ศูนย์ข่าวศรีราชา - ผู้ว่าฯตราด ประกาศฟัน “ผู้ลักลอบนำก๊าซขายกัมพูชา” ไม่สนว่าเป็นใคร ระบุหากทำผิด กม.ต้องดำเนินการ เย้ยสื่อรู้ข้อมูลให้บอก ชี้ที่ผ่านมาได้ทำจับกุมแล้ว
เวลา 09.00 น.วันนี้ (6 พ.ค.) ที่ห้องประชุมพลอยแดง ศาลากลาง จ.ตราด นายเมตตา บันเทิงสุข อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานและคณะ ได้ร่วมประชุมกับ นายแก่นเพชร ช่วงรังษี ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด และตัวแทนผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี นายประจักษ์ สุวรรณภักดี และตัวแทนผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง นายชิดพงษ์ ฤทธิประศาสน์ พร้อมส่วนราชการทั้งตำรวจน้ำ ทหารนาวิกโยธินจากกองกำลังป้องกันชายแดนจันบุรี-ตราด ด่านศุลกากร มาบตาพุด ด่านศุลกากรจันทบุรี ด่านศุลกากรคลองใหญ่ จ.ตราด และนายอำเภอคลองใหญ่ จ.ตราด พลังงาน จ.ตราด ร่วมประชุม โดยการประชุมครั้งนี้ ไม่ให้สื่อมวลชนเข้าสังเกตการณ์แต่ประการใดโดยอ้างว่าเป็นความลับ
หลังจากจบการประชุม นายแก่นเพชร ช่วงรังษี ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด ที่ขอออกจากห้องประชุมก่อนได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน ว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการหารือเพื่อแก้ปัญหาการลักลอบนำก๊าซ LPG ออกนอกประเทศโดยทางจังหวัด ได้มีการดำเนินการจับกุมผู้ลักลอบมาระดับหนึ่งแล้ว ซึ่งได้มีการประสานงานกับทางอำเภอคลองใหญ่ ด่านศุลกากร คลองใหญ่ เพื่อป้องกันไม่ให้มีการลักลอบ
ทั้งนี้ ทางจังหวัดจะมีการดำเนินการจบกุมผู้ลักลอบอย่างตรงไปตรงมาและเด็ดขาด หากมีการกระทำที่ผิดกฎหมาย ส่วนการแก้ปัญหาในระยะยาวนั้น ได้มีการเสนอให้จำกัดโควตาในการ นำก๊าซ LPG เข้าไปยังอำเภอคลองใหญ่ สำหรับปริมาณการลักลอบไปยังกัมพูชานั้นไม่สามารถตรวจสอบได้
“ตัวผู้กระทำผิดทางจังหวัดขอให้สื่อมวลชน แจ้งมาว่า ใครเป็นผู้ลักลอบ ผมสามารถจับกุมได้ทันทีและไม่ได้ เกรงกลัวใคร ที่ผ่านมาก็ทำงานอยู่แล้ว โดยทางจังหวัดประชุมครั้งนี้แล้ว จะเรียกคณะทำงานของจังหวัดมาประชุม เพื่อเร่งดำเนินการกับผู้ลักลอบ”
จากนั้น นายแก่นเพชรได้กล่าวตอบโต้สื่อมวลชนว่า หากรู้ข้อเท็จจริงว่าใครเป็นผู้ลักลอบให้บอกมา พร้อมให้สื่อมวลชนคนอื่นๆ บันทึกภาพไว้ ซึ่งผู้สื่อข่าวคนดังกล่าวบอกในที่สาธารณะว่า ชอบวิจารณ์การทำงานของผู้ว่าฯ ตราด และตนก็ได้คบแล้วพร้อมขอให้ผู้สื่อข่าวคนดังกล่าวไปพบที่ห้อง แต่ผู้สื่อข่าวคนดังกล่าวปฏิเสธที่จะเดินทางเข้าไป
หลังจากนั้น นายเมตตา บันเทิงสุข นางสาวแสงทอง แม้นสกุล นายด่านศุลกากรคลองใหญ่ น.อ.อุชลิต นิวลานนท์ รอง ผบ.ฉก.นย.ตรารด และ นายภวัต เลิศมุกดา ร่วมกันแถลงข่าวโดยนายเมตตา กล่าวว่า การประชุมในวันนี้ไม่ได้มาจับกุมหรือแก้ปัญหาการลักลอบก๊าซ LPG ไปกัมพูชา แต่มาหารือเรื่องการหามาตรการป้องกันมิให้มีการลักลอบนำก๊าซ LPG ไปยังกัมพูชา และหาข้อยุติ เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยต้องมีการนำก๊าซ LPG มาจากต่างประเทศเป็นครั้งแรกในเดือนเมษายน 20,000 ตัน เนื่องจากมีการใช้มากขึ้น
โดยเฉพาะการนำไปใช้กับรถยนต์ แต่ก่อนหน้านี้ (ก่อนวันที่ 10 มีนาคม 2551) ไม่มีการควบคุมส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน แต่หลังจาก วันที่ 10 มีนาคม 2551 ได้มีการประกาศควบคุมไม่ให้มีการนำออกนอกประเทศ แต่ก็ยังมีการลักลอบออกจากประเทศไทยโดยเฉพาะ อ.คลองใหญ่ จ.ตราด ผ่านทางเรือขนส่งสินค้า จ.สระแก้ว ทำให้ประเทศไทยเสียรายได้ เพราะประเทศไทยต้องซื้อก๊าซ LPG จากต่าปงระเทศเข้ามาในราคา 500 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน แต่นำมาจำหน่ายในประเทศ 300 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน ต้องชดเชย 200 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน แต่มีการลักลอบไปขายในกัมพูชาในอัตรา 800 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน
“ผมต้องหารือกับทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาไม่ให้มีการลักลอบ แต่เราก็พร้อมช่วยเหลือด้ายการซื้อขาย รัฐ/รัฐ โดยซื้อมาจากต่างประเทศเท่าไร ก็จำหน่ายเท่านั้น หรือการนำไปเพื่อใช้ในครัวเรือน 1-2 ถังก็ไม่ว่ากัน แต่ถ้า มีการลักลอบก็จะต้องดำเนินคดี”
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน กล่าวว่า ปัจจุบันมีการลักลอบในอัตราน้อย คือ ประมาณ 0.50% จาก 100% หรือ จาก 3,000 ตัน ก็มี 100 ตันเท่านั้น แต่ต่อไปจะมีการร่วมมือกับรัฐบาลของแต่ละประเทศ รอบประเทศไทยที่จะร่วม มือกันในการส่งก๊าซ LPG ไปยังประเทศเพื่อนบ้านโดยขณะนี้กัมพูชาโดยขอให้ส่งไป 1,209.56 ตัน/เดือน ลาว 79 ตัน/เดือน และพม่า 8 ตัน ทั้งนี้ผู้ประกอบการธุรกิจก๊าซ LPG หากจะต้องการนำส่งออกไปต่างประเทศต้องปฏิบัติ ตามมาตรา 7 ของ พรบ.การค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2543 ที่ปัจจุบันมี 7 ราย และตลาดในกัมพูชา เป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุด
ทางด้าน นายภวัต กล่าวว่า ในทางปฏิบัติได้มีการควบคุมอย่างเข้มงวดมาตลอด โดยเฉพาะกลุ่มผู้ค้าได้ ดำเนินการจับกุมดำเนินคดีไปแล้ว 2 ราย แต่สิ่งที่ต้องระมัดระวัง ก็คือ ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง 2 ฝ่าย รวมทั้งเรื่องมนุษยธรรม ซึ่งหากใช้ในครัวเรือนหรือบนเรือประมง 1-2 ถังก็เป็นเรื่องที่ต้องอนุโลม ให้ใช้ไม่ใช่เหมารวมว่าเป็นกองทัพ มดขนก๊าซ LPG ออกนอกประเทศ และทางอำเภอก็ได้เสนอให้มีการจำกัดโค้วต้าการนำก๊าซ LPG มาจาก จ.ตราด สู่ อ.คลองใหญ่ เพื่อป้องกันมิให้มีการลักลอบปริมาณส่วนเกินไปยังกัมพูชาได้
ขณะที่ น.อ.อุชลิตร นิวลานนท์ กล่าวว่า ทหารเรือจะดูแลในเรื่องการนำออกทางน้ำเป็นหลักและได้มีการปฏิบัติต่อสิ่งผิดกฎหมายที่นำออกนอกประเทศโดยเข้มงวดอยู่แล้ว ทั้งทางบกและทางเรือ
เวลา 09.00 น.วันนี้ (6 พ.ค.) ที่ห้องประชุมพลอยแดง ศาลากลาง จ.ตราด นายเมตตา บันเทิงสุข อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานและคณะ ได้ร่วมประชุมกับ นายแก่นเพชร ช่วงรังษี ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด และตัวแทนผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี นายประจักษ์ สุวรรณภักดี และตัวแทนผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง นายชิดพงษ์ ฤทธิประศาสน์ พร้อมส่วนราชการทั้งตำรวจน้ำ ทหารนาวิกโยธินจากกองกำลังป้องกันชายแดนจันบุรี-ตราด ด่านศุลกากร มาบตาพุด ด่านศุลกากรจันทบุรี ด่านศุลกากรคลองใหญ่ จ.ตราด และนายอำเภอคลองใหญ่ จ.ตราด พลังงาน จ.ตราด ร่วมประชุม โดยการประชุมครั้งนี้ ไม่ให้สื่อมวลชนเข้าสังเกตการณ์แต่ประการใดโดยอ้างว่าเป็นความลับ
หลังจากจบการประชุม นายแก่นเพชร ช่วงรังษี ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด ที่ขอออกจากห้องประชุมก่อนได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน ว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการหารือเพื่อแก้ปัญหาการลักลอบนำก๊าซ LPG ออกนอกประเทศโดยทางจังหวัด ได้มีการดำเนินการจับกุมผู้ลักลอบมาระดับหนึ่งแล้ว ซึ่งได้มีการประสานงานกับทางอำเภอคลองใหญ่ ด่านศุลกากร คลองใหญ่ เพื่อป้องกันไม่ให้มีการลักลอบ
ทั้งนี้ ทางจังหวัดจะมีการดำเนินการจบกุมผู้ลักลอบอย่างตรงไปตรงมาและเด็ดขาด หากมีการกระทำที่ผิดกฎหมาย ส่วนการแก้ปัญหาในระยะยาวนั้น ได้มีการเสนอให้จำกัดโควตาในการ นำก๊าซ LPG เข้าไปยังอำเภอคลองใหญ่ สำหรับปริมาณการลักลอบไปยังกัมพูชานั้นไม่สามารถตรวจสอบได้
“ตัวผู้กระทำผิดทางจังหวัดขอให้สื่อมวลชน แจ้งมาว่า ใครเป็นผู้ลักลอบ ผมสามารถจับกุมได้ทันทีและไม่ได้ เกรงกลัวใคร ที่ผ่านมาก็ทำงานอยู่แล้ว โดยทางจังหวัดประชุมครั้งนี้แล้ว จะเรียกคณะทำงานของจังหวัดมาประชุม เพื่อเร่งดำเนินการกับผู้ลักลอบ”
จากนั้น นายแก่นเพชรได้กล่าวตอบโต้สื่อมวลชนว่า หากรู้ข้อเท็จจริงว่าใครเป็นผู้ลักลอบให้บอกมา พร้อมให้สื่อมวลชนคนอื่นๆ บันทึกภาพไว้ ซึ่งผู้สื่อข่าวคนดังกล่าวบอกในที่สาธารณะว่า ชอบวิจารณ์การทำงานของผู้ว่าฯ ตราด และตนก็ได้คบแล้วพร้อมขอให้ผู้สื่อข่าวคนดังกล่าวไปพบที่ห้อง แต่ผู้สื่อข่าวคนดังกล่าวปฏิเสธที่จะเดินทางเข้าไป
หลังจากนั้น นายเมตตา บันเทิงสุข นางสาวแสงทอง แม้นสกุล นายด่านศุลกากรคลองใหญ่ น.อ.อุชลิต นิวลานนท์ รอง ผบ.ฉก.นย.ตรารด และ นายภวัต เลิศมุกดา ร่วมกันแถลงข่าวโดยนายเมตตา กล่าวว่า การประชุมในวันนี้ไม่ได้มาจับกุมหรือแก้ปัญหาการลักลอบก๊าซ LPG ไปกัมพูชา แต่มาหารือเรื่องการหามาตรการป้องกันมิให้มีการลักลอบนำก๊าซ LPG ไปยังกัมพูชา และหาข้อยุติ เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยต้องมีการนำก๊าซ LPG มาจากต่างประเทศเป็นครั้งแรกในเดือนเมษายน 20,000 ตัน เนื่องจากมีการใช้มากขึ้น
โดยเฉพาะการนำไปใช้กับรถยนต์ แต่ก่อนหน้านี้ (ก่อนวันที่ 10 มีนาคม 2551) ไม่มีการควบคุมส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน แต่หลังจาก วันที่ 10 มีนาคม 2551 ได้มีการประกาศควบคุมไม่ให้มีการนำออกนอกประเทศ แต่ก็ยังมีการลักลอบออกจากประเทศไทยโดยเฉพาะ อ.คลองใหญ่ จ.ตราด ผ่านทางเรือขนส่งสินค้า จ.สระแก้ว ทำให้ประเทศไทยเสียรายได้ เพราะประเทศไทยต้องซื้อก๊าซ LPG จากต่าปงระเทศเข้ามาในราคา 500 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน แต่นำมาจำหน่ายในประเทศ 300 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน ต้องชดเชย 200 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน แต่มีการลักลอบไปขายในกัมพูชาในอัตรา 800 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน
“ผมต้องหารือกับทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาไม่ให้มีการลักลอบ แต่เราก็พร้อมช่วยเหลือด้ายการซื้อขาย รัฐ/รัฐ โดยซื้อมาจากต่างประเทศเท่าไร ก็จำหน่ายเท่านั้น หรือการนำไปเพื่อใช้ในครัวเรือน 1-2 ถังก็ไม่ว่ากัน แต่ถ้า มีการลักลอบก็จะต้องดำเนินคดี”
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน กล่าวว่า ปัจจุบันมีการลักลอบในอัตราน้อย คือ ประมาณ 0.50% จาก 100% หรือ จาก 3,000 ตัน ก็มี 100 ตันเท่านั้น แต่ต่อไปจะมีการร่วมมือกับรัฐบาลของแต่ละประเทศ รอบประเทศไทยที่จะร่วม มือกันในการส่งก๊าซ LPG ไปยังประเทศเพื่อนบ้านโดยขณะนี้กัมพูชาโดยขอให้ส่งไป 1,209.56 ตัน/เดือน ลาว 79 ตัน/เดือน และพม่า 8 ตัน ทั้งนี้ผู้ประกอบการธุรกิจก๊าซ LPG หากจะต้องการนำส่งออกไปต่างประเทศต้องปฏิบัติ ตามมาตรา 7 ของ พรบ.การค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2543 ที่ปัจจุบันมี 7 ราย และตลาดในกัมพูชา เป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุด
ทางด้าน นายภวัต กล่าวว่า ในทางปฏิบัติได้มีการควบคุมอย่างเข้มงวดมาตลอด โดยเฉพาะกลุ่มผู้ค้าได้ ดำเนินการจับกุมดำเนินคดีไปแล้ว 2 ราย แต่สิ่งที่ต้องระมัดระวัง ก็คือ ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง 2 ฝ่าย รวมทั้งเรื่องมนุษยธรรม ซึ่งหากใช้ในครัวเรือนหรือบนเรือประมง 1-2 ถังก็เป็นเรื่องที่ต้องอนุโลม ให้ใช้ไม่ใช่เหมารวมว่าเป็นกองทัพ มดขนก๊าซ LPG ออกนอกประเทศ และทางอำเภอก็ได้เสนอให้มีการจำกัดโค้วต้าการนำก๊าซ LPG มาจาก จ.ตราด สู่ อ.คลองใหญ่ เพื่อป้องกันมิให้มีการลักลอบปริมาณส่วนเกินไปยังกัมพูชาได้
ขณะที่ น.อ.อุชลิตร นิวลานนท์ กล่าวว่า ทหารเรือจะดูแลในเรื่องการนำออกทางน้ำเป็นหลักและได้มีการปฏิบัติต่อสิ่งผิดกฎหมายที่นำออกนอกประเทศโดยเข้มงวดอยู่แล้ว ทั้งทางบกและทางเรือ