หนองคาย -เผยนักธุรกิจไทยแห่ลงทุนในลาวมากสุด 30 โครงการ กว่า 655 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขณะที่ประเทศลาวกำลังขยายตัวทางเศรษฐกิจ ความต้องการสินค้าทางการเกษตรมีมากขึ้น พร้อมประกาศปิดป่าเพื่อจัดระเบียบผังเมืองลาวใหม่ ส่งผลกระทบยอดนำเข้าส่งออกของไทยกับลาวสะดุด ขณะที่ไทยเตรียมทำ Contract Farming และพิจารณามาตรการทางภาษีให้ประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อกระตุ้นภาคการนำเข้าส่งออกให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ร่วมกัน
นายสาโรจน์ สุวัตถิกุล พาณิชย์จังหวัดหนองคาย เปิดเผยถึงสถานการณ์การลงทุนในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ส.ป.ป.ลาว) ว่า ตั้งแต่ปี 2549 การลงทุนในส.ป.ป.ลาวที่ได้รับอนุมัติการลงทุนจากการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน ภายในและต่างประเทศของลาว จำนวน 171 โครงการ มูลค่าการลงทุน 2,699.69 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ทั้งนี้ มีนักลงทุนจากประเทศไทยเข้าไปลงทุนในลาวมีมูลค่ามากที่สุด จำนวน30 โครงการ มูลค่า 655.23 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 24.27 ของมูลค่าการลงทุนทั้งหมด
รองลงมา เป็นนักลงทุนจากประเทศจีน มีโครงการลงทุน 55 โครงการ มูลค่าการลงทุน 423.23 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 14.87 อินเดีย มี 1 โครงการ มูลค่าการลงทุน 350 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 12.96 เวียดนามมีโครงการลงทุน 22 โครงการ มูลค่าการลงทุน 261.18 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 9.67 เกาหลีมีโครงการลงทุน 15 โครงการ มูลค่าการลงทุน 163.74 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 6.07 และสิงคโปร์ มีโครงการลงทุน 5 โครงการ มูลค่าการลงทุน 43.47 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 1.61
เกษตรรั้งแชมป์ลงทุน
สำหรับสาขาธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนใน ส.ป.ป.ลาว มากที่สุด คือ การผลิตพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่ มีการลงทุนสูงจำนวน 13 โครงการ มูลค่า 1,776.70 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 65.81 ของมูลค่าการลงทุนทั้งหมด รองลงมา เป็นการลงทุนด้านการเกษตรจำนวน 39 โครงการ มูลค่า 458.52 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 16.98 จากนั้นเป็นการลงทุนด้านการก่อสร้าง อุตสาหกรรมและหัตถกรรม การค้า เหมืองแร่ โรงแรม ภัตตาคาร การบริการ สิ่งทอ ที่ปรึกษา และอุตสาหกรรมไม้
ในรอบปีที่ผ่านมาการลงทุนของต่างชาติใน ส.ป.ป.ลาว มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นคิดเป็นร้อยละ 116.79 นับว่าเป็นประเทศที่นักลงทุนให้ความสนใจมากประเทศหนึ่งในอาเซียน โดยสาขาที่มีศักยภาพในการลงทุนใน ส.ป.ป.ลาว ได้แก่ ด้านพลังงานเหมืองแร่ ธุรกิจการเกษตร การท่องเที่ยว โครงสร้างพื้นฐาน อุตสาหกรรมเบา และการบริการ ซึ่งการได้ไปลงทุนใน ส.ป.ป.ลาว ควรจะต้องศึกษาความแตกต่างของข้อระเบียบกฎหมายที่เป็นอุปสรรคใหญ่ในการร่วมทุนในต่างประเทศ
ทั้งนี้ เพราะคนไทยที่ไปลงทุนใน ส.ป.ป.ลาว หลายราย ที่มักจะใช้เหตุผลของตนเองและใช้กฎเกณฑ์และแนวทางตามกฎระเบียบของไทย ไม่ให้ความสำคัญเคารพต่อกติกามารยาทของประเทศที่ตนเองไปลงทุน ซึ่งแตกต่างจากนักธุรกิจจากจีนที่มีการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้เร็ว ส่วนความแตกต่างทางวัฒนธรรมและความขัดแย้ง ระหว่างไทยกับ ส.ป.ป.ลาว แทบไม่มี จึงเป็นส่วนได้เปรียบของนักธุรกิจไทยในข้อนี้
ลาวปิดป่ากระทบนำเข้าไม้แปรรูป
พาณิชย์จังหวัดหนองคาย กล่าวอีกว่า ขณะนี้ ส.ป.ป.ลาว มีนโยบายปิดป่า ให้ส่งออกได้เฉพาะไม้สำเร็จรูป จึงส่งผลกระทบต่อการนำเข้าไม้ซุง ไม้แปรรูป และผลิตภัณฑ์ที่ไทยนำเข้าจากสปป.ลาว โดยนำเข้าได้เฉพาะสินค้าที่ตกค้าง ก่อนที่จะมีนโยบายปิดป่า และในระยะต่อไปคงจะมีการตรวจสอบที่เข้มงวดขึ้น เพราะเป็นช่วงที่มีการปรับปรุงระเบียบข้อกฎหมาย เพื่อคุ้มครองกันพื้นที่ป่าสงวนและป่าต้นน้ำหลายแหล่ง
รวมทั้งจะมีการจัดสรรที่ทำกิน แบ่งเขตแบ่งประเภทที่ดินเพื่อผ่องถ่ายกระจายสิทธิทำกินให้แก่ประชาชน มีการปกปักรักษาสิ่งแวดล้อมที่เข้มแข็งขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อกฎเกณฑ์การให้สัมปทานโครงการลงทุนที่จะต้องใช้ที่ดินจำนวนมากของนักลงทุนต่างชาติ และต่อนักธุรกิจไทยรายใหญ่ที่เข้าไปลงทุนด้านการเกษตรในลาวด้วย
ขณะนี้เศรษฐกิจของลาวกำลังขยายตัว ชาวลาวมีความต้องการนำเข้าสินค้าประเภทผัก ผลไม้ และของปรุงแต่งที่ทำจากผักผลไม้มากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าหมวดอาหารพืชผัก เนื้อสัตว์ ค่อนข้างขาดแคลน ต้องมีการนำเข้าจากต่างประเทศเป็นหลัก พืชผลไม้ทางการเกษตรบางชนิดของลาว ถูกส่งออกไปยังเวียดนามและจีนมากขึ้น เนื่องจากอัตราภาษีที่มีการลดให้แก่กันในลักษณะทวิภาคี ที่จีนและเวียดนามให้แก่ลาวจำนวนหลายรายการมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม โดยที่แผนความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างกระทรวงพาณิชย์ของไทยกับกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ส.ป.ป.ลาว ที่มีการประชุมเมื่อวันที่ 26-28 ธันวาคม 2549 ณ นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว ที่ได้กำหนดเป้าหมายให้เพิ่มมูลค่าการค้า 2 ฝ่าย เป็น 2 เท่า และเพิ่มมูลค่าการส่งออกจาก ส.ป.ป.ลาวมายังไทย เป็น 3 เท่าภายในปี 2553 นั้น หากเปรียบเทียบสถานการณ์ในปี 2550 ที่การส่งออกของไทยไปยัง ส.ป.ป.ลาว ขยายตัวอย่างรวดเร็วในระดับร้อยละ 29.04
ขณะเดียวกัน การส่งออกจาก ส.ป.ป.ลาวมายังประเทศไทยกลับลดลงร้อยละ 8.86 ทั้งนี้เป็นเพราะผลจากนโยบายการปิดป่าของ ส.ป.ป.ลาวเอง ทำให้ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้ส่งออกลดลง ซึ่งมีความวิตกกันว่าจะทำให้มูลค่าการค้าและการส่งออกของ ส.ป.ป.ลาวมายังไทยไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
ในส่วนนี้สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เวียงจันทน์ ได้เตรียมเพิ่มมาตรการการจัดทำ Contract Farming ให้มากขึ้น และผลักดันมาตรการทางด้านภาษีที่จะต้องปรับลดให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านเพื่อขยายฐานการผลิตให้แก่ประเทศไทย
โดยเฉพาะพืชพลังงานทางเลือกที่ตลาดยังมีความต้องการสูง และเชื่อว่าในระยะต่อไปเมื่อการผลิตไฟฟ้าจากเขื่อนพลังงานน้ำของสปป.ลาวทำการผลิตได้มากขึ้นก็จะเกินดุลการค้ากับไทย และมูลค่าการค้าสองฝ่ายจะเป็นไปตามเป้าหมายอย่างแน่นอน
นายสาโรจน์ สุวัตถิกุล พาณิชย์จังหวัดหนองคาย เปิดเผยถึงสถานการณ์การลงทุนในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ส.ป.ป.ลาว) ว่า ตั้งแต่ปี 2549 การลงทุนในส.ป.ป.ลาวที่ได้รับอนุมัติการลงทุนจากการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน ภายในและต่างประเทศของลาว จำนวน 171 โครงการ มูลค่าการลงทุน 2,699.69 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ทั้งนี้ มีนักลงทุนจากประเทศไทยเข้าไปลงทุนในลาวมีมูลค่ามากที่สุด จำนวน30 โครงการ มูลค่า 655.23 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 24.27 ของมูลค่าการลงทุนทั้งหมด
รองลงมา เป็นนักลงทุนจากประเทศจีน มีโครงการลงทุน 55 โครงการ มูลค่าการลงทุน 423.23 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 14.87 อินเดีย มี 1 โครงการ มูลค่าการลงทุน 350 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 12.96 เวียดนามมีโครงการลงทุน 22 โครงการ มูลค่าการลงทุน 261.18 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 9.67 เกาหลีมีโครงการลงทุน 15 โครงการ มูลค่าการลงทุน 163.74 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 6.07 และสิงคโปร์ มีโครงการลงทุน 5 โครงการ มูลค่าการลงทุน 43.47 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 1.61
เกษตรรั้งแชมป์ลงทุน
สำหรับสาขาธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนใน ส.ป.ป.ลาว มากที่สุด คือ การผลิตพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่ มีการลงทุนสูงจำนวน 13 โครงการ มูลค่า 1,776.70 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 65.81 ของมูลค่าการลงทุนทั้งหมด รองลงมา เป็นการลงทุนด้านการเกษตรจำนวน 39 โครงการ มูลค่า 458.52 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 16.98 จากนั้นเป็นการลงทุนด้านการก่อสร้าง อุตสาหกรรมและหัตถกรรม การค้า เหมืองแร่ โรงแรม ภัตตาคาร การบริการ สิ่งทอ ที่ปรึกษา และอุตสาหกรรมไม้
ในรอบปีที่ผ่านมาการลงทุนของต่างชาติใน ส.ป.ป.ลาว มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นคิดเป็นร้อยละ 116.79 นับว่าเป็นประเทศที่นักลงทุนให้ความสนใจมากประเทศหนึ่งในอาเซียน โดยสาขาที่มีศักยภาพในการลงทุนใน ส.ป.ป.ลาว ได้แก่ ด้านพลังงานเหมืองแร่ ธุรกิจการเกษตร การท่องเที่ยว โครงสร้างพื้นฐาน อุตสาหกรรมเบา และการบริการ ซึ่งการได้ไปลงทุนใน ส.ป.ป.ลาว ควรจะต้องศึกษาความแตกต่างของข้อระเบียบกฎหมายที่เป็นอุปสรรคใหญ่ในการร่วมทุนในต่างประเทศ
ทั้งนี้ เพราะคนไทยที่ไปลงทุนใน ส.ป.ป.ลาว หลายราย ที่มักจะใช้เหตุผลของตนเองและใช้กฎเกณฑ์และแนวทางตามกฎระเบียบของไทย ไม่ให้ความสำคัญเคารพต่อกติกามารยาทของประเทศที่ตนเองไปลงทุน ซึ่งแตกต่างจากนักธุรกิจจากจีนที่มีการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้เร็ว ส่วนความแตกต่างทางวัฒนธรรมและความขัดแย้ง ระหว่างไทยกับ ส.ป.ป.ลาว แทบไม่มี จึงเป็นส่วนได้เปรียบของนักธุรกิจไทยในข้อนี้
ลาวปิดป่ากระทบนำเข้าไม้แปรรูป
พาณิชย์จังหวัดหนองคาย กล่าวอีกว่า ขณะนี้ ส.ป.ป.ลาว มีนโยบายปิดป่า ให้ส่งออกได้เฉพาะไม้สำเร็จรูป จึงส่งผลกระทบต่อการนำเข้าไม้ซุง ไม้แปรรูป และผลิตภัณฑ์ที่ไทยนำเข้าจากสปป.ลาว โดยนำเข้าได้เฉพาะสินค้าที่ตกค้าง ก่อนที่จะมีนโยบายปิดป่า และในระยะต่อไปคงจะมีการตรวจสอบที่เข้มงวดขึ้น เพราะเป็นช่วงที่มีการปรับปรุงระเบียบข้อกฎหมาย เพื่อคุ้มครองกันพื้นที่ป่าสงวนและป่าต้นน้ำหลายแหล่ง
รวมทั้งจะมีการจัดสรรที่ทำกิน แบ่งเขตแบ่งประเภทที่ดินเพื่อผ่องถ่ายกระจายสิทธิทำกินให้แก่ประชาชน มีการปกปักรักษาสิ่งแวดล้อมที่เข้มแข็งขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อกฎเกณฑ์การให้สัมปทานโครงการลงทุนที่จะต้องใช้ที่ดินจำนวนมากของนักลงทุนต่างชาติ และต่อนักธุรกิจไทยรายใหญ่ที่เข้าไปลงทุนด้านการเกษตรในลาวด้วย
ขณะนี้เศรษฐกิจของลาวกำลังขยายตัว ชาวลาวมีความต้องการนำเข้าสินค้าประเภทผัก ผลไม้ และของปรุงแต่งที่ทำจากผักผลไม้มากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าหมวดอาหารพืชผัก เนื้อสัตว์ ค่อนข้างขาดแคลน ต้องมีการนำเข้าจากต่างประเทศเป็นหลัก พืชผลไม้ทางการเกษตรบางชนิดของลาว ถูกส่งออกไปยังเวียดนามและจีนมากขึ้น เนื่องจากอัตราภาษีที่มีการลดให้แก่กันในลักษณะทวิภาคี ที่จีนและเวียดนามให้แก่ลาวจำนวนหลายรายการมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม โดยที่แผนความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างกระทรวงพาณิชย์ของไทยกับกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ส.ป.ป.ลาว ที่มีการประชุมเมื่อวันที่ 26-28 ธันวาคม 2549 ณ นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว ที่ได้กำหนดเป้าหมายให้เพิ่มมูลค่าการค้า 2 ฝ่าย เป็น 2 เท่า และเพิ่มมูลค่าการส่งออกจาก ส.ป.ป.ลาวมายังไทย เป็น 3 เท่าภายในปี 2553 นั้น หากเปรียบเทียบสถานการณ์ในปี 2550 ที่การส่งออกของไทยไปยัง ส.ป.ป.ลาว ขยายตัวอย่างรวดเร็วในระดับร้อยละ 29.04
ขณะเดียวกัน การส่งออกจาก ส.ป.ป.ลาวมายังประเทศไทยกลับลดลงร้อยละ 8.86 ทั้งนี้เป็นเพราะผลจากนโยบายการปิดป่าของ ส.ป.ป.ลาวเอง ทำให้ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้ส่งออกลดลง ซึ่งมีความวิตกกันว่าจะทำให้มูลค่าการค้าและการส่งออกของ ส.ป.ป.ลาวมายังไทยไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
ในส่วนนี้สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เวียงจันทน์ ได้เตรียมเพิ่มมาตรการการจัดทำ Contract Farming ให้มากขึ้น และผลักดันมาตรการทางด้านภาษีที่จะต้องปรับลดให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านเพื่อขยายฐานการผลิตให้แก่ประเทศไทย
โดยเฉพาะพืชพลังงานทางเลือกที่ตลาดยังมีความต้องการสูง และเชื่อว่าในระยะต่อไปเมื่อการผลิตไฟฟ้าจากเขื่อนพลังงานน้ำของสปป.ลาวทำการผลิตได้มากขึ้นก็จะเกินดุลการค้ากับไทย และมูลค่าการค้าสองฝ่ายจะเป็นไปตามเป้าหมายอย่างแน่นอน