เชียงราย - พรานปลาบึกบ้านหาดไคร้ เตรียมลงน้ำโขงล่าปลาบึกในแม่น้ำโขงอีก ปีนี้กำหนดเริ่มบวงสรวงเจ้าพ่อปลาบึกพรุ่งนี้ (18 เม.ย.) พร้อมทำข้อตกลงกับภาครัฐ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สัญญาจะจับแค่ 2 ตัว ยันหากลักลอบจับมากกว่านั้นไม่ว่าจะเป็นการจับเพื่อทำสถิติหรือจับเพื่อขาย เดินหน้าแจ้งความดำเนินคดีให้ถึงที่สุด
นายพิสิทธิ์ วรรณธรรม ประธานชมรมปลาบึก อ.เชียงของ จ.เชียงราย เปิดเผยว่า ในวันที่ 18 เมษายนของทุกปี ชาวบ้านหาดไคร้ อ.เชียงของ จ.เชียงราย จะประกอบพิธีบวงสรวงเจ้าพ่อปลาบึก เป็นประเพณีที่ถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ โดยเชื่อว่าปลาบึก เป็นปลาที่มีเทพคอยคุ้มครองอยู่ ถ้าไม่มีการบวงสรวงไหว้วอนขอจากเจ้าพ่อ และไม่ปลุกขวัญแม่ย่านางเรือ ให้มีอานุภาพแกร่งกล้า ผู้นั้นก็ยากที่จะจับปลาบึกได้สำเร็จ
ดังนั้น บรรดาชาวประมงหรือพรานล่าปลาบึกบ้านหาดไคร้จึงได้มีพิธีบวงสรวงกันทุกปีจนกลายเป็นประเพณีพื้นบ้านของท้องถิ่น สำหรับพิธีบวงสรวงจะกระทำบริเวณชายหาดริมแม่น้ำโขง ณ บ้านหาดไคร้ อ.เชียงของ โดยมีศาลเพียงตาและมีรั้วรอบทั้งสี่ด้าน ที่มุมรั้วทั้ง 4 จะผูกต้นกล้วย ต้นอ้อยไว้ ส่วนบนศาลเพียงตาจะมีเครื่องเซ่นบวงสรวงประกอบด้วย ดอกไม้ ธูปเทียน สุราอาหารและผลไม้ สมัยก่อนเครื่องเซ่นสังเวยบวงสรวงเจ้าพ่อปลาบึก และแม่ย่านางเรือมีเพียง ดอกไม้ ธูปเทียนและไก่เป็นๆ โดยจับขาไก่สองข้างให้แน่น และฟาดลำตัวลงบนหัวเรือให้ตายทั้งเป็น เพื่อให้เลือดกระเซ็นรอบๆ เรือและเครื่องมือที่ใช้ดักจับปลาบึก จากนั้นก็ขออาหารที่เหลือมาแบ่งกันกิน เป็นอันเสร็จพิธี
นายพิสิทธิ์ กล่าวว่า ส่วนบรรยากาศการล่าปลาบึกปีนี้ ได้มีการทำข้อตกลงกับหน่วยงานภาครัฐ และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ว่าจะจับแค่ 2 ตัวเท่านั้น หากมีการลักลอบจับมากกว่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการจับเพื่อทำสถิติหรือจับเพื่อขายก็ตาม จะแจ้งความดำเนินคดีให้ถึงที่สุด โดยรายได้ที่เกิดขึ้นในช่วงที่เปิดให้มีการล่าปลาบึกนั้น จะถวายวัดหาดไคร้ อ.เชียงของ จ.เชียงราย สมทบทุนทางศาสนาต่อไป
สำหรับปีน้ำโขงแห้งมีเกาะทรายผุดขึ้นมากมาย คาดว่าจะจับปลาบึกได้แน่ เพราะเพิ่งมีฝนตก ปลาบึกน่าจะว่ายทวนน้ำขึ้นมาวางไข่ ผ่านบ้านหาดไคร้
“ปีนี้มีพรานไทย-พรานจาก สปป.ลาวเตรียมออกล่าปลาบึกด้วยเรือกว่า 10 ลำ ทำให้คาดว่าการท่องเที่ยวในพื้นที่จะคึกคัก เพราะมีนักท่องเที่ยวสนใจมาชมวิถีชีวิตแบบนี้มาก”
ด้านนางอัจฉริกา มณีสิน ผู้อำนวยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานภาคเหนือเขต 2 จ.เชียงราย เปิดเผยว่า งานพิธีบวงสรวงปลาบึก วันที่ 18 เม.ย.ที่บ้านหาดไคร้ อำเภอเชียงของ เป็นอีกหนึ่งแผนในการกระจายรายได้จากการท่องเที่ยว ในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ให้ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างประเทศ เข้าสู่ท้องถิ่น ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น ในฐานะเป็นแหล่งเพาะพันธ์อนุรักษ์ปลาบึก ปลาแม่น้ำโขงแห่งเดียวในโลก
สำหรับการล่าปลาบึกที่บ้านหาดไคร้ อ.เชียงราย ทำมานานหลายชั่วอายุคน แต่เมื่อราวปี 2549 ชาวประมง มีการไปทำข้อตกลงกับ ประมงจังหวัด และนางเตือนใจ ดีเทศน์ สว.เชียงราย ขณะนั้นว่าจะเลิกล่าปลาบึก โดยนำอวน หรือ มอง มาขายให้ในราคาปากละ 20,000 บาท และขอโครงการทดแทนอาชีพให้ ต่อมามีการขายอวนไปบ้าง แต่ชาวประมงอ้างว่าได้เงินไม่ครบ ไม่มีอาชีพรองรับจริง เช่น การเลี้ยงวัว ทำให้มีการเริ่มกลับมาล่ากันอีกในปี 2550 แต่เป็นการสาธิตการล่า จนมาจับจริงในปีนี้ ขณะที่นางเตือนใจ ซึ่งขณะนี้พ้นจากตำแหน่ง สว.เชียงราย และ สนช.เชียงราย ไปแล้ว
นายพิสิทธิ์ วรรณธรรม ประธานชมรมปลาบึก อ.เชียงของ จ.เชียงราย เปิดเผยว่า ในวันที่ 18 เมษายนของทุกปี ชาวบ้านหาดไคร้ อ.เชียงของ จ.เชียงราย จะประกอบพิธีบวงสรวงเจ้าพ่อปลาบึก เป็นประเพณีที่ถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ โดยเชื่อว่าปลาบึก เป็นปลาที่มีเทพคอยคุ้มครองอยู่ ถ้าไม่มีการบวงสรวงไหว้วอนขอจากเจ้าพ่อ และไม่ปลุกขวัญแม่ย่านางเรือ ให้มีอานุภาพแกร่งกล้า ผู้นั้นก็ยากที่จะจับปลาบึกได้สำเร็จ
ดังนั้น บรรดาชาวประมงหรือพรานล่าปลาบึกบ้านหาดไคร้จึงได้มีพิธีบวงสรวงกันทุกปีจนกลายเป็นประเพณีพื้นบ้านของท้องถิ่น สำหรับพิธีบวงสรวงจะกระทำบริเวณชายหาดริมแม่น้ำโขง ณ บ้านหาดไคร้ อ.เชียงของ โดยมีศาลเพียงตาและมีรั้วรอบทั้งสี่ด้าน ที่มุมรั้วทั้ง 4 จะผูกต้นกล้วย ต้นอ้อยไว้ ส่วนบนศาลเพียงตาจะมีเครื่องเซ่นบวงสรวงประกอบด้วย ดอกไม้ ธูปเทียน สุราอาหารและผลไม้ สมัยก่อนเครื่องเซ่นสังเวยบวงสรวงเจ้าพ่อปลาบึก และแม่ย่านางเรือมีเพียง ดอกไม้ ธูปเทียนและไก่เป็นๆ โดยจับขาไก่สองข้างให้แน่น และฟาดลำตัวลงบนหัวเรือให้ตายทั้งเป็น เพื่อให้เลือดกระเซ็นรอบๆ เรือและเครื่องมือที่ใช้ดักจับปลาบึก จากนั้นก็ขออาหารที่เหลือมาแบ่งกันกิน เป็นอันเสร็จพิธี
นายพิสิทธิ์ กล่าวว่า ส่วนบรรยากาศการล่าปลาบึกปีนี้ ได้มีการทำข้อตกลงกับหน่วยงานภาครัฐ และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ว่าจะจับแค่ 2 ตัวเท่านั้น หากมีการลักลอบจับมากกว่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการจับเพื่อทำสถิติหรือจับเพื่อขายก็ตาม จะแจ้งความดำเนินคดีให้ถึงที่สุด โดยรายได้ที่เกิดขึ้นในช่วงที่เปิดให้มีการล่าปลาบึกนั้น จะถวายวัดหาดไคร้ อ.เชียงของ จ.เชียงราย สมทบทุนทางศาสนาต่อไป
สำหรับปีน้ำโขงแห้งมีเกาะทรายผุดขึ้นมากมาย คาดว่าจะจับปลาบึกได้แน่ เพราะเพิ่งมีฝนตก ปลาบึกน่าจะว่ายทวนน้ำขึ้นมาวางไข่ ผ่านบ้านหาดไคร้
“ปีนี้มีพรานไทย-พรานจาก สปป.ลาวเตรียมออกล่าปลาบึกด้วยเรือกว่า 10 ลำ ทำให้คาดว่าการท่องเที่ยวในพื้นที่จะคึกคัก เพราะมีนักท่องเที่ยวสนใจมาชมวิถีชีวิตแบบนี้มาก”
ด้านนางอัจฉริกา มณีสิน ผู้อำนวยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานภาคเหนือเขต 2 จ.เชียงราย เปิดเผยว่า งานพิธีบวงสรวงปลาบึก วันที่ 18 เม.ย.ที่บ้านหาดไคร้ อำเภอเชียงของ เป็นอีกหนึ่งแผนในการกระจายรายได้จากการท่องเที่ยว ในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ให้ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างประเทศ เข้าสู่ท้องถิ่น ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น ในฐานะเป็นแหล่งเพาะพันธ์อนุรักษ์ปลาบึก ปลาแม่น้ำโขงแห่งเดียวในโลก
สำหรับการล่าปลาบึกที่บ้านหาดไคร้ อ.เชียงราย ทำมานานหลายชั่วอายุคน แต่เมื่อราวปี 2549 ชาวประมง มีการไปทำข้อตกลงกับ ประมงจังหวัด และนางเตือนใจ ดีเทศน์ สว.เชียงราย ขณะนั้นว่าจะเลิกล่าปลาบึก โดยนำอวน หรือ มอง มาขายให้ในราคาปากละ 20,000 บาท และขอโครงการทดแทนอาชีพให้ ต่อมามีการขายอวนไปบ้าง แต่ชาวประมงอ้างว่าได้เงินไม่ครบ ไม่มีอาชีพรองรับจริง เช่น การเลี้ยงวัว ทำให้มีการเริ่มกลับมาล่ากันอีกในปี 2550 แต่เป็นการสาธิตการล่า จนมาจับจริงในปีนี้ ขณะที่นางเตือนใจ ซึ่งขณะนี้พ้นจากตำแหน่ง สว.เชียงราย และ สนช.เชียงราย ไปแล้ว