จันทบุรี - จังหวัดจันทบุรีคุมเข้มสินค้าลวดดัดฟันแฟชั่น หวั่นผู้บริโภคได้รับผลกระทบจากสารปนเปื้อนและเกิดอันตรายต่อสุขภาพช่องปาก
นายมานพ วีระอาชากุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี กล่าวว่า ปัจจุบันได้มีการขายสินค้าที่มีลักษณะเป็นลวดสเตนเลสใส่ลูกปัดสี หรือพลาสติก และสินค้าที่มีลักษณะเป็นแผ่นพลาสติกติดลวดดัดฟันไว้ด้านหน้าซึ่งเด็กวัยรุ่นนำมาใส่ในช่องปากตามแบบสมัยนิยม โดยเรียกว่า “ลวดดัดฟันแฟชั่น”
สำนักงานเลขาธิการทันตแพทยสภา กรมอนามัย และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา แจ้งว่า สินค้าดังกล่าวมีสารปนเปื้อนซึ่งเป็นโลหะหนักหลายชนิด และไม่มีอุปกรณ์ยึดเกาะที่แข็งแรงเพียงพออาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพช่องปากของผู้บริโภค หรืออาจหลุดลงคอเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคได้
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค จึงได้ส่งตัวอย่างสินค้าลวดดัดฟันแฟชั่นไปทำการทดสอบเกี่ยวกับอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้บริโภค และสอบถามข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมวิทยาศาสตร์บริการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมอนามัย และสำนักงานเลขาธิการทันตแพทยสภา
ผลปรากฏว่า มีการตรวจพบสารปนเปื้อนซึ่งเป็นโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว พลวง ซีลีเนียม โครเมียมและสารหนู เป็นต้น วัสดุที่ใช้เป็นวัสดุที่ไม่มีมาตรฐาน ลักษณะการนำมาคล้องที่ฟันด้วยลวดที่ไม่แข็งแรงมีโอกาสหลุดลงคอทำให้เป็นอันตรายแก่ชีวิต การดัดฟันที่ถูกต้องจะต้องกระทำโดยทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญและมีวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสม
รวมทั้งการใส่ลวดดัดฟันโดยไม่มีการดูแลรักษาที่ถูกต้อง อาจก่อให้เกิดอันตรายหรือผลเสียด้านสุขอนามัยของฟัน หรืออวัยวะในช่องปาก คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้พิจารณาในการประชุม ครั้งที่ 1/2549 เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2549 แล้วเห็นว่ามีเหตุอันน่าเชื่อว่าสินค้าลวดดัดฟันแฟชั่นดังกล่าวอาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคได้ จึงมีความจำเป็นและเร่งด่วนที่จะป้องกันอันตราย และคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าชนิดนี้
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามมาตรา 36 วรรคหนึ่งและวรรคสามแห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งตามมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
1.ห้ามขายสินค้าลวดดัดฟันแฟชั่นเป็นการชั่วคราว จนกว่าคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจะมีคำสั่งยกเลิก 2.ให้ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งประสงค์จะขาย ผลิต สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายลวดดัดฟันแฟชั่น ติดต่อกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคโดยเร็วที่สุดเพื่อดำเนินการทดสอบ หรือพิสูจน์สินค้าดังกล่าวว่าสินค้านั้นไม่อาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค ทั้งนี้โดยให้ดำเนินการทดสอบหรือพิสูจน์ให้สามารถรู้ผลได้ภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่คำสั่งนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
นายมานพ วีระอาชากุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี กล่าวว่า ปัจจุบันได้มีการขายสินค้าที่มีลักษณะเป็นลวดสเตนเลสใส่ลูกปัดสี หรือพลาสติก และสินค้าที่มีลักษณะเป็นแผ่นพลาสติกติดลวดดัดฟันไว้ด้านหน้าซึ่งเด็กวัยรุ่นนำมาใส่ในช่องปากตามแบบสมัยนิยม โดยเรียกว่า “ลวดดัดฟันแฟชั่น”
สำนักงานเลขาธิการทันตแพทยสภา กรมอนามัย และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา แจ้งว่า สินค้าดังกล่าวมีสารปนเปื้อนซึ่งเป็นโลหะหนักหลายชนิด และไม่มีอุปกรณ์ยึดเกาะที่แข็งแรงเพียงพออาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพช่องปากของผู้บริโภค หรืออาจหลุดลงคอเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคได้
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค จึงได้ส่งตัวอย่างสินค้าลวดดัดฟันแฟชั่นไปทำการทดสอบเกี่ยวกับอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้บริโภค และสอบถามข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมวิทยาศาสตร์บริการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมอนามัย และสำนักงานเลขาธิการทันตแพทยสภา
ผลปรากฏว่า มีการตรวจพบสารปนเปื้อนซึ่งเป็นโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว พลวง ซีลีเนียม โครเมียมและสารหนู เป็นต้น วัสดุที่ใช้เป็นวัสดุที่ไม่มีมาตรฐาน ลักษณะการนำมาคล้องที่ฟันด้วยลวดที่ไม่แข็งแรงมีโอกาสหลุดลงคอทำให้เป็นอันตรายแก่ชีวิต การดัดฟันที่ถูกต้องจะต้องกระทำโดยทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญและมีวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสม
รวมทั้งการใส่ลวดดัดฟันโดยไม่มีการดูแลรักษาที่ถูกต้อง อาจก่อให้เกิดอันตรายหรือผลเสียด้านสุขอนามัยของฟัน หรืออวัยวะในช่องปาก คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้พิจารณาในการประชุม ครั้งที่ 1/2549 เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2549 แล้วเห็นว่ามีเหตุอันน่าเชื่อว่าสินค้าลวดดัดฟันแฟชั่นดังกล่าวอาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคได้ จึงมีความจำเป็นและเร่งด่วนที่จะป้องกันอันตราย และคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าชนิดนี้
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามมาตรา 36 วรรคหนึ่งและวรรคสามแห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งตามมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
1.ห้ามขายสินค้าลวดดัดฟันแฟชั่นเป็นการชั่วคราว จนกว่าคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจะมีคำสั่งยกเลิก 2.ให้ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งประสงค์จะขาย ผลิต สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายลวดดัดฟันแฟชั่น ติดต่อกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคโดยเร็วที่สุดเพื่อดำเนินการทดสอบ หรือพิสูจน์สินค้าดังกล่าวว่าสินค้านั้นไม่อาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค ทั้งนี้โดยให้ดำเนินการทดสอบหรือพิสูจน์ให้สามารถรู้ผลได้ภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่คำสั่งนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา