xs
xsm
sm
md
lg

ยูเนสโกยก “วัดปงสนุก” แหล่งอนุรักษ์วัฒนธรรมเอเชียแปซิฟิก

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ลำปาง – ยูเนสโก มอบรางวัล “Award of Merit” ประจำปี 51 ให้วัดปงสนุก ของลำปาง ชูการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เผยเป็นวัดแรกของไทยที่ได้รางวัล

ดร.ริชาร์ด อิงเกิลฮาร์ท ที่ปรึกษาอาวุโสในผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ด้านวัฒนธรรมประจำองค์การยูเนสโก ได้เดินทางมาถวายรางวัลดี (Award of Merit) ด้านการอนุรักษ์มรดกทางด้านวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก แห่งองค์การยูเนสโก ประจำปี 2551 แก่พระครูโสภิตขันตยาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดปงสนุกด้านเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง โดยมี นายอมรพันธุ์ นิมานันท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง, นายนิมิตร จิวะสันติการ นายกเทศมนตรีนครลำปาง กล่าวต้อนรับและกล่าวแสดงความยินดี แทนประชาชนชาวลำปางทุกคน

สำหรับรางวัล Award of Merit ที่วัดปงสนุก ได้รับในครั้งนี้ ถือเป็นวัดแรกของประเทศไทย ที่ได้รับรางวัลด้านการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม จากองค์การยูเนสโก จากที่มีประเทศต่างๆ รวม 13 ประเทศ ในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ส่งโครงการเข้าร่วมประกวด รวม 45 โครงการ ซึ่งจากการตัดสินผู้ที่ได้รับรางวัลดีมี 3 รางวัล คือ Vysial Street (เมืองพอนดิเซอร์รี่ ประเทศอินเดีย) Shigar Historic Settlements and Bazaar Area (เขตทางเหนือ ประเทศปากีสถาน) และ วัดปงสนุก (เมืองลำปาง ประเทศไทย)

สำหรับการจัดทำโครงการดังกล่าวขององค์การยูเนสโก มีวัตถุประสงค์เพื่อยกย่องบุคคลและองค์กรภาคเอกชน หรือโครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ในการบูรณปฏิสังขรณ์อาคารและสิ่งก่อสร้างที่เป็นมรดกอันทรงคุณค่าในภูมิภาค

ทั้งนี้ ประเทศไทย ได้ส่งโครงการอนุรักษ์เข้าร่วมประกวดรางวัล มาอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากโครงการอนุรักษ์วัดปงสนุก แล้ว โครงการอนุรักษ์อื่นๆ ในประเทศไทย 5 โครงการ ก็เคยได้รับรางวัลจาก ยูเนสโก มาก่อนหน้านี้แล้ว คือ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้รับรางวัล Honourable Mention ปี พ.ศ.2551, โครงการอนุรักษ์ชุมชนอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ได้รับรางวัล Honourable Mention ปี พ.ศ.2548, โครงการอนุรักษ์พระราชวังเดิม กทม.ได้รับรางวัล Award of Merit ปี พ.ศ.2547 และรางวัลการอนุรักษ์วัดสระทอง จังหวัดขอนแก่น ได้รับรางวัล Award of Merit ปี พ.ศ.2545

อนึ่งในวารสารเมืองโบราณ ฉบับประจำเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2551 ได้ระบุถึงโครงการอนุรักษ์วิหารพระเจ้าพันองค์ วัดปงสนุก จังหวัดลำปาง ว่า เริ่มต้นจากความต้องการของชุมชนเล็กๆ แห่งหนึ่งในจังหวัดลำปาง โดยใช้กระบวนคิดในการทำงานร่วมกันระหว่างชุมชนท้องถิ่น เอกชน ศิลปิน และนักวิชาการ เริ่มจากการศึกษาวิจัยทางกายภาพและประวัติศาสตร์ชุมชนเกี่ยวกับวิหารพระเจ้าพันองค์ วิหารโถงทรงมณฑปจตุรมุขแห่งสำคัญที่เคยประดับพระพิมพ์เนื้อชินกว่าหนึ่งพันองค์รอบตัววิหาร

วัดปงสนุก ตั้งอยู่ในเขตตัวเมืองลำปาง สันนิษฐานว่า สร้างในสมัยเจ้าอนันตยศ ราชบุตรของพระนางจามเทวีแห่งหริภุญไชย ครั้งที่พระองค์เสด็จมาสร้างเขลางค์นครเมื่อ พ.ศ.1223 เดิมชื่อวัดเชียงภูมิ หรือวัดพะยาว มีประวัติว่าหมื่นโลกนครผู้รักษาเมืองเขลางค์เคยใช้เป็นที่ตั้งรับทัพอยุธยาที่ยกขึ้นมาตีล้านนาครั้งแรกในปี พ.ศ.1929

สิ่งสำคัญที่ยืนยันความสำคัญของวัด คือ “ม่อนดอย” เนินเขาพระสุเมรุจำลอง ศูนย์กลางแห่งจักรวาล ชาวบ้านเรียกว่า วัดบน อันเป็นที่ตั้งของวิหารพระเจ้าพันองค์ สร้างด้วยไม้ในลักษณะมณฑปหลังคาซ้อนสามชั้น บนสันหลังคาเหนือมุขทั้งสี่สร้างปราสาทไม้จำลองขนาดเล็กหุ้มด้วยสังกะสีฉลุลาย สื่อความหมายถึงทวีปทั้งสี่รอบเขาพระสุเมรุ

บริเวณชั้นระหว่างหลังคางดงามด้วยงานแกะสลักรูปกินนร สัตว์หิมพานต์ครึ่งคนครึ่งนก แต่งกายแบบราชสำนักพม่า และนกยูง สัญลักษณ์ของกษัตริย์ ประดับช่องหน้าต่างด้วยลายฉลุรูปม้า วัว สิงห์ สัตว์ประจำทิศในพุทธศาสนา รวมถึงนรสิงห์เทินหม้อปูรณฆฏะ สัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ ขนาบด้วยภาพชาดกเขียนสีบนพื้นไม้ใส่กรอบกระจก แสดงเรื่องการบำเพ็ญเพียรของพระพุทธเจ้า

ลักษณะตัวอาคารผสมผสานระหว่างศิลปกรรมล้านนา พม่า และจีน ที่หลงเหลือเพียงอยู่แห่งเดียวในประเทศไทย ทั้งยังมีความเชื่อสืบกันมาว่า วิหารหลังนี้สร้างโดยช่างเชียงแสน เลียนแบบหอคำเมืองเชียงเกี๋ยง (เชียงเจิ๋ง) ในสิบสองปันนา ประเทศจีน ซึ่งไม่หลงเหลืออยู่แล้วในปัจจุบัน วิหารหลังนี้จึงเปรียบเสมือนสายสัมพันธ์ทางศิลปกรรม กับสิบสองปันนาเท่าที่เหลืออยู่

วิหารหลังนี้เคยมุงหลังคาด้วยโลหะเช่นเดียวกับอาคารโบราณหลายแห่งในล้านนา ซึ่งนิยมมาตั้งแต่พ.ศ. 2000 ตัวอาคารเกือบทั้งหลังประดับด้วยกระจกจืน หรือกระจกตะกั่ว เสากลมภายในวิหารก็เคยลงรักปิดทองก่อนจะทาสีทับภายหลัง ทั้งยังมีการต่อเติมมุขทั้งสี่ของอาคารหลังเดิมออกมา ทำให้งดงามแปลกตาจนเป็นต้นแบบให้กับการสร้างงานสถาปัตยกรรมในสมัยหลัง


ลำปาง – ยูเนสโก มอบรางวัล “Award of Merit” ประจำปี 51 ให้วัดปงสนุก ของลำปาง ชูการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เผยเป็นวัดแรกของไทยที่ได้รางวัล

ดร.ริชาร์ด อิงเกิลฮาร์ท ที่ปรึกษาอาวุโสในผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ด้านวัฒนธรรมประจำองค์การยูเนสโก ได้เดินทางมาถวายรางวัลดี (Award of Merit) ด้านการอนุรักษ์มรดกทางด้านวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก แห่งองค์การยูเนสโก ประจำปี 2551 แก่พระครูโสภิตขันตยาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดปงสนุกด้านเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง โดยมี นายอมรพันธุ์ นิมานันท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง, นายนิมิตร จิวะสันติการ นายกเทศมนตรีนครลำปาง กล่าวต้อนรับและกล่าวแสดงความยินดี แทนประชาชนชาวลำปางทุกคน

สำหรับรางวัล Award of Merit ที่วัดปงสนุก ได้รับในครั้งนี้ ถือเป็นวัดแรกของประเทศไทย ที่ได้รับรางวัลด้านการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม จากองค์การยูเนสโก จากที่มีประเทศต่างๆ รวม 13 ประเทศ ในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ส่งโครงการเข้าร่วมประกวด รวม 45 โครงการ ซึ่งจากการตัดสินผู้ที่ได้รับรางวัลดีมี 3 รางวัล คือ Vysial Street (เมืองพอนดิเซอร์รี่ ประเทศอินเดีย) Shigar Historic Settlements and Bazaar Area (เขตทางเหนือ ประเทศปากีสถาน) และ วัดปงสนุก (เมืองลำปาง ประเทศไทย)

สำหรับการจัดทำโครงการดังกล่าวขององค์การยูเนสโก มีวัตถุประสงค์เพื่อยกย่องบุคคลและองค์กรภาคเอกชน หรือโครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ในการบูรณปฏิสังขรณ์อาคารและสิ่งก่อสร้างที่เป็นมรดกอันทรงคุณค่าในภูมิภาค

ทั้งนี้ ประเทศไทย ได้ส่งโครงการอนุรักษ์เข้าร่วมประกวดรางวัล มาอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากโครงการอนุรักษ์วัดปงสนุก แล้ว โครงการอนุรักษ์อื่นๆ ในประเทศไทย 5 โครงการ ก็เคยได้รับรางวัลจาก ยูเนสโก มาก่อนหน้านี้แล้ว คือ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้รับรางวัล Honourable Mention ปี พ.ศ.2551, โครงการอนุรักษ์ชุมชนอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ได้รับรางวัล Honourable Mention ปี พ.ศ.2548, โครงการอนุรักษ์พระราชวังเดิม กทม.ได้รับรางวัล Award of Merit ปี พ.ศ.2547 และรางวัลการอนุรักษ์วัดสระทอง จังหวัดขอนแก่น ได้รับรางวัล Award of Merit ปี พ.ศ.2545

อนึ่งในวารสารเมืองโบราณ ฉบับประจำเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2551 ได้ระบุถึงโครงการอนุรักษ์วิหารพระเจ้าพันองค์ วัดปงสนุก จังหวัดลำปาง ว่า เริ่มต้นจากความต้องการของชุมชนเล็กๆ แห่งหนึ่งในจังหวัดลำปาง โดยใช้กระบวนคิดในการทำงานร่วมกันระหว่างชุมชนท้องถิ่น เอกชน ศิลปิน และนักวิชาการ เริ่มจากการศึกษาวิจัยทางกายภาพและประวัติศาสตร์ชุมชนเกี่ยวกับวิหารพระเจ้าพันองค์ วิหารโถงทรงมณฑปจตุรมุขแห่งสำคัญที่เคยประดับพระพิมพ์เนื้อชินกว่าหนึ่งพันองค์รอบตัววิหาร

วัดปงสนุก ตั้งอยู่ในเขตตัวเมืองลำปาง สันนิษฐานว่า สร้างในสมัยเจ้าอนันตยศ ราชบุตรของพระนางจามเทวีแห่งหริภุญไชย ครั้งที่พระองค์เสด็จมาสร้างเขลางค์นครเมื่อ พ.ศ.1223 เดิมชื่อวัดเชียงภูมิ หรือวัดพะยาว มีประวัติว่าหมื่นโลกนครผู้รักษาเมืองเขลางค์เคยใช้เป็นที่ตั้งรับทัพอยุธยาที่ยกขึ้นมาตีล้านนาครั้งแรกในปี พ.ศ.1929

สิ่งสำคัญที่ยืนยันความสำคัญของวัด คือ “ม่อนดอย” เนินเขาพระสุเมรุจำลอง ศูนย์กลางแห่งจักรวาล ชาวบ้านเรียกว่า วัดบน อันเป็นที่ตั้งของวิหารพระเจ้าพันองค์ สร้างด้วยไม้ในลักษณะมณฑปหลังคาซ้อนสามชั้น บนสันหลังคาเหนือมุขทั้งสี่สร้างปราสาทไม้จำลองขนาดเล็กหุ้มด้วยสังกะสีฉลุลาย สื่อความหมายถึงทวีปทั้งสี่รอบเขาพระสุเมรุ

บริเวณชั้นระหว่างหลังคางดงามด้วยงานแกะสลักรูปกินนร สัตว์หิมพานต์ครึ่งคนครึ่งนก แต่งกายแบบราชสำนักพม่า และนกยูง สัญลักษณ์ของกษัตริย์ ประดับช่องหน้าต่างด้วยลายฉลุรูปม้า วัว สิงห์ สัตว์ประจำทิศในพุทธศาสนา รวมถึงนรสิงห์เทินหม้อปูรณฆฏะ สัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ ขนาบด้วยภาพชาดกเขียนสีบนพื้นไม้ใส่กรอบกระจก แสดงเรื่องการบำเพ็ญเพียรของพระพุทธเจ้า

ลักษณะตัวอาคารผสมผสานระหว่างศิลปกรรมล้านนา พม่า และจีน ที่หลงเหลือเพียงอยู่แห่งเดียวในประเทศไทย ทั้งยังมีความเชื่อสืบกันมาว่า วิหารหลังนี้สร้างโดยช่างเชียงแสน เลียนแบบหอคำเมืองเชียงเกี๋ยง (เชียงเจิ๋ง) ในสิบสองปันนา ประเทศจีน ซึ่งไม่หลงเหลืออยู่แล้วในปัจจุบัน วิหารหลังนี้จึงเปรียบเสมือนสายสัมพันธ์ทางศิลปกรรม กับสิบสองปันนาเท่าที่เหลืออยู่

วิหารหลังนี้เคยมุงหลังคาด้วยโลหะเช่นเดียวกับอาคารโบราณหลายแห่งในล้านนา ซึ่งนิยมมาตั้งแต่พ.ศ. 2000 ตัวอาคารเกือบทั้งหลังประดับด้วยกระจกจืน หรือกระจกตะกั่ว เสากลมภายในวิหารก็เคยลงรักปิดทองก่อนจะทาสีทับภายหลัง ทั้งยังมีการต่อเติมมุขทั้งสี่ของอาคารหลังเดิมออกมา ทำให้งดงามแปลกตาจนเป็นต้นแบบให้กับการสร้างงานสถาปัตยกรรมในสมัยหลัง








กำลังโหลดความคิดเห็น