น่าน - จังหวัดน่าน ประชุมแผนยุทธศาสตร์ทางเลือกอาชีพการเกษตรให้กับเกษตรในจังหวัด ล่าสุด เสนอแผนลดพื้นที่การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลงเพราะมีปัญหาให้หันมาเน้นการปลูกยางพาราแทน
นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน ร่วมกับคณะกรรมการดำเนินงานยุทธศาสตร์ทางเลือกอาชีพการเกษตรจังหวัดน่าน ได้มีข้อยุติถึงแนวทางการพัฒนาการเกษตรของจังหวัดน่าน ว่า จำเป็นต้องลดพื้นที่การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เนื่องจากว่าปัจจุบันการเพาะปลูกข้าวโพด ได้ส่งผลกระทบต่อปัญหาการบุกรุกทำลายป่า และปัญหาการเอารัดเอาเปรียบด้วยระบบการจำหน่ายเมล็ดข้าวโพด ซึ่งเกษตรกรควรหันมาปลูกพืชทดแทนที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และมีโอกาสที่จะได้รับผลกระทบจากปัญหาการตลาดน้อยลง เช่น การปลูกยางพารา ชา กาแฟ หม่อนไหม และการปลูกข้าวนาดำแบบขั้นบันได เป็นต้น โดยเฉพาะยางพารา
โดยขณะนี้สถานการณ์ในประเทศไทยปี 2550 เป็นสินค้าที่ส่งออกเป็นอันดับ 4 มีมูลค่าถึง 190,000 บาทเศษ รองจากเครื่องคอมพิวเตอร์ รถยนต์ และแผงวงจรไฟฟ้า นอกจากนั้นยางพารา ยังเป็นพืชที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันกระจายอยู่ทุกภูมิภาค พื้นที่ปลูกส่วนใหญ่อยู่ภาคใต้ประมาณ 11 ล้านไร่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 ล้านไร่ ภาคตะวันออกและภาคกลาง 1 ล้านไร่ ส่วนภาคเหนือมีประมาณ 3 แสนไร่
สำหรับจังหวัดน่าน มีพื้นที่ปลูกยางพารา รวม 45,722 ไร่ พื้นที่ที่ให้ผลผลิตหรือเก็บเกี่ยวได้แล้วมีจำนวน 992 ไร่ ผลผลิตยางรวม 299.4 ตัน และจะมีพื้นที่กรีดยางได้เพิ่มทุกปี เนื่องจากมีการขยายการปลูกยางพาราต่อเนื่อง การเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมชนิดยางพาราทั้งจังหวัดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีการเจริญเติบโตดีและรวดเร็ว
โดยในปี 2550 จังหวัดน่านมีมูลค่าเพิ่มถึง 23 ล้านบาท เปรียบเทียบกับปี 2546 มีมูลค่าเพิ่มยางพาราเพียง 7 แสนบาท ส่วนพื้นที่ปลูกขณะนี้กระจายไปยังอำเภอต่างๆตามลำดับ ได้แก่ อำเภอเมือง ภูเพียง นาน้อย แม่จริม และเวียงสา พื้นที่ปลูกและกรีดยางที่สำคัญและให้ผลผลิตน้ำยางแล้ว คือ การปลูกของบ้านห้วยส้ม อำเภอนาน้อย ซึ่งมีผลผลิตเกือบทุกหลังคาเรือน และหมู่บ้านเหล่านี้ได้ปลูกยางพาราเพื่อทดแทนอาชีพการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน ร่วมกับคณะกรรมการดำเนินงานยุทธศาสตร์ทางเลือกอาชีพการเกษตรจังหวัดน่าน ได้มีข้อยุติถึงแนวทางการพัฒนาการเกษตรของจังหวัดน่าน ว่า จำเป็นต้องลดพื้นที่การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เนื่องจากว่าปัจจุบันการเพาะปลูกข้าวโพด ได้ส่งผลกระทบต่อปัญหาการบุกรุกทำลายป่า และปัญหาการเอารัดเอาเปรียบด้วยระบบการจำหน่ายเมล็ดข้าวโพด ซึ่งเกษตรกรควรหันมาปลูกพืชทดแทนที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และมีโอกาสที่จะได้รับผลกระทบจากปัญหาการตลาดน้อยลง เช่น การปลูกยางพารา ชา กาแฟ หม่อนไหม และการปลูกข้าวนาดำแบบขั้นบันได เป็นต้น โดยเฉพาะยางพารา
โดยขณะนี้สถานการณ์ในประเทศไทยปี 2550 เป็นสินค้าที่ส่งออกเป็นอันดับ 4 มีมูลค่าถึง 190,000 บาทเศษ รองจากเครื่องคอมพิวเตอร์ รถยนต์ และแผงวงจรไฟฟ้า นอกจากนั้นยางพารา ยังเป็นพืชที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันกระจายอยู่ทุกภูมิภาค พื้นที่ปลูกส่วนใหญ่อยู่ภาคใต้ประมาณ 11 ล้านไร่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 ล้านไร่ ภาคตะวันออกและภาคกลาง 1 ล้านไร่ ส่วนภาคเหนือมีประมาณ 3 แสนไร่
สำหรับจังหวัดน่าน มีพื้นที่ปลูกยางพารา รวม 45,722 ไร่ พื้นที่ที่ให้ผลผลิตหรือเก็บเกี่ยวได้แล้วมีจำนวน 992 ไร่ ผลผลิตยางรวม 299.4 ตัน และจะมีพื้นที่กรีดยางได้เพิ่มทุกปี เนื่องจากมีการขยายการปลูกยางพาราต่อเนื่อง การเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมชนิดยางพาราทั้งจังหวัดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีการเจริญเติบโตดีและรวดเร็ว
โดยในปี 2550 จังหวัดน่านมีมูลค่าเพิ่มถึง 23 ล้านบาท เปรียบเทียบกับปี 2546 มีมูลค่าเพิ่มยางพาราเพียง 7 แสนบาท ส่วนพื้นที่ปลูกขณะนี้กระจายไปยังอำเภอต่างๆตามลำดับ ได้แก่ อำเภอเมือง ภูเพียง นาน้อย แม่จริม และเวียงสา พื้นที่ปลูกและกรีดยางที่สำคัญและให้ผลผลิตน้ำยางแล้ว คือ การปลูกของบ้านห้วยส้ม อำเภอนาน้อย ซึ่งมีผลผลิตเกือบทุกหลังคาเรือน และหมู่บ้านเหล่านี้ได้ปลูกยางพาราเพื่อทดแทนอาชีพการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์