ฉะเชิงเทรา - กลุ่มแพปลาภาคตะวันออกสุดทน หลังที่ประชุมเจรจาไกล่เกลี่ยระดับจังหวัด ปล่อยผีองค์การสะพานปลาเปิดตลาดให้กลุ่มนายทุนฮุบการค้าปลาน้ำจืดในภูมิภาค อ้างเกษตรกรต้องการทางเลือก ขณะกลุ่มผู้ค้าเดิมเจ้าถิ่นเตรียมหันพึ่งศาลปกครองชี้ขาด
วันนี้ (9 เม.ย.) เวลา 10.00 น.นายวิศว ศะศิสมิต รองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา กล่าวถึงผลการประชุมคณะกรรมการศึกษาแก้ไขปัญหาการจัดตั้งตลาดกลางรับซื้อขายสัตว์น้ำบางคล้า กล่าวเปิดเผยถึงผลการประชุมของคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งดังกล่าว ระหว่างผู้ค้าปลาน้ำจืดภาคตะวันออก ที่มีตลาดแพปลารับซื้อสัตว์น้ำอยู่เดิมในพื้นที่ และตลาดกลางรับซื้อขายสัตว์น้ำบางคล้า ขององค์การสะพานปลาที่จะเปิดขึ้นใหม่ เมื่อวานนี้ ระหว่างเวลา 15.00-18.30 น. ที่ห้องประชุม 1 ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดฉะเชิงเทรา
จากการประชุมมีการเจรจากันนานกว่า 4 ชม.รวมการเจรจาทั้งหมด 3 ครั้ง ไม่สามารถที่จะรอมชอมกันได้ โดยต่างฝ่ายต่างถอยมาเพียงคนละครึ่งก้าวเท่านั้นจนไม่สามารถตกลงกันได้อีกต่อไป ซึ่งหลังจากทางจังหวัดได้พยายามเข้ามาร่วมแก้ไขเจรจาไกล่เกลี่ยให้ตามคำร้องเรียนของกลุ่มแพปลาภาคตะวันออก เป็นเวลากว่า 1 เดือนแล้วก็ตาม
หลังจากนี้ ทางจังหวัดจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว โดยให้ทั้งสองฝ่ายดำเนินการในส่วนของแต่ละฝ่าย หรือฟ้องร้องกันเอง โดยข้อเสนอในที่ประชุมเมื่อวานนี้ ทางกลุ่มของศูนย์รวมปลาน้ำจืดภาคตะวันออกยืนยันที่จะขออยู่ที่เดิม โดยขอให้องค์การสะพานปลาเข้ามาเปิดในที่เดียวกัน ซึ่งทางองค์การสะพานปลา อ้างว่า ไม่สามารถมารวมด้วยได้เพราะต้องลงทุนอีกมาก โดยสถานที่ที่จะเปิดสะพานปลาแห่งใหม่ ไม่ต้องลงทุนมาก เพราะเป็นพื้นที่ของตลาด อ.ต.ก.ขายสินค้าเกษตรเดิมที่มีอยู่แล้วและไม่ได้ใช้ประโยชน์
นอกจากนี้ ในศูนย์รวมปลาน้ำจืดเดิมยังเป็นที่ดินเช่าจากเอกชน ไม่มั่นคง และอาจมีปัญหาเกี่ยวกับระบบบำบัดน้ำเสียจึงต้องการให้ทางกลุ่มผู้ค้าปลาเดิมย้ายไปอยู่รวมกันยังที่แห่งใหม่ โดยจะจัดสถานที่เฉพาะให้ พร้อมชดเชยค่าสิ่งปลูกสร้างที่ลงทุนไปก่อนหน้านี้ให้ ด้วยการลดหย่อนค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่จะเก็บจากแพปลาทุกรายในตลาดสะพานปลาแห่งใหม่ ซึ่งทางกลุ่มผู้ค้าปลาภาคตะวันออกเดิมไม่ยินยอมที่จะไปอยู่รวมด้วย แต่จะขออยู่ที่เดิม และจะขอรับการสนับสนุนจากฝ่ายขององค์การสะพานปลาในด้านต่างๆ เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งขึ้น ซึ่งทางองค์การสะพานปลาไม่ยินยอม
เมื่อทั้งสองฝ่ายไม่สามารถตกลงกันได้ การประชุมจึงต้องยุติ และทางจังหวัดจะตอบหนังสือร้องเรียนของกลุ่มแพปลาภาคตะวันออกไปว่า ทางจังหวัดได้พยายามช่วยเหลือแล้ว แต่ไม่สามารถที่จะรอมชอมกันได้ หากกลุ่มผู้ค้าปลาเดิมต้องการสนับสนุนจากทางราชการในด้านอื่นๆ ทางจังหวัดก็ยินดีช่วยเหลือ
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า จากกรณีร้องเรียนที่มีการกล่าวอ้างว่า องค์การสะพานปลาเอื้อประโยชน์ให้นายทุน คนนอกพื้นที่เข้ามาจับจองพื้นที่ในตลาดค้าสัตว์น้ำแห่งใหม่ เพื่อให้ผู้อื่นเซ้งหรือเช่าต่อเพื่อกินหัวคิวนั้นมีข้อเท็จจริงอย่างไร นายวิศว กล่าวเลี่ยงว่า ทางจังหวัดได้รับการร้องเรียนมาจากกลุ่มเกษตรกร ว่า ผู้ค้าปลากลุ่มเดิมผูกขาดตลาดซื้อขายปลา กดราคาจากเกษตรโดยมีหนังสือร้องเรียน พร้อมรายชื่อเกษตรกรนับพันรายแนบท้ายอยู่ที่ประมงจังหวัด สามารถตรวจสอบได้และยอมรับว่าพ่อค้าแม่คล้าปลาที่เข้ามายังที่แห่งใหม่มีทั้งคนในพื้นที่และคนต่างพื้นที่ รวมทั้งผู้ค้าปลาจากกลุ่มศูนย์รวมปลาภาคตะวันออกเดิมบางรายก็ยังเข้าไปร่วมด้วย
ขณะที่ น.ส.ชัชกมล พวงเจริญ อายุ 33 ปี อยู่บ้านเลขที่ 235 ถ.ศุภประยูร ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา เจ้าของแพปลาน้ำจืดและฝ่ายประชาสัมพันธ์ของศูนย์รวมปลาน้ำจืดภาคตะวันออก กล่าวว่า หลังจากนี้ทางกลุ่มจะได้ยื่นเรื่องร้องเรียนไปยังศาลปกครอง ซึ่งเป็นที่พึ่งสุดท้ายของกลุ่มชาวบ้าน ที่ร่วมกันก่อตั้งแพปลาค้าขายรองรับการรับซื้อปลาน้ำจืดจากเกษตรกรในภาคตะวันออกมาก่อนตั้งแต่ต้นให้ได้รับความเป็นธรรมถึงที่สุด
วันนี้ (9 เม.ย.) เวลา 10.00 น.นายวิศว ศะศิสมิต รองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา กล่าวถึงผลการประชุมคณะกรรมการศึกษาแก้ไขปัญหาการจัดตั้งตลาดกลางรับซื้อขายสัตว์น้ำบางคล้า กล่าวเปิดเผยถึงผลการประชุมของคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งดังกล่าว ระหว่างผู้ค้าปลาน้ำจืดภาคตะวันออก ที่มีตลาดแพปลารับซื้อสัตว์น้ำอยู่เดิมในพื้นที่ และตลาดกลางรับซื้อขายสัตว์น้ำบางคล้า ขององค์การสะพานปลาที่จะเปิดขึ้นใหม่ เมื่อวานนี้ ระหว่างเวลา 15.00-18.30 น. ที่ห้องประชุม 1 ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดฉะเชิงเทรา
จากการประชุมมีการเจรจากันนานกว่า 4 ชม.รวมการเจรจาทั้งหมด 3 ครั้ง ไม่สามารถที่จะรอมชอมกันได้ โดยต่างฝ่ายต่างถอยมาเพียงคนละครึ่งก้าวเท่านั้นจนไม่สามารถตกลงกันได้อีกต่อไป ซึ่งหลังจากทางจังหวัดได้พยายามเข้ามาร่วมแก้ไขเจรจาไกล่เกลี่ยให้ตามคำร้องเรียนของกลุ่มแพปลาภาคตะวันออก เป็นเวลากว่า 1 เดือนแล้วก็ตาม
หลังจากนี้ ทางจังหวัดจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว โดยให้ทั้งสองฝ่ายดำเนินการในส่วนของแต่ละฝ่าย หรือฟ้องร้องกันเอง โดยข้อเสนอในที่ประชุมเมื่อวานนี้ ทางกลุ่มของศูนย์รวมปลาน้ำจืดภาคตะวันออกยืนยันที่จะขออยู่ที่เดิม โดยขอให้องค์การสะพานปลาเข้ามาเปิดในที่เดียวกัน ซึ่งทางองค์การสะพานปลา อ้างว่า ไม่สามารถมารวมด้วยได้เพราะต้องลงทุนอีกมาก โดยสถานที่ที่จะเปิดสะพานปลาแห่งใหม่ ไม่ต้องลงทุนมาก เพราะเป็นพื้นที่ของตลาด อ.ต.ก.ขายสินค้าเกษตรเดิมที่มีอยู่แล้วและไม่ได้ใช้ประโยชน์
นอกจากนี้ ในศูนย์รวมปลาน้ำจืดเดิมยังเป็นที่ดินเช่าจากเอกชน ไม่มั่นคง และอาจมีปัญหาเกี่ยวกับระบบบำบัดน้ำเสียจึงต้องการให้ทางกลุ่มผู้ค้าปลาเดิมย้ายไปอยู่รวมกันยังที่แห่งใหม่ โดยจะจัดสถานที่เฉพาะให้ พร้อมชดเชยค่าสิ่งปลูกสร้างที่ลงทุนไปก่อนหน้านี้ให้ ด้วยการลดหย่อนค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่จะเก็บจากแพปลาทุกรายในตลาดสะพานปลาแห่งใหม่ ซึ่งทางกลุ่มผู้ค้าปลาภาคตะวันออกเดิมไม่ยินยอมที่จะไปอยู่รวมด้วย แต่จะขออยู่ที่เดิม และจะขอรับการสนับสนุนจากฝ่ายขององค์การสะพานปลาในด้านต่างๆ เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งขึ้น ซึ่งทางองค์การสะพานปลาไม่ยินยอม
เมื่อทั้งสองฝ่ายไม่สามารถตกลงกันได้ การประชุมจึงต้องยุติ และทางจังหวัดจะตอบหนังสือร้องเรียนของกลุ่มแพปลาภาคตะวันออกไปว่า ทางจังหวัดได้พยายามช่วยเหลือแล้ว แต่ไม่สามารถที่จะรอมชอมกันได้ หากกลุ่มผู้ค้าปลาเดิมต้องการสนับสนุนจากทางราชการในด้านอื่นๆ ทางจังหวัดก็ยินดีช่วยเหลือ
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า จากกรณีร้องเรียนที่มีการกล่าวอ้างว่า องค์การสะพานปลาเอื้อประโยชน์ให้นายทุน คนนอกพื้นที่เข้ามาจับจองพื้นที่ในตลาดค้าสัตว์น้ำแห่งใหม่ เพื่อให้ผู้อื่นเซ้งหรือเช่าต่อเพื่อกินหัวคิวนั้นมีข้อเท็จจริงอย่างไร นายวิศว กล่าวเลี่ยงว่า ทางจังหวัดได้รับการร้องเรียนมาจากกลุ่มเกษตรกร ว่า ผู้ค้าปลากลุ่มเดิมผูกขาดตลาดซื้อขายปลา กดราคาจากเกษตรโดยมีหนังสือร้องเรียน พร้อมรายชื่อเกษตรกรนับพันรายแนบท้ายอยู่ที่ประมงจังหวัด สามารถตรวจสอบได้และยอมรับว่าพ่อค้าแม่คล้าปลาที่เข้ามายังที่แห่งใหม่มีทั้งคนในพื้นที่และคนต่างพื้นที่ รวมทั้งผู้ค้าปลาจากกลุ่มศูนย์รวมปลาภาคตะวันออกเดิมบางรายก็ยังเข้าไปร่วมด้วย
ขณะที่ น.ส.ชัชกมล พวงเจริญ อายุ 33 ปี อยู่บ้านเลขที่ 235 ถ.ศุภประยูร ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา เจ้าของแพปลาน้ำจืดและฝ่ายประชาสัมพันธ์ของศูนย์รวมปลาน้ำจืดภาคตะวันออก กล่าวว่า หลังจากนี้ทางกลุ่มจะได้ยื่นเรื่องร้องเรียนไปยังศาลปกครอง ซึ่งเป็นที่พึ่งสุดท้ายของกลุ่มชาวบ้าน ที่ร่วมกันก่อตั้งแพปลาค้าขายรองรับการรับซื้อปลาน้ำจืดจากเกษตรกรในภาคตะวันออกมาก่อนตั้งแต่ต้นให้ได้รับความเป็นธรรมถึงที่สุด