กาฬสินธุ์ - สสจ.กาฬสินธุ์ เผยพบผู้ป่วยในช่วงมรสุมฝนตกเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่ป่วยเป็นโรคท้องร่วง เหตุเกิดจากการรับประทานน้ำฝนที่ไม่สะอาด ขณะที่ในปีนี้ปัญหาโรคไข้เลือดออกเริ่มหน้าเป็นห่วง
จากการติดตามสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่า ในพื้นที่บ้านเรือนราษฎรอยู่ติดกับลำน้ำปาว ลำน้ำพาน และลำน้ำชี ใน 10 อำเภอ ซึ่งเป็นพื้นที่เฝ้าระวัง มิสเตอร์เตือนภัยยังคงทำหน้าที่ในการติดตามสถานการณ์อย่างเคร่งครัด หลังจากที่พบว่าในพื้นที่ อ.กมลไสย อ.ฆ้องชัยและอำเภอร่องคำที่อยู่ติดกับลำน้ำชี ได้เกิดน้ำเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่ทางการเกษตร กินเนื้อที่มากกว่า 1,500 ไร่ ทั้งยังพบว่ามีถนนเสียหายมากกว่า 300 เส้นทางทั้ง 18 อำเภอ แต่คาดว่าหากในช่วง 1 สัปดาห์ไม่เกินฝนตก พื้นที่น้ำท่วมนาข้าวก็จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
ด้าน นพ.พิสิทธิ์ เอื้อวงศ์กูล สาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวว่า ขณะนี้ทุกโรงพยาบาลชุมนุม 13 แห่งมีรายงานพบผู้ป่วยโรคท้องร่วง ที่เกิดจากปัญหาการบริโภคน้ำฝนที่ไม่สะอาด ที่ไม่ผ่านการต้มให้สุขจึงทำให้น้ำที่มีความเป็นกรดและด่าง ทำให้เกิดโรคท้องร่วง ซึ่งในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม มีผู้ป่วยมากถึง 2,860 ราย ในส่วนของโรคไข้เลือดออกก็มีแนวโน้มที่สูงขึ้น
ขณะนี้พบผู้ป่วยแล้วกว่า 200 ราย โดยส่วนใหญ่อยู่ที่อำเภอกุฉินารายณ์ จึงต้องการให้ประชาชนร่วมป้องกัน ด้วยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในทุกสัปดาห์
จากการติดตามสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่า ในพื้นที่บ้านเรือนราษฎรอยู่ติดกับลำน้ำปาว ลำน้ำพาน และลำน้ำชี ใน 10 อำเภอ ซึ่งเป็นพื้นที่เฝ้าระวัง มิสเตอร์เตือนภัยยังคงทำหน้าที่ในการติดตามสถานการณ์อย่างเคร่งครัด หลังจากที่พบว่าในพื้นที่ อ.กมลไสย อ.ฆ้องชัยและอำเภอร่องคำที่อยู่ติดกับลำน้ำชี ได้เกิดน้ำเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่ทางการเกษตร กินเนื้อที่มากกว่า 1,500 ไร่ ทั้งยังพบว่ามีถนนเสียหายมากกว่า 300 เส้นทางทั้ง 18 อำเภอ แต่คาดว่าหากในช่วง 1 สัปดาห์ไม่เกินฝนตก พื้นที่น้ำท่วมนาข้าวก็จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
ด้าน นพ.พิสิทธิ์ เอื้อวงศ์กูล สาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวว่า ขณะนี้ทุกโรงพยาบาลชุมนุม 13 แห่งมีรายงานพบผู้ป่วยโรคท้องร่วง ที่เกิดจากปัญหาการบริโภคน้ำฝนที่ไม่สะอาด ที่ไม่ผ่านการต้มให้สุขจึงทำให้น้ำที่มีความเป็นกรดและด่าง ทำให้เกิดโรคท้องร่วง ซึ่งในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม มีผู้ป่วยมากถึง 2,860 ราย ในส่วนของโรคไข้เลือดออกก็มีแนวโน้มที่สูงขึ้น
ขณะนี้พบผู้ป่วยแล้วกว่า 200 ราย โดยส่วนใหญ่อยู่ที่อำเภอกุฉินารายณ์ จึงต้องการให้ประชาชนร่วมป้องกัน ด้วยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในทุกสัปดาห์