พะเยา – เครือข่ายม็อบชาวนาเมืองพ่อขุน ต่อสายเชื่อมกลุ่มเหล้าพื้นบ้านเมืองกว๊าน หวังรวมพลังจัดชุมนุมประท้วงรัฐบาล แก้ปัญหาราคาข้าวตกต่ำให้เบ็ดเสร็จ ต่อเนื่องถึงแนวทางพัฒนาสุราชุมชนในระยะยาวต่อ
นายชวลิต หอประเสริฐวงศ์ ที่ปรึกษาด้านวิชาการเครือข่ายเหล้าพื้นบ้านภาคเหนือ กล่าวว่า เนื่องจากเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม 2551 ที่ผ่านมาได้มีรวมตัวประท้วงของกลุ่มชาวนาพื้นที่ อ.พาน จ.เชียงราย หลายครั้ง เพราะไม่พอใจข้าวเปลือกนาปรังตกต่ำกว่ากิโลกรัมละ 9-10 บาท จึงเรียกร้องให้รัฐบาลขึ้นราคาข้าวเปลือกนาปรังซึ่งจะทำให้เกษตรกรชาวนาอยู่ได้ โดยมีเครือข่ายสุราชุมชนของอำเภอพาน เข้าร่วมด้วย
โดยเหตุการณ์ดังกล่าวได้มีแกนนำสุราชุมชน อ.พาน ได้ติดต่อมาที่ตนเพื่อขอทราบกำหนดการประชุมของสมาพันธ์ทางภาคกลาง กรุงเทพฯ กับสมาคมผู้ผลิตไวน์ ที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อขอเข้าไปร่วมสังเกตการณ์ในการประชุมที่จะมีขึ้นในวันที่ 25 พฤษภาคม 2551 ณ จังหวัดเชียงใหม่ โดยตนได้แนะนำให้จัดส่งตัวแทนไปร่วมสังเกตการณ์ได้ เพราะกลุ่มสุราชุมชน อ.พาน คือ กลุ่มชาวนาที่ได้รับผลกระทบเรื่องราคาข้าวเปลือกตกต่ำ จึงเตรียมหาพันธมิตรช่วยเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือด้านราคาข้าวในขั้นตอนต่อไป
นายชวลิต กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการผลิตสุราชุมชนก็ประสบปัญหาราคาวัตถุดิบ รวมถึงข้าวพุ่งสูงขึ้นสวนทางกับราคาข้าวเปลือก โดยสมาชิกเครือข่ายเหล้าพื้นบ้านฯ ได้ไปซื้อปลายข้าวเหนียวจาก อ.แม่ใจ ในราคา กก.ละ 15 บาท หากซื้อ 45 กก.เป็นจำนวน 700 บาท แต่ปริมาณปลายข้าวมีไม่มากพอตามความต้องการ เนื่องจากกลุ่มเหล้าฯ ก็ต้องใช้ปลายข้าว หรือข้าวสารเหนียวมาทำเหล้าเพื่อให้ได้น้ำส่าเหล้ามาเลี้ยงหมู
ส่วนลำปาง ข้าวท่อน 45 กิโลกรัม ราคา 750 บาท เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16 บาทเศษ ต่างจากเมื่อ 4 ปีที่ผ่านมาข้าวสาร 45 กิโลกรัม มีราคาเพียง 280-340 บาท ขณะที่ต้นทุนการผลิตเหล้าพื้นบ้าน 35 ดีกรีหนึ่งขวดไม่รวมค่าแรง เฉพาะต้นทุนข้าวอยู่ที่ 15 บาท เมื่อรวมค่าแสตมป์ ค่าฉลาก ฝาจีบ ตกอยู่ 30 บาท รวมแล้วต้นทุนทั้งหมดขวดละ 45 บาท แต่ปรากฏว่า กลุ่มเหล้าก็ยังขายเหล้าในราคาขวดละ 45 บาท ยังไม่สามารถปรับราคาขึ้นได้
ที่ปรึกษาด้านวิชาการ กล่าวและว่า สำหรับกลุ่มเหล้าพื้นบ้านฯ บอกได้เลยว่าไม่เดือดร้อนมากนัก เพราะเราสามารถนำข้าวเปลือกมาแปรรูปเป็นข้าวสารได้เอง ดังนั้น เมื่อราคาข้าวเปลือกถูกแต่ข้าวสารแพงมันสวนทางกัน ตนจึงได้เสนอแนะทางออกให้กับกลุ่มม็อบชาวนาไปว่า ไม่ควรไปขอให้ภาครัฐเจรจากับพ่อค้าคนกลางเพราะอย่างไรชาวนาก็เสียเปรียบ
ดังนั้น ชาวนาควรจะเสนอของบประมาณภาครัฐ มาดำเนินการลงทุนซื้อเครื่องอบไล่ความชื้นหรือเครื่องสีข้าวขนาดกลาง เพื่อนำมาแปรรูปข้าวเปลือกมาเป็นข้าวสารขายเอง หรือทำเหล้าไม่ต้องไปง้อพ่อค้าคนกลางให้เสียเปรียบตลอดเวลา
“ถ้านับจากนี้ไปแล้วรัฐบาลยังไม่มีมาตรการช่วยเหลือชาวนา ทำให้ชาวนาไม่มีทางออกยังไม่ได้ประโยชน์ กลุ่มพี่น้องเหล้าพื้นบ้านก็คงต้องรวมตัวกันชุมนุมเพื่อร่วมแสดงพลังกับกลุ่มชาวนา โดยเรียกร้องเพื่อสะท้อนให้ประชาชนเห็นภาพที่แท้จริง คือ ข้าวเปลือกถูกชาวนาเดือดร้อนปลายข้าวแพงผู้ผลิตเหล้าพื้นบ้านเดือนร้อนใครได้ประโยชน์”
นายชวลิต หอประเสริฐวงศ์ ที่ปรึกษาด้านวิชาการเครือข่ายเหล้าพื้นบ้านภาคเหนือ กล่าวว่า เนื่องจากเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม 2551 ที่ผ่านมาได้มีรวมตัวประท้วงของกลุ่มชาวนาพื้นที่ อ.พาน จ.เชียงราย หลายครั้ง เพราะไม่พอใจข้าวเปลือกนาปรังตกต่ำกว่ากิโลกรัมละ 9-10 บาท จึงเรียกร้องให้รัฐบาลขึ้นราคาข้าวเปลือกนาปรังซึ่งจะทำให้เกษตรกรชาวนาอยู่ได้ โดยมีเครือข่ายสุราชุมชนของอำเภอพาน เข้าร่วมด้วย
โดยเหตุการณ์ดังกล่าวได้มีแกนนำสุราชุมชน อ.พาน ได้ติดต่อมาที่ตนเพื่อขอทราบกำหนดการประชุมของสมาพันธ์ทางภาคกลาง กรุงเทพฯ กับสมาคมผู้ผลิตไวน์ ที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อขอเข้าไปร่วมสังเกตการณ์ในการประชุมที่จะมีขึ้นในวันที่ 25 พฤษภาคม 2551 ณ จังหวัดเชียงใหม่ โดยตนได้แนะนำให้จัดส่งตัวแทนไปร่วมสังเกตการณ์ได้ เพราะกลุ่มสุราชุมชน อ.พาน คือ กลุ่มชาวนาที่ได้รับผลกระทบเรื่องราคาข้าวเปลือกตกต่ำ จึงเตรียมหาพันธมิตรช่วยเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือด้านราคาข้าวในขั้นตอนต่อไป
นายชวลิต กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการผลิตสุราชุมชนก็ประสบปัญหาราคาวัตถุดิบ รวมถึงข้าวพุ่งสูงขึ้นสวนทางกับราคาข้าวเปลือก โดยสมาชิกเครือข่ายเหล้าพื้นบ้านฯ ได้ไปซื้อปลายข้าวเหนียวจาก อ.แม่ใจ ในราคา กก.ละ 15 บาท หากซื้อ 45 กก.เป็นจำนวน 700 บาท แต่ปริมาณปลายข้าวมีไม่มากพอตามความต้องการ เนื่องจากกลุ่มเหล้าฯ ก็ต้องใช้ปลายข้าว หรือข้าวสารเหนียวมาทำเหล้าเพื่อให้ได้น้ำส่าเหล้ามาเลี้ยงหมู
ส่วนลำปาง ข้าวท่อน 45 กิโลกรัม ราคา 750 บาท เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16 บาทเศษ ต่างจากเมื่อ 4 ปีที่ผ่านมาข้าวสาร 45 กิโลกรัม มีราคาเพียง 280-340 บาท ขณะที่ต้นทุนการผลิตเหล้าพื้นบ้าน 35 ดีกรีหนึ่งขวดไม่รวมค่าแรง เฉพาะต้นทุนข้าวอยู่ที่ 15 บาท เมื่อรวมค่าแสตมป์ ค่าฉลาก ฝาจีบ ตกอยู่ 30 บาท รวมแล้วต้นทุนทั้งหมดขวดละ 45 บาท แต่ปรากฏว่า กลุ่มเหล้าก็ยังขายเหล้าในราคาขวดละ 45 บาท ยังไม่สามารถปรับราคาขึ้นได้
ที่ปรึกษาด้านวิชาการ กล่าวและว่า สำหรับกลุ่มเหล้าพื้นบ้านฯ บอกได้เลยว่าไม่เดือดร้อนมากนัก เพราะเราสามารถนำข้าวเปลือกมาแปรรูปเป็นข้าวสารได้เอง ดังนั้น เมื่อราคาข้าวเปลือกถูกแต่ข้าวสารแพงมันสวนทางกัน ตนจึงได้เสนอแนะทางออกให้กับกลุ่มม็อบชาวนาไปว่า ไม่ควรไปขอให้ภาครัฐเจรจากับพ่อค้าคนกลางเพราะอย่างไรชาวนาก็เสียเปรียบ
ดังนั้น ชาวนาควรจะเสนอของบประมาณภาครัฐ มาดำเนินการลงทุนซื้อเครื่องอบไล่ความชื้นหรือเครื่องสีข้าวขนาดกลาง เพื่อนำมาแปรรูปข้าวเปลือกมาเป็นข้าวสารขายเอง หรือทำเหล้าไม่ต้องไปง้อพ่อค้าคนกลางให้เสียเปรียบตลอดเวลา
“ถ้านับจากนี้ไปแล้วรัฐบาลยังไม่มีมาตรการช่วยเหลือชาวนา ทำให้ชาวนาไม่มีทางออกยังไม่ได้ประโยชน์ กลุ่มพี่น้องเหล้าพื้นบ้านก็คงต้องรวมตัวกันชุมนุมเพื่อร่วมแสดงพลังกับกลุ่มชาวนา โดยเรียกร้องเพื่อสะท้อนให้ประชาชนเห็นภาพที่แท้จริง คือ ข้าวเปลือกถูกชาวนาเดือดร้อนปลายข้าวแพงผู้ผลิตเหล้าพื้นบ้านเดือนร้อนใครได้ประโยชน์”