***หมายเหตุรูปหนังสือพิมพ์ส่งทาง mgrprapan@gmail.com
ณขจร จันทวงศ์
ศูนย์ข่าวหาดใหญ่... รายงาน
“ทะเลสาบงาม เมืองสามแผ่นดิน ถิ่นรังนกนางแอ่น แท่นพระนอนยอดเขา ภูมิลำเนาสัตว์น้ำกร่อย”
ข้อความข้างต้นคือคำขวัญของ อ.ปากพะยูน อำเภอเล็กๆ แต่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและประวัติศาสตร์ของ จ.พัทลุง เนื่องจาก อ.ปากพะยูน ซึ่งมีอาณาเขตส่วนหนึ่งติดกับทะเลสาบสงขลาตอนใน เป็นที่ตั้งของหมู่เกาะสี่ เกาะห้า ที่มีรังนกนางแอ่นคุณภาพดีที่สุดในโลก ถือเป็นสมบัติที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของแผ่นดินนอกเหนือจากทรัพยากรอื่นๆ
*** ตอมรอยเส้นทางประพาส ‘พระพุทธเจ้าหลวง’
“มีการเปิดให้สัมปทานรังนกนางแอ่นที่ อ.ปากพะยูน มาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” บัญญัติ พัทธธรรม ประธานชมรมอนุรักษ์สัตว์ป่าทะเลสาบสงขลา เจ้าของโครงการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เขาชัน รีสอร์ท กล่าว
และรังนกนางแอ่นบนหมู่เกาะสี่ เกาะห้า นี่เอง เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดประวัติศาสตร์ที่สำคัญของอำเภอเล็กๆ แห่งนี้ ประวัติศาสตร์ที่ว่าด้วยการเสด็จประพาสแหลมมลายู ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 ซึ่งเสด็จมาพร้อมด้วยพระโอรสทั้งเจ็ดพระองค์เพื่อทอดพระเนตรการเก็บรังนก อันเป็นสมบัติล้ำค่าของแผ่นดิน พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสโดยทรงเรือพระที่นั่งอุบลบุรทิศ ถึงปากอ่าวสงขลา ตรงกับวันที่ 25 กรกฎาคม รัตนโกสินทร 22 ศก 108 และได้ทรงมีพระราชหัถเลขา ถึงท่านกลางแลกรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ ความตอนหนึ่งว่า
“พักร้อนที่หว่างบ้านปากบางกับบ้านแหลมจากต่อกัน ปักเตนต์ใหญ่ของพระยาสุนทรา พระยาจางวาง (เมืองพัทลุง) ยกรบัตรและหม่อมราชวงศ์หรั่ง เมืองพัทลุงมารับ ออกจากที่พักร้อนมาตามทาง เห็นบ้านปากจ่า มีบ้านเรือนมากเปนสามหมู่ ไปในระหว่างฝั่งกับเกาะญวนเรียกว่าคลองหลวง น้ำตื้นบ้างลึกบ้าง จนถึงบ้านปากพยูนซึ่งเปนช่องจะออกที่กว้าง มีบ้านเรือหลายสิบหลัง ต้นไม้และภูมที่งามนัก ฝั่งขวาเปนเกาะหมาก ฝั่งซ้ายเปนแหลมเขาปากพยูน ตั้งแต่เมืองสงขลาขึ้นมาจนถึงปากพยูน มีเสารั้วโพงพางและยกยอตลอดระทางไป ไม่ได้ขาดเลย เพราะในตอนนี้ปลาชุม
พอขึ้นไปถึงกลางเกาะปราบ บ่ายหัวเรือขึ้นเหนือจะไปตามน่าเกาะรังนก ลมพัดโต้น่าจัด น้ำก็ตื้น เรือไปได้เพียงน่าเกาะยิโส ซึ่งเปนเกาะที่สองหมู่เกาะสี่เกาะห้า ต้องปล่อยเรือกลไฟตีกระเชียงไปจนถึงพลับพลาซึ่งปลูกไว้ที่เกาะมวย เข้าทางช่องหว่างเกาะมวยกับเกาะพระต่อกัน เวลาค่ำจึงได้ถึง หลวงอุดมภักดี เจ้าภาษีรังนกมาคอยรับตั้งเลี้ยงอยู่ในที่นี้ ที่ซึ่งปลูกพลับพลานี้เรียกว่า น่าเทวดา คือเปนศาลสำหรับพวกรังนกไหว้ก่อนที่จะลงมือทำรังนก พระมหาอรรคนิกรเปนผู้มาปลูก
มีท้องพระโรงหลังหนึ่ง ที่อยู่หลังหนึ่ง ที่เจ้านายข้าราชการอยู่อาศรัยโรงของเจ้าภาษีรังนกสองหลัง พื้นที่ที่ทำพลับพลาเปนที่เลนขึ้นตัดหญ้าถมทรายโรย เมื่อมาตามทางไม่ถูกฝน แต่ที่พลับพลาฝนตกอยู่ข้างจะเปรอะเปื้อน มีกลิ่นเหม็นตมเหม็นหญ้า เคยอยู่ในทเลกว้างๆ ขึ้นมาอยู่บนบกออกร้อน และฝนยังตกประปรายอยู่เปนคราวๆ มาเกือบสิบสองชั่วโมงออกเหนื่อย แต่ก่อนๆ ที่มากับเขา พักปากพยูนเปนเวลาพอดีอยู่ในสี่โมงเย็น แต่คำสั่งให้มาปลูกพลับพลาที่เกาะ เขาก็ทำตามคำสั่ง ก็นับว่าดีอย่างหนึ่งที่เที่ยวเสดวกไม่ต้องไปทางไกล
วันที่ ๒๔ เดิมคิดว่าจะไปเมืองพัทลุงในวันนี้ แต่ครั้นเมื่อเวลาวานซืนนี้ได้ความว่า ที่เมืองพัทลุงทำไว้แต่พลับพลาประทับร้อน เมื่อวานนี้จึงได้ให้พระมหาอรรคนิกรคุมเตนต์ขึ้นไปตั้ง จึงพักอยู่ที่นี่พอได้ทำการเวลาหนึ่ง ครั้นเวลาสายพระยาพัทลุง(๔)ลงมาแจ้งว่าได้ทำพลับพลาไว้ใหญ่โตพร้อมแล้ว เปนแต่สงสัยเล็กน้อยนำแผนที่มาให้แก้ไข
ได้จารึกอักษร จ.ป.ร. และศักราช ๑๐๘ ไว้ที่น่าเพิงศาลเทวดาแห่งหนึ่งเปนศิลาปูนเราะง่าย แล้วลงเรือไปที่เขาชันเปนเกาะใหญ่ของเมืองพัทลุง อยู่หลังเกาะสี่เกาะห้า ระยะทางชั่วโมงหนึ่ง ตั้งข่ายไล่กระจง ในที่ที่ไล่นั้นเปนป่าคอแหลมกว้างสักสี่สิบวาเท่านั้น ขึงข่ายสกัดได้เกือบตลอด ข้างหนึ่งเปนทุ่ง ข้างหนึ่งเปนทเล ใช้คนประมาณ ๕๐ คน เข้าไปต้อนตีป่าใกล้ๆ ในป่านี้ไม่มีสัตว์อื่นเลยนอกจากกระจง เพราะเปนป่าโปร่งเดิรง่าย และกระจงที่นี่ตัวเล็กๆ เล็กกว่ากระจงที่เคยเห็นๆ กันอยู่สักครึ่งหนึ่ง สีตัวเหลืองท้องขาว ไม่โตกว่ากระต่าย ดูน่ารักมาก ต้อนมาเข้าข่ายแล้วก็ตะครุบจับเอาได้ง่ายๆ กิริยาที่จะมาไม่เหมือนเนื้อ ไม่หนีคนไกล วิ่งวิ่งหยุดๆ ไม่ใคร่จะเข้าที่รก วิ่งก็ช้าไม่เหมือนกระต่าย กิริยาที่วิ่งคล้ายหนูมากกว่าอย่างอื่น
แต่ที่มาได้เห็นหลายสิบตัว วิ่งหักหลังไปเสียมาก ไล่สี่เที่ยวจับได้สิบสี่ตัว คราวหนึ่งคงจะได้เห็นอยู่ในในสิบตัวขึ้นไปหาสิบห้าตัว การที่ไล่ได้น้อยเปนเพราะคนเราไปนั่งน่าข่ายมาก ล้วนแต่เสื้อสีสรรพ์ต่างๆ เกือบจะเปนหีบน้ำยาเครื่องเขียน ถ้ากระจงไม่ไล่ง่าย ที่สุดเกือบมานั่งตักได้ก็เห็นจะไม่ได้ตัว แต่เท่านี้ก็นับว่าเปนได้มากอยู่แล้ว คิดว่าจะพาเข้าไปเลี้ยงในกรุงเทพฯ ให้ได้ กระจงใหญ่มีบ้างแต่น้อย แต่ดูอยู่ข้างจะเขื่องกว่าที่เคยเห็นไปเสียสักหน่อยอีก เวลาเย็นกลับมาพลับพลา”
เนื้อความในพระราชหัถเลขา ข้างต้น ได้กล่าวถึงพื้นที่หนึ่งคือ “เขาชัน” อันเป็นสถานที่ประทับแรมสำหรับจับ “กระจง” ซึ่งเป็นสัตว์ที่มามากในแถบนั้น ภายหลังจากไปทอดพระเนตรการจัดเก็บรังนกที่หมู่เกาะสี่ เกาะห้า
**** สู่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ปลุกสำนึกรักษ์ ‘ทะเลสาบ’
เขาชัน ตั้งอยู่บนเกาะหมาก อ.ปากพะยูน พื้นที่นี้เองที่ บัญญัติ พัทธธรรม ประธานชมรมอนุรักษ์สัตว์ป่าทะเลสาบสงขลา ได้จัดตั้งโครงการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เขาชัน รีสอร์ท ขึ้น เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกรักษ์ทะเลสาบสงขลาให้กับนักท่องเที่ยวที่มาเยือน พร้อมๆ กับการเรียนรู้และศึกษาสภาพธรรมชาติรอบทะเลสาบ ควบคู่ไปกับการศึกษาประวัติศาสตร์เมื่อครั้ง ร.5 เสด็จประพาส
หลังรับประทานอาหารกลางวันซึ่งล้วนเป็นอาหารพื้นบ้านปักษ์ใต้ อาทิ ข้าวยำสมุนไพร เต้าคั่ว ขนมจีน ตามด้วยขนมหวานพื้นบ้าน แล้ว เมื่อแดดร่มลมตกนักท่องเที่ยวก็จะได้ดื่มด่ำกับเสียงดนตรีเครื่องสายผสม ซึ่งบรรเลงสืบทอดกันมาเป็นรุ่นที่ 3 ของ จ.พัทลุง การนำเสนอนั้นไม่ได้อยู่บนเวที แต่นักดนตรีได้ขนเครื่องดนตรีไปตั้งวงบรรเลงกันในลำเรือขนาดไม่ใหญ่ ไม่เล็ก จุผู้โดยสารได้ไม่ต่ำกว่าลำละ 13 คน เรือลอยลำไปพร้อมกับมีเสียงดนตรีเครื่องสายผสมบรรเลงเคล้าคลออย่างลงตัว ท่ามกลางบรรยากาศแดดร่มลมตก ดวงตะวันค่อยๆ จมหายไปในทะเล ทีละน้อย ทีละน้อย ตัวโน้ตตัวสุดท้ายจึงค่อยๆ หยุดทำงาน
“เราจำลองรูปแบบเมื่อครั้งรับเสด็จพระพุทธเจ้าหลวงมาให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัส เมื่อขึ้นมาจากเรือวงดนตรีก็จะมาบรรเลงให้ฟังกันต่อระหว่างที่นักท่องเที่ยวรับประทานอาหารเย็น ซึ่งล้วนเป็นอาหารที่หาได้จากพื้นที่รอบๆ ทะเลสาบ เช่นพวกปลา และผักพื้นบ้านต่างๆ ผ่านการปรุงด้วยฝีมือของพ่อครัว แม่ครัว ซึ่งเป็นชาวบ้านในพื้นที่รสชาติจึงเป็นแบบดั้งเดิมหารับประทานที่ไหนไม่ได้” บัญญัติ กล่าว
รุ่งเช้าทางเขาชัน รีสอร์ท ได้จัดเรือนำเที่ยวเกาะแก่งต่างๆ ในทะเลสาบสงขลา คือเกาะโคบ เพื่อศึกษาวิถีชีวิตของชาวบ้านในรูปแบบดั้งเดิม เที่ยวชมนมัสการรอยเท้าหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืดที่เกาะกระ เที่ยวเกาะหน้าเทวดา ซึ่งพื้นที่สัมปทานรังนกโดยปัจจุบันบริษัท สยามเนสต์ เป็นผู้ชนะการประมูลและได้รับสัมปทานการจัดเก็บรังนกในระยะเวลา 5 ปี จึงจะมีการเปิดประมูลใหม่อีกครั้ง รายได้จากจุดนี้ส่วนหนึ่งจะส่งเข้าคลังหลวงและอีกส่วนหนึ่งแบ่งให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำไปบริหารและพัฒนาพื้นที่ต่อไป
สำหรับเกาะที่รัฐบาลเปิดให้สัมปทานรักนกนี้จะมีการดูแลรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันการปล้น และลักขโมยรังนก โดยห้ามไม่ให้ผู้ใดก้าวล้ำขึ้นไปบนเกาะโดยไม่ได้รับอนุญาต ในส่วนของนักท่องเที่ยวทางเขาชัน รีสอร์ท ได้มีการติดต่อประสานงานกับทางบริษัทเจ้าของสัมปทานเพื่อพานักท่องเที่ยวเข้าชมรอยจารึกพระปรมาภิไธย รัชการที่ 5 บริเวณหน้าเพิงผาเทวดา รวมทั้งชมการคัดแยกรังนกซึ่งมีมูลค่ามหาศาล โดยรังนกเกรดเอ ตกกิโลกรัมละไม่ต่ำกว่า 1 แสนบาท
“เหตุผลที่เราจัดการท่องเที่ยวในลักษณะนี้ก็เพื่อให้นักท่องเที่ยวจากภายนอกได้มารับรู้ประวัติศาสตร์ที่สำคัญซึ่งบางคนอาจลืมเลือนไปบ้างแล้ว อีกส่วนหนึ่งคือเราต้องการให้คนจากภายนอกได้มาสัมผัสความอุดมสมบูรณ์ของทะเลสาบสงขลาที่มีความสำคัญต่อคนจำนวนนับล้านคนรอบๆ ทะเลสาบ เพื่อเขาจะได้รู้รักษ์ทะเลสาบให้มีความอุดมสมบูรณ์ยั่งยืนต่อไป แม้ในขณะนี้ทะเลสาบจะถูกคุกคามจากการพัฒนาด้านต่างๆ แต่เชื่อว่าเมื่อทุกคนเห็นความสำคัญแล้วก็จะนำไปสู่การแก้ปัญหาและฟื้นฟูให้ทะเลสาบกลับมาอุดมสมบูรณ์ได้อีกครั้งหนึ่ง” บัญญัติ กล่าวและว่า
การจัดการท่องเที่ยวจะมีการควบคุมไม่ให้มีการขายสินค้าที่จะกลายเป็นขยะปนเปื้อนในทะเลสาบ รวมทั้งไม่ให้มีการนำเครื่องดื่มมึนเมาเข้ามาดื่มเนื่องจากจะเป็นการรบกวนการทำมาหากินตามวิถีชีวิตของชาวบ้าน และรบกวนสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่รอบๆ พื้นที่
“คนไทยอาจจะรู้สึกธรรมดากับการท่องเที่ยวที่เราจัด แต่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเขามาเห็นแล้วเขาชอบมาก เพราะได้มาสัมผัสกับความบริสุทธิ์ของธรรมชาติและวิถีชีวิตของชาวบ้านที่ยังคงรูปแบบดั้งเดิมเอาไว้”
**** ‘ปากพะยูน’ ดินแดนแห่งตำนาน
ในเว็บไซด์ของ จ.พัทลุง ได้บันทึกไว้ว่า อ.ปากพะยูน เป็นหนึ่งใน 10 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ ของ จ.พัทลุง คำว่า “ปากพะยูน” สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า “ปลาพะยูน” ซึ่งเป็นปลาที่มีลักษณะคล้ายกับปลาวาฬ เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม สมัยก่อนปลานี้มีอยู่มากในทะเลสาบสงขลาตอนใน สมัยนี้สูญพันธุ์ไปแล้ว นอกจากนี้มีผู้รู้บางท่านระบุว่าชื่ออำเภอมาจากคำว่า “ปากพูน” ซึ่งแปลว่า “ปากน้ำ
อ.ปากพะยูน ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2439 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เดิมมีอาณาเขตกว้างขวางมาก มีตำบลอยู่ในความปกครอง รวม 17 ตำบล รวมทั้ง ต.เขาชัยสน ( อ.เขาชัยสน ในปัจจุบัน) และ ต.กำแพงเพชร (อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลาในปัจจุบัน) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จประพาสเมื่อ ร.ศ.108 มีหลักฐานพระปรมาภิไธยย่อ จปร.ร.ศ.108 ณ หน้าเพิงผาเทวดา เกาะหน้าเทวดา ซึ่งอยู่ในทะเลสาบสงขลาตอนใน พื้นที่ อ.ปากพะยูน
อ.ปากพะยูน เหมือนกับอำเภอชนบททั่วไป แต่หากได้พิจารณาอย่างถ่องแท้ ไม่ว่าจะเป็นชัยภูมิ ที่ตั้ง ชื่อหมู่บ้าน ตำบล และชื่อเกาะต่างๆ ล้วนแล้วแต่มีความเกี่ยวพันกับตำนาน หรือนิทานปรำปราของชาวพื้นบ้านแทบทั้งสิ้น เช่น เรื่องเจ้าฟ้าคอลาย บ้านค่ายท่าทิศครู วัดท่าขุนหลวง เกาะบรรทม เป็นต้น อาจจะมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์อันล้ำค่าฝังอยู่ใต้ผืนดิน ที่ทำนา ทำสวน อยู่ทุกวัน แต่ยังไม่มีผู้ใดขุดค้นพบหลักฐานเหล่านั้นขึ้นมาเผยแพร่ให้ชาวโลกได้รับรู้ได้ หากบรรดานักโบราณคดีของกรมศิลปากรได้ให้ความสนใจในการขุดค้นตามหลักวิชาโบราณคดี คงจะประโยชน์มหาศาล
ที่กล่าวเช่นนี้เพราะในประวัติศาสตร์ของเมืองพัทลุง ได้บันทักไว้ว่า พระยากุมารกับพระนางเสือขาว ได้ตั้งเมืองพัทลุงขึ้นครั้งแรกที่บ้านพระเกิดเมื่อราว พ.ศ.1832 ในสมัยกรุงสุโขทัย (บ้านพระเกิดเป็นชื่อบ้านในหมู่ที่ 4 ต.ฝาละมี อ.ปากพะยูน ในปัจจุบัน) ห่างจากที่ว่าการอำเภอปากพะยูน ประมาณ 14 กิโลเมตร ก่อนที่จะย้ายไปอยู่ที่ อ.สทิงพระ จ.สงขลา อ.ปากพะยูน จึงเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์อีกแห่งหนึ่งของภาคใต้
ณขจร จันทวงศ์
ศูนย์ข่าวหาดใหญ่... รายงาน
“ทะเลสาบงาม เมืองสามแผ่นดิน ถิ่นรังนกนางแอ่น แท่นพระนอนยอดเขา ภูมิลำเนาสัตว์น้ำกร่อย”
ข้อความข้างต้นคือคำขวัญของ อ.ปากพะยูน อำเภอเล็กๆ แต่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและประวัติศาสตร์ของ จ.พัทลุง เนื่องจาก อ.ปากพะยูน ซึ่งมีอาณาเขตส่วนหนึ่งติดกับทะเลสาบสงขลาตอนใน เป็นที่ตั้งของหมู่เกาะสี่ เกาะห้า ที่มีรังนกนางแอ่นคุณภาพดีที่สุดในโลก ถือเป็นสมบัติที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของแผ่นดินนอกเหนือจากทรัพยากรอื่นๆ
ตอมรอยเส้นทางประพาส ‘พระพุทธเจ้าหลวง’
“มีการเปิดให้สัมปทานรังนกนางแอ่นที่ อ.ปากพะยูน มาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” บัญญัติ พัทธธรรม ประธานชมรมอนุรักษ์สัตว์ป่าทะเลสาบสงขลา เจ้าของโครงการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เขาชัน รีสอร์ท กล่าว
และรังนกนางแอ่นบนหมู่เกาะสี่ เกาะห้า นี่เอง เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดประวัติศาสตร์ที่สำคัญของอำเภอเล็กๆ แห่งนี้ ประวัติศาสตร์ที่ว่าด้วยการเสด็จประพาสแหลมมลายู ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 ซึ่งเสด็จมาพร้อมด้วยพระโอรสทั้งเจ็ดพระองค์เพื่อทอดพระเนตรการเก็บรังนก อันเป็นสมบัติล้ำค่าของแผ่นดิน พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสโดยทรงเรือพระที่นั่งอุบลบุรทิศ ถึงปากอ่าวสงขลา ตรงกับวันที่ 25 กรกฎาคม รัตนโกสินทร 22 ศก 108 และได้ทรงมีพระราชหัถเลขา ถึงท่านกลางแลกรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ ความตอนหนึ่งว่า
“พักร้อนที่หว่างบ้านปากบางกับบ้านแหลมจากต่อกัน ปักเตนต์ใหญ่ของพระยาสุนทรา พระยาจางวาง (เมืองพัทลุง) ยกรบัตรและหม่อมราชวงศ์หรั่ง เมืองพัทลุงมารับ ออกจากที่พักร้อนมาตามทาง เห็นบ้านปากจ่า มีบ้านเรือนมากเปนสามหมู่ ไปในระหว่างฝั่งกับเกาะญวนเรียกว่าคลองหลวง น้ำตื้นบ้างลึกบ้าง จนถึงบ้านปากพยูนซึ่งเปนช่องจะออกที่กว้าง มีบ้านเรือหลายสิบหลัง ต้นไม้และภูมที่งามนัก ฝั่งขวาเปนเกาะหมาก ฝั่งซ้ายเปนแหลมเขาปากพยูน ตั้งแต่เมืองสงขลาขึ้นมาจนถึงปากพยูน มีเสารั้วโพงพางและยกยอตลอดระทางไป ไม่ได้ขาดเลย เพราะในตอนนี้ปลาชุม
พอขึ้นไปถึงกลางเกาะปราบ บ่ายหัวเรือขึ้นเหนือจะไปตามน่าเกาะรังนก ลมพัดโต้น่าจัด น้ำก็ตื้น เรือไปได้เพียงน่าเกาะยิโส ซึ่งเปนเกาะที่สองหมู่เกาะสี่เกาะห้า ต้องปล่อยเรือกลไฟตีกระเชียงไปจนถึงพลับพลาซึ่งปลูกไว้ที่เกาะมวย เข้าทางช่องหว่างเกาะมวยกับเกาะพระต่อกัน เวลาค่ำจึงได้ถึง หลวงอุดมภักดี เจ้าภาษีรังนกมาคอยรับตั้งเลี้ยงอยู่ในที่นี้ ที่ซึ่งปลูกพลับพลานี้เรียกว่า น่าเทวดา คือเปนศาลสำหรับพวกรังนกไหว้ก่อนที่จะลงมือทำรังนก พระมหาอรรคนิกรเปนผู้มาปลูก
มีท้องพระโรงหลังหนึ่ง ที่อยู่หลังหนึ่ง ที่เจ้านายข้าราชการอยู่อาศรัยโรงของเจ้าภาษีรังนกสองหลัง พื้นที่ที่ทำพลับพลาเปนที่เลนขึ้นตัดหญ้าถมทรายโรย เมื่อมาตามทางไม่ถูกฝน แต่ที่พลับพลาฝนตกอยู่ข้างจะเปรอะเปื้อน มีกลิ่นเหม็นตมเหม็นหญ้า เคยอยู่ในทเลกว้างๆ ขึ้นมาอยู่บนบกออกร้อน และฝนยังตกประปรายอยู่เปนคราวๆ มาเกือบสิบสองชั่วโมงออกเหนื่อย แต่ก่อนๆ ที่มากับเขา พักปากพยูนเปนเวลาพอดีอยู่ในสี่โมงเย็น แต่คำสั่งให้มาปลูกพลับพลาที่เกาะ เขาก็ทำตามคำสั่ง ก็นับว่าดีอย่างหนึ่งที่เที่ยวเสดวกไม่ต้องไปทางไกล
วันที่ ๒๔ เดิมคิดว่าจะไปเมืองพัทลุงในวันนี้ แต่ครั้นเมื่อเวลาวานซืนนี้ได้ความว่า ที่เมืองพัทลุงทำไว้แต่พลับพลาประทับร้อน เมื่อวานนี้จึงได้ให้พระมหาอรรคนิกรคุมเตนต์ขึ้นไปตั้ง จึงพักอยู่ที่นี่พอได้ทำการเวลาหนึ่ง ครั้นเวลาสายพระยาพัทลุง(๔)ลงมาแจ้งว่าได้ทำพลับพลาไว้ใหญ่โตพร้อมแล้ว เปนแต่สงสัยเล็กน้อยนำแผนที่มาให้แก้ไข
ได้จารึกอักษร จ.ป.ร. และศักราช ๑๐๘ ไว้ที่น่าเพิงศาลเทวดาแห่งหนึ่งเปนศิลาปูนเราะง่าย แล้วลงเรือไปที่เขาชันเปนเกาะใหญ่ของเมืองพัทลุง อยู่หลังเกาะสี่เกาะห้า ระยะทางชั่วโมงหนึ่ง ตั้งข่ายไล่กระจง ในที่ที่ไล่นั้นเปนป่าคอแหลมกว้างสักสี่สิบวาเท่านั้น ขึงข่ายสกัดได้เกือบตลอด ข้างหนึ่งเปนทุ่ง ข้างหนึ่งเปนทเล ใช้คนประมาณ ๕๐ คน เข้าไปต้อนตีป่าใกล้ๆ ในป่านี้ไม่มีสัตว์อื่นเลยนอกจากกระจง เพราะเปนป่าโปร่งเดิรง่าย และกระจงที่นี่ตัวเล็กๆ เล็กกว่ากระจงที่เคยเห็นๆ กันอยู่สักครึ่งหนึ่ง สีตัวเหลืองท้องขาว ไม่โตกว่ากระต่าย ดูน่ารักมาก ต้อนมาเข้าข่ายแล้วก็ตะครุบจับเอาได้ง่ายๆ กิริยาที่จะมาไม่เหมือนเนื้อ ไม่หนีคนไกล วิ่งวิ่งหยุดๆ ไม่ใคร่จะเข้าที่รก วิ่งก็ช้าไม่เหมือนกระต่าย กิริยาที่วิ่งคล้ายหนูมากกว่าอย่างอื่น
แต่ที่มาได้เห็นหลายสิบตัว วิ่งหักหลังไปเสียมาก ไล่สี่เที่ยวจับได้สิบสี่ตัว คราวหนึ่งคงจะได้เห็นอยู่ในในสิบตัวขึ้นไปหาสิบห้าตัว การที่ไล่ได้น้อยเปนเพราะคนเราไปนั่งน่าข่ายมาก ล้วนแต่เสื้อสีสรรพ์ต่างๆ เกือบจะเปนหีบน้ำยาเครื่องเขียน ถ้ากระจงไม่ไล่ง่าย ที่สุดเกือบมานั่งตักได้ก็เห็นจะไม่ได้ตัว แต่เท่านี้ก็นับว่าเปนได้มากอยู่แล้ว คิดว่าจะพาเข้าไปเลี้ยงในกรุงเทพฯ ให้ได้ กระจงใหญ่มีบ้างแต่น้อย แต่ดูอยู่ข้างจะเขื่องกว่าที่เคยเห็นไปเสียสักหน่อยอีก เวลาเย็นกลับมาพลับพลา”
เนื้อความในพระราชหัถเลขา ข้างต้น ได้กล่าวถึงพื้นที่หนึ่งคือ “เขาชัน” อันเป็นสถานที่ประทับแรมสำหรับจับ “กระจง” ซึ่งเป็นสัตว์ที่มามากในแถบนั้น ภายหลังจากไปทอดพระเนตรการจัดเก็บรังนกที่หมู่เกาะสี่ เกาะห้า
สู่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ปลุกสำนึกรักษ์ ‘ทะเลสาบ’
เขาชัน ตั้งอยู่บนเกาะหมาก อ.ปากพะยูน พื้นที่นี้เองที่ บัญญัติ พัทธธรรม ประธานชมรมอนุรักษ์สัตว์ป่าทะเลสาบสงขลา ได้จัดตั้งโครงการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เขาชัน รีสอร์ท ขึ้น เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกรักษ์ทะเลสาบสงขลาให้กับนักท่องเที่ยวที่มาเยือน พร้อมๆ กับการเรียนรู้และศึกษาสภาพธรรมชาติรอบทะเลสาบ ควบคู่ไปกับการศึกษาประวัติศาสตร์เมื่อครั้ง ร.5 เสด็จประพาส
หลังรับประทานอาหารกลางวันซึ่งล้วนเป็นอาหารพื้นบ้านปักษ์ใต้ อาทิ ข้าวยำสมุนไพร เต้าคั่ว ขนมจีน ตามด้วยขนมหวานพื้นบ้าน แล้ว เมื่อแดดร่มลมตกนักท่องเที่ยวก็จะได้ดื่มด่ำกับเสียงดนตรีเครื่องสายผสม ซึ่งบรรเลงสืบทอดกันมาเป็นรุ่นที่ 3 ของ จ.พัทลุง การนำเสนอนั้นไม่ได้อยู่บนเวที แต่นักดนตรีได้ขนเครื่องดนตรีไปตั้งวงบรรเลงกันในลำเรือขนาดไม่ใหญ่ ไม่เล็ก จุผู้โดยสารได้ไม่ต่ำกว่าลำละ 13 คน เรือลอยลำไปพร้อมกับมีเสียงดนตรีเครื่องสายผสมบรรเลงเคล้าคลออย่างลงตัว ท่ามกลางบรรยากาศแดดร่มลมตก ดวงตะวันค่อยๆ จมหายไปในทะเล ทีละน้อย ทีละน้อย ตัวโน้ตตัวสุดท้ายจึงค่อยๆ หยุดทำงาน
“เราจำลองรูปแบบเมื่อครั้งรับเสด็จพระพุทธเจ้าหลวงมาให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัส เมื่อขึ้นมาจากเรือวงดนตรีก็จะมาบรรเลงให้ฟังกันต่อระหว่างที่นักท่องเที่ยวรับประทานอาหารเย็น ซึ่งล้วนเป็นอาหารที่หาได้จากพื้นที่รอบๆ ทะเลสาบ เช่นพวกปลา และผักพื้นบ้านต่างๆ ผ่านการปรุงด้วยฝีมือของพ่อครัว แม่ครัว ซึ่งเป็นชาวบ้านในพื้นที่รสชาติจึงเป็นแบบดั้งเดิมหารับประทานที่ไหนไม่ได้” บัญญัติ กล่าว
รุ่งเช้าทางเขาชัน รีสอร์ท ได้จัดเรือนำเที่ยวเกาะแก่งต่างๆ ในทะเลสาบสงขลา คือเกาะโคบ เพื่อศึกษาวิถีชีวิตของชาวบ้านในรูปแบบดั้งเดิม เที่ยวชมนมัสการรอยเท้าหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืดที่เกาะกระ เที่ยวเกาะหน้าเทวดา ซึ่งพื้นที่สัมปทานรังนกโดยปัจจุบันบริษัท สยามเนสต์ เป็นผู้ชนะการประมูลและได้รับสัมปทานการจัดเก็บรังนกในระยะเวลา 5 ปี จึงจะมีการเปิดประมูลใหม่อีกครั้ง รายได้จากจุดนี้ส่วนหนึ่งจะส่งเข้าคลังหลวงและอีกส่วนหนึ่งแบ่งให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำไปบริหารและพัฒนาพื้นที่ต่อไป
สำหรับเกาะที่รัฐบาลเปิดให้สัมปทานรักนกนี้จะมีการดูแลรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันการปล้น และลักขโมยรังนก โดยห้ามไม่ให้ผู้ใดก้าวล้ำขึ้นไปบนเกาะโดยไม่ได้รับอนุญาต ในส่วนของนักท่องเที่ยวทางเขาชัน รีสอร์ท ได้มีการติดต่อประสานงานกับทางบริษัทเจ้าของสัมปทานเพื่อพานักท่องเที่ยวเข้าชมรอยจารึกพระปรมาภิไธย รัชการที่ 5 บริเวณหน้าเพิงผาเทวดา รวมทั้งชมการคัดแยกรังนกซึ่งมีมูลค่ามหาศาล โดยรังนกเกรดเอ ตกกิโลกรัมละไม่ต่ำกว่า 1 แสนบาท
“เหตุผลที่เราจัดการท่องเที่ยวในลักษณะนี้ก็เพื่อให้นักท่องเที่ยวจากภายนอกได้มารับรู้ประวัติศาสตร์ที่สำคัญซึ่งบางคนอาจลืมเลือนไปบ้างแล้ว อีกส่วนหนึ่งคือเราต้องการให้คนจากภายนอกได้มาสัมผัสความอุดมสมบูรณ์ของทะเลสาบสงขลาที่มีความสำคัญต่อคนจำนวนนับล้านคนรอบๆ ทะเลสาบ เพื่อเขาจะได้รู้รักษ์ทะเลสาบให้มีความอุดมสมบูรณ์ยั่งยืนต่อไป แม้ในขณะนี้ทะเลสาบจะถูกคุกคามจากการพัฒนาด้านต่างๆ แต่เชื่อว่าเมื่อทุกคนเห็นความสำคัญแล้วก็จะนำไปสู่การแก้ปัญหาและฟื้นฟูให้ทะเลสาบกลับมาอุดมสมบูรณ์ได้อีกครั้งหนึ่ง” บัญญัติ กล่าวและว่า
การจัดการท่องเที่ยวจะมีการควบคุมไม่ให้มีการขายสินค้าที่จะกลายเป็นขยะปนเปื้อนในทะเลสาบ รวมทั้งไม่ให้มีการนำเครื่องดื่มมึนเมาเข้ามาดื่มเนื่องจากจะเป็นการรบกวนการทำมาหากินตามวิถีชีวิตของชาวบ้าน และรบกวนสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่รอบๆ พื้นที่
“คนไทยอาจจะรู้สึกธรรมดากับการท่องเที่ยวที่เราจัด แต่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเขามาเห็นแล้วเขาชอบมาก เพราะได้มาสัมผัสกับความบริสุทธิ์ของธรรมชาติและวิถีชีวิตของชาวบ้านที่ยังคงรูปแบบดั้งเดิมเอาไว้”
‘ปากพะยูน’ ดินแดนแห่งตำนาน
ในเว็บไซด์ของ จ.พัทลุง ได้บันทึกไว้ว่า อ.ปากพะยูน เป็นหนึ่งใน 10 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ ของ จ.พัทลุง คำว่า “ปากพะยูน” สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า “ปลาพะยูน” ซึ่งเป็นปลาที่มีลักษณะคล้ายกับปลาวาฬ เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม สมัยก่อนปลานี้มีอยู่มากในทะเลสาบสงขลาตอนใน สมัยนี้สูญพันธุ์ไปแล้ว นอกจากนี้มีผู้รู้บางท่านระบุว่าชื่ออำเภอมาจากคำว่า “ปากพูน” ซึ่งแปลว่า “ปากน้ำ
อ.ปากพะยูน ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2439 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เดิมมีอาณาเขตกว้างขวางมาก มีตำบลอยู่ในความปกครอง รวม 17 ตำบล รวมทั้ง ต.เขาชัยสน ( อ.เขาชัยสน ในปัจจุบัน) และ ต.กำแพงเพชร (อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลาในปัจจุบัน) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จประพาสเมื่อ ร.ศ.108 มีหลักฐานพระปรมาภิไธยย่อ จปร.ร.ศ.108 ณ หน้าเพิงผาเทวดา เกาะหน้าเทวดา ซึ่งอยู่ในทะเลสาบสงขลาตอนใน พื้นที่ อ.ปากพะยูน
อ.ปากพะยูน เหมือนกับอำเภอชนบททั่วไป แต่หากได้พิจารณาอย่างถ่องแท้ ไม่ว่าจะเป็นชัยภูมิ ที่ตั้ง ชื่อหมู่บ้าน ตำบล และชื่อเกาะต่างๆ ล้วนแล้วแต่มีความเกี่ยวพันกับตำนาน หรือนิทานปรำปราของชาวพื้นบ้านแทบทั้งสิ้น เช่น เรื่องเจ้าฟ้าคอลาย บ้านค่ายท่าทิศครู วัดท่าขุนหลวง เกาะบรรทม เป็นต้น อาจจะมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์อันล้ำค่าฝังอยู่ใต้ผืนดิน ที่ทำนา ทำสวน อยู่ทุกวัน แต่ยังไม่มีผู้ใดขุดค้นพบหลักฐานเหล่านั้นขึ้นมาเผยแพร่ให้ชาวโลกได้รับรู้ได้ หากบรรดานักโบราณคดีของกรมศิลปากรได้ให้ความสนใจในการขุดค้นตามหลักวิชาโบราณคดี คงจะประโยชน์มหาศาล
ที่กล่าวเช่นนี้เพราะในประวัติศาสตร์ของเมืองพัทลุง ได้บันทักไว้ว่า พระยากุมารกับพระนางเสือขาว ได้ตั้งเมืองพัทลุงขึ้นครั้งแรกที่บ้านพระเกิดเมื่อราว พ.ศ.1832 ในสมัยกรุงสุโขทัย (บ้านพระเกิดเป็นชื่อบ้านในหมู่ที่ 4 ต.ฝาละมี อ.ปากพะยูน ในปัจจุบัน) ห่างจากที่ว่าการอำเภอปากพะยูน ประมาณ 14 กิโลเมตร ก่อนที่จะย้ายไปอยู่ที่ อ.สทิงพระ จ.สงขลา อ.ปากพะยูน จึงเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์อีกแห่งหนึ่งของภาคใต้
ณขจร จันทวงศ์
ศูนย์ข่าวหาดใหญ่... รายงาน
“ทะเลสาบงาม เมืองสามแผ่นดิน ถิ่นรังนกนางแอ่น แท่นพระนอนยอดเขา ภูมิลำเนาสัตว์น้ำกร่อย”
ข้อความข้างต้นคือคำขวัญของ อ.ปากพะยูน อำเภอเล็กๆ แต่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและประวัติศาสตร์ของ จ.พัทลุง เนื่องจาก อ.ปากพะยูน ซึ่งมีอาณาเขตส่วนหนึ่งติดกับทะเลสาบสงขลาตอนใน เป็นที่ตั้งของหมู่เกาะสี่ เกาะห้า ที่มีรังนกนางแอ่นคุณภาพดีที่สุดในโลก ถือเป็นสมบัติที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของแผ่นดินนอกเหนือจากทรัพยากรอื่นๆ
*** ตอมรอยเส้นทางประพาส ‘พระพุทธเจ้าหลวง’
“มีการเปิดให้สัมปทานรังนกนางแอ่นที่ อ.ปากพะยูน มาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” บัญญัติ พัทธธรรม ประธานชมรมอนุรักษ์สัตว์ป่าทะเลสาบสงขลา เจ้าของโครงการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เขาชัน รีสอร์ท กล่าว
และรังนกนางแอ่นบนหมู่เกาะสี่ เกาะห้า นี่เอง เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดประวัติศาสตร์ที่สำคัญของอำเภอเล็กๆ แห่งนี้ ประวัติศาสตร์ที่ว่าด้วยการเสด็จประพาสแหลมมลายู ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 ซึ่งเสด็จมาพร้อมด้วยพระโอรสทั้งเจ็ดพระองค์เพื่อทอดพระเนตรการเก็บรังนก อันเป็นสมบัติล้ำค่าของแผ่นดิน พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสโดยทรงเรือพระที่นั่งอุบลบุรทิศ ถึงปากอ่าวสงขลา ตรงกับวันที่ 25 กรกฎาคม รัตนโกสินทร 22 ศก 108 และได้ทรงมีพระราชหัถเลขา ถึงท่านกลางแลกรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ ความตอนหนึ่งว่า
“พักร้อนที่หว่างบ้านปากบางกับบ้านแหลมจากต่อกัน ปักเตนต์ใหญ่ของพระยาสุนทรา พระยาจางวาง (เมืองพัทลุง) ยกรบัตรและหม่อมราชวงศ์หรั่ง เมืองพัทลุงมารับ ออกจากที่พักร้อนมาตามทาง เห็นบ้านปากจ่า มีบ้านเรือนมากเปนสามหมู่ ไปในระหว่างฝั่งกับเกาะญวนเรียกว่าคลองหลวง น้ำตื้นบ้างลึกบ้าง จนถึงบ้านปากพยูนซึ่งเปนช่องจะออกที่กว้าง มีบ้านเรือหลายสิบหลัง ต้นไม้และภูมที่งามนัก ฝั่งขวาเปนเกาะหมาก ฝั่งซ้ายเปนแหลมเขาปากพยูน ตั้งแต่เมืองสงขลาขึ้นมาจนถึงปากพยูน มีเสารั้วโพงพางและยกยอตลอดระทางไป ไม่ได้ขาดเลย เพราะในตอนนี้ปลาชุม
พอขึ้นไปถึงกลางเกาะปราบ บ่ายหัวเรือขึ้นเหนือจะไปตามน่าเกาะรังนก ลมพัดโต้น่าจัด น้ำก็ตื้น เรือไปได้เพียงน่าเกาะยิโส ซึ่งเปนเกาะที่สองหมู่เกาะสี่เกาะห้า ต้องปล่อยเรือกลไฟตีกระเชียงไปจนถึงพลับพลาซึ่งปลูกไว้ที่เกาะมวย เข้าทางช่องหว่างเกาะมวยกับเกาะพระต่อกัน เวลาค่ำจึงได้ถึง หลวงอุดมภักดี เจ้าภาษีรังนกมาคอยรับตั้งเลี้ยงอยู่ในที่นี้ ที่ซึ่งปลูกพลับพลานี้เรียกว่า น่าเทวดา คือเปนศาลสำหรับพวกรังนกไหว้ก่อนที่จะลงมือทำรังนก พระมหาอรรคนิกรเปนผู้มาปลูก
มีท้องพระโรงหลังหนึ่ง ที่อยู่หลังหนึ่ง ที่เจ้านายข้าราชการอยู่อาศรัยโรงของเจ้าภาษีรังนกสองหลัง พื้นที่ที่ทำพลับพลาเปนที่เลนขึ้นตัดหญ้าถมทรายโรย เมื่อมาตามทางไม่ถูกฝน แต่ที่พลับพลาฝนตกอยู่ข้างจะเปรอะเปื้อน มีกลิ่นเหม็นตมเหม็นหญ้า เคยอยู่ในทเลกว้างๆ ขึ้นมาอยู่บนบกออกร้อน และฝนยังตกประปรายอยู่เปนคราวๆ มาเกือบสิบสองชั่วโมงออกเหนื่อย แต่ก่อนๆ ที่มากับเขา พักปากพยูนเปนเวลาพอดีอยู่ในสี่โมงเย็น แต่คำสั่งให้มาปลูกพลับพลาที่เกาะ เขาก็ทำตามคำสั่ง ก็นับว่าดีอย่างหนึ่งที่เที่ยวเสดวกไม่ต้องไปทางไกล
วันที่ ๒๔ เดิมคิดว่าจะไปเมืองพัทลุงในวันนี้ แต่ครั้นเมื่อเวลาวานซืนนี้ได้ความว่า ที่เมืองพัทลุงทำไว้แต่พลับพลาประทับร้อน เมื่อวานนี้จึงได้ให้พระมหาอรรคนิกรคุมเตนต์ขึ้นไปตั้ง จึงพักอยู่ที่นี่พอได้ทำการเวลาหนึ่ง ครั้นเวลาสายพระยาพัทลุง(๔)ลงมาแจ้งว่าได้ทำพลับพลาไว้ใหญ่โตพร้อมแล้ว เปนแต่สงสัยเล็กน้อยนำแผนที่มาให้แก้ไข
ได้จารึกอักษร จ.ป.ร. และศักราช ๑๐๘ ไว้ที่น่าเพิงศาลเทวดาแห่งหนึ่งเปนศิลาปูนเราะง่าย แล้วลงเรือไปที่เขาชันเปนเกาะใหญ่ของเมืองพัทลุง อยู่หลังเกาะสี่เกาะห้า ระยะทางชั่วโมงหนึ่ง ตั้งข่ายไล่กระจง ในที่ที่ไล่นั้นเปนป่าคอแหลมกว้างสักสี่สิบวาเท่านั้น ขึงข่ายสกัดได้เกือบตลอด ข้างหนึ่งเปนทุ่ง ข้างหนึ่งเปนทเล ใช้คนประมาณ ๕๐ คน เข้าไปต้อนตีป่าใกล้ๆ ในป่านี้ไม่มีสัตว์อื่นเลยนอกจากกระจง เพราะเปนป่าโปร่งเดิรง่าย และกระจงที่นี่ตัวเล็กๆ เล็กกว่ากระจงที่เคยเห็นๆ กันอยู่สักครึ่งหนึ่ง สีตัวเหลืองท้องขาว ไม่โตกว่ากระต่าย ดูน่ารักมาก ต้อนมาเข้าข่ายแล้วก็ตะครุบจับเอาได้ง่ายๆ กิริยาที่จะมาไม่เหมือนเนื้อ ไม่หนีคนไกล วิ่งวิ่งหยุดๆ ไม่ใคร่จะเข้าที่รก วิ่งก็ช้าไม่เหมือนกระต่าย กิริยาที่วิ่งคล้ายหนูมากกว่าอย่างอื่น
แต่ที่มาได้เห็นหลายสิบตัว วิ่งหักหลังไปเสียมาก ไล่สี่เที่ยวจับได้สิบสี่ตัว คราวหนึ่งคงจะได้เห็นอยู่ในในสิบตัวขึ้นไปหาสิบห้าตัว การที่ไล่ได้น้อยเปนเพราะคนเราไปนั่งน่าข่ายมาก ล้วนแต่เสื้อสีสรรพ์ต่างๆ เกือบจะเปนหีบน้ำยาเครื่องเขียน ถ้ากระจงไม่ไล่ง่าย ที่สุดเกือบมานั่งตักได้ก็เห็นจะไม่ได้ตัว แต่เท่านี้ก็นับว่าเปนได้มากอยู่แล้ว คิดว่าจะพาเข้าไปเลี้ยงในกรุงเทพฯ ให้ได้ กระจงใหญ่มีบ้างแต่น้อย แต่ดูอยู่ข้างจะเขื่องกว่าที่เคยเห็นไปเสียสักหน่อยอีก เวลาเย็นกลับมาพลับพลา”
เนื้อความในพระราชหัถเลขา ข้างต้น ได้กล่าวถึงพื้นที่หนึ่งคือ “เขาชัน” อันเป็นสถานที่ประทับแรมสำหรับจับ “กระจง” ซึ่งเป็นสัตว์ที่มามากในแถบนั้น ภายหลังจากไปทอดพระเนตรการจัดเก็บรังนกที่หมู่เกาะสี่ เกาะห้า
**** สู่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ปลุกสำนึกรักษ์ ‘ทะเลสาบ’
เขาชัน ตั้งอยู่บนเกาะหมาก อ.ปากพะยูน พื้นที่นี้เองที่ บัญญัติ พัทธธรรม ประธานชมรมอนุรักษ์สัตว์ป่าทะเลสาบสงขลา ได้จัดตั้งโครงการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เขาชัน รีสอร์ท ขึ้น เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกรักษ์ทะเลสาบสงขลาให้กับนักท่องเที่ยวที่มาเยือน พร้อมๆ กับการเรียนรู้และศึกษาสภาพธรรมชาติรอบทะเลสาบ ควบคู่ไปกับการศึกษาประวัติศาสตร์เมื่อครั้ง ร.5 เสด็จประพาส
หลังรับประทานอาหารกลางวันซึ่งล้วนเป็นอาหารพื้นบ้านปักษ์ใต้ อาทิ ข้าวยำสมุนไพร เต้าคั่ว ขนมจีน ตามด้วยขนมหวานพื้นบ้าน แล้ว เมื่อแดดร่มลมตกนักท่องเที่ยวก็จะได้ดื่มด่ำกับเสียงดนตรีเครื่องสายผสม ซึ่งบรรเลงสืบทอดกันมาเป็นรุ่นที่ 3 ของ จ.พัทลุง การนำเสนอนั้นไม่ได้อยู่บนเวที แต่นักดนตรีได้ขนเครื่องดนตรีไปตั้งวงบรรเลงกันในลำเรือขนาดไม่ใหญ่ ไม่เล็ก จุผู้โดยสารได้ไม่ต่ำกว่าลำละ 13 คน เรือลอยลำไปพร้อมกับมีเสียงดนตรีเครื่องสายผสมบรรเลงเคล้าคลออย่างลงตัว ท่ามกลางบรรยากาศแดดร่มลมตก ดวงตะวันค่อยๆ จมหายไปในทะเล ทีละน้อย ทีละน้อย ตัวโน้ตตัวสุดท้ายจึงค่อยๆ หยุดทำงาน
“เราจำลองรูปแบบเมื่อครั้งรับเสด็จพระพุทธเจ้าหลวงมาให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัส เมื่อขึ้นมาจากเรือวงดนตรีก็จะมาบรรเลงให้ฟังกันต่อระหว่างที่นักท่องเที่ยวรับประทานอาหารเย็น ซึ่งล้วนเป็นอาหารที่หาได้จากพื้นที่รอบๆ ทะเลสาบ เช่นพวกปลา และผักพื้นบ้านต่างๆ ผ่านการปรุงด้วยฝีมือของพ่อครัว แม่ครัว ซึ่งเป็นชาวบ้านในพื้นที่รสชาติจึงเป็นแบบดั้งเดิมหารับประทานที่ไหนไม่ได้” บัญญัติ กล่าว
รุ่งเช้าทางเขาชัน รีสอร์ท ได้จัดเรือนำเที่ยวเกาะแก่งต่างๆ ในทะเลสาบสงขลา คือเกาะโคบ เพื่อศึกษาวิถีชีวิตของชาวบ้านในรูปแบบดั้งเดิม เที่ยวชมนมัสการรอยเท้าหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืดที่เกาะกระ เที่ยวเกาะหน้าเทวดา ซึ่งพื้นที่สัมปทานรังนกโดยปัจจุบันบริษัท สยามเนสต์ เป็นผู้ชนะการประมูลและได้รับสัมปทานการจัดเก็บรังนกในระยะเวลา 5 ปี จึงจะมีการเปิดประมูลใหม่อีกครั้ง รายได้จากจุดนี้ส่วนหนึ่งจะส่งเข้าคลังหลวงและอีกส่วนหนึ่งแบ่งให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำไปบริหารและพัฒนาพื้นที่ต่อไป
สำหรับเกาะที่รัฐบาลเปิดให้สัมปทานรักนกนี้จะมีการดูแลรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันการปล้น และลักขโมยรังนก โดยห้ามไม่ให้ผู้ใดก้าวล้ำขึ้นไปบนเกาะโดยไม่ได้รับอนุญาต ในส่วนของนักท่องเที่ยวทางเขาชัน รีสอร์ท ได้มีการติดต่อประสานงานกับทางบริษัทเจ้าของสัมปทานเพื่อพานักท่องเที่ยวเข้าชมรอยจารึกพระปรมาภิไธย รัชการที่ 5 บริเวณหน้าเพิงผาเทวดา รวมทั้งชมการคัดแยกรังนกซึ่งมีมูลค่ามหาศาล โดยรังนกเกรดเอ ตกกิโลกรัมละไม่ต่ำกว่า 1 แสนบาท
“เหตุผลที่เราจัดการท่องเที่ยวในลักษณะนี้ก็เพื่อให้นักท่องเที่ยวจากภายนอกได้มารับรู้ประวัติศาสตร์ที่สำคัญซึ่งบางคนอาจลืมเลือนไปบ้างแล้ว อีกส่วนหนึ่งคือเราต้องการให้คนจากภายนอกได้มาสัมผัสความอุดมสมบูรณ์ของทะเลสาบสงขลาที่มีความสำคัญต่อคนจำนวนนับล้านคนรอบๆ ทะเลสาบ เพื่อเขาจะได้รู้รักษ์ทะเลสาบให้มีความอุดมสมบูรณ์ยั่งยืนต่อไป แม้ในขณะนี้ทะเลสาบจะถูกคุกคามจากการพัฒนาด้านต่างๆ แต่เชื่อว่าเมื่อทุกคนเห็นความสำคัญแล้วก็จะนำไปสู่การแก้ปัญหาและฟื้นฟูให้ทะเลสาบกลับมาอุดมสมบูรณ์ได้อีกครั้งหนึ่ง” บัญญัติ กล่าวและว่า
การจัดการท่องเที่ยวจะมีการควบคุมไม่ให้มีการขายสินค้าที่จะกลายเป็นขยะปนเปื้อนในทะเลสาบ รวมทั้งไม่ให้มีการนำเครื่องดื่มมึนเมาเข้ามาดื่มเนื่องจากจะเป็นการรบกวนการทำมาหากินตามวิถีชีวิตของชาวบ้าน และรบกวนสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่รอบๆ พื้นที่
“คนไทยอาจจะรู้สึกธรรมดากับการท่องเที่ยวที่เราจัด แต่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเขามาเห็นแล้วเขาชอบมาก เพราะได้มาสัมผัสกับความบริสุทธิ์ของธรรมชาติและวิถีชีวิตของชาวบ้านที่ยังคงรูปแบบดั้งเดิมเอาไว้”
**** ‘ปากพะยูน’ ดินแดนแห่งตำนาน
ในเว็บไซด์ของ จ.พัทลุง ได้บันทึกไว้ว่า อ.ปากพะยูน เป็นหนึ่งใน 10 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ ของ จ.พัทลุง คำว่า “ปากพะยูน” สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า “ปลาพะยูน” ซึ่งเป็นปลาที่มีลักษณะคล้ายกับปลาวาฬ เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม สมัยก่อนปลานี้มีอยู่มากในทะเลสาบสงขลาตอนใน สมัยนี้สูญพันธุ์ไปแล้ว นอกจากนี้มีผู้รู้บางท่านระบุว่าชื่ออำเภอมาจากคำว่า “ปากพูน” ซึ่งแปลว่า “ปากน้ำ
อ.ปากพะยูน ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2439 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เดิมมีอาณาเขตกว้างขวางมาก มีตำบลอยู่ในความปกครอง รวม 17 ตำบล รวมทั้ง ต.เขาชัยสน ( อ.เขาชัยสน ในปัจจุบัน) และ ต.กำแพงเพชร (อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลาในปัจจุบัน) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จประพาสเมื่อ ร.ศ.108 มีหลักฐานพระปรมาภิไธยย่อ จปร.ร.ศ.108 ณ หน้าเพิงผาเทวดา เกาะหน้าเทวดา ซึ่งอยู่ในทะเลสาบสงขลาตอนใน พื้นที่ อ.ปากพะยูน
อ.ปากพะยูน เหมือนกับอำเภอชนบททั่วไป แต่หากได้พิจารณาอย่างถ่องแท้ ไม่ว่าจะเป็นชัยภูมิ ที่ตั้ง ชื่อหมู่บ้าน ตำบล และชื่อเกาะต่างๆ ล้วนแล้วแต่มีความเกี่ยวพันกับตำนาน หรือนิทานปรำปราของชาวพื้นบ้านแทบทั้งสิ้น เช่น เรื่องเจ้าฟ้าคอลาย บ้านค่ายท่าทิศครู วัดท่าขุนหลวง เกาะบรรทม เป็นต้น อาจจะมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์อันล้ำค่าฝังอยู่ใต้ผืนดิน ที่ทำนา ทำสวน อยู่ทุกวัน แต่ยังไม่มีผู้ใดขุดค้นพบหลักฐานเหล่านั้นขึ้นมาเผยแพร่ให้ชาวโลกได้รับรู้ได้ หากบรรดานักโบราณคดีของกรมศิลปากรได้ให้ความสนใจในการขุดค้นตามหลักวิชาโบราณคดี คงจะประโยชน์มหาศาล
ที่กล่าวเช่นนี้เพราะในประวัติศาสตร์ของเมืองพัทลุง ได้บันทักไว้ว่า พระยากุมารกับพระนางเสือขาว ได้ตั้งเมืองพัทลุงขึ้นครั้งแรกที่บ้านพระเกิดเมื่อราว พ.ศ.1832 ในสมัยกรุงสุโขทัย (บ้านพระเกิดเป็นชื่อบ้านในหมู่ที่ 4 ต.ฝาละมี อ.ปากพะยูน ในปัจจุบัน) ห่างจากที่ว่าการอำเภอปากพะยูน ประมาณ 14 กิโลเมตร ก่อนที่จะย้ายไปอยู่ที่ อ.สทิงพระ จ.สงขลา อ.ปากพะยูน จึงเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์อีกแห่งหนึ่งของภาคใต้
ณขจร จันทวงศ์
ศูนย์ข่าวหาดใหญ่... รายงาน
“ทะเลสาบงาม เมืองสามแผ่นดิน ถิ่นรังนกนางแอ่น แท่นพระนอนยอดเขา ภูมิลำเนาสัตว์น้ำกร่อย”
ข้อความข้างต้นคือคำขวัญของ อ.ปากพะยูน อำเภอเล็กๆ แต่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและประวัติศาสตร์ของ จ.พัทลุง เนื่องจาก อ.ปากพะยูน ซึ่งมีอาณาเขตส่วนหนึ่งติดกับทะเลสาบสงขลาตอนใน เป็นที่ตั้งของหมู่เกาะสี่ เกาะห้า ที่มีรังนกนางแอ่นคุณภาพดีที่สุดในโลก ถือเป็นสมบัติที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของแผ่นดินนอกเหนือจากทรัพยากรอื่นๆ
ตอมรอยเส้นทางประพาส ‘พระพุทธเจ้าหลวง’
“มีการเปิดให้สัมปทานรังนกนางแอ่นที่ อ.ปากพะยูน มาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” บัญญัติ พัทธธรรม ประธานชมรมอนุรักษ์สัตว์ป่าทะเลสาบสงขลา เจ้าของโครงการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เขาชัน รีสอร์ท กล่าว
และรังนกนางแอ่นบนหมู่เกาะสี่ เกาะห้า นี่เอง เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดประวัติศาสตร์ที่สำคัญของอำเภอเล็กๆ แห่งนี้ ประวัติศาสตร์ที่ว่าด้วยการเสด็จประพาสแหลมมลายู ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 ซึ่งเสด็จมาพร้อมด้วยพระโอรสทั้งเจ็ดพระองค์เพื่อทอดพระเนตรการเก็บรังนก อันเป็นสมบัติล้ำค่าของแผ่นดิน พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสโดยทรงเรือพระที่นั่งอุบลบุรทิศ ถึงปากอ่าวสงขลา ตรงกับวันที่ 25 กรกฎาคม รัตนโกสินทร 22 ศก 108 และได้ทรงมีพระราชหัถเลขา ถึงท่านกลางแลกรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ ความตอนหนึ่งว่า
“พักร้อนที่หว่างบ้านปากบางกับบ้านแหลมจากต่อกัน ปักเตนต์ใหญ่ของพระยาสุนทรา พระยาจางวาง (เมืองพัทลุง) ยกรบัตรและหม่อมราชวงศ์หรั่ง เมืองพัทลุงมารับ ออกจากที่พักร้อนมาตามทาง เห็นบ้านปากจ่า มีบ้านเรือนมากเปนสามหมู่ ไปในระหว่างฝั่งกับเกาะญวนเรียกว่าคลองหลวง น้ำตื้นบ้างลึกบ้าง จนถึงบ้านปากพยูนซึ่งเปนช่องจะออกที่กว้าง มีบ้านเรือหลายสิบหลัง ต้นไม้และภูมที่งามนัก ฝั่งขวาเปนเกาะหมาก ฝั่งซ้ายเปนแหลมเขาปากพยูน ตั้งแต่เมืองสงขลาขึ้นมาจนถึงปากพยูน มีเสารั้วโพงพางและยกยอตลอดระทางไป ไม่ได้ขาดเลย เพราะในตอนนี้ปลาชุม
พอขึ้นไปถึงกลางเกาะปราบ บ่ายหัวเรือขึ้นเหนือจะไปตามน่าเกาะรังนก ลมพัดโต้น่าจัด น้ำก็ตื้น เรือไปได้เพียงน่าเกาะยิโส ซึ่งเปนเกาะที่สองหมู่เกาะสี่เกาะห้า ต้องปล่อยเรือกลไฟตีกระเชียงไปจนถึงพลับพลาซึ่งปลูกไว้ที่เกาะมวย เข้าทางช่องหว่างเกาะมวยกับเกาะพระต่อกัน เวลาค่ำจึงได้ถึง หลวงอุดมภักดี เจ้าภาษีรังนกมาคอยรับตั้งเลี้ยงอยู่ในที่นี้ ที่ซึ่งปลูกพลับพลานี้เรียกว่า น่าเทวดา คือเปนศาลสำหรับพวกรังนกไหว้ก่อนที่จะลงมือทำรังนก พระมหาอรรคนิกรเปนผู้มาปลูก
มีท้องพระโรงหลังหนึ่ง ที่อยู่หลังหนึ่ง ที่เจ้านายข้าราชการอยู่อาศรัยโรงของเจ้าภาษีรังนกสองหลัง พื้นที่ที่ทำพลับพลาเปนที่เลนขึ้นตัดหญ้าถมทรายโรย เมื่อมาตามทางไม่ถูกฝน แต่ที่พลับพลาฝนตกอยู่ข้างจะเปรอะเปื้อน มีกลิ่นเหม็นตมเหม็นหญ้า เคยอยู่ในทเลกว้างๆ ขึ้นมาอยู่บนบกออกร้อน และฝนยังตกประปรายอยู่เปนคราวๆ มาเกือบสิบสองชั่วโมงออกเหนื่อย แต่ก่อนๆ ที่มากับเขา พักปากพยูนเปนเวลาพอดีอยู่ในสี่โมงเย็น แต่คำสั่งให้มาปลูกพลับพลาที่เกาะ เขาก็ทำตามคำสั่ง ก็นับว่าดีอย่างหนึ่งที่เที่ยวเสดวกไม่ต้องไปทางไกล
วันที่ ๒๔ เดิมคิดว่าจะไปเมืองพัทลุงในวันนี้ แต่ครั้นเมื่อเวลาวานซืนนี้ได้ความว่า ที่เมืองพัทลุงทำไว้แต่พลับพลาประทับร้อน เมื่อวานนี้จึงได้ให้พระมหาอรรคนิกรคุมเตนต์ขึ้นไปตั้ง จึงพักอยู่ที่นี่พอได้ทำการเวลาหนึ่ง ครั้นเวลาสายพระยาพัทลุง(๔)ลงมาแจ้งว่าได้ทำพลับพลาไว้ใหญ่โตพร้อมแล้ว เปนแต่สงสัยเล็กน้อยนำแผนที่มาให้แก้ไข
ได้จารึกอักษร จ.ป.ร. และศักราช ๑๐๘ ไว้ที่น่าเพิงศาลเทวดาแห่งหนึ่งเปนศิลาปูนเราะง่าย แล้วลงเรือไปที่เขาชันเปนเกาะใหญ่ของเมืองพัทลุง อยู่หลังเกาะสี่เกาะห้า ระยะทางชั่วโมงหนึ่ง ตั้งข่ายไล่กระจง ในที่ที่ไล่นั้นเปนป่าคอแหลมกว้างสักสี่สิบวาเท่านั้น ขึงข่ายสกัดได้เกือบตลอด ข้างหนึ่งเปนทุ่ง ข้างหนึ่งเปนทเล ใช้คนประมาณ ๕๐ คน เข้าไปต้อนตีป่าใกล้ๆ ในป่านี้ไม่มีสัตว์อื่นเลยนอกจากกระจง เพราะเปนป่าโปร่งเดิรง่าย และกระจงที่นี่ตัวเล็กๆ เล็กกว่ากระจงที่เคยเห็นๆ กันอยู่สักครึ่งหนึ่ง สีตัวเหลืองท้องขาว ไม่โตกว่ากระต่าย ดูน่ารักมาก ต้อนมาเข้าข่ายแล้วก็ตะครุบจับเอาได้ง่ายๆ กิริยาที่จะมาไม่เหมือนเนื้อ ไม่หนีคนไกล วิ่งวิ่งหยุดๆ ไม่ใคร่จะเข้าที่รก วิ่งก็ช้าไม่เหมือนกระต่าย กิริยาที่วิ่งคล้ายหนูมากกว่าอย่างอื่น
แต่ที่มาได้เห็นหลายสิบตัว วิ่งหักหลังไปเสียมาก ไล่สี่เที่ยวจับได้สิบสี่ตัว คราวหนึ่งคงจะได้เห็นอยู่ในในสิบตัวขึ้นไปหาสิบห้าตัว การที่ไล่ได้น้อยเปนเพราะคนเราไปนั่งน่าข่ายมาก ล้วนแต่เสื้อสีสรรพ์ต่างๆ เกือบจะเปนหีบน้ำยาเครื่องเขียน ถ้ากระจงไม่ไล่ง่าย ที่สุดเกือบมานั่งตักได้ก็เห็นจะไม่ได้ตัว แต่เท่านี้ก็นับว่าเปนได้มากอยู่แล้ว คิดว่าจะพาเข้าไปเลี้ยงในกรุงเทพฯ ให้ได้ กระจงใหญ่มีบ้างแต่น้อย แต่ดูอยู่ข้างจะเขื่องกว่าที่เคยเห็นไปเสียสักหน่อยอีก เวลาเย็นกลับมาพลับพลา”
เนื้อความในพระราชหัถเลขา ข้างต้น ได้กล่าวถึงพื้นที่หนึ่งคือ “เขาชัน” อันเป็นสถานที่ประทับแรมสำหรับจับ “กระจง” ซึ่งเป็นสัตว์ที่มามากในแถบนั้น ภายหลังจากไปทอดพระเนตรการจัดเก็บรังนกที่หมู่เกาะสี่ เกาะห้า
สู่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ปลุกสำนึกรักษ์ ‘ทะเลสาบ’
เขาชัน ตั้งอยู่บนเกาะหมาก อ.ปากพะยูน พื้นที่นี้เองที่ บัญญัติ พัทธธรรม ประธานชมรมอนุรักษ์สัตว์ป่าทะเลสาบสงขลา ได้จัดตั้งโครงการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เขาชัน รีสอร์ท ขึ้น เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกรักษ์ทะเลสาบสงขลาให้กับนักท่องเที่ยวที่มาเยือน พร้อมๆ กับการเรียนรู้และศึกษาสภาพธรรมชาติรอบทะเลสาบ ควบคู่ไปกับการศึกษาประวัติศาสตร์เมื่อครั้ง ร.5 เสด็จประพาส
หลังรับประทานอาหารกลางวันซึ่งล้วนเป็นอาหารพื้นบ้านปักษ์ใต้ อาทิ ข้าวยำสมุนไพร เต้าคั่ว ขนมจีน ตามด้วยขนมหวานพื้นบ้าน แล้ว เมื่อแดดร่มลมตกนักท่องเที่ยวก็จะได้ดื่มด่ำกับเสียงดนตรีเครื่องสายผสม ซึ่งบรรเลงสืบทอดกันมาเป็นรุ่นที่ 3 ของ จ.พัทลุง การนำเสนอนั้นไม่ได้อยู่บนเวที แต่นักดนตรีได้ขนเครื่องดนตรีไปตั้งวงบรรเลงกันในลำเรือขนาดไม่ใหญ่ ไม่เล็ก จุผู้โดยสารได้ไม่ต่ำกว่าลำละ 13 คน เรือลอยลำไปพร้อมกับมีเสียงดนตรีเครื่องสายผสมบรรเลงเคล้าคลออย่างลงตัว ท่ามกลางบรรยากาศแดดร่มลมตก ดวงตะวันค่อยๆ จมหายไปในทะเล ทีละน้อย ทีละน้อย ตัวโน้ตตัวสุดท้ายจึงค่อยๆ หยุดทำงาน
“เราจำลองรูปแบบเมื่อครั้งรับเสด็จพระพุทธเจ้าหลวงมาให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัส เมื่อขึ้นมาจากเรือวงดนตรีก็จะมาบรรเลงให้ฟังกันต่อระหว่างที่นักท่องเที่ยวรับประทานอาหารเย็น ซึ่งล้วนเป็นอาหารที่หาได้จากพื้นที่รอบๆ ทะเลสาบ เช่นพวกปลา และผักพื้นบ้านต่างๆ ผ่านการปรุงด้วยฝีมือของพ่อครัว แม่ครัว ซึ่งเป็นชาวบ้านในพื้นที่รสชาติจึงเป็นแบบดั้งเดิมหารับประทานที่ไหนไม่ได้” บัญญัติ กล่าว
รุ่งเช้าทางเขาชัน รีสอร์ท ได้จัดเรือนำเที่ยวเกาะแก่งต่างๆ ในทะเลสาบสงขลา คือเกาะโคบ เพื่อศึกษาวิถีชีวิตของชาวบ้านในรูปแบบดั้งเดิม เที่ยวชมนมัสการรอยเท้าหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืดที่เกาะกระ เที่ยวเกาะหน้าเทวดา ซึ่งพื้นที่สัมปทานรังนกโดยปัจจุบันบริษัท สยามเนสต์ เป็นผู้ชนะการประมูลและได้รับสัมปทานการจัดเก็บรังนกในระยะเวลา 5 ปี จึงจะมีการเปิดประมูลใหม่อีกครั้ง รายได้จากจุดนี้ส่วนหนึ่งจะส่งเข้าคลังหลวงและอีกส่วนหนึ่งแบ่งให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำไปบริหารและพัฒนาพื้นที่ต่อไป
สำหรับเกาะที่รัฐบาลเปิดให้สัมปทานรักนกนี้จะมีการดูแลรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันการปล้น และลักขโมยรังนก โดยห้ามไม่ให้ผู้ใดก้าวล้ำขึ้นไปบนเกาะโดยไม่ได้รับอนุญาต ในส่วนของนักท่องเที่ยวทางเขาชัน รีสอร์ท ได้มีการติดต่อประสานงานกับทางบริษัทเจ้าของสัมปทานเพื่อพานักท่องเที่ยวเข้าชมรอยจารึกพระปรมาภิไธย รัชการที่ 5 บริเวณหน้าเพิงผาเทวดา รวมทั้งชมการคัดแยกรังนกซึ่งมีมูลค่ามหาศาล โดยรังนกเกรดเอ ตกกิโลกรัมละไม่ต่ำกว่า 1 แสนบาท
“เหตุผลที่เราจัดการท่องเที่ยวในลักษณะนี้ก็เพื่อให้นักท่องเที่ยวจากภายนอกได้มารับรู้ประวัติศาสตร์ที่สำคัญซึ่งบางคนอาจลืมเลือนไปบ้างแล้ว อีกส่วนหนึ่งคือเราต้องการให้คนจากภายนอกได้มาสัมผัสความอุดมสมบูรณ์ของทะเลสาบสงขลาที่มีความสำคัญต่อคนจำนวนนับล้านคนรอบๆ ทะเลสาบ เพื่อเขาจะได้รู้รักษ์ทะเลสาบให้มีความอุดมสมบูรณ์ยั่งยืนต่อไป แม้ในขณะนี้ทะเลสาบจะถูกคุกคามจากการพัฒนาด้านต่างๆ แต่เชื่อว่าเมื่อทุกคนเห็นความสำคัญแล้วก็จะนำไปสู่การแก้ปัญหาและฟื้นฟูให้ทะเลสาบกลับมาอุดมสมบูรณ์ได้อีกครั้งหนึ่ง” บัญญัติ กล่าวและว่า
การจัดการท่องเที่ยวจะมีการควบคุมไม่ให้มีการขายสินค้าที่จะกลายเป็นขยะปนเปื้อนในทะเลสาบ รวมทั้งไม่ให้มีการนำเครื่องดื่มมึนเมาเข้ามาดื่มเนื่องจากจะเป็นการรบกวนการทำมาหากินตามวิถีชีวิตของชาวบ้าน และรบกวนสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่รอบๆ พื้นที่
“คนไทยอาจจะรู้สึกธรรมดากับการท่องเที่ยวที่เราจัด แต่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเขามาเห็นแล้วเขาชอบมาก เพราะได้มาสัมผัสกับความบริสุทธิ์ของธรรมชาติและวิถีชีวิตของชาวบ้านที่ยังคงรูปแบบดั้งเดิมเอาไว้”
‘ปากพะยูน’ ดินแดนแห่งตำนาน
ในเว็บไซด์ของ จ.พัทลุง ได้บันทึกไว้ว่า อ.ปากพะยูน เป็นหนึ่งใน 10 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ ของ จ.พัทลุง คำว่า “ปากพะยูน” สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า “ปลาพะยูน” ซึ่งเป็นปลาที่มีลักษณะคล้ายกับปลาวาฬ เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม สมัยก่อนปลานี้มีอยู่มากในทะเลสาบสงขลาตอนใน สมัยนี้สูญพันธุ์ไปแล้ว นอกจากนี้มีผู้รู้บางท่านระบุว่าชื่ออำเภอมาจากคำว่า “ปากพูน” ซึ่งแปลว่า “ปากน้ำ
อ.ปากพะยูน ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2439 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เดิมมีอาณาเขตกว้างขวางมาก มีตำบลอยู่ในความปกครอง รวม 17 ตำบล รวมทั้ง ต.เขาชัยสน ( อ.เขาชัยสน ในปัจจุบัน) และ ต.กำแพงเพชร (อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลาในปัจจุบัน) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จประพาสเมื่อ ร.ศ.108 มีหลักฐานพระปรมาภิไธยย่อ จปร.ร.ศ.108 ณ หน้าเพิงผาเทวดา เกาะหน้าเทวดา ซึ่งอยู่ในทะเลสาบสงขลาตอนใน พื้นที่ อ.ปากพะยูน
อ.ปากพะยูน เหมือนกับอำเภอชนบททั่วไป แต่หากได้พิจารณาอย่างถ่องแท้ ไม่ว่าจะเป็นชัยภูมิ ที่ตั้ง ชื่อหมู่บ้าน ตำบล และชื่อเกาะต่างๆ ล้วนแล้วแต่มีความเกี่ยวพันกับตำนาน หรือนิทานปรำปราของชาวพื้นบ้านแทบทั้งสิ้น เช่น เรื่องเจ้าฟ้าคอลาย บ้านค่ายท่าทิศครู วัดท่าขุนหลวง เกาะบรรทม เป็นต้น อาจจะมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์อันล้ำค่าฝังอยู่ใต้ผืนดิน ที่ทำนา ทำสวน อยู่ทุกวัน แต่ยังไม่มีผู้ใดขุดค้นพบหลักฐานเหล่านั้นขึ้นมาเผยแพร่ให้ชาวโลกได้รับรู้ได้ หากบรรดานักโบราณคดีของกรมศิลปากรได้ให้ความสนใจในการขุดค้นตามหลักวิชาโบราณคดี คงจะประโยชน์มหาศาล
ที่กล่าวเช่นนี้เพราะในประวัติศาสตร์ของเมืองพัทลุง ได้บันทักไว้ว่า พระยากุมารกับพระนางเสือขาว ได้ตั้งเมืองพัทลุงขึ้นครั้งแรกที่บ้านพระเกิดเมื่อราว พ.ศ.1832 ในสมัยกรุงสุโขทัย (บ้านพระเกิดเป็นชื่อบ้านในหมู่ที่ 4 ต.ฝาละมี อ.ปากพะยูน ในปัจจุบัน) ห่างจากที่ว่าการอำเภอปากพะยูน ประมาณ 14 กิโลเมตร ก่อนที่จะย้ายไปอยู่ที่ อ.สทิงพระ จ.สงขลา อ.ปากพะยูน จึงเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์อีกแห่งหนึ่งของภาคใต้