มหาสารคาม - ประมงจังหวัดมหาสารคาม ร่วมปล่อยปลากว่า 500,000 ตัว เนื่องในงานวันประมงแห่งชาติ หวังสร้างความสมบูรณ์แหล่งอาหารให้ชุมชน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่อ่างเก็บน้ำหนองบัว ต.โคกพระ อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม นายชโลธร ผาโคตร รองผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม ได้นำบรรดาเหล่าหัวหน้าส่วนราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ่อค้า ประชาชน และนักเรียน นักศึกษา ร่วมปล่อยพันธุ์ปลากว่า 500,000 ตัว เพื่อเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำ ในแหล่งน้ำธรรมชาติให้มีความอุดมสมบูรณ์ ประชาชนเห็นคุณค่าของทรัพยากรน้ำ
ขณะที่ประชาชนเองก็สามารรถจับสัตว์น้ำไว้เพื่อการบริโภค และจำหน่ายเป็นรายได้เสริมได้ ตลอดจนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ ให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน สำหรับพันธุ์ปลาที่นำมาปล่อย ได้แก่ ปลาตะเพียนทอง ปลาตะเพียนขาว ปลาบ้า และปลายี่สกเทศ
นายชโลธร ผาโคตร รองผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า คณะรัฐมนตรีได้กำหนดให้วันที่ 21 กันยายนของทุกปี เป็นวันประมงแห่งชาติ จึงได้มีการร่วมกันปล่อยพันธุ์ปลาตามหนองน้ำสาธารณะต่างๆ เพื่อให้ประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาแหล่งน้ำ และพันธุ์ปลา โดยไม่ทิ้งขยะหรือของเสียลงในแหล่งน้ำ ไม่ใช้เครื่องมือที่ห้ามทำการประมง เช่น ไฟฟ้า ยาเบื่อ เพื่อให้ลูกหลานมีสัตว์น้ำบริโภคตลอดไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่อ่างเก็บน้ำหนองบัว ต.โคกพระ อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม นายชโลธร ผาโคตร รองผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม ได้นำบรรดาเหล่าหัวหน้าส่วนราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ่อค้า ประชาชน และนักเรียน นักศึกษา ร่วมปล่อยพันธุ์ปลากว่า 500,000 ตัว เพื่อเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำ ในแหล่งน้ำธรรมชาติให้มีความอุดมสมบูรณ์ ประชาชนเห็นคุณค่าของทรัพยากรน้ำ
ขณะที่ประชาชนเองก็สามารรถจับสัตว์น้ำไว้เพื่อการบริโภค และจำหน่ายเป็นรายได้เสริมได้ ตลอดจนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ ให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน สำหรับพันธุ์ปลาที่นำมาปล่อย ได้แก่ ปลาตะเพียนทอง ปลาตะเพียนขาว ปลาบ้า และปลายี่สกเทศ
นายชโลธร ผาโคตร รองผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า คณะรัฐมนตรีได้กำหนดให้วันที่ 21 กันยายนของทุกปี เป็นวันประมงแห่งชาติ จึงได้มีการร่วมกันปล่อยพันธุ์ปลาตามหนองน้ำสาธารณะต่างๆ เพื่อให้ประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาแหล่งน้ำ และพันธุ์ปลา โดยไม่ทิ้งขยะหรือของเสียลงในแหล่งน้ำ ไม่ใช้เครื่องมือที่ห้ามทำการประมง เช่น ไฟฟ้า ยาเบื่อ เพื่อให้ลูกหลานมีสัตว์น้ำบริโภคตลอดไป