อุดรธานี- สสจ.อุดรฯ เผยรอบปี 51 พบผู้ป่วยไข้เลือดออกเฉียด 300 ราย เฉพาะเดือนกรกฎาคม ติดเชื้อถึง 57 ราย แนะประชาชนร่วมรณรงค์ ทำลายแหล่งเพาะลูกน้ำยุงลายในบ้านและชุมชนเป็นประจำทุกวันศุกร์
นายแพทย์ สัญชัย ปิยะพงษ์กุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี เปิดเผยว่า ปี 2551 ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก 297 ราย แต่ยังไม่มีรายงานการเสียชีวิต และในภาพรวมตลอดปีพบว่า เดือนที่มีสถิติผู้ป่วยสูงสุด คือ เดือนกรกฎาคม พบผู้ป่วย 57 ราย, สิงหาคม พบผู้ป่วย 47 ราย, มิถุนายน พบผู้ป่วย 41 ราย และ พฤษภาคม พบผู้ป่วย 40 ราย ที่น่าเป็นห่วงคือ จำนวนผู้ป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเกิดได้ตลอดปี ซึ่งเป็นการบ่งชี้ว่า โรคไข้เลือดออกอาจเกิดการระบาดขึ้นได้ หากไม่มีการควบคุมป้องกันที่ดีและต่อเนื่อง
โรคไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อไวรัส โดยมียุงลายเป็นพาหะนำเชื้อ ธรรมชาติของยุงลายชอบออกหากินตอนกลางวัน และเพาะพันธุ์ตามแหล่งน้ำนิ่งๆ ในตุ่มน้ำ กระป๋อง กะลา อาการผู้ป่วยไข้เลือดออก แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะไข้สูง, ระยะช็อกและมีเลือดออก และระยะฟื้นตัว ถ้าอาการไม่รุนแรงผู้ป่วยจะอาการดีขึ้นใน 3-4 วัน แต่หากผู้ป่วยมีอาการปวดท้อง กระสับกระส่าย ซึมมาก อาเจียนมาก หรืออาเจียนเป็นเลือด มีเลือดกำเดาไหล ถ่ายดำ
ผู้ป่วยที่มีอาการควรพบแพทย์หรือนำส่งโรงพยาบาลทันที อาการผู้ป่วยจะรุนแรงที่สุดในวันที่ไข้เริ่มลด เพราะผู้ป่วยอาจเข้าสู่ระยะช็อก และเสียชีวิตได้
ส่วนมาตรการควบคุมไข้เลือดออกสำหรับประชาชน คือ การกำจัดลูกน้ำยุงลายและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในบ้านและบริเวณรอบบ้าน อย่างต่อเนื่องสัปดาห์ละครั้ง เป็นประจำทุกวันศุกร์ เพื่อตัดวงจรชีวิตยุงลาย เพราะ 95% ของลูกน้ำในบ้าน เป็นลูกน้ำยุงลาย และระวังอย่าให้ยุงกัดในเวลากลางวัน
“การป้องกันไข้เลือดออก ที่ได้ผลดีและยั่งยืนต้องได้รับความมือจากทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐ เอกชน ครัวเรือน และ ชุมชน จึงจะประสบผลสำเร็จ ทุกวันศุกร์กำจัดลูกน้ำยุงลาย ฆาตกรตัวร้ายในบ้าน”
นายแพทย์ สัญชัย ปิยะพงษ์กุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี เปิดเผยว่า ปี 2551 ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก 297 ราย แต่ยังไม่มีรายงานการเสียชีวิต และในภาพรวมตลอดปีพบว่า เดือนที่มีสถิติผู้ป่วยสูงสุด คือ เดือนกรกฎาคม พบผู้ป่วย 57 ราย, สิงหาคม พบผู้ป่วย 47 ราย, มิถุนายน พบผู้ป่วย 41 ราย และ พฤษภาคม พบผู้ป่วย 40 ราย ที่น่าเป็นห่วงคือ จำนวนผู้ป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเกิดได้ตลอดปี ซึ่งเป็นการบ่งชี้ว่า โรคไข้เลือดออกอาจเกิดการระบาดขึ้นได้ หากไม่มีการควบคุมป้องกันที่ดีและต่อเนื่อง
โรคไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อไวรัส โดยมียุงลายเป็นพาหะนำเชื้อ ธรรมชาติของยุงลายชอบออกหากินตอนกลางวัน และเพาะพันธุ์ตามแหล่งน้ำนิ่งๆ ในตุ่มน้ำ กระป๋อง กะลา อาการผู้ป่วยไข้เลือดออก แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะไข้สูง, ระยะช็อกและมีเลือดออก และระยะฟื้นตัว ถ้าอาการไม่รุนแรงผู้ป่วยจะอาการดีขึ้นใน 3-4 วัน แต่หากผู้ป่วยมีอาการปวดท้อง กระสับกระส่าย ซึมมาก อาเจียนมาก หรืออาเจียนเป็นเลือด มีเลือดกำเดาไหล ถ่ายดำ
ผู้ป่วยที่มีอาการควรพบแพทย์หรือนำส่งโรงพยาบาลทันที อาการผู้ป่วยจะรุนแรงที่สุดในวันที่ไข้เริ่มลด เพราะผู้ป่วยอาจเข้าสู่ระยะช็อก และเสียชีวิตได้
ส่วนมาตรการควบคุมไข้เลือดออกสำหรับประชาชน คือ การกำจัดลูกน้ำยุงลายและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในบ้านและบริเวณรอบบ้าน อย่างต่อเนื่องสัปดาห์ละครั้ง เป็นประจำทุกวันศุกร์ เพื่อตัดวงจรชีวิตยุงลาย เพราะ 95% ของลูกน้ำในบ้าน เป็นลูกน้ำยุงลาย และระวังอย่าให้ยุงกัดในเวลากลางวัน
“การป้องกันไข้เลือดออก ที่ได้ผลดีและยั่งยืนต้องได้รับความมือจากทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐ เอกชน ครัวเรือน และ ชุมชน จึงจะประสบผลสำเร็จ ทุกวันศุกร์กำจัดลูกน้ำยุงลาย ฆาตกรตัวร้ายในบ้าน”