถึงการประท้วงของเกษตรกรกลุ่มต่างๆ ทั้งเกษตรผู้ปลูกข้าวโพด มันสำปะหลัง และโคนม เชื่อว่าปัญหาที่เกิดขึ้นจะลดลง เมื่อนโยบายช่วยเหลือของรัฐบาลที่ออกมาช่วยเหลือเกษตรกรทุกกลุ่มเดินหน้าได้อย่างเต็มที่ ส่วนปัญหาภัยแล้งเบื้องต้นได้รับรายงานมีพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้งทั้งประเทศรวม 19 จังหวัด ซึ่งกระทรวงได้วางมาตรการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนทั้งก่อนหน้าประสบภัย ระหว่างการประสบภัย และหลังประสบภัยแล้งแล้วซึ่งมาตรการต่างๆที่วางไว้จะช่วยบรรเทาปัญหาภัยแล้งในปีนี้ไม่ให้รุนแรงกว่าปีที่ผ่านมา
"ล่าสุดกระทรวงได้ตั้งศูนย์ทำฝนเทียมแล้ว 5 แห่ง และจะตั้งเพิ่มเติมอีก 3 แห่ง เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้งได้อย่างเพียงพอ ขณะนี้รอเพียงสภาพอากาศเหมาะสมหน่วยบินฝนหลวงก็พร้อมขึ้นบินทำฝนเทียมให้กับเกษตรกร เพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้งที่กำลังเกิดขึ้นได้ทันที"