เชียงราย – โรงกลั่นไปโอดีเซลเมืองพ่อขุนฯ เร่งผลิตไบโอดีเซลรับมือน้ำมันแพง สนองพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ วางเป้าผลิตให้ได้ 2 หมื่นลิตร/วัน
นายวิรุณ คำภิโล ประธานบริษัท อีเอสเทอร์ จำกัด เจ้าของโรงงานกลั่นน้ำมันไบโอดีเซล VGEN. (VALUED GREEN ENERGY) จ.เชียงราย และผู้บริหารโรงเรียนวิรุณบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีเชียงราย (VBAC) เปิดเผยว่า กำลังเร่งเพิ่มอัตราการผลิตน้ำมันไบโอดีเซล ให้มีปริมาณมากขึ้น ซึ่งขณะนี้กำลังผลิตสูงสุดได้วันละ 5,000 ลิตร เนื่องจากวิกฤตน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีราคาแพงใกล้แตะ 40 บาทต่อ 1 ลิตรแล้ว ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก
ทางบริษัทและกลุ่มสหกรณ์ผู้ปลูกปาล์มใน จ.เชียงราย จึงดิ้นรนหาทางรอด ด้วยการน้อมนำนโยบายในการสร้างพลังงานของแผ่นดิน และสนองแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มาปรับใช้เพื่อแก้วิกฤตที่เป็นอยู่
นายวิรุณ กล่าวว่า โรงงานแห่งนี้ถือเป็นโรงานกลั่นไบโอดีเซลแห่งแรกของประเทศไทย ที่มีการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม นำน้ำมันไบโอดีเซลมาทดลองใช้ในรถยนต์จริง ซึ่งปัจจุบันมีผู้ร่วมทดลองใช้แล้วทั้งรถยนต์ส่วนตัวราคาแพง และรถยนต์ทางการเกษตร กว่า 20 คัน ราคาจำหน่ายลิตรละ 30-31 บาท ถูกกว่าราคาน้ำมันดีเซลลิตรละ 4 บาท ซึ่งจากการเติมน้ำมันไบโอดีเซล เครื่องยนต์ทำงานได้ปกติ ไม่มีการสะดุดหรือความเสียหายทั้งสิ้น และการจากการทำงานได้จริงของไบโอดีเซล ทำให้ชาวเชียงราย ที่ทราบข่าวเริ่มให้ความสำคัญกับพลังงานทดแทนตัวนี้มากขึ้น
เขาบอกว่า อัตราการผลิต 5,000 ลิตรต่อ 1 วัน ถือว่ายังเพียงพอต่อปริมาณผู้ใช้ 20 คันอยู่ แต่ในอนาคตหากสถานการณ์น้ำมันยังพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ ผลกระทบจะขยายตัวขึ้นอีก ทำให้ต้องวางแผนรับมือล่วงหน้า เพื่อให้ชาวเชียงราย ได้มีพลังงานทดแทนราคาไม่แพงได้ใช้ เพื่อความอยู่รอด ซึ่งปัจจุบันการผลิตน้ำมันไบโอดีเซล อยู่ที่อัตราส่วนปาล์ม 4 กิโลกรัม กลั่นน้ำมันไบโอได้ 1 ลิตร ถูกกว่าราคาน้ำมันในปัจจุบัน ส่วนวัตถุดิบที่มีการปลูกไว้รองรับในพื้นที่ จ.เชียงราย และภาคเหนือ มีมากเพียงพอที่จะผลิตไปได้อย่างต่อเนื่อง
นายวิรุณ กล่าวอีกว่า กระบวนการผลิตภายในโรงงาน มีระบบการจัดการที่มีมาตรฐาน มีการศึกษาวิเคราะห์ ในการนำไบโอ มากลั่นแยกสารเคมี เช่น โปแตสเซี่ยม สารเร่งปฏิกิริยา มาทำปุ๋ย ใส่ต้นพืชได้จริง ทดแทนปุ๋ยเคมีที่มีราคาแพง หรือการกลั่นแยกสารกีซารีน มาเป็นน้ำมันหล่อลื่นสำหรับทำแบบพิมพ์ทำเสาเข็ม ส่วนเอธานอล ก็ไปทำน้ำมันเชื้อเพลิงเติมใส่รถ
นอกจากนี้ยังสามารถแปรรูปเป็นอย่างอื่นได้อีก ซึ่งในอนาคตตั้งเป้าผลิตไบโอดีเซล ให้ได้ 20,000 ลิตร ต่อ 1 วัน และยังมีการนำเข้าเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนจริง ในโรงเรียนวิรุณบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีเชียงราย ที่ได้รับอนุญาต เพื่อให้คณะครู อาจารย์ นักศึกษาสาขาช่างยนต์และสาขาช่างไฟฟ้า ได้ศึกษาวิจัยตลอดจนพัฒนาเครื่องจักร เพื่อกลั่นน้ำมันไบโอดีเซล ให้ดีมีประสิทธิภาพอย่างสูงสุด ไว้เป็นพลังงานทดแทนของประเทศชาติต่อไป
นายวิรุณ คำภิโล ประธานบริษัท อีเอสเทอร์ จำกัด เจ้าของโรงงานกลั่นน้ำมันไบโอดีเซล VGEN. (VALUED GREEN ENERGY) จ.เชียงราย และผู้บริหารโรงเรียนวิรุณบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีเชียงราย (VBAC) เปิดเผยว่า กำลังเร่งเพิ่มอัตราการผลิตน้ำมันไบโอดีเซล ให้มีปริมาณมากขึ้น ซึ่งขณะนี้กำลังผลิตสูงสุดได้วันละ 5,000 ลิตร เนื่องจากวิกฤตน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีราคาแพงใกล้แตะ 40 บาทต่อ 1 ลิตรแล้ว ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก
ทางบริษัทและกลุ่มสหกรณ์ผู้ปลูกปาล์มใน จ.เชียงราย จึงดิ้นรนหาทางรอด ด้วยการน้อมนำนโยบายในการสร้างพลังงานของแผ่นดิน และสนองแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มาปรับใช้เพื่อแก้วิกฤตที่เป็นอยู่
นายวิรุณ กล่าวว่า โรงงานแห่งนี้ถือเป็นโรงานกลั่นไบโอดีเซลแห่งแรกของประเทศไทย ที่มีการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม นำน้ำมันไบโอดีเซลมาทดลองใช้ในรถยนต์จริง ซึ่งปัจจุบันมีผู้ร่วมทดลองใช้แล้วทั้งรถยนต์ส่วนตัวราคาแพง และรถยนต์ทางการเกษตร กว่า 20 คัน ราคาจำหน่ายลิตรละ 30-31 บาท ถูกกว่าราคาน้ำมันดีเซลลิตรละ 4 บาท ซึ่งจากการเติมน้ำมันไบโอดีเซล เครื่องยนต์ทำงานได้ปกติ ไม่มีการสะดุดหรือความเสียหายทั้งสิ้น และการจากการทำงานได้จริงของไบโอดีเซล ทำให้ชาวเชียงราย ที่ทราบข่าวเริ่มให้ความสำคัญกับพลังงานทดแทนตัวนี้มากขึ้น
เขาบอกว่า อัตราการผลิต 5,000 ลิตรต่อ 1 วัน ถือว่ายังเพียงพอต่อปริมาณผู้ใช้ 20 คันอยู่ แต่ในอนาคตหากสถานการณ์น้ำมันยังพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ ผลกระทบจะขยายตัวขึ้นอีก ทำให้ต้องวางแผนรับมือล่วงหน้า เพื่อให้ชาวเชียงราย ได้มีพลังงานทดแทนราคาไม่แพงได้ใช้ เพื่อความอยู่รอด ซึ่งปัจจุบันการผลิตน้ำมันไบโอดีเซล อยู่ที่อัตราส่วนปาล์ม 4 กิโลกรัม กลั่นน้ำมันไบโอได้ 1 ลิตร ถูกกว่าราคาน้ำมันในปัจจุบัน ส่วนวัตถุดิบที่มีการปลูกไว้รองรับในพื้นที่ จ.เชียงราย และภาคเหนือ มีมากเพียงพอที่จะผลิตไปได้อย่างต่อเนื่อง
นายวิรุณ กล่าวอีกว่า กระบวนการผลิตภายในโรงงาน มีระบบการจัดการที่มีมาตรฐาน มีการศึกษาวิเคราะห์ ในการนำไบโอ มากลั่นแยกสารเคมี เช่น โปแตสเซี่ยม สารเร่งปฏิกิริยา มาทำปุ๋ย ใส่ต้นพืชได้จริง ทดแทนปุ๋ยเคมีที่มีราคาแพง หรือการกลั่นแยกสารกีซารีน มาเป็นน้ำมันหล่อลื่นสำหรับทำแบบพิมพ์ทำเสาเข็ม ส่วนเอธานอล ก็ไปทำน้ำมันเชื้อเพลิงเติมใส่รถ
นอกจากนี้ยังสามารถแปรรูปเป็นอย่างอื่นได้อีก ซึ่งในอนาคตตั้งเป้าผลิตไบโอดีเซล ให้ได้ 20,000 ลิตร ต่อ 1 วัน และยังมีการนำเข้าเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนจริง ในโรงเรียนวิรุณบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีเชียงราย ที่ได้รับอนุญาต เพื่อให้คณะครู อาจารย์ นักศึกษาสาขาช่างยนต์และสาขาช่างไฟฟ้า ได้ศึกษาวิจัยตลอดจนพัฒนาเครื่องจักร เพื่อกลั่นน้ำมันไบโอดีเซล ให้ดีมีประสิทธิภาพอย่างสูงสุด ไว้เป็นพลังงานทดแทนของประเทศชาติต่อไป