ศูนย์ข่าวศรีราชา – ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ ชลบุรี เตือนประชาชนที่ซื้อยาแผนโบราณ ที่จำหน่ายตามแผงลอยตลาดนัดหรือร้านค้าทั่วไป พบมีการใส่สเตียรอยด์
นางสาววรนัตร พิรุณรักษ์ นักเทคนิคการแพทย์ 8 วช รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ ชลบุรี กล่าวว่า จากการติดตามสถานการณ์การปลอมปนในยาแผนโบราณอย่างต่อเนื่อง ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ชลบุรี ได้จัดทำโครงการเพื่อประเมินความเสี่ยงของการบริโภคยาแผนโบราณของประชาชน ที่อาจได้รับยาแผนปัจจุบันผสมอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาจำพวกสเตียรอยด์โดยไม่รู้ตัว
นับได้ว่าเป็นปัญหาหนึ่งที่สำคัญในด้านการคุ้มครองผู้บริโภค สเตียรอยด์จัดเป็นยาควบคุมพิเศษ ทำให้เกิดผลข้างเคียงสูง อาจทำให้เกิดอาการบวมน้ำ หน้าบวม กระเพาะอาหารทะลุ ความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อไม่มีแรง และหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือหยุดเต้นได้
นโยบายที่ผ่านมาศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ชลบุรี มีแนวทางร่วมดำเนินการกับสาธารณสุขจังหวัดต่างๆในเขตภาคตะวันออก เพื่อลดและ ขจัดปัญหาที่เกิดขึ้นตลอดมา แต่จากข้อมูลที่ศูนย์ฯได้รับในการดำเนินการตรวจวิเคราะห์ในระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ.2547-2550) พบว่าปัญหาดังกล่าวยังไม่ลดลง ซึ่งอาจเป็นผลมาจากกระแสความนิยม ในการบริโภคยาแผนโบราณและผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อส่งเสริมสุขภาพ รวมทั้งมีการรักษาโรคด้วยแพทย์ทางเลือกทำให้มีการใช้ยาแผนโบราณและสมุนไพรเพิ่มมากขึ้น
โครงการประเมินความเสี่ยงของยาแผนปัจจุบัน ในยาแผนโบราณในเขตภาคตะวันออก ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ชลบุรีจัดทำขึ้นในปีงบประมาณ 2551 ได้ดำเนินการเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ในท้องตลาดของจังหวัด ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด สระแก้ว ปราจีนบุรี นครนายก ฉะเชิงเทรา และสมุทรปราการ เพื่อทำการตรวจวิเคราะห์ ตั้งแต่ตุลาคม 2550-กรกฎาคม 2551 จำนวน 72 ตัวอย่าง
แบ่งเป็นตัวอย่างที่จำหน่ายในร้านขายยา 12 ตัวอย่าง (มีทะเบียนยา 2 ตัวอย่างและ ไม่มีทะเบียนยา 10 ตัวอย่าง) ตัวอย่างจากตลาดนัดแผงลอยและร้านค้าทั่วไป 16 ตัวอย่าง(ไม่มีทะเบียนยา)และเป็นตัวอย่าง ที่ส่งตรวจจากประชาชนโดยไม่ทราบแหล่งผลิต/จำหน่าย 45 ตัวอย่าง (ไม่มีทะเบียนยา)
ผลการตรวจวิเคราะห์พบว่า ทุกตัวอย่างที่ได้จากร้านขายยาทั้งชนิดที่มีทะเบียนยาและไม่มีทะเบียนยา ไม่พบสเตียรอยด์ หรือยาแผนปัจจุบันชนิดอื่นผสมอยู่เลย ขณะที่ตัวอย่างที่เก็บจากแผงลอยตลาดนัดหรือร้านค้าทั่วไป พบว่า มีการใส่สเตียรอยด์และยาแผนปัจจุบันอื่น จำนวน 2 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 12.5 ของตัวอย่างในกลุ่มนี้
สำหรับตัวอย่างที่ผู้บริโภคส่งตรวจเอง โดยไม่ทราบแหล่งผลิต/จำหน่าย ตรวจพบสเตียรอยด์และยาแผนปัจจุบันอื่น จำนวน 12 ตัวอย่างหรือคิดเป็นร้อยละ 26.7 ของตัวอย่างในกลุ่ม ยาที่ตรวจพบมากตามลำดับได้แก่ Dexamethasone ซึ่งผสมร่วมกับ Diazepam หรือ Chlorpheniramine หรือ Prednisolone ประมาณร้อยละ 50 ของตัวอย่างที่ตรวจพบทั้งหมด และ Dexamethasone เพียงชนิดเดียวร้อยละ 43 นอกจากนี้ยังมียาผสมมากกว่า 2 ชนิด เช่น Dexamethasone Prednisolone และ Chlorpheniramine ร้อยละ 7
ข้อมูลจากการตรวจวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่า การบริโภคยาแผนโบราณที่ไม่ทราบแหล่งผลิต/จำหน่ายที่แน่ชัด โดยเฉพาะเป็นการฝากซื้อจากเพื่อน/คนรู้จัก ในลักษณะบอกต่อ มีแนวโน้มที่จะได้รับยาแผนโบราณที่ไม่ปลอดภัยสูง เมื่อเปรียบเทียบกับการซื้อยาจากร้านขายยาหรือสถานที่ผลิตโดยตรงแม้ว่ายา อาจไม่มีเลขทะเบียนยาก็ตาม
ข้อมูลจากแบบสอบถามที่ส่งไปยังโรงพยาบาลและสาธารณสุขจังหวัด เพื่อสำรวจพฤติกรรมการใช้ยาแผนโบราณพบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ทราบถึงอันตราย ที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากการบริโภคยาแผนโบราณที่มีสเตียรอยด์ผสม แต่กว่าร้อยละ 62 ของผู้บริโภคในกลุ่มนี้ก็ยังคงใช้ยาดังกล่าวอยู่
ข้อมูลที่ได้รับทำให้ทราบถึงทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภค สามารถนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดให้มีการรณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เพื่อลดการบริโภคยาแผนโบราณที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายต่อไป
นางสาววรนัตร พิรุณรักษ์ นักเทคนิคการแพทย์ 8 วช รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ ชลบุรี กล่าวว่า จากการติดตามสถานการณ์การปลอมปนในยาแผนโบราณอย่างต่อเนื่อง ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ชลบุรี ได้จัดทำโครงการเพื่อประเมินความเสี่ยงของการบริโภคยาแผนโบราณของประชาชน ที่อาจได้รับยาแผนปัจจุบันผสมอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาจำพวกสเตียรอยด์โดยไม่รู้ตัว
นับได้ว่าเป็นปัญหาหนึ่งที่สำคัญในด้านการคุ้มครองผู้บริโภค สเตียรอยด์จัดเป็นยาควบคุมพิเศษ ทำให้เกิดผลข้างเคียงสูง อาจทำให้เกิดอาการบวมน้ำ หน้าบวม กระเพาะอาหารทะลุ ความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อไม่มีแรง และหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือหยุดเต้นได้
นโยบายที่ผ่านมาศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ชลบุรี มีแนวทางร่วมดำเนินการกับสาธารณสุขจังหวัดต่างๆในเขตภาคตะวันออก เพื่อลดและ ขจัดปัญหาที่เกิดขึ้นตลอดมา แต่จากข้อมูลที่ศูนย์ฯได้รับในการดำเนินการตรวจวิเคราะห์ในระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ.2547-2550) พบว่าปัญหาดังกล่าวยังไม่ลดลง ซึ่งอาจเป็นผลมาจากกระแสความนิยม ในการบริโภคยาแผนโบราณและผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อส่งเสริมสุขภาพ รวมทั้งมีการรักษาโรคด้วยแพทย์ทางเลือกทำให้มีการใช้ยาแผนโบราณและสมุนไพรเพิ่มมากขึ้น
โครงการประเมินความเสี่ยงของยาแผนปัจจุบัน ในยาแผนโบราณในเขตภาคตะวันออก ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ชลบุรีจัดทำขึ้นในปีงบประมาณ 2551 ได้ดำเนินการเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ในท้องตลาดของจังหวัด ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด สระแก้ว ปราจีนบุรี นครนายก ฉะเชิงเทรา และสมุทรปราการ เพื่อทำการตรวจวิเคราะห์ ตั้งแต่ตุลาคม 2550-กรกฎาคม 2551 จำนวน 72 ตัวอย่าง
แบ่งเป็นตัวอย่างที่จำหน่ายในร้านขายยา 12 ตัวอย่าง (มีทะเบียนยา 2 ตัวอย่างและ ไม่มีทะเบียนยา 10 ตัวอย่าง) ตัวอย่างจากตลาดนัดแผงลอยและร้านค้าทั่วไป 16 ตัวอย่าง(ไม่มีทะเบียนยา)และเป็นตัวอย่าง ที่ส่งตรวจจากประชาชนโดยไม่ทราบแหล่งผลิต/จำหน่าย 45 ตัวอย่าง (ไม่มีทะเบียนยา)
ผลการตรวจวิเคราะห์พบว่า ทุกตัวอย่างที่ได้จากร้านขายยาทั้งชนิดที่มีทะเบียนยาและไม่มีทะเบียนยา ไม่พบสเตียรอยด์ หรือยาแผนปัจจุบันชนิดอื่นผสมอยู่เลย ขณะที่ตัวอย่างที่เก็บจากแผงลอยตลาดนัดหรือร้านค้าทั่วไป พบว่า มีการใส่สเตียรอยด์และยาแผนปัจจุบันอื่น จำนวน 2 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 12.5 ของตัวอย่างในกลุ่มนี้
สำหรับตัวอย่างที่ผู้บริโภคส่งตรวจเอง โดยไม่ทราบแหล่งผลิต/จำหน่าย ตรวจพบสเตียรอยด์และยาแผนปัจจุบันอื่น จำนวน 12 ตัวอย่างหรือคิดเป็นร้อยละ 26.7 ของตัวอย่างในกลุ่ม ยาที่ตรวจพบมากตามลำดับได้แก่ Dexamethasone ซึ่งผสมร่วมกับ Diazepam หรือ Chlorpheniramine หรือ Prednisolone ประมาณร้อยละ 50 ของตัวอย่างที่ตรวจพบทั้งหมด และ Dexamethasone เพียงชนิดเดียวร้อยละ 43 นอกจากนี้ยังมียาผสมมากกว่า 2 ชนิด เช่น Dexamethasone Prednisolone และ Chlorpheniramine ร้อยละ 7
ข้อมูลจากการตรวจวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่า การบริโภคยาแผนโบราณที่ไม่ทราบแหล่งผลิต/จำหน่ายที่แน่ชัด โดยเฉพาะเป็นการฝากซื้อจากเพื่อน/คนรู้จัก ในลักษณะบอกต่อ มีแนวโน้มที่จะได้รับยาแผนโบราณที่ไม่ปลอดภัยสูง เมื่อเปรียบเทียบกับการซื้อยาจากร้านขายยาหรือสถานที่ผลิตโดยตรงแม้ว่ายา อาจไม่มีเลขทะเบียนยาก็ตาม
ข้อมูลจากแบบสอบถามที่ส่งไปยังโรงพยาบาลและสาธารณสุขจังหวัด เพื่อสำรวจพฤติกรรมการใช้ยาแผนโบราณพบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ทราบถึงอันตราย ที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากการบริโภคยาแผนโบราณที่มีสเตียรอยด์ผสม แต่กว่าร้อยละ 62 ของผู้บริโภคในกลุ่มนี้ก็ยังคงใช้ยาดังกล่าวอยู่
ข้อมูลที่ได้รับทำให้ทราบถึงทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภค สามารถนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดให้มีการรณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เพื่อลดการบริโภคยาแผนโบราณที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายต่อไป