ขอนแก่น- ผู้ปกครองนักกีฬาลีลาศเยาวชนทีมชาติ ร้องถูกตัดสิทธิร่วมแข่งกีฬาเยาวชนเอเชีย ทั้งที่ผ่านการคัดเลือกและเรียกเก็บตัว เผยเหตุจากผู้ใหญ่ในกระทรวงอยากไปแต่ไม่มีงบ ต้องตัดสิทธินักกีฬาร่วมแข่งถึง 2 รุ่น เพื่อใช้เงินไปเลี้ยงผู้ใหญ่ในกระทรวง
นายเจนวิทย์ ศรีทองสุก นักธุรกิจชาวขอนแก่น เข้าร้องเรียนผู้สื่อข่าว โดยกล่าวว่า บุตรสาวของตน คือ ด.ญ.ณัฐณิชา ศรีทองสุก นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับแจ้งจากสำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ว่า ได้รับการคัดเลือกให้เป็นนักกีฬาเยาวชนตัวแทนประเทศไทย ในกีฬาประเภทลีลาศ เพื่อเข้าร่วมแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งเอเชีย ครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 3-13 ก.ค.51 ที่สาธารณรัฐสาคะ สหพันธรัฐรัสเซีย
โดยเรียกให้ไปรายงานตัวและเก็บบำรุงตัวฝึกซ้อม ที่สนามกีฬาแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 7 มิ.ย.51 แต่ภายหลังได้เลื่อนให้ไปรายงานตัวในวันที่ 25 มิ.ย.51 ซึ่งตนได้ให้ ด.ญ.ณัฐณิชา บุตรสาวไปรายงานตัวตามกำหนด แต่กลับถูกปฏิเสธไม่รับการรายงานและเก็บตัว โดยอ้างว่างบประมาณไม่เพียงพอ ทั้งที่ไม่เคยแจ้งล่วงหน้าใดๆ
นายเจนวิทย์ เล่าว่า ก่อนหน้านี้ มีหนังสือด่วนมาก ลงวันที่ 6 มิ.ย.51 ลงนามโดย นายทวนชัย ลมูลสว่าง รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ แจ้งไปยังผู้อำนวยการโรงเรียน ว่า มีเด็กนักเรียนได้รับการคัดเลือกเป็นนักกีฬาเยาวชน ไปร่วมการแข่งขันกีฬาลีลาศ ซึ่งส่งเข้าแข่งขันรวม 4 ประเภท เป็นประเภทอายุไม่เกิน 15 ปี 2 รุ่น คือ Standard รุ่น Junior และ Latin America รุ่น Junior
นอกจากนี้ ยังส่งประเภทอายุไม่เกิน 11 ปี อีก 2 รุ่น คือ Standard รุ่น Juvenile และ Latin America รุ่น Juvenile เป็นนักกีฬาทั้งหมด 8 คน แยกเป็นชาย 4 คน และหญิง 4 คน โดยทางสำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
นายเจนวิทย์ กล่าวต่อไปว่า การแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งเอเชีย ที่รัสเซีย ครั้งนี้ ประเทศไทยส่งนักกีฬาเข้าร่วมทั้งหมด 11 ประเภท คือ เทควันโด, มวยสากลสมัครเล่น, กรีฑา, วอลเลย์บอล, บาสเกตบอล, ยูโด, เทเบิลเทนนิส, ฟุตบอล, ยิมนาสติกศิลป์, ยิมนาสติกลีลา และลีลาศ ซึ่งนักกีฬาได้รายงานตัวและเก็บตัวเรียบร้อยแล้ว แต่ในส่วนนักกีฬาลีลาศ ซึ่งส่งเข้าแข่งขัน 4 ประเภท เมื่อไปรายงานตัวกลับได้รับแจ้งว่า ทางสมาคมกีฬาลีลาศแห่งประเทศไทย จำเป็นต้องตัดประเภทอายุไม่เกิน 11 ปีทั้งสองรุ่น
เนื่องจากไม่มีงบประมาณเพียงพอ ซึ่งสร้างความมึนงงและตกใจกับเด็กที่ถูกตัดสิทธิทั้ง 4 คน เนื่องจากไม่มีใครได้รับแจ้งล่วงหน้า และไม่มีใครให้เหตุผลได้มากกว่าคำว่างบประมาณไม่เพียงพอ ทั้งที่ก่อนการคัดเลือกก็มีการเตรียมงบประมาณไว้ทุกส่วนแล้ว
สำหรับเด็กที่ถูกตัดสิทธิ คือ ประเภท Standard รุ่น Juvenile ซึ่งตัวแทนจาก จ.ลำปาง คือ ด.ช.นิติพัฒน์ เฉยเมล์ และ ด.ญ.กันยาวีร์ วีระกุล จากโรงเรียนอนุบาลลำปาง (เขลางค์รัตนอนุสรณ์) และประเภท Latin America รุ่น Juvenile ซึ่งเป็นตัวแทนจาก จ.ขอนแก่น คือ ด.ช.ฤทธิเดช เนื่องลี จากโรงเรียนเทศบาลวัดกลาง อ.เมืองขอนแก่น และ ด.ญ.ณัฐณิชา ศรีทองสุก จากโรงเรียนสาธิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
นายเจนวิทย์ กล่าวอีกว่า การตัดสิทธิเด็กโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า จนกระทั่งทุกคนเดินทางไปรายงานตัว จึงได้รับแจ้ง เป็นเรื่องที่เสียความรู้สึกอย่างมาก ทุกคนก็ต้องเสียใจ ยิ่งตัดสิทธิเด็กอายุไม่เกิน 11 ปี ทั้งที่มีการเตรียมตัวมากมาย และต้องหยุดเรียน แล้วอ้างแค่คำว่างบประมาณไม่เพียงพอ เป็นเหตุผลที่ฟังไม่ขึ้น ที่แย่ยิ่งกว่านั้น คือ มีเจ้าหน้าที่บางคนบอกว่า ความจริงมีเงินเพียงพอ แต่มีผู้ใหญ่ในกระทรวงบางคนอยากไปด้วย
ทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น จึงจำเป็นต้องตัดนักกีฬาออก 2 รุ่น เพื่อให้มีเงินพอเป็นค่าใช้จ่ายให้ผู้ใหญ่ในกระทรวง ก็เท่ากับว่า เบียดบังเงินที่ควรเป็นค่าใช้จ่ายของเด็กไปใช้จ่าย เรื่องนี้จึงไม่รู้จะทำอย่างไร หรือไปร้องเรียนกับใครได้ จึงต้องมาร้องต่อสื่อมวลชนให้ช่วยตีแผ่ออกไปด้วย
นายเจนวิทย์ ศรีทองสุก นักธุรกิจชาวขอนแก่น เข้าร้องเรียนผู้สื่อข่าว โดยกล่าวว่า บุตรสาวของตน คือ ด.ญ.ณัฐณิชา ศรีทองสุก นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับแจ้งจากสำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ว่า ได้รับการคัดเลือกให้เป็นนักกีฬาเยาวชนตัวแทนประเทศไทย ในกีฬาประเภทลีลาศ เพื่อเข้าร่วมแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งเอเชีย ครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 3-13 ก.ค.51 ที่สาธารณรัฐสาคะ สหพันธรัฐรัสเซีย
โดยเรียกให้ไปรายงานตัวและเก็บบำรุงตัวฝึกซ้อม ที่สนามกีฬาแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 7 มิ.ย.51 แต่ภายหลังได้เลื่อนให้ไปรายงานตัวในวันที่ 25 มิ.ย.51 ซึ่งตนได้ให้ ด.ญ.ณัฐณิชา บุตรสาวไปรายงานตัวตามกำหนด แต่กลับถูกปฏิเสธไม่รับการรายงานและเก็บตัว โดยอ้างว่างบประมาณไม่เพียงพอ ทั้งที่ไม่เคยแจ้งล่วงหน้าใดๆ
นายเจนวิทย์ เล่าว่า ก่อนหน้านี้ มีหนังสือด่วนมาก ลงวันที่ 6 มิ.ย.51 ลงนามโดย นายทวนชัย ลมูลสว่าง รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ แจ้งไปยังผู้อำนวยการโรงเรียน ว่า มีเด็กนักเรียนได้รับการคัดเลือกเป็นนักกีฬาเยาวชน ไปร่วมการแข่งขันกีฬาลีลาศ ซึ่งส่งเข้าแข่งขันรวม 4 ประเภท เป็นประเภทอายุไม่เกิน 15 ปี 2 รุ่น คือ Standard รุ่น Junior และ Latin America รุ่น Junior
นอกจากนี้ ยังส่งประเภทอายุไม่เกิน 11 ปี อีก 2 รุ่น คือ Standard รุ่น Juvenile และ Latin America รุ่น Juvenile เป็นนักกีฬาทั้งหมด 8 คน แยกเป็นชาย 4 คน และหญิง 4 คน โดยทางสำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
นายเจนวิทย์ กล่าวต่อไปว่า การแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งเอเชีย ที่รัสเซีย ครั้งนี้ ประเทศไทยส่งนักกีฬาเข้าร่วมทั้งหมด 11 ประเภท คือ เทควันโด, มวยสากลสมัครเล่น, กรีฑา, วอลเลย์บอล, บาสเกตบอล, ยูโด, เทเบิลเทนนิส, ฟุตบอล, ยิมนาสติกศิลป์, ยิมนาสติกลีลา และลีลาศ ซึ่งนักกีฬาได้รายงานตัวและเก็บตัวเรียบร้อยแล้ว แต่ในส่วนนักกีฬาลีลาศ ซึ่งส่งเข้าแข่งขัน 4 ประเภท เมื่อไปรายงานตัวกลับได้รับแจ้งว่า ทางสมาคมกีฬาลีลาศแห่งประเทศไทย จำเป็นต้องตัดประเภทอายุไม่เกิน 11 ปีทั้งสองรุ่น
เนื่องจากไม่มีงบประมาณเพียงพอ ซึ่งสร้างความมึนงงและตกใจกับเด็กที่ถูกตัดสิทธิทั้ง 4 คน เนื่องจากไม่มีใครได้รับแจ้งล่วงหน้า และไม่มีใครให้เหตุผลได้มากกว่าคำว่างบประมาณไม่เพียงพอ ทั้งที่ก่อนการคัดเลือกก็มีการเตรียมงบประมาณไว้ทุกส่วนแล้ว
สำหรับเด็กที่ถูกตัดสิทธิ คือ ประเภท Standard รุ่น Juvenile ซึ่งตัวแทนจาก จ.ลำปาง คือ ด.ช.นิติพัฒน์ เฉยเมล์ และ ด.ญ.กันยาวีร์ วีระกุล จากโรงเรียนอนุบาลลำปาง (เขลางค์รัตนอนุสรณ์) และประเภท Latin America รุ่น Juvenile ซึ่งเป็นตัวแทนจาก จ.ขอนแก่น คือ ด.ช.ฤทธิเดช เนื่องลี จากโรงเรียนเทศบาลวัดกลาง อ.เมืองขอนแก่น และ ด.ญ.ณัฐณิชา ศรีทองสุก จากโรงเรียนสาธิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
นายเจนวิทย์ กล่าวอีกว่า การตัดสิทธิเด็กโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า จนกระทั่งทุกคนเดินทางไปรายงานตัว จึงได้รับแจ้ง เป็นเรื่องที่เสียความรู้สึกอย่างมาก ทุกคนก็ต้องเสียใจ ยิ่งตัดสิทธิเด็กอายุไม่เกิน 11 ปี ทั้งที่มีการเตรียมตัวมากมาย และต้องหยุดเรียน แล้วอ้างแค่คำว่างบประมาณไม่เพียงพอ เป็นเหตุผลที่ฟังไม่ขึ้น ที่แย่ยิ่งกว่านั้น คือ มีเจ้าหน้าที่บางคนบอกว่า ความจริงมีเงินเพียงพอ แต่มีผู้ใหญ่ในกระทรวงบางคนอยากไปด้วย
ทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น จึงจำเป็นต้องตัดนักกีฬาออก 2 รุ่น เพื่อให้มีเงินพอเป็นค่าใช้จ่ายให้ผู้ใหญ่ในกระทรวง ก็เท่ากับว่า เบียดบังเงินที่ควรเป็นค่าใช้จ่ายของเด็กไปใช้จ่าย เรื่องนี้จึงไม่รู้จะทำอย่างไร หรือไปร้องเรียนกับใครได้ จึงต้องมาร้องต่อสื่อมวลชนให้ช่วยตีแผ่ออกไปด้วย