ฉะเชิงเทรา - หลายหน่วยงานผนึกกำลัง สร้างจุดแข็งอุตสาหกรรมปลาน้ำจืดรับมือผลกระทบจากการเปิดการค้าเสรี นำร่องโครงการที่จังหวัดฉะเชิงเทรา แหล่งผลิตอาหารที่สำคัญของประเทศ เน้นผลิตสินค้าคุณภาพ โภชนาการสูง และปลอดภัย หวังใช้เป็นกำแพงต้านสินค้าราคาถูกไหลทะลักเข้า จากต่างประเทศ พร้อมเตรียมสนับสนุนลู่ทางภาคการส่งออกเป็นอุตสาหกรรมอาหารคุณภาพของโลก
วันนี้ (2 พ.ค.51) ดร.สมหญิง เปี่ยมสมบูรณ์ อธิปดีกรมประมง กล่าวว่า จากการที่ไทยได้เจรจาเปิดการค้าเสรี ทั้ง จีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ รวมถึงการค้าเสรีบางส่วนกับอินเดีย จึงทำให้ในอนาคต สินค้าราคาถูกจำนวนมากจะไหลทะลักเข้ามาในประเทศ โดยเฉพาะสินค้าจากประเทศจีน ที่มีต้นทุนในการผลิตที่ต่ำกว่า ทำให้สินค้าจำพวกปลาสดแช่แข็งจากจีนมีปริมาณการนำเข้าสูงมากขึ้นถึง 2 เท่าตัว
รวมทั้งสินค้าจากกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนด้วย จึงส่งผลกระทบโดยตรงต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาน้ำจืด ชาวประมงไทย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นฟาร์มขนาดเล็กที่มีมากถึงกว่าสี่แสนราย
กรมประมง กรมการค้าต่างประเทศ มหาวิทยาลัยมหิดล และสหกรณ์ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด จึงได้เห็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการมุ่งเน้นผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ โภชนาการสูงและมีความปลอดภัย ด้วยการจัดการฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนาฟาร์มเลี้ยงปลาน้ำจืดให้เข้าสู่มาตรฐานการปฏิบัติทางประมงที่ดี (GAP) ให้แก่เกษตรกรในจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งถือเป็นจังหวัดที่มีการผลิตปลาน้ำจืดมากที่สุดในประเทศ รวมทั้งยังมีการผลิตทั้งปลาน้ำเค็ม และน้ำกร่อย อีกด้วย
ในการการอบรม ที่โรงแรมวังธารา แอนด์รีสอร์ท อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา ระหว่างเวลา 09.00-16.00 น. วันนี้ ถือเป็นโครงการนำร่องในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาน้ำจืดตลอดสายการผลิต ตั้งแต่กระบวนการเลี้ยง กระบวนการหลังการจับ กระบวนการแปรรูป และกระบวนการเข้าถึงผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ ได้มาตรฐาน โดยได้เลือกสนับสนุนสัตว์น้ำที่มีศักยภาพในการผลิตและการตลาดของไทย รวม 3 ชนิด คือ ปลานิล ปลาสวาย ปลาดุก โดยเน้นที่การลดต้นทุนในการผลิต และพัฒนาให้ได้มาตรฐาน รวมทั้งการสร้างมูลค่าเพิ่มของการผลิตให้มีความหลากหลาย
ขณะที่ นพ.ฆนัท ครุฑกูล ผู้จัดการศูนย์หัวใจ หลอดเลือด และเมแทบอลิซึม จากมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ปลาน้ำจืดที่กรมประมงสนับสนุนให้เกษตรกรเพาะเลี้ยงในโครงการนี้ เป็นปลาที่มีคุณค่าทางอาหารสูง เช่น ปลานิล เป็นปลาที่ให้โปรตีนสูง โคเลสเตอรอลต่ำ ปลาสลายเนื้อขาว ให้คุณค่าทางอาหาร คือ มีโอเมก้า 3 ที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน มีไขมันคุณภาพดี เมื่อรับประทานแล้วไม่ทำให้อ้วน ส่วนปลาดุกนั้น เนื้อปลาคุณภาพดี มีปริมาณโปรตีนสูง ย่อยง่าย
ด้านนางอัญชนา วิทยาธรรมธัช รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวว่า การช่วยเหลือเกษตรกรที่จะได้รับผลกระทบจากการเปิดการค้าเสรีนั้น เราได้มุ่งเน้นที่จะพัฒนาปลาน้ำจืดให้มีคุณภาพดี สะอาดปลอดภัย และให้คุณค่าทางอาหารสูง เพื่อเป็นการส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศให้สูงขึ้น จากเดิมในปัจจุบันคนไทย มีการบริโภคเนื้อปลาน้ำจืดภายในประเทศ เพียง 37 กก.ต่อคนต่อปี
จึงมีเป้าหมายที่จะให้มีการบริโภคเพิ่มมากขึ้นอีกร้อยละ 10 และส่งเสริมการส่งออกไปขายยังต่างประเทศ ด้วยการผ่านการรับรองในโครงการนี้ ด้วยการนำเกษตรกรมาเข้าโครงการมาอบรมให้ความรู้ เพื่อพัฒนาคุณภาพการผลิต พร้อมทั้งคัดเลือกเกษตรกรเข้าสู่โครงการนำร่องในปีแรก 30 ราย จากผู้เข้าอบรมทั้งหมดในวันนี้ 130 ราย เพื่อผลิตสินค้าที่มีคุณภาพตามโครงการ ซึ่งต่อไปอาจจะมีการออกแบบตราสัญลักษณ์ เพื่อรับรองคุณภาพ หรือสร้างตราแบรนด์เนมให้สินค้า เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภค
เมื่อมีการสร้างความเชื่อมั่นทางด้านความปลอดภัยในกระบวนการผลิต ผู้บริโภคก็จะยังคงหันมาบริโภคสินค้าที่มีคุณภาพ จากการผลิตที่ดี จนเกิดความนิยมการบริโภคสินค้าที่ผลิตได้ภายในประเทศเองต่อไป ซึ่งจะช่วยเป็นกำแพงกั้นไม่ให้สินค้าที่มีคุณภาพต่ำกว่าจากต่างประเทศ ได้รับความนิยม
นอกจากนี้ยังจะได้หาแนวทางที่จะส่งผลิตภัณฑ์สินค้าปลาน้ำจืดไปยังต่างประเทศได้ โดยเฉพาะปลานิล ซึ่งเป็นปลาเนื้อขาว กลุ่มผู้บริโภคในแถบยุโรป นิยมบริโภคปลาเนื้อขาวเป็นอย่างมาก รวมทั้งสินค้าสัตว์น้ำไทยยังเป็นที่ยอมรับของตลาดโลกที่มีคุณภาพ ซึ่งอาจจะต้องขยายเวลาในการเลี้ยงให้มีขนาดใหญ่มากขึ้น และทำแม็กฟิส หรือแช่แข็งส่งไปขายยังต่างประเทศ ซึ่งคาดว่าหากโครงการนี้สำเร็จ จะได้นำไปทำการพัฒนาเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาน้ำจืดทั่วประเทศต่อไป
วันนี้ (2 พ.ค.51) ดร.สมหญิง เปี่ยมสมบูรณ์ อธิปดีกรมประมง กล่าวว่า จากการที่ไทยได้เจรจาเปิดการค้าเสรี ทั้ง จีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ รวมถึงการค้าเสรีบางส่วนกับอินเดีย จึงทำให้ในอนาคต สินค้าราคาถูกจำนวนมากจะไหลทะลักเข้ามาในประเทศ โดยเฉพาะสินค้าจากประเทศจีน ที่มีต้นทุนในการผลิตที่ต่ำกว่า ทำให้สินค้าจำพวกปลาสดแช่แข็งจากจีนมีปริมาณการนำเข้าสูงมากขึ้นถึง 2 เท่าตัว
รวมทั้งสินค้าจากกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนด้วย จึงส่งผลกระทบโดยตรงต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาน้ำจืด ชาวประมงไทย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นฟาร์มขนาดเล็กที่มีมากถึงกว่าสี่แสนราย
กรมประมง กรมการค้าต่างประเทศ มหาวิทยาลัยมหิดล และสหกรณ์ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด จึงได้เห็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการมุ่งเน้นผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ โภชนาการสูงและมีความปลอดภัย ด้วยการจัดการฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนาฟาร์มเลี้ยงปลาน้ำจืดให้เข้าสู่มาตรฐานการปฏิบัติทางประมงที่ดี (GAP) ให้แก่เกษตรกรในจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งถือเป็นจังหวัดที่มีการผลิตปลาน้ำจืดมากที่สุดในประเทศ รวมทั้งยังมีการผลิตทั้งปลาน้ำเค็ม และน้ำกร่อย อีกด้วย
ในการการอบรม ที่โรงแรมวังธารา แอนด์รีสอร์ท อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา ระหว่างเวลา 09.00-16.00 น. วันนี้ ถือเป็นโครงการนำร่องในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาน้ำจืดตลอดสายการผลิต ตั้งแต่กระบวนการเลี้ยง กระบวนการหลังการจับ กระบวนการแปรรูป และกระบวนการเข้าถึงผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ ได้มาตรฐาน โดยได้เลือกสนับสนุนสัตว์น้ำที่มีศักยภาพในการผลิตและการตลาดของไทย รวม 3 ชนิด คือ ปลานิล ปลาสวาย ปลาดุก โดยเน้นที่การลดต้นทุนในการผลิต และพัฒนาให้ได้มาตรฐาน รวมทั้งการสร้างมูลค่าเพิ่มของการผลิตให้มีความหลากหลาย
ขณะที่ นพ.ฆนัท ครุฑกูล ผู้จัดการศูนย์หัวใจ หลอดเลือด และเมแทบอลิซึม จากมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ปลาน้ำจืดที่กรมประมงสนับสนุนให้เกษตรกรเพาะเลี้ยงในโครงการนี้ เป็นปลาที่มีคุณค่าทางอาหารสูง เช่น ปลานิล เป็นปลาที่ให้โปรตีนสูง โคเลสเตอรอลต่ำ ปลาสลายเนื้อขาว ให้คุณค่าทางอาหาร คือ มีโอเมก้า 3 ที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน มีไขมันคุณภาพดี เมื่อรับประทานแล้วไม่ทำให้อ้วน ส่วนปลาดุกนั้น เนื้อปลาคุณภาพดี มีปริมาณโปรตีนสูง ย่อยง่าย
ด้านนางอัญชนา วิทยาธรรมธัช รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวว่า การช่วยเหลือเกษตรกรที่จะได้รับผลกระทบจากการเปิดการค้าเสรีนั้น เราได้มุ่งเน้นที่จะพัฒนาปลาน้ำจืดให้มีคุณภาพดี สะอาดปลอดภัย และให้คุณค่าทางอาหารสูง เพื่อเป็นการส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศให้สูงขึ้น จากเดิมในปัจจุบันคนไทย มีการบริโภคเนื้อปลาน้ำจืดภายในประเทศ เพียง 37 กก.ต่อคนต่อปี
จึงมีเป้าหมายที่จะให้มีการบริโภคเพิ่มมากขึ้นอีกร้อยละ 10 และส่งเสริมการส่งออกไปขายยังต่างประเทศ ด้วยการผ่านการรับรองในโครงการนี้ ด้วยการนำเกษตรกรมาเข้าโครงการมาอบรมให้ความรู้ เพื่อพัฒนาคุณภาพการผลิต พร้อมทั้งคัดเลือกเกษตรกรเข้าสู่โครงการนำร่องในปีแรก 30 ราย จากผู้เข้าอบรมทั้งหมดในวันนี้ 130 ราย เพื่อผลิตสินค้าที่มีคุณภาพตามโครงการ ซึ่งต่อไปอาจจะมีการออกแบบตราสัญลักษณ์ เพื่อรับรองคุณภาพ หรือสร้างตราแบรนด์เนมให้สินค้า เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภค
เมื่อมีการสร้างความเชื่อมั่นทางด้านความปลอดภัยในกระบวนการผลิต ผู้บริโภคก็จะยังคงหันมาบริโภคสินค้าที่มีคุณภาพ จากการผลิตที่ดี จนเกิดความนิยมการบริโภคสินค้าที่ผลิตได้ภายในประเทศเองต่อไป ซึ่งจะช่วยเป็นกำแพงกั้นไม่ให้สินค้าที่มีคุณภาพต่ำกว่าจากต่างประเทศ ได้รับความนิยม
นอกจากนี้ยังจะได้หาแนวทางที่จะส่งผลิตภัณฑ์สินค้าปลาน้ำจืดไปยังต่างประเทศได้ โดยเฉพาะปลานิล ซึ่งเป็นปลาเนื้อขาว กลุ่มผู้บริโภคในแถบยุโรป นิยมบริโภคปลาเนื้อขาวเป็นอย่างมาก รวมทั้งสินค้าสัตว์น้ำไทยยังเป็นที่ยอมรับของตลาดโลกที่มีคุณภาพ ซึ่งอาจจะต้องขยายเวลาในการเลี้ยงให้มีขนาดใหญ่มากขึ้น และทำแม็กฟิส หรือแช่แข็งส่งไปขายยังต่างประเทศ ซึ่งคาดว่าหากโครงการนี้สำเร็จ จะได้นำไปทำการพัฒนาเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาน้ำจืดทั่วประเทศต่อไป