เชียงใหม่ - หน่วยจัดการต้นน้ำแม่กลาง ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ นำพิธีกรรมสาปแช่งซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้เพื่อให้ชาวเขาเกิดความเกรงกลัวไม่กล้าเผาป่า ทำให้พื้นที่ป่าในเขตอุทยานฯ ถูกเผาเสียหายลดน้อยลง
พล.ต.อินทรัตน์ ยอดบางเตย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานนำชาวไทยภูเขาเผ่าม้งและชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ ดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ 6 หมู่บ้าน 18 หย่อมบ้าน กว่า 500 คน เข้าร่วมพิธีกรรมรวมพลังมวลชนในการสาปแช่งและปฏิญาณตนจะช่วยกันปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้แหล่งต้นน้ำ โดยจะไม่มีการจุดไฟเผาป่าเพื่อล่าสัตว์ และทำไร่ หากผู้ใดผิดคำสัญญาก็จะเจ็บไข้ได้ป่วย ทั้งนี้ เพื่อลดปัญหาหมอกควันไฟ เชื่อว่าการรณรงค์ในปีต่อไปจะทำให้ปัญหาหมอกควันในตัวเมืองเชียงใหม่ลดลงถึงร้อยละ 75
นายมัญญา นาคพน หัวหน้าหน่วยจัดการต้นน้ำแม่กลาง สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 จังหวัดเชียงใหม่ บอกว่า หลังได้นำเอาภูมิปัญญาท้องถิ่นของชนเผ่าขึ้นมาประยุกต์ใช้ทำให้ชาวบ้านเกิดความเกรงกลัว ไม่กล้ากระทำความผิดที่ผ่านมาจากที่เคยเกิดไฟไหม้ป่าในเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จำนวนกว่า 8,000 ไร่
ในปี 2541 หลังมีการทำพิธีกรรม ทำให้แต่ละปีที่ผ่านมาชาวบ้านเกิดความเกรงกลัว ส่งผลให้พื้นที่ป่าถูกไฟไหม้ลดลงไปด้วย โดยปี 2550 ที่ผ่านมาลดลงเหลือเพียง 600 ไร่ นอกจากนั้นยังให้แต่ละหมู่บ้านจัดตั้งเป็นเครือข่ายลุ่มน้ำแม่กลางตอนบน ในการเฝ้าระวังป้องกันไฟป่าโดยมีการจัดเวรยามออกลาดตระเวนตลอด 24 ชั่วโมง หากพบผู้กระทำผิดก็จะมีมาตรการลงโทษ ของประชาคมหมู่บ้าน ทั้งห้ามใช้น้ำและให้ทำงานบริการสาธารณประโยชน์ หรือปรับเป็นเงินแทน
พล.ต.อินทรัตน์ ยอดบางเตย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานนำชาวไทยภูเขาเผ่าม้งและชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ ดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ 6 หมู่บ้าน 18 หย่อมบ้าน กว่า 500 คน เข้าร่วมพิธีกรรมรวมพลังมวลชนในการสาปแช่งและปฏิญาณตนจะช่วยกันปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้แหล่งต้นน้ำ โดยจะไม่มีการจุดไฟเผาป่าเพื่อล่าสัตว์ และทำไร่ หากผู้ใดผิดคำสัญญาก็จะเจ็บไข้ได้ป่วย ทั้งนี้ เพื่อลดปัญหาหมอกควันไฟ เชื่อว่าการรณรงค์ในปีต่อไปจะทำให้ปัญหาหมอกควันในตัวเมืองเชียงใหม่ลดลงถึงร้อยละ 75
นายมัญญา นาคพน หัวหน้าหน่วยจัดการต้นน้ำแม่กลาง สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 จังหวัดเชียงใหม่ บอกว่า หลังได้นำเอาภูมิปัญญาท้องถิ่นของชนเผ่าขึ้นมาประยุกต์ใช้ทำให้ชาวบ้านเกิดความเกรงกลัว ไม่กล้ากระทำความผิดที่ผ่านมาจากที่เคยเกิดไฟไหม้ป่าในเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จำนวนกว่า 8,000 ไร่
ในปี 2541 หลังมีการทำพิธีกรรม ทำให้แต่ละปีที่ผ่านมาชาวบ้านเกิดความเกรงกลัว ส่งผลให้พื้นที่ป่าถูกไฟไหม้ลดลงไปด้วย โดยปี 2550 ที่ผ่านมาลดลงเหลือเพียง 600 ไร่ นอกจากนั้นยังให้แต่ละหมู่บ้านจัดตั้งเป็นเครือข่ายลุ่มน้ำแม่กลางตอนบน ในการเฝ้าระวังป้องกันไฟป่าโดยมีการจัดเวรยามออกลาดตระเวนตลอด 24 ชั่วโมง หากพบผู้กระทำผิดก็จะมีมาตรการลงโทษ ของประชาคมหมู่บ้าน ทั้งห้ามใช้น้ำและให้ทำงานบริการสาธารณประโยชน์ หรือปรับเป็นเงินแทน