พะเยา – มหาวิทยาลัยนเรศวรนำนักวิชาการสิ่งแวดล้อมกว่า 200 ชีวิตเสนอผลงานวิจัยเพื่อ สวล.รณรงค์แก้วิกฤตสิ่งแวดล้อม เน้นทฤษฎีนำไปใช้จริงให้เกิดประโยชน์
รศ.ดร.มณฑล สงวนเสริมศรี อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร (มน.) กล่าวว่า การจัดงานประชุมทางวิชาการครั้งที่ 4 นี้ เป็นการนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยาย สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม โดยรวบรวมผลงานวิจัยกว่า 50 ผลงาน ซึ่งมีนักวิชาการระดับมืออาชีพกว่า 200 ราย ร่วมนำผลงานวิชาการมานำเสนอ เพื่อให้สามารถนำไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์พัฒนาสิ่งแวดล้อม ในปัจจุบันและอนาคตได้อย่างมหาศาล ทั้งยังสามารถนำไปพัฒนาและปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
ด้าน นายสำราญ ทองแพง รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา กล่าวเสริมว่า การนำเสนอผลงานวิจัยครั้งนี้ ได้มีการบรรยายพิเศษเรื่อง “ห่วงใยสิ่งแวดล้อม พร้อมใจอนุรักษ์พลังงาน สร้างภูมิต้านทานโลกร้อน” โดยผู้อำนวยการองค์การสวนพฤกษศาสตร์
นอกจากนี้ ได้มีผลงานวิจัยหลายเล่มเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในจังหวัดพะเยาที่น่าสนใจมาก เช่น ความเหมาะสมของการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่มีต่อศักยภาพชุมชนรอบกว๊านพะเยา, การหมุนเวียนธาตุอาหารในระบบนิเวศป่าเต็งรัง พื้นที่มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา และการใช้เศษเหลือของสับปะรดเป็นอาหารหยาบของแพะ
การประชุมครั้งนี้ ยังถือว่าเป็นการประชุมทางวิชาการที่สามารถรวบรวมผลงานวิจัยและนักวิชาการทั่วประเทศ มาให้ความรู้แก่นักเรียน นักศึกษา ตลอดจนประชาชนทั่วไปที่ร่วมใส่ใจสิ่งแวดล้อมด้วย
รศ.ดร.มณฑล สงวนเสริมศรี อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร (มน.) กล่าวว่า การจัดงานประชุมทางวิชาการครั้งที่ 4 นี้ เป็นการนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยาย สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม โดยรวบรวมผลงานวิจัยกว่า 50 ผลงาน ซึ่งมีนักวิชาการระดับมืออาชีพกว่า 200 ราย ร่วมนำผลงานวิชาการมานำเสนอ เพื่อให้สามารถนำไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์พัฒนาสิ่งแวดล้อม ในปัจจุบันและอนาคตได้อย่างมหาศาล ทั้งยังสามารถนำไปพัฒนาและปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
ด้าน นายสำราญ ทองแพง รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา กล่าวเสริมว่า การนำเสนอผลงานวิจัยครั้งนี้ ได้มีการบรรยายพิเศษเรื่อง “ห่วงใยสิ่งแวดล้อม พร้อมใจอนุรักษ์พลังงาน สร้างภูมิต้านทานโลกร้อน” โดยผู้อำนวยการองค์การสวนพฤกษศาสตร์
นอกจากนี้ ได้มีผลงานวิจัยหลายเล่มเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในจังหวัดพะเยาที่น่าสนใจมาก เช่น ความเหมาะสมของการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่มีต่อศักยภาพชุมชนรอบกว๊านพะเยา, การหมุนเวียนธาตุอาหารในระบบนิเวศป่าเต็งรัง พื้นที่มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา และการใช้เศษเหลือของสับปะรดเป็นอาหารหยาบของแพะ
การประชุมครั้งนี้ ยังถือว่าเป็นการประชุมทางวิชาการที่สามารถรวบรวมผลงานวิจัยและนักวิชาการทั่วประเทศ มาให้ความรู้แก่นักเรียน นักศึกษา ตลอดจนประชาชนทั่วไปที่ร่วมใส่ใจสิ่งแวดล้อมด้วย