เชียงใหม่ – สมาคมต่อต้านภาวะโลกร้อน นัดเครือข่าย สวล.เชียงใหม่ ตั้งโต๊ะถกด่วน 8 ม.ค.นี้ หลังพบปริมาณสารก่อมะเร็งคลุ้งในอากาศเหนือเมืองเชียงใหม่ สูงเกินมาตรฐาน เตรียมหาช่องผลักดันแนวทางป้องกัน-แก้ไขร่วมกันโดยเร็วที่สุด
นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน แจ้งต่อสื่อมวลชนว่า ปัญหามลพิษทางอากาศในเมืองเชียงใหม่ เป็นปัญหาหลักของวิกฤตสิ่งแวดล้อมเมือง โดยเฉพาะเรื่องฝุ่นละอองขนาดเล็กและหมอกควัน ที่มักเกิดในช่วงฤดูหน่าว-ร้อน ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอานายมัยและคุณภาพชีวิตประชาชน โดยมลพิษเหล่านี้เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคหอบ หืด รวมทั้งโรคมะเร็งปอด อีกทั้งมีการวิจัยพบสาร Polycyclic aromatic hydrocarbons, PAHS) ที่เป็นสารก่อมะเร็งที่รุนแรงในอนุภาคฝุ่นขนาดเล็กสูงถึง 74.2%
นอกจากนั้นยังพบว่าฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน มีความสัมพันธ์ชัดเจนกับระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ อาการแสบคอ เสียงแหบ หายใจลำบาก ไอแห้ง ๆ , อาการในระบบหัวใจ ได้แก่ ชีพจร(หัวใจ)เต้นเร็ว และระบบตา ได้แก่ ตาแดง น้ำตาไหล แสบหรือคันตา โดยฝุ่นที่มีมากขึ้นจะกระทบต่อสุขภาพใน 1-4 วันถัดมา และทุกๆ 1 ไมโครกรัม/ลบ.ม.ที่เพิ่มขึ้น ทำให้มีอาการเพิ่มขึ้น 0.12-0.76%
ล่าสุด เมื่อเดือนธันวาคม 2551 ที่ผ่านมา นักวิจัยสารก่อมะเร็งพบว่า รอบตัวเมืองเชียงใหม่ หลังเที่ยงคืนถึงตี 3 มีปริมาณฝุ่นขนาดเล็กสูงกว่าช่วงจราจรเร่งด่วน พบปริมาณสารก่อมะเร็งบนความสูงทั้ง 3 ระดับ (12 เมตร 52 เมตร และ 152 เมตร) สูงกว่าค่ามาตรฐาน
ดังนั้น ทางสมาคมฯโดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จะจัดให้มีการประชุมหารือกับภาคืเครือข่ายสิ่งแวดล้อมเมืองเชียงใหม่ทุกส่วน ในวันที่ 8 ม.ค.52 ที่จะถึงนี้ เพื่อร่วมกันผลักดันการป้องกันและแก้ไขปัญหา ทั้งการผลักดันเชิงนโยบาย กฎหมาย กิจกรรมการรณรงค์ เตือนภัยและเฝ้าระวัง ไม่ว่าจะเป็นระดับพื้นที่ ท้องถิ่น และระดับชาติ โดยใช้เครือข่ายสิ่งแวดล้อมเชียงใหม้เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนต่อไป
นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน แจ้งต่อสื่อมวลชนว่า ปัญหามลพิษทางอากาศในเมืองเชียงใหม่ เป็นปัญหาหลักของวิกฤตสิ่งแวดล้อมเมือง โดยเฉพาะเรื่องฝุ่นละอองขนาดเล็กและหมอกควัน ที่มักเกิดในช่วงฤดูหน่าว-ร้อน ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอานายมัยและคุณภาพชีวิตประชาชน โดยมลพิษเหล่านี้เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคหอบ หืด รวมทั้งโรคมะเร็งปอด อีกทั้งมีการวิจัยพบสาร Polycyclic aromatic hydrocarbons, PAHS) ที่เป็นสารก่อมะเร็งที่รุนแรงในอนุภาคฝุ่นขนาดเล็กสูงถึง 74.2%
นอกจากนั้นยังพบว่าฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน มีความสัมพันธ์ชัดเจนกับระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ อาการแสบคอ เสียงแหบ หายใจลำบาก ไอแห้ง ๆ , อาการในระบบหัวใจ ได้แก่ ชีพจร(หัวใจ)เต้นเร็ว และระบบตา ได้แก่ ตาแดง น้ำตาไหล แสบหรือคันตา โดยฝุ่นที่มีมากขึ้นจะกระทบต่อสุขภาพใน 1-4 วันถัดมา และทุกๆ 1 ไมโครกรัม/ลบ.ม.ที่เพิ่มขึ้น ทำให้มีอาการเพิ่มขึ้น 0.12-0.76%
ล่าสุด เมื่อเดือนธันวาคม 2551 ที่ผ่านมา นักวิจัยสารก่อมะเร็งพบว่า รอบตัวเมืองเชียงใหม่ หลังเที่ยงคืนถึงตี 3 มีปริมาณฝุ่นขนาดเล็กสูงกว่าช่วงจราจรเร่งด่วน พบปริมาณสารก่อมะเร็งบนความสูงทั้ง 3 ระดับ (12 เมตร 52 เมตร และ 152 เมตร) สูงกว่าค่ามาตรฐาน
ดังนั้น ทางสมาคมฯโดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จะจัดให้มีการประชุมหารือกับภาคืเครือข่ายสิ่งแวดล้อมเมืองเชียงใหม่ทุกส่วน ในวันที่ 8 ม.ค.52 ที่จะถึงนี้ เพื่อร่วมกันผลักดันการป้องกันและแก้ไขปัญหา ทั้งการผลักดันเชิงนโยบาย กฎหมาย กิจกรรมการรณรงค์ เตือนภัยและเฝ้าระวัง ไม่ว่าจะเป็นระดับพื้นที่ ท้องถิ่น และระดับชาติ โดยใช้เครือข่ายสิ่งแวดล้อมเชียงใหม้เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนต่อไป